เศรษฐกิจสิงคโปร์ไตรมาส 3 ยังไม่ถึงขั้นถดถอย ลุ้นกลับมาฟื้นตัวจากนี้ถึงปี 2020

เศรษฐกิจสิงคโปร์ไตรมาส 3 ยังไม่ถึงขั้นถดถอย ลุ้นกลับมาฟื้นตัวจากนี้ถึงปี 2020

BF Asean Corner สิงคโปร์เพิ่งจะประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ออกมา โดยตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจเมื่อเทียบไตรมาสที่ 3 ปีนี้ กับไตรมาสที่ 3 ปี 2018 เติบโต 0.1% ถือว่าดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่า ในไตรมาส 3 เศรษฐกิจสิงคโปร์จะเผชิญกับภาวะถดถอยทางเทคนิค เมื่อไปดูตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 เทียบกับไตรมาสที่ 2 จะเติบโตอยู่ที่ 0.6% จากที่ไตรมาส 2 เทียบกับไตรมาสแรก หดตัวไป 2.7% ก็ทำให้ตลาดรู้สึกคลายความกังวลใจที่มีต่อเศรษฐกิจสิงคโปร์ เนื่องจากยังไม่ได้เกิดภาวะถดถอยอย่างเช่นที่เคยคาดการณ์ หากย้อนไปดูตัวเลขครึ่งปีแรกของปีนี้ เทียบกับครึ่งปีแรกของปีที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.4% จะพบว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์ชะลอตัวลงค่อนข้างมาก อันเป็นผลมาจากผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ประกอบกับสิงคโปร์พึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว การค้าโลกชะลอตัว จึงได้รับผลกระทบมากที่สุด อย่างไรก็ดี เมื่อดูรายอุตสาหกรรม จะพบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่ฉุดรั้งจีดีพีของสิงคโปร์ไว้จะเกี่ยวข้องกับการส่งออก ซึ่งภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ […]

สิงคโปร์ขึ้นแท่นประเทศที่มีความสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจที่สุดในโลก

สิงคโปร์ขึ้นแท่นประเทศที่มีความสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจที่สุดในโลก

สิงคโปร์คว้าคะแนน 84.8 จากคะแนนเต็ม 100 ยืนหนึ่งประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกในปี 2019 ชนะสหรัฐ อันดับสองที่มีคะแนน 83.7 รายงานของสภาเศรษฐกิจโลก (WEF) ที่เผยแพร่ล่าสุด ระบุว่า จากการวัดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โดยให้คะแนนตั้งแต่ระดับ 0-100 ประเมินอยู่บนพื้นฐานปัจจัยต่างๆ ที่รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสุขภาพ ตลาดแรงงาน ระบบการเงิน คุณภาพของสถาบันการศึกษาภาครัฐ และการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ ผลออกมาว่า สิงคโปร์ได้คะแนน 84.8 จากคะแนนเต็ม 100 อย่างไรก็ตาม WEF ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ประเทศสิงค์โปร์ได้รับประโยชน์จากปัจจัยทางการค้าที่มีความหลากหลาย รวมทั้งกรณีการค้าผ่านท่าเรือที่ได้แรงกระตุ้นจากการต่อสู้ทางภาษีระหว่างประเทศชั้นนำของโลก ขณะที่สหรัฐ ได้คะแนนลดลงมาอยู่ที่ 83.7 จากปีที่แล้วที่มีคะแนน 85.6 ซึ่งผลกระทบบางส่วนเชื่อมโยงมาจากประเด็นสงครามการค้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ รายงานของ WEF ระบุว่า สหรัฐยังคงเป็นมหาอำนาจด้านนวัตกรรม ในขณะที่การแข่งขันทางเศรษฐกิจกลายเป็นอันดับสองของโลก เราเริ่มเห็นสัญญาณความกังวลใจบางอย่างเกิดขึ้นแล้ว

ผู้บริโภคชาวเมียนมายังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการชำระเงินแบบไร้เงินสด

ผู้บริโภคชาวเมียนมายังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการชำระเงินแบบไร้เงินสด

