BBLAM Monthly Economic Review สรุปเศรษฐกิจรายเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2023
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM เศรษฐกิจโลกและมุมมองตลาดโดยภาพรวม เศรษฐกิจโดยภาพรวมของโลกยังคงชะลอตัวโดยเฉพาะกลุ่ม DM ที่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนประเทศในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น และไทย ยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องโดยทั้งสามประเทศยังได้รับอานิสงส์จากการเปิดเมือง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เกษตร (ยกเว้นน้ำตาล) ได้ปรับตัวลงตามราคาน้ำมัน และอุปสงค์โลก ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในหลายๆ ประเทศกลับไปอยู่ในเกณฑ์ปกติ ธนาคารกลางหลายๆ แห่งจึงคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตั้งแต่ต้นปี (เช่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย) ในขณะที่ บางประเทศ เช่น เวียดนามกลับทิศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง (เนื่องด้วยแรงกดดันจากภายนอก หรือ External Factors เริ่มผ่อนแรง) ด้านประเทศไทยยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (เนื่องด้วย กนง. มองว่าการส่งออกและการท่องเที่ยวจะเป็น Upside Risk ให้กับเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี) สำหรับปัจจัยด้าน Macroeconomics ที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดในช่วงนี้ ได้แก่ 1) ผลของการยกเพดานหนี้ที่จะมีต่อความชันของ Yield […]
BBLAM Monthly Economic Review สรุปเศรษฐกิจรายเดือน มี.ค.-เม.ย. 2023
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM Bank Run อยู่หน้าฉากส่วนหลังฉาก คือ ประเด็นด้าน Geopolitics ขณะที่ ภาพของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอน ประเด็นเรื่องความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ก็ยังไม่จบเริ่มจากการที่ผู้นำจีนไปเยือนรัสเซีย ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือด้านการค้าต่อกันและจะเพิ่มสัดส่วนการใช้การตัดจ่ายด้วยการใช้ค่าเงินสกุลท้องถิ่น (Local Currency Settlement) มากขึ้น ด้านผู้นาบราซิลและจีนอยู่ในช่วงของการเจรจาการค้า เพื่อเพิ่ม Volume การซื้อขายสินค้ากลุ่มโภคภัณฑ์เกษตร โดยบราซิลหวังตัดช่องสหรัฐฯ ในการจำหน่ายข้าวโพดไปยังตลาดเอเชีย ขณะเดียวกันผู้นำญี่ปุ่นก็ไปเยือนยูเครนในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ด้านสหรัฐฯ กำลังจะออกเกณฑ์การให้ความสนับสนุนทางด้านการเงินกับอุตสาหกรรม EV จาก Inflation Reduction Act ซึ่งในเบื้องต้นได้ระบุสองเงื่อนไขหลักว่า 1) รถ EV ที่เข้าข่ายได้รับ Tax Credit จะต้องประกอบในสหรัฐฯ และ 2) จะต้องมีสินแร่ในแบตเตอรี่จากประเทศที่มีข้อตกลงความร่วมมือทางการค้าหรือ FTA กับสหรัฐฯ ตามสัดส่วนที่กาหนด เป็นผลให้รถยนต์ […]
B-NIPPON BF Monthly Economic Review
BBLAM Monthly Economic Review: แกะรอยนโยบายแบงก์ชาติญี่ปุ่น (เปิดใจก่อนแล้วจะเข้าใจ)
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM มาชวนดูที่ประเทศญี่ปุ่น ว่า ต่อไปจะเป็นอย่างไร ลองนำ “นโยบายของ BOJ มาแกะดู” เมื่อดูแล้ว ต้องลองเปิดใจ จะเห็นว่า มีโอกาสในการลงทุน
BF Monthly Economic Review India Japan
BBLAM Monthly Economic Review: มุมมองเศรษฐกิจ ยูโรโซน ญี่ปุ่น และอินเดีย ปี 2023
