อินโดนีเซียได้ฤกษ์ลงนามข้อตกลงการค้ากับ EFTA หลังเจรจามาเกือบ 8 ปี

อินโดนีเซียได้ฤกษ์ลงนามข้อตกลงการค้ากับ EFTA หลังเจรจามาเกือบ 8 ปี

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาอินโดนีเซียได้ลงนามในข้อตกลงด้านเศรษฐกิจกับสมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ถือเป็นข้อสรุปที่ได้หลังจากเจรจากันมาเกือบ 8 ปี ภายใต้ข้อตกลงนี้ อุปสรรคด้านภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่เรื่องภาษีจะถูกกำจัดออกไป สำหรับผลิตภัณฑ์กว่า 1,000 รายการที่อินโดนีเซียและประเทศในกลุ่ม EFTA ค้าขายกัน โดยประเทศในกลุ่ม EFTA ประกอบด้วย สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์ ส่วนสินค้าที่ครอบคลุม ได้แก่ น้ำมันปาล์มของอินโดนีเซีย จะสามารถเข้าถึงตลาดไอซ์แลนด์และนอร์เวย์ได้อย่างเต็มที่ ยกเว้นผลิตภัณฑ์ปาล์มสำหรับอาหารอื่นๆ นอกเหนือจากปลา ขณะที่ สวิตเซอร์แลนด์ ก็พร้อมเปิดรับผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มง่ายขึ้น แต่อยู่ภายใต้โควต้าที่แน่นอน Enggartiasto Lukita รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าอินโดนีเซีย กล่าวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้าถึงตลาดต่างๆ ของน้ำมันปาล์มว่า เป็นประเด็นที่เจรจาลากยาวมาหลายปีแล้ว โดยการหารือรอบแรกเริ่มขึ้นเมื่อช่วงต้นปี 2011 Johann N. Schneider-Ammann สมาชิกสภาแห่งสหพันธ์สวิส กล่าวว่า ข้อตกลงนี้อยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืนในผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์ม จากข้อมูลของอินโดนียเซีย พบว่า ปี 2017 […]

ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นที่ 4.35 พันล้านดอลลาร์ฯ

ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นที่ 4.35 พันล้านดอลลาร์ฯ

BF Economic Research การส่งออกฟิลิปปินส์เดือนต.ต. 2018 อยู่ที่ 6,108.1 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัว 3.3% YoY ขณะที่ การนำเข้าอยู่ที่ 10,320.0 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัวสูง 21.4% YoY ส่งผลให้ฟิลิปปินส์ขาดดุล -4,212.0 ล้านดอลลาร์ฯ  โดย 10 เดือนแรกของปี 2018 ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าสะสม  -33,917.9 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้นกว่า 68.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งขาดดุลการค้าสะสมที่ -20,128.5 ล้านดอลลาร์ฯ การส่งออกฟิลิปปินส์เดือนต.ค. อยู่ที่ 6,108.1 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 3.3% YoY ขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 10,320.0 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัว +21.4% YoY ส่งผลให้ขาดดุล -4,212.0 ล้านดอลลาร์ฯ […]