รายงานข่าวจากเมียนมา ไทม์ส ระบุว่า วีซ่า ได้ทำการสำรวจผู้คนจำนวน 504 คน จากทั้งในเมืองย่างกุ้ง ปะเต็น มัณฑะเลย์ และมากเวย์  โดยผลสำรวจ พบว่า ผู้บริโภคชาวเมียนมา กว่า 40% เห็นประโยชน์จากการชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสด แต่การรับรู้ รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับการชำระเงินผ่านระบบคิวอาร์โค้ด และระบบการชำระเงินแบบไร้สัมผัส หรือคอนแทคเลส ยังคงอยู่ในระดับต่ำ Lillian Wang ผู้จัดการ ประจำประเทศเมียนมาของวีซ่า กล่าวว่า เราเชื่อว่าทุกคนจะได้รับผลประโยชน์มากมายกับการเปลี่ยนจากการใช้เงินสดมาเป็นการจ่ายเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ตอบแบบสอบถาม 42% ตอบว่า พวกเขาคาดหวังว่าจะเปลี่ยนมาใช้การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นในปีหน้า ขณะที่เหตุผลหลักที่ทำให้คนสนใจจะไม่ใช้เงินสดในการชำระเงิน อันดับแรกมาจาก ความสะดวกสบาย (69%) รองลงมาคือเรื่องของความปลอดภัย (58%) และสุดท้ายไม่ต้องพกเงินสดติดตัว (52%) นอกจากนี้ การสำรวจพบว่า ผู้บริโภคเมียนมาใช้การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการซื้อสินค้าในไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ตมากกว่า 60% ห้างสรรพสินค้าอยู่ที่ 57% ร้านอาหาร 52 % และร้านสะดวกซื้อ […]

เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 3 โตโดดเด่นถึง 7.3% จากการส่งออก และภาคอุตสาหกรรม ส่วนเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ

เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาส 3 โตโดดเด่นถึง 7.3% จากการส่งออก และภาคอุตสาหกรรม ส่วนเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ

BF Economic Research เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวถึง 7.31% YoY ในไตรมาส 3/2019 เพิ่มขึ้นจาก 6.73% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้ตัวเลข GDP 9 เดือนแรกของปี 2019 นั้นเติบโตสูงที่สุดในรอบ 9 ปีถึง 6.98% การส่งออกและอุตสาหกรรมการผลิตนับเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจเวียดนาม โดยการส่งออกเติบโตถึง 8.2% YoY ในช่วง 9 เดือนแรกของปี ท่ามกลางมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่กดดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และส่งผลต่อเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักอย่างเวียดนาม อย่างไรก็ดี มาตรการกีดกันทางการค้าดังกล่าวก็ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจเวียดนามเช่นเดียวกันจากการเปลี่ยนแหล่งนำเข้าของสหรัฐฯ และจีนมายังเวียดนาม รวมไปถึงการย้ายฐานการผลิตบางส่วนมายังเวียดนามด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่ภาคการผลิตก็เติบโตไปในทิศทางเดียวกับการส่งออก โดยขยายตัวถึง 11.37% YoY สำหรับในช่วง ม.ค.-ก.ย. 2019 ด้านอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ย. ขยายตัวในระดับต่ำเพียง 1.98% YoY แต่เมื่อเทียบเป็นรายเดือนจะพบว่าอัตราเงินเฟ้อมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (0.32% MoM) […]

ธนาคารกลางมาเลเซียสั่งแบงก์รายงานรับมือความเสี่ยงจากสภาพอากาศ พร้อมเดินหน้าทำเกณฑ์มาตรฐาน

ธนาคารกลางมาเลเซียสั่งแบงก์รายงานรับมือความเสี่ยงจากสภาพอากาศ พร้อมเดินหน้าทำเกณฑ์มาตรฐาน