โดย ฐนิตา ตุมราศวิน ทีม Economic Research, BBLAM ยูโรโซน นับตั้งแต่ต้นปี 2022 GDP ของยูโรโซนที่ประกาศออกมาแล้ว 3 ไตรมาส เป็นภาพของการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จน ECB มีการปรับประมาณการในปีนี้ขึ้น กองทุนบัวหลวงเองก็มองว่าปีนี้ น่าจะโตประมาณ 3.2% จากตอนแรกที่เราคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 2% ปลายๆ แม้ว่าจะเผชิญกับวิกฤติราคาพลังงานนับตั้งแต่ที่รัสเซียบุกเข้าไปในยูเครนเมื่อเดือนก.พ. และรัสเซียเองก็ลดการส่งก๊าซธรรมชาติลงอย่างต่อเนื่อง จนราคาก๊าซปรับตัวสูงขึ้นมาก ส่งผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นถึง 10% แต่สิ่งที่เข้ามาช่วยให้เศรษฐกิจไม่ได้แย่ลงไปมากตามที่เคยคาด มาจากการกลับมาของการท่องเที่ยวในช่วงหน้า High Season ช่วงไตรมาส 2 ต่อไตรมาส 3 เป็นหลัก ที่จะเห็นว่าการบริโภค โดยเฉพาะในภาคบริการขยายตัวได้ดี แต่สำหรับในไตรมาส 4 เราคาดว่า GDP น่าจะเริ่มติดลบเมื่อเทียบรายไตรมาส สำหรับนโยบายการเงินในปีนี้ เพื่อที่จะกดเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงนี้ลง ECB จึงต้องขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง […]
BBLAM Monthly Economic Review: Global Economic Outlook 2023
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist , BBLAM
BBLAM Monthly Economic Review ตอน เงินเฟ้อญี่ปุ่นแตะ 3% ครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี
BBLAM Monthly Economic Review ตอน เงินเฟ้อญี่ปุ่นแตะ 3% ครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี การเมืองอังกฤษทำตลาดผันผวน จับตาแผนใช้จ่ายรัฐบาลใหม่ ฐนิตา ตุมราศวินทีม Economic ResearchBBLAM สำหรับเดือนต.ค. ที่ผ่านมา นับเป็นการเปิดมาเดือนแรกของไตรมาส 4/2022 ด้วยความผันผวนอย่างต่อเนื่องจากไตรมาส 3 ซึ่งส่วนใหญ่ประเด็นที่น่าสนใจในเดือนนี้จะอยู่ที่เงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงยาวนานกว่าที่เคยคาดการณ์ ทั้งยูโรโซน ญี่ปุ่น และอินเดีย ยูโรโซน เงินเฟ้อล่าสุดของยูโรโซนจะเห็นว่ายังคงทำ New High อย่างต่อเนื่องไปแตะเลข 2 หลักที่ 10.7% ในเดือนก.ย. และมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นต่อ ด้านประธาน ECB เองก็ระบุว่า เศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงส่งผลให้รายได้ที่แท้จริงของผู้บริโภคปรับลดลง บวกกับวิกฤติการขาดแคลนก๊าซในอนาคต ที่จะทำให้สถานการณ์แย่ลงไปได้อีก และด้วยภาพเงินเฟ้อเช่นนี้ทำให้ในการประชุม ECB ช่วงปลายเดือนต.ค. ที่ผ่านมา ECB มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยถึง 75 bps […]
BF Monthly Economic Review Fed
BBLAM Monthly Economic Review : Fed ไม่รีบ แต่ Fed ไม่หยุด
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จาก BBLAM การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ หรือ FOMC ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีมติเป็นเอกฉันท์ (12:0) ให้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 75 bps สู่กรอบ 3.75-4.0% เช่นเดียวกับ การประชุมครั้งก่อนๆ ที่ประธาน Fed มักจะมีคำเด็ดไว้ให้นักข่าวใช้เล่นเป็นประเด็นให้ตีความ ซึ่งคำเด็ดในการประชุมครั้งนี้ คือ “Cumulative Tightening” แปลเป็นไทยได้ว่า “ตึงตัวสะสม” โดย Fed ได้นำคำนี้มาใช้ในบริบทที่ว่า คณะกรรมการของ FOMC จะพิจารณาว่า นโยบายการเงินที่เพิ่มระดับของความคุมเข้มมาเรื่อยๆ นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงปัจจุบัน จะไปส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพทางการเงินอย่างไร การที่ตัวเลขเศรษฐกิจยังดีมากในตอนนี้ ไม่ได้หมายความว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถรองรับกับ “ดอกเบี้ยที่ขึ้นรัวๆ ได้” เพียงแต่ตัวเลขเศรษฐกิจ มีความหนืดหรือภาษาทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า Lagging […]
BF Monthly Economic Review EU India Japan
BBLAM Monthly Economic Review ตอน ยูโรโซน ญี่ปุ่น อินเดีย…ท่ามกลางข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดีอยู่บ้าง