B-ASEAN

B-ASEAN

ดัชนี MSCI AC ASEAN Index YTD (ข้อมูล ณ วันที่ 2 ต.ค.) ปรับลดลงแล้วประมาณ -8% โดยมาจากการปรับลดลงของดัชนีหุ้น 3 ประเทศหลักอันได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่มีสัดส่วนในดัชนีประมาณ 30% 17% และ 9% ตามลำดับ หุ้นอาเซียนที่ลดลงนั้นได้รับผลกระทบในประเด็นความกังวลเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนและปัจจัยพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจของบางประเทศนั้นๆ เอง ได้แก่ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ที่เสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศค่อนข้างเปราะบางจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ที่ประมาณ -3.0% สำหรับอินโดนีเซีย และประมาณ -1.4% สำหรับฟิลิปปินส์ ทั้ง 2 ประเทศพึ่งพาเงินทุนต่างประเทศในระดับสูง ผนวกกับการอ่อนค่าอย่างมากของค่าเงิน IDR และ PHP (ตาราง 1) เป็นตัวเร่งให้กระแสเงินทุนยังคงไหลออกจากประเทศ แม้ว่าธนาคารกลางของทั้ง 2 ประเทศจะพยายามบรรเทาสถานการณ์ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วก็ตาม […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนช่วง เม.ย.– ก.ค. 2018 ปัจจัยกดดันในประเด็นเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่หลังจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED และการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ วิกฤตการณ์ในตลาดเกิดใหม่บางประเทศ ได้แก่ ตุรกีและอาร์เจนตินา ประกอบกับความกังวลของนักลงทุนในเรื่องสงครามการค้า แม้ว่าจะยังไม่มีผลกระทบทางตรงต่อประเทศในภูมิภาคอาเซียน ทว่าส่งผลให้ตลาดหุ้นของประเทศในภูมิภาคอาเซียนช่วง เม.ย. – ก.ค. 2018 ปรับตัวลดลงทั้งภูมิภาคเฉลี่ย 3 – 4% มีเพียงเวียดนามเท่านั้นที่ปรับตัวลงกว่า 20% ด้วยขนาดของตลาดที่ค่อนข้างเล็กและเป็นลักษณะปกติของตลาดแบบ Frontier Market ที่มักเคลื่อนไหวรุนแรง ผนวกกับการขายทำกำไรของนักลงทุนหลังจากที่ดัชนีพุ่งขึ้นอย่างมากในช่วงปีก่อน เม็ดเงินลงทุนต่างชาติในตลาดอาเซียนไหลออกอย่างต่อเนื่องมาตลอด 3 เดือนก่อนหน้า โดยนับจากต้นปีมีเพียงเวียดนามเท่านั้นที่มีกระแสเงินทุนไหลเข้าสุทธิจากขายหุ้น IPO ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเริ่มเห็นการกลับมาของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติในช่วงปลายเดือน ก.ค. แต่ระยะเวลาในการกลับมาของเม็ดเงินลงทุนยังมีความไม่แน่นอนว่าจะกลับมาอย่างต่อเนื่องหรือเป็นเพียงช่วงสั้น เนื่องจากปัจจัยเรื่องสถานการณ์สงครามการค้าอาจกลับมากดดันตลาดหุ้นได้ใหม่ มุมมองต่อเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงที่เหลือของปี 2018 กลุ่มประเทศอาเซียนยังคงเป็นกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจดีเฉลี่ยที่ประมาณ 5 – 6% ต่อปี ด้วยฟันเฟืองด้านการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีจากเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลดีกำไรของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาคซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกของ 2018 กำไรของบริษัทจดทะเบียนในอาเซียนโตได้ราว […]

ASEAN THIS MONTH: อัพเดทเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน สิงหาคม-กันยายน 2018

ASEAN THIS MONTH: อัพเดทเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน สิงหาคม-กันยายน 2018

BF Monthly Economic Review Aug-Sep 2018 By…BF Economic Research เหตุการณ์ในตุรกีป่วนตลาดเกิดใหม่ อินโดนีเซีย ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 25 bps ในการประชุมวันที่ 15 ส.ค. จาก 5.25% เป็น 5.50% เพื่อพยุงรูเปียห์ที่อ่อนค่าลง หลังเกิดวิกฤตค่าเงินตุรกี และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ของปี 2018 รวมทั้ง 4 ครั้ง BI ปรับขึ้นมาแล้ว 125 bps ส่งผลให้ BI นับเป็นหนึ่งในธนาคารกลางที่มีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมากที่สุดในเอเชีย ด้านรัฐบาลได้ประกาศมาตรการลดการนำเข้า เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยการปรับอัตราภาษีนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขึ้น 500 รายการ รวมทั้งเลื่อนโครงการก่อสร้างบางโครงการของรัฐวิสาหกิจออกไปเพื่อลดการนำเข้าสินค้าทุน สิงคโปร์ GDP (Final Estimate) […]