นิว สเตรทไทม์ส รายงานว่า Nor Shamsiah Mohamad Yunus ผู้ว่าการธนาคารกลางมาเลเซีย ออกมาระบุว่า สถาบันการเงินจะต้องรายงานการรับมือความเสี่ยงจากสภาพอากาศ และธนาคารกลางจะนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานในประเทศ ซึ่งถือว่าเศรษฐกิจมีขนาดใหญ่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ว่าการ ธนาคารกลางมาเลเซีย กล่าวว่า จากเหตุการณ์หมอกควันที่เกิดขึ้นในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ อันเป็นผลมาจากการเผาป่า เป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนถึงความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ ขณะที่ประเทศเศรษฐกิจหลักๆ ในปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับเรื่องสภาพอากาศเป็นประเด็นผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางการเงิน จึงมีเหตุผลเพียงพอที่ธนาคารกลางมาเลเซีย จะเดินไปในทิศทางเดียวกับธนาคารกลางอื่นๆ ทั่วโลก ในการให้ความสนใจอย่างจริงจังกับความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ ทั้งนี้ ผู้ว่าการ ธนาคารกลางมาเลเซีย ยังกล่าวอีกว่า ในรายงานฉบับใหม่จะขอให้สถาบันการเงิน แยกสินทรัพย์สีเขียวออกมาให้เสร็จสิ้นเพื่อจัดส่งกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์มาเลเซียและธนาคารโลก “กรอบการทำงานนี้มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนข้อมูลประกอบการตัดสินใจและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มาจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ในกิจกรรมการระดมทุน กู้ยืม และลงทุน” Nor Shamsiah กล่าว ธนาคารคาดว่าจะจัดทำร่างฉบับแรกเกี่ยวกับการจัดประเภทสินทรัพย์สีเขียวเสร็จได้ภายในสิ้นปีนี้เพื่อเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของอุตสาหกรรมต่อไป เมื่อปีที่ผ่านมา หน่วยงานด้านการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ ออกรายงานระบุว่า ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่มาจากภัยพิบัติธรรมชาติในเอเชียและแปซิฟิกอาจจะมีมูลค่าถึง 160,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ภายในปี […]

พัฒนาการของตลาดทุน สปป.ลาว ในมุมมอง “เลขาธิการ LSCO สปป. ลาว”

พัฒนาการของตลาดทุน สปป.ลาว ในมุมมอง “เลขาธิการ LSCO สปป. ลาว”

“ตลาดทุน” ถือเป็นช่องทางสำคัญในการระดมทุนเพื่อขยายธุรกิจ รวมทั้งการลงทุนที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตแข็งแกร่ง เมื่อต้นเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา นับเป็นโอกาสอันดี ที่กองทุนบัวหลวง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรในตลาดทุนไทย ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารระดับสูงจากสภาแห่งชาติ สปป.ลาว พร้อมทั้งคณะผู้บริหารจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองหลักทรัพย์ (LSCO) สปป.ลาว ที่เดินทางมาศึกษางาน ทั้งร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในด้านพัฒนาการตลาดทุน รวมถึงความสำเร็จของกองทุนโครงสร้างพื้นฐานในไทย เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายหลักทรัพย์ของ สปป.ลาวในอนาคต ทีมงานกองทุนบัวหลวงยังได้รับเกียรติจาก ท่านนางสายสะหมอน จันทะจัก เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองหลักทรัพย์ (LSCO) สปป.ลาว องค์กรที่เปรียบได้กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของไทย เกี่ยวกับพัฒนาการของตลาดทุนของ สปป.ลาวด้วย ท่านนางสายสะหมอน กล่าวถึงเหตุผลของการมาศึกษางานตลาดทุนของไทยว่า คณะฯ ขอแสดงความขอบคุณ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ กองทุนบัวหลวง เพราะครั้งนี้ พิเศษกว่าหลายครั้งที่ผ่านมา ด้วยเหตุหลักที่ LSCO นำสมาชิกสภาแห่งชาติของ สปป. ลาว เดินทางมาด้วย เนื่องจากในเวลาอันใกล้นี้ LSCO […]

เศรษฐกิจเวียดนามยังเติบโตดี แล้วเหตุใดเวียดนามจึงลดดอกเบี้ย ?

