ทางออกของคนเกษียณยุคโควิด-19

ทางออกของคนเกษียณยุคโควิด-19

โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ทำไม ต้องเกษียณปีนี้ด้วย!!! แย่แล้ว เงินที่สะสมมาทั้งหมด หดหายไปไหน? ทำยังไงดี ดูแล้วไม่น่าจะพอใช้? มีทางออกมั้ยกับคนสิ้นสุดรายได้ในปีนี้??? คำถามยอดฮิต สำหรับคนเกษียณปี 2020 ยุคโควิด–19 เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเจอะเจอ ทั้งๆ ที่ปีนี้ควรเป็นปีแห่งความสุข เป็นปีที่มีอิสรภาพทางการเงิน แต่กลับต้องมากลุ้ม กังวลใจ ห่วงทั้งรายได้ในปัจจุบัน ห่วงลูกหลานทั้งเรื่องงานเรื่องเงิน และยิ่งห่วงมากกว่านั้นคือเงินที่สะสมมาทั้งชีวิตจะเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณมั้ย จะพอใช้จ่ายไปได้อีกกี่ปี ที่ผ่านมาก็ไม่ค่อยมั่นใจมากนัก และยิ่งเจอเหตุการณ์แบบนี้ความมั่นใจในการใช้ชีวิตหลังเกษียณยิ่งน้อยลงไปกันใหญ่ คำแนะนำสำหรับผู้เกษียณปีนี้ และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาที่ส่งผลให้เงินสะสมลดน้อยลงไปอย่าตกใจ เพราะหากสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย เงินที่สะสมไว้ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จะค่อยๆ ฟื้นตัว เนื่องจากตลาดหุ้นค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น อย่ารีบขายคืน หากยังไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเหล่านี้ สำหรับใครที่เกษียณปีนี้ และสามารถขายคืนหน่วยลงทุนจากกองทุนได้ แนะนำให้ขายแค่พอใช้ ส่วนที่เหลือให้ถือลงทุนต่อเพื่อรอสถานการณ์คลี่คลาย หรือใครอยากปรับสัดส่วนการลงทุนใหม่ในช่วงนี้ แนะนำให้ดูสัดส่วนการลงทุนเดิมที่เราลงทุนไว้ ว่ามีสัดส่วนการลงทุนในอะไร […]

Asset Allocation จำเป็นแค่ไหน

Asset Allocation จำเป็นแค่ไหน

โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center การจัดสรรการลงทุนในสินทรัพย์หลายๆ ประเภท หรือ Asset Allocation เป็นการกระจายความเสี่ยงและจัดสรรสัดส่วนการลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และเป้าหมายผลตอบแทนของแต่ละคน ปัจจุบันผู้มีเงินออมจำนวนมากได้ทำ Asset Allocation กันอยู่แล้ว แต่อาจไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น เก็บเงินไว้ที่ธนาคาร ซื้อหุ้นกู้ ซื้อกองทุนรวม ซื้อทองคำ หรือแม้แต่เล่นหุ้นเอง การแบ่งเงินไปฝาก/ ลงทุนที่หลากหลาย ก็นับว่าเป็น Asset Allocation อยู่แล้ว แต่ผู้ลงทุนควรพิจารณาว่า Asset Allocation ที่มีอยู่นั้นเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของตนเองหรือไม่ ทั้งนี้ เวลาดูทรัพย์สินลงทุน เราไม่ควรดูแค่กองทุนรวม หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) อย่างเดียว ควรต้องพิจารณาเงินลงทุนทั้งหมดไปพร้อมๆ กัน แต่ต้องอิงตามเป้าหมายด้วย ทุกคนควรทำ Asset Allocation ใช่หรือไม่? คำตอบคือ […]

จัดเงินลงทุนอย่างไร ถ้าไม่ได้มีเยอะ

จัดเงินลงทุนอย่างไร ถ้าไม่ได้มีเยอะ

โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ปี 2563 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าอะไรที่ไม่เคยคิดว่าจะเปลี่ยนก็ได้เปลี่ยน จากที่เราเคยเห็นเวลาทำงาน 9-5 นั่นก็หมายถึงทำงาน 9 โมงเช้า เลิกงาน 5 โมงเย็น ที่ออฟฟิศ ก็กลับกลายเป็นว่า anytime anywhere  ทำงานที่ไหนก็ได้ ทำได้ทุกเวลา ซึ่งช่วงนี้ต้องเป็นแบบนี้ แม้ว่าอาจจะมีหลายคนที่คิดถึงออฟฟิศมาก หรือแม้แต่การทานอาหารแบบง่ายๆ เมื่อก่อนเราเดินไปสั่ง ไปกินที่ร้าน แต่เดี๋ยวนี้ต้องใช้ Application หรือใครที่สะดวกโทรสั่ง ก็ทำได้ เป็นการเร่งสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้เกิดเร็วขึ้นเป็นวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) นั่นเอง แต่เอ๊ะ แล้วเกี่ยวอะไรกับการจัดสรรเงินลงทุนกันล่ะคะ ต้องมีส่วนเกี่ยวด้วยค่ะ ที่แน่ๆ ถ้าพูดถึงกองทุนรวม ระยะเวลาการลงทุนเปลี่ยนแน่นอนค่ะ เพราะว่าเราอยากติดเทรนด์ใหม่ๆ กันสักหน่อย คราวนี้เรามาดูกันว่ามันมีเรื่องอะไรที่ new กันบ้าง เนื่องจากปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงเยอะ รวมถึงเรื่องของการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน จากกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่หมดสิทธิในเรื่องการลดหย่อนภาษีแล้ว และยังมีกองทุนรวมเพื่อการออม […]