เวียดนามครึ่งปีแรกเติบโตถึง 7.08% สูงสุดในรอบ 7 ปี

เวียดนามครึ่งปีแรกเติบโตถึง 7.08% สูงสุดในรอบ 7 ปี

BF Economic Research เศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาส 2/2018 ขยายตัว 6.79% YoY ลดลงจาก 7.45% YoY ในไตรมาส 1 แต่ทำให้ครึ่งปีแรกเวียดนามเติบโตถึง 7.08% YoY ซึ่งเป็นการเติบโตในช่วงม.ค.-มิ.ย. ที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี เนื่องจากความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมการผลิต และการส่งออก โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเติบโตถึง 13.02% YoY ภาคบริการเติบโต 6.9% YoY จากการค้าส่งค้าปลีกเป็นหลัก ส่วนภาคการเกษตรก็ฟื้นตัว และเติบโตมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2012 ที่ 3.93% YoY บวกกับการส่งออกที่ขยายตัวถึง 16% YoY อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมเหมืองแร่ยังคงหดตัว -1.3% YoY ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 3.29% YoY จากค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นถึง […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนช่วง 1 ม.ค. 2018 – 31 พ.ค. 2018 ตลาดหุ้นของประเทศในภูมิภาคอาเซียนช่วง 5 เดือนแรกของปี 2018 ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง มีเพียงตลาดหุ้นของมาเลเซียเท่านั้นที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก แต่เพิ่มขึ้นราว 0.7% เท่านั้น ทั้งนี้ ตลาดหุ้นโดยรวมของอาเซียนในช่วงที่ผ่านมาได้รับปัจจัยกดดันหลายประการ ได้แก่ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED และการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเร่งให้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค ความเสี่ยงด้านการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐ รวมถึงราคาน้ำามันดิบที่ผันผวน แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะยังคงขยายตัวได้ดี โดยในช่วงไตรมาสแรกเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนสามารถขยายตัวได้ถึง 6% เมื่อพิจารณาจากกระแสเงินทุนแล้ว พบว่า ทุกประเทศในภูมิภาคยกเว้นเวียดนามประสบกับภาวะเงินทุนไหลออกจากตลาดตราสารทุนยกเว้นเวียดนามด้วยเพราะการขายหุ้นไอพีโอขนาดใหญ่ ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามเป็นตลาดเดียวที่มีนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ ขณะที่ไทยต้องเผชิญกับภาวะกระแสเงินทุนไหลออกจากตลาดตราสารทุนมากที่สุด มุมมองต่อเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงที่เหลือของปี 2018 กลุ่มประเทศอาเซียนยังคงเป็นกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจดีเฉลี่ยที่ประมาณ 5-6% ต่อปี ด้วยฟันเฟืองด้านการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีจากเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลดีกำไรของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาค โดยความเสี่ยงหลักของภูมิภาคในปีนี้อยู่ที่ประเด็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐเป็นสำคัญ หาก FED ส่งสัญญาณเร่งการดำเนินนโยบายแบบรัดกุม (Tightening monetary policy) ด้วยการเร่งขึ้นดอกเบี้ย อาจเร่งให้กระแสเงินทุนออกจากภูมิภาคได้อีก ทั้งนี้ […]

เปิดกลยุทธ์ลงทุนแถบอาเซียน เน้นหุ้นกลุ่มบริโภค

เปิดกลยุทธ์ลงทุนแถบอาเซียน เน้นหุ้นกลุ่มบริโภค

By…กองทุนบัวหลวง มุมมองต่อเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2018 เมื่อปีที่ผ่านมา (2017) ตลาดหุ้นและค่าเงินของประเทศในกลุ่มอาเซียนได้รับอานิสงค์จากแรงขับเคลื่อนภาคการส่งออกตามภาวะการค้าโลกที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าโภคภัณฑ์ เชื่อว่าในปีนี้อาเซียนจะมีสองธีมการลงทุนที่ต้องติดตามคือ 1.การลงทุนภาคเอกชนเร่งตัว เพื่อตอบรับกับความต้องการสินค้าหลังภาคส่งออกฟื้นตัวในปีที่ผ่านมา และด้วยอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ณ ปัจจุบันซึ่งอยู่ในระดับสูง จึงคาดว่าสินเชื่อธุรกิจจะเริ่มพลิกกลับมาเติบโตหลังจากที่ชะลอตัวมาหลายปี ประกอบกับอัตราส่วนหนี้ภาคเอกชนเทียบกับ GDP ของกลุ่มอาเซียนยังอยู่ระดับต่ำเพียง 37% (เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในช่วง 10 ปีหลังวิกฤตการเงินโลก) จึงไม่เป็นปัญหาหากต้องการขยายกำลังการผลิต 2. การลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จะเริ่มต้นขึ้นในปี 2018 โดยเป็นเงินลงทุนที่ใช้เชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐานระหว่างจีนและอาเซียน คาดว่ามูลค่าร่วมรวม 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯโดยมีแหล่งที่มาของเงินทุนจาก ธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของแห่งเอเชีย (AIIB) กองทุนรัฐบาล ธนาคารภาครัฐ และบริษัทประกันชีวิต กลยุทธ์ลงทุนของกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน กองทุนฯ มีการลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามมาได้สักระยะ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง บริษัทที่เราลงทุนคือ Airport Corporation of Vietnam (ACV) เป็นสนามบินที่มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี ACV เป็นผู้ดูแลจัดการสนามบิน 22 แห่ง […]