สรุปความสัมภาษณ์ ฐนิตา ตุมราศวินทีม Economic ResearchBBLAM ยูโรโซน ในช่วงเดือนที่ผ่านมา Sentiment เชิงลบยังคงกดดันตลาดยูโรโซนอยู่ต่อเนื่อง และเมื่อมองไปข้างหน้าในไตรมาส 4/2022 ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ อาจทำให้เกิด Downside risk ได้อีกมาก โดยหลักๆ คือ สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ช่วงนี้กลับมามีท่าทีแข็งกร้าวกันมากขึ้น รวมถึงการตอบโต้ของฝั่งตะวันตกที่เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการคว่ำบาตรกับรัสเซีย ทั้งนี้ อีกหนึ่งความผันผวนที่เข้ามากระทบดัชนีหุ้นยุโรปเมื่อช่วงปลายเดือนก.ย. ที่ผ่านมา คือ การที่รัฐบาลอังกฤษประกาศมาตรการลดภาษี ซึ่งเป็นการลดครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนว่า จะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจ สะท้อนผ่านไปทั้งในตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และตลาดเงินที่ผันผวนอย่างมากในช่วงสัปดาห์นั้น โดยปอนด์อ่อนค่าแรง จนเกือบจะแตะระดับ 1 ปอนด์ต่อ 1 ดอลลาร์ฯ ส่งผลให้หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษออกมากล่าวว่า จะไม่ยื่นเสนอแผนนี้เข้าสภาแล้ว เนื่องจากเผชิญแรงต้านทั้งจากพรรคฝ่ายค้าน และส.ส. ภายในพรรคเอง […]
BF Monthly Economic Review Fed
BBLAM Monthly Economic Review: เมื่อ Fed ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ค่าเงินจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM การประชุมนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ครั้งล่าสุด ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ส่งสัญญาณหนักหน่วงว่า มื้อนี้ ต้องเอาเงินเฟ้อลงให้ได้ แม้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสู่ขิตก็ยอมแลก เล่นเอาหลายๆ ประเทศอกสั่นขวัญแขวนค่ะ เพราะไม่ว่า Fed จะสามารถพิชิตภารกิจนี้ได้ไหม แต่ที่แน่ๆ การที่ Fed ดีดนิ้วหนึ่งครั้ง เท่ากับ น็อครอบธนาคารกลางอื่นไปแล้วสามรอบ ก็ Fed ขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 75 ตัง ทั้งที่ประเทศอื่นปรับขึ้นครั้งละ 25 ตัง และเมื่อ Fed มีความมุ่งมั่นเช่นนี้ ดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ก็ดีดนำประเทศชาติบ้านอื่นให้ส่วนต่างระหว่างกันกว้างขึ้นไปอีก น็อครอบประเทศอื่นไปหลายรอบสนามเลย เดือดร้อนญี่ปุ่น ต้องออกมาตรการมาป้องกันค่าเงินเยนที่อ่อนสุดโต่ง และเมื่อมีคนหนึ่งทำ อีกคนต้องทำตาม นั่นคือ เวียดนาม และประเทศกลุ่ม […]
BBLAM Monthly Economic Review: Sep – จับตาวิกฤติพลังงานฉุดเศรษฐกิจยูโรโซนถดถอย หลังรัสเซียหยุดส่งก๊าซ
สรุปความสัมภาษณ์ ฐนิตา ตุมราศวินทีม Economic ResearchBBLAM ยูโรโซน – ความเสี่ยง Recession ที่ใกล้เข้ามาจากวิกฤติพลังงาน ประเด็นที่ตลาดให้ความสนใจหลักๆ ในช่วงนี้ คือ เรื่องของ Recession จากสถานการณ์ด้านพลังงานที่ดูแย่ลง รวมไปถึงทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยของ ECB ซึ่งในภาพรวมของเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีแรก จะเห็นว่ายังขยายตัวได้ค่อนข้างดี อย่างตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ที่ออกมาดีเกินคาด และการปรับคาดการณ์ GDP ของ ECB ที่ปรับให้ปีนี้เติบโตดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจยูโรโซนเองเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง ตัวเลขชี้วัดรายเดือนสะท้อนว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีโมเมนตัมที่อ่อนแอลง และเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดเงินตลาดทุนของยุโรปในช่วงนี้ ซึ่งเมื่อนักลงทุนกังวลว่า เศรษฐกิจยูโรโซนกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ประกอบกับว่า ดอลลาร์ฯ เองก็แข็งค่าขึ้นมากจากทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ส่งผลให้ในช่วงเดือนส.ค.ถึงต้นก.ย. เราจะเห็นว่า ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงหนักที่สุดในรอบ 20 ปี จนต่ำกว่า 1 ยูโรต่อ […]