ลงทุนอะไร? หลังผ่อนคลายล็อกดาวน์โควิด-19

ลงทุนอะไร? หลังผ่อนคลายล็อกดาวน์โควิด-19

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM กองทุนบัวหลวง ในช่วงนี้สถานการณ์โควิด-19 เริ่มควบคุมได้ดีขึ้น โดยผ่อนคลายล็อกดาวน์ระยะที่ 4 เพื่อให้กิจการและกิจกรรมต่างๆ สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง สำหรับนักลงทุนที่มีความพร้อมก็คงมีคำถามว่า  ควรเลือกลงทุนอะไรดีถึงจะเหมาะสม? ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า  แม้สถานการณ์ในปัจจุบันจะเริ่มดีขึ้น  ทำให้หลายๆ กิจการกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง โดยต้องปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้เข้ากับวิถีชีวิตปกติใหม่ หรือที่เรียกว่า New Normal ซึ่งการปรับตัวนี้ก็อาจส่งผลกระทบกับบางธุรกิจได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม มีธุรกิจหนึ่งที่มักผ่านพ้นไปได้ในทุกสถานการณ์นั่นคือ  ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภคพื้นฐาน จากข้อมูลการจ้างงานของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนคาดการณ์ว่า ธุรกิจที่จะสามารถกลับมาจ้างงานอีกครั้งและฟื้นตัวได้เป็น V-Shape ภายใน 3 เดือน สูงที่สุดก็คือ สินค้าอุปโภคบริโภคทั้งขายปลีกและขายส่ง ส่วนธุรกิจด้านการบริการ ธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม คาดว่าจะฟื้นตัวแบบ U-Shape คือใช้ระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือน สำหรับประเทศไทย ดังนั้น สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นไทยก็สามารถเลือกลงทุนหุ้นกลุ่มนี้   หรือเลือกลงทุนผ่านกองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 (B-BASIC)  ที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และ ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 […]

โค้งสุดท้ายกับ SSF แบบพิเศษ

โค้งสุดท้ายกับ SSF แบบพิเศษ

โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ที่ว่าโค้งสุดท้าย เป็นเพราะกองทุนรวม SSF แบบพิเศษ เหลือเวลาให้ลงทุนอีกเพียงแค่ไม่กี่วัน ไม่เหมือนกองทุนอื่นๆ ที่มีให้เลือกลงทุนตั้งมากมาย แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลาในการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่ช่วยเรื่องการลงทุนให้มีเงินใช้หลังเกษียณ กองทุนเปิดทั่วไปที่ซื้อขายได้ทุกวันทำการ การลงทุนเองโดยตรง หรือการลงทุนควบคู่ไปกับความคุ้มครอง ทำไมจังหวะนี้ต้องลงทุนในกองทุนรวม SSF แบบพิเศษด้วย นั่นก็เพราะว่า กองทุนรวม SSF แบบพิเศษ ให้สิทธิสำหรับผู้ลงทุน ลงทุนได้เพิ่มอีก 200,000 บาท ต่างหาก โดยไม่ต้องรวมคำนวณกับกองทุนรวมใดๆ เพราะอย่างกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ยังต้องรวมทุกการลงทุนแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท (รวมในที่นี้ก็คือ กองทุนรวม RMF กองทุนรวม SSF ธรรมดา กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กบข.) เพราะฉะนั้นการลงทุนในกองทุนรวม SSF แบบพิเศษ จึงช่วยให้ประหยัดภาษีได้สูงสุดถึง 70,000 บาทกันเลยทีเดียว สำหรับใครที่เสียภาษีในอัตรา […]

BF PODCASTS

BF PODCASTS

Know More No Bore ฟังดีไม่เบื่อ By Ae+ ตอบทุกคำถามชวนสงสัยกับเรื่องราวการเงินอย่างง่ายๆ คลิก !! เพื่อรับฟัง                 Bualuang Fund Mania คุยทุกเรื่องกองทุนบัวหลวง คลิก !! เพื่อรับฟัง  Money Seeds เพาะเมล็ดพันธุ์ทางการเงิน ปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งความมั่งคั่ง ด้วยความรู้เรื่องการเงินที่เข้าใจง่าย ไม่ยุ่ง ไม่ยาก ไม่เยอะ และสามารถนำมาปรับใช้ได้จริง  คลิก !! เพื่อรับฟัง                    

Know More No Bored ฟังดีไม่เบื่อ By Ae+

Know More No Bored ฟังดีไม่เบื่อ By Ae+

Know More No Bored ฟังดีไม่เบื่อ By Ae+ ตอบทุกคำถามชวนสงสัยกับเรื่องราวการเงินอย่างง่ายๆ ระบบปฏิบัติการ Android คลิก!! เพื่อรับฟัง ระบบปฏิบัติการ IOS คลิก!! เพื่อรับฟัง

ลดหย่อนภาษีเลือก SSF หรือ RMF ดีล่ะ?