เศรษฐกิจเวียดนามยังเติบโตดี แล้วเหตุใดเวียดนามจึงลดดอกเบี้ย ?

BF Asean Corner ธนาคารกลางเวียดนาม เพิ่งประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% นับเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี สร้างความเซอร์ไพร์สให้กับตลาด เนื่องจากไม่มีใครคาดคิดว่าเวียดนามจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพราะเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดีอยู่ หากถามเหตุผลว่า ทำไม เวียดนามจึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก 6.25% เป็น 6% มีอยู่ 2 เหตุผลหลัก ได้แก่ 1.เศรษฐกิจโลกชะลอตัว จึงต้องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อพยุงเศรษฐกิจในประเทศเอาไว้ 2.ขณะนี้อยู่ในวงจรที่ธนาคารกลางทั่วโลกต่างกลับมาปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง ทำให้เวียดนาม ไม่ต้องการ behind the curve หรือปรับดอกเบี้ยช้าเกินไป จึงเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามเช่นกัน ทั้งนี้ มี 2 ปัจจัยสนับสนุนให้เวียดนามสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ โดยปัจจัยแรก ก็คือ อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก คือ ต่ำกว่า 3% อีกปัจจัยคือ ค่าเงินดองค่อนข้างมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา เวียดนามเป็นประเทศที่ใช้นโยบายการเงินต่างจากประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ที่จะใช้การเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยเป็นหลักเพื่อไปกระทบกับอัตราเงินเฟ้อ อย่างเช่น ไทย อินโดนีเซีย […]

สิงคโปร์เตรียมเปิดรับคำขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารดิจิทัล 5 ใบจากนี้ถึงสิ้นปี

สิงคโปร์เตรียมเปิดรับคำขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารดิจิทัล 5 ใบจากนี้ถึงสิ้นปี

ซีเอ็นบีซี รายงานว่า สิงคโปร์กำลังเขย่าวงการการธนาคารเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ด้วยการอนุญาตให้บริษัทเทคโนโลยีและบริษัทที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจธนาคารเข้ามาท้าทายธนาคารที่ปล่อยกู้รายเดิม ซึ่งเรื่องนี้ผู้บริโภคได้ประโยชน์ที่สุด ทั้งนี้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ส.ค. ที่ผ่านมา หน่วยงานกำกับการเงินของสิงคโปร์ (MAS) ซึ่งเป็นธนาคารกลางของสิงคโปร์ ระบุว่า จากนี้ถึงสิ้นปีนี้จะรับใบสมัครขออนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารดิจิทัลจาก 5 รายใหม่ ซึ่งเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา MAS เคยระบุว่า ใบอนุญาตธนาคารเสมือน (เวอร์ชวล แบงก์) เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดเสรีการธนาคารของสิงคโปร์ หน่วยงานกำกับของสิงคโปร์จะให้ใบอนุญาตดำเนินธุรกิจธนาคารดิจิทัลเต็มรูปแบบ 2 ใบ ซึ่งจะอนุญาตให้ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ธนาคารให้บริการรับฝากเงินจากลูกค้ารายย่อยได้ นอกจากนี้ยังมีแผนให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารดิจิทัลสำหรับลูกค้าธุรกิจอีก 3 ใบ รองรับกลุ่มลูกค้าที่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงลูกค้าที่ไม่ใช่รายย่อย สำหรับผู้สมัครขอใบอนุญาตต้องมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ที่ MAS กำหนด เช่น บริหารจัดการธุรกิจธนาคารดิจิทัลอย่างยั่งยืนได้ มีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยี หรืออี-คอมเมิร์ซมาก่อน โดยกรณีผู้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารดิจิทัลเต็มรูปแบบ ต้องเป็นบริษัทในสิงคโปร์ ควบคุมโดยคนสิงคโปร์ มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ ส่วนธนาคารดิจิทัลสำหรับลูกธุรกิจ  สามารถดำเนินการได้ทั้งชาวสิงคโปร์และต่างชาติ […]