ลดหย่อนภาษีเลือก SSF หรือ RMF ดีล่ะ?

โดย  พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  ที่ส่งผลกระทบกับตลาดการลงทุนในไทย โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้น ทำให้รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นการลงทุนระยะยาว  ด้วยการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Fund)  และกระตุ้นให้ตรงจุดอีกครั้งด้วยการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ หรือเรียกกันว่า SSF Extra (SSFX)  ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ   โดยเป็นวงเงินแยกต่างหาก  200,000  บาท  ไม่ต้องนำไปรวมกับกองทุน SSF ปกติและกองทุน RMF    ทั้งนี้ ต้องลงทุนในช่วงวันที่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 2563 อย่างไรก็ตาม  ยังคงมีคำถามจากผู้ลงทุนที่มีเงินลงทุนจำกัดว่า “ควรเลือกลงทุนอะไรดี? ระหว่างกองทุน SSF กองทุน SSFX และกองทุน RMF”    ซึ่งคำตอบที่ดีที่สุดของคำถามนี้คือ […]

รู้จักกองทุนผสมบัวหลวง 70/30 เพื่อการออม

รู้จักกองทุนผสมบัวหลวง 70/30 เพื่อการออม

โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center กองทุนบัวหลวงออกกองทุนใหม่ กองทุนผสมบัวหลวง 70/30 เพื่อการออม หรือ BM70SSF โดยกองทุนนี้ ผู้ลงทุนสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) พิเศษ ได้ และใช้สิทธิพิเศษจากการลงทุนใน SSF สิทธิปกติ ได้เช่นกัน เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนได้นาน 10 ปีขึ้นไป รับความเสี่ยงได้ในระดับลงทุนในหุ้น 70% ของเงินลงทุน และกองทุนมีนโยบายจ่ายปันผล สำหรับการลงทุนใน SSF เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีนั้น เงื่อนไขก็คือต้องลงทุน 10 ปีเต็ม ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่สามารถลงทุนนาน 10 ปี ได้ แต่บางคนอาจจะรู้สึกว่า ระยะเวลา 10 ปีนั้นนาน หากลงทุนไปแล้ว ในช่วงท้ายๆ ของการลงทุนอาจเป็นเวลาที่ใกล้เกษียณแล้ว หรืออยากลงทุนแต่ไม่อยากรับความเสี่ยงมากๆ ดังนั้น นอกจากออกกองทุน SSF ที่ลงทุนในหุ้นจริงๆ […]

Sell on May ต้อง Go Away จริงหรือ?

Sell on May ต้อง Go Away จริงหรือ?

โดย  พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี  เชื่อว่านักลงทุนต้องเคยได้ยินประโยคยอดฮิตที่ว่า Sell on May and Go Away โดยเมื่อไปย้อนดูสถิติย้อนหลัง 10 ปี จะพบว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index)  ปรับตัวลดลงถึง  7  ครั้ง ในช่วงเดือนพฤษภาคม รวมถึงตลาดหุ้นต่างประเทศก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน จึงเป็นเหตุให้นักลงทุนเชื่อได้ว่า  “ถ้าไม่อยากขาดทุนในช่วงเดือนพฤษภาคม ก็ควรขายหุ้นออกไปซะ!” ทั้งนี้ หากพิจารณาในส่วนของตลาดหุ้นไทยจะพบว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลงเป็นเพราะในช่วงนี้เป็นช่วงที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ประกาศงบไตรมาสแรก  ซึ่งสะท้อนทิศทางของบริษัทในไตรมาสถัดไป  ทำให้นักลงทุนสามารถพิจารณาได้ว่าจะลงทุนต่อหรือพอแค่นี้ ปัจจัยต่อไปคือ  ในช่วงนี้เป็นช่วงที่บริษัทฯ ได้ประกาศและจ่ายปันผล (ถ้ามี) แล้ว จึงกล่าวได้ตลาดรับข่าวที่รอคอยไปเรียบร้อยจึงอาจทำให้เกิด “Sell on Fact” คือ นักลงทุนบางส่วน ได้ทำการขายเพื่อกำไรระหว่างทาง  ส่งผลให้ราคาหุ้นมีการปรับตัวลงมา  โดยเฉลี่ยก็ปรับตัวลดลงประมาณ 2% เท่านั้น  […]