สภาผู้แทนฯ อินโดนีเซียอนุมัติเป้าหมายเศรษฐกิจปี 2020 เติบโต 5.3%

สภาผู้แทนฯ อินโดนีเซียอนุมัติเป้าหมายเศรษฐกิจปี 2020 เติบโต 5.3%

เดอะ จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่า สภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซีย ได้อนุมัติเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลจัดทำไว้ว่า ปี 2020 มีเป้าหมายเศรษฐกิจเติบโต 5.3% โดยตัวเลขนี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับประมาณการร่างงบประมาณปี 2020 ของรัฐ สำหรับเป้าหมายนี้จะใช้เป็นพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณปี 2020 รวมถึงการจัดทำตัวเลขการคาดการณ์เศรษฐกิจมหภาครายการอื่น ได้แก่ เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 3.1% อัตราแลกเปลี่ยน 13,900 – 14,400 รูเปียะห์ต่อดอลลาร์สหรัฐ และ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 3 เดือน 5.4% แม้ว่ารัฐบาลจะมีมุมมองเชิงบวกในการผลักดันให้เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ Sri Mulyani Indrawati รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ออกมากล่าวว่า การเติบโตนี้อาจจะมีอุปสรรคจากการส่งออกที่ชะลอตัว ท่ามกลางสถานการณ์การค้าโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน โดยเฉพาะจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งถือเป็นตลาดสำคัญของการส่งออกผลิตภัณฑ์อินโดนีเซียทั้งคู่ Sri Mulyani ยังกล่าวอีกว่า รัฐบาลต้องกระตุ้นการส่งออกด้วยการสนับสนุนแหล่งเงินทุนสำหรับส่งออก ผ่านโครงการบัญชีผลประโยชน์ของชาติ รวมทั้งการหาตลาดใหม่ๆ เพื่อไม่ให้การค้าขึ้นอยู่กับตลาดเดิมๆ เช่น จีน และสหรัฐ

สิงคโปร์เตรียมพร้อมรับมือความท้าทายด้านสังคมสูงวัย – เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

สิงคโปร์เตรียมพร้อมรับมือความท้าทายด้านสังคมสูงวัย – เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า แรงงานของสิงคโปร์กำลังเผชิญกับความท้าทายสองประการของประชากรสูงอายุและการสูญเสียงานอันเนื่องมาจากเทคโนโลยี ตามรายงานที่จัดทำขึ้นเกี่ยวกับภาระของโรคในสิงคโปร์ระหว่างปี 1990-2017 พบว่า ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายที่ประชากรมีอายุขัยยาวนานที่สุด โดยนานถึง 85 ปี แซงหน้าญี่ปุ่น ทั้งนี้ อายุขัยที่ยืนยาวขึ้น สวนทางกับอัตราการเกิดของประชากรที่อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้กำลังคนของรัฐโดยเฉพาะคนเมืองหดตัวลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นแรงกดดันต่อเศรษฐกิจ Ong Ye Kung รัฐมนตรีการศึกษาของสิงคโปร์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมารัฐบาลกำลังเตรียมความพร้อมสำหรับแรงงานผู้สูงอายุ สิงคโปร์กำลังอยู่ในช่วงปฏิรูประบบการศึกษาสำหรับเด็ก เขาชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่ท้าทายคือการช่วยเหลือคนชรา โดยพนักงานอายุน้อย ซึ่งแรงงานวัยรุ่นก็สามารถปรับตัวได้ดีมาก อย่างไรก็ดี ประชากรสูงอายุไม่ใช่ความท้าทายเพียงอย่างเดียวที่สิงคโปร์ต้องเผชิญ อีกสิ่งก็คือเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อแรงงาน เกิดการเปลี่ยนแนวการจ้างงานไปพึ่งพิงเทคโนโลยี ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์พยายามที่จะติดตามสถานการณ์ รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับแรงงาน และเตรียมความพร้อมทักษะใหม่ๆ ให้กับแรงงาน