กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์ (BGOLD) กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BGOLDRMF)
HIGHLIGHT ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายทั้งทางด้าน การเงินและการคลัง แนวโน้มราคาทองคำยังคงเจอกับอุปสรรคที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพได้ ไม่ว่าจะเป็น 1.) การปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 2.) กระแสเงินทุนไหลออกและการขายทองคำ จากภาคการลงทุนทั้ง ETFs และตลาดซื้อขายล่วงหน้า 3.) สินทรัพย์อื่นๆดึงดูดความสนใจไป จากทองคำ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่นๆที่สามารถไปใช้ในอุตสาหกรรมได้ หรือ Digital Assets ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายทั้งทางด้าน การเงินและการคลัง ที่ผ่านมา ปัจจัยสนับสนุนราคาทองคำมีหลายประเด็น ได้แก่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย และต้องมีการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลประเทศต่างๆ เพื่อเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด การผ่อนคลายมาตรการทางการเงินของธนาคารกลางชั้นนำ โดยเฉพาะมาตรการอัตราดอกเบี้ยต่ำและมาตรการ QE ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี ความคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของสหรัฐและการเข้าซื้อทองคำของกองทุนอีทีเอฟทองคำ ซึ่งปี 2563 กองทุนอีทีเอฟทองคำเข้าซื้อทองคำสุทธิสูงถึง 875.2 ตัน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ธ.ค. 2563) เพิ่มขึ้น 33.9% […]
กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์ฟันด์ (BGOLD) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BGOLDRMF)
Highlight ประจำไตรมาส 4Q2020 1. นาย Peter Hug, Director, Global Trading, Kitco Metals เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงด้านมุมมองต่อทิศทางราคาทองคำมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1974 ชายผู้นี้มีประสบการณ์คาดการณ์ราคาทองคำได้อย่างแม่นยำทั้งขาขึ้นและขาลงมากกว่า 50 ปี เขา กล่าวว่า แม้ราคาทองคำหลุด 1,800 ดอลลาร์/ออนซ์ จากข่าวดีด้านการค้นพบวัคซีน COVID-19 และผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่ชัดเจนขึ้นนั้น แต่เทรนด์ระยะยาวจะยังคงเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ เกิดจากการที่ภาระหนี้สินของทางรัฐบาลกลางทั่วโลกที่ได้อัดฉีดเพิ่มทุนให้กับเศรษฐกิจ อัดฉีดกระตุ้น SME หรือแม้กระทั่งอุ้มหนี้สินที่เสียหายไปมากมายจากการเกิดสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งการอัดฉีดเพิ่มทุนที่ว่านี้จะกินระยะเวลาไปอีกหนึ่งปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย แม้ตัวเลขเศรษฐกิจดีขึ้นก็จริงแต่ในภาคคนเดินถนนเอง จริงๆ แล้วตัวเลขการตกงานสหรัฐฯ ที่พุ่งสูง การต่อคิวรับอาหารที่ยาวกว่า 2-3 ไมล์จากฟู๊ดแบงค์ รายได้ของชนชั้นกลางที่ลดลงอย่างมหาศาลจากการตกงาน 6 เดือนต่อจากนี้ไม่เฉพาะรัฐบาลสหรัฐฯ แต่เป็นรัฐบาลทั่วโลกที่ต่างแจกจ่ายเงินเพื่อให้คนมีเงินใช้สอย ด้วยเหตุทั้งหมดที่กล่าวมานี้กระตุ้นให้เกิดเงินเฟ้อขึ้นในระบบ ทองคำในฐานะเป็นสินทรัพย์ที่ใช้เฮดจ์เพื่อต้านการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อจะได้รับประโยชน์ปัจจัยดังกล่าว 2. ทาง State […]
กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์ฟันด์ (BGOLD) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BGOLDRMF)
ทิศทางราคาทองคำ ช่วงต้นเดือนกันยายน 2563 ราคาทองคำร่วงลงแรงไปพร้อมกับตลาดหุ้นสหรัฐและราคาน้ำมัน โดยดัชนีดาวโจนส์ปิด -2.25%, S&P500 ปิด -2.78% ส่วน Nasdaq ปิด -4.11% ในวันที่ 8 กันยายน 2563 นำโดยแรงขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจากความวิตกเกี่ยวกับมูลค่าหุ้นที่สูงเกินไป ส่วนความตึงเครียดจีน-สหรัฐทำให้นักลงทุนกลับมาปิดรับความเสี่ยง(Risk off) ขณะที่น้ำมันดิ่งลงอย่างหนักเช่นกัน โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ของสหรัฐปิดลบ 3.01 ดอลลาร์ หรือ -7.6% จากความวิตกว่าการระบาด COVID-19 ที่ยังไม่มีแนวโน้มบรรเทาลงนั้นจะกระทบความต้องการใช้น้ำมัน สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ราคาทองคำร่วงลงตามจากแรงขายทองเพื่อถือเงินสด และโยกเงินเติมมาร์จิ้น รวมถึงชดเชยผลขาดทุนในสินทรัพย์อื่นๆ นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้รับแรงกดดันเพิ่มจากการแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 สัปดาห์ของดัชนีดอลลาร์ ท่ามกลางแรงซื้อดอลลาร์ในฐานะเป็นสกุลเงินปลอดภัยและมีสภาพคล่องสูง พร้อมกันนี้ สกุลเงินดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนเพิ่มจากความเสี่ยงที่อังกฤษอาจถอนตัวออกจาก EU แบบไม่มีข้อตกลง(No-deal Brexit) อีกด้วย ปัจจัยที่กล่าวมากดดันให้ราคาดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในระหว่างวันที่ 1,906.27 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนจะมีแรงซื้อ Buy […]
กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์ฟันด์ (BGOLD)และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BGOLDRMF)
สถานการณ์ด้านราคาทองคำ ราคาทองคำซึ่งเพิ่มสูงขึ้นและทรงตัวที่ระดับ 1,700 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ โดยอยู่ระดับราคาที่ใกล้เคียงกับช่วงปี ค.ศ. 2012 สาเหตุหลักมาจากความผันผวนในตลาดตราสารหนี้โลกและตลาดตราสารทุนโลก ด้วยความกังวลที่ว่านี้ นักลงทุนจึงมองทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ในการปกป้องการสูญเสียมูลค่าทางการลงทุน (Loss of Value) จนทำให้เกิดกระแสเงินไหลเข้ากองทุนประเภท gold-backed ETF กว่า 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนเม.ย. (เงินจำนวนนี้มาจากภูมิภาคอเมริกาเหนือเสียส่วนใหญ่คิดเป็นมูลค่า 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากภูมิภาคยุโรปมูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากภูมิภาคเอเชียมูลค่า 206 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจากภูมิภาคอื่นๆ มูลค่า 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ด้วยเงินที่หลั่งไหลเข้านี้ทำให้กองทุนประเภท gold-backed ETF เพิ่มการถือครองทองคำขึ้นอีก 170 ตัน จนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนประเภท gold-backed ETF แตะระดับสูงสุดที่ 184 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจัยบวกและลบต่อราคาทองคำ (+) ทองคำได้รับประโยชน์จากสภาพแวดล้อมอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ และความไม่แน่นอนที่จะตามมาของเศรษฐกิจมหภาคภายหลังสถานการณ์ COVID-19 (+) […]
กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์ฟันด์ (BGOLD) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BGOLDRMF)
สรุปภาวะการลงทุนในทองคำ ทองคำนับเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้เป็นอย่างดีประมาณ 18% นับตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงสิ้นเดือน ต.ค. 2019 และปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายปีที่ราว 1,540 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ทั้งนี้ ภายหลังจากเดือน ต.ค. ราคาทองคำปรับตัวลดลงเคลื่อนไหวที่กรอบประมาณ 1,452-1,508 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ 1.) ผลจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่ส่งผลกระทบกับสภาวะ Risk On และ Risk Off ในตลาดการเงิน 2.) ความคาดหวังของตลาดที่มีต่อทิศทางนโยบายการเงิน 3.) ความกังวลด้านการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก 4.) ความเสี่ยงทางการเมืองอื่นๆ เช่น Brexit และการประท้วงในฮ่องกง 5.) การเข้าซื้อทองคำของบรรดาธนาคารกลางต่างๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตเงินทุนสำรองของประเทศ โดยเฉพาะฟากฝั่งของจีนและรัสเซีย ทั้งนี้ เมื่อไหร่ก็ตามที่ตลาดมีความหวังว่าธนาคารกลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย หรือตลาดมีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองที่มักจะส่งผลให้ค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง จะส่งผลต่อราคาทองคำให้ขยับตัวขึ้นไปได้ดี แต่ในทิศทางตรงข้ามหากสองปัจจัยนี้ขาดแรงผลักดัน เช่น ธนาคารกลางตัดสินใจไม่ลดดอกเบี้ย ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงจากความไม่แน่นอนทางการเมือง […]
กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์ฟันด์ (BGOLD) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BGOLDRMF)
สรุปภาวะการลงทุนในทองคำ “ราคาทองคำคาดว่าจะอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นและอาจมีแนวโน้มขึ้นไปทดสอบระดับแนวต้านสำคัญที่ 1,350 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ โดยมีปัจจัยหลักจากอุปสงค์ต่อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยสำหรับพอร์ตการลงทุนเร่งตัวขึ้น ด้วยตลาดการเงินและสภาวะเศรษฐกิจโลกในปีนี้ยังคงต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนจากความเสี่ยงทางด้านขาลง” หลังจากที่ราคาทองคำอยู่ในขาลงมาโดยตลอดทั้งปี 2018 ทว่าตั้งแต่เดือน ม.ค. ปีนี้ ราคาทองคำปรับฟื้นตัวมาเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1,270 – 1,340 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ราคาทองได้ปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 1,340 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ในช่วงเดือน ก.พ. ก่อนที่จะย่อลงมาสวนทางกับตลาดหุ้นทั่วโลกที่เดินหน้าปรับตัวขึ้น จากความหวังเรื่องการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ – จีนมีสัญญาณความคืบหน้า ส่งผลให้ผลตอบแทนของทองคำในช่วง ม.ค. – พ.ค. อยู่ที่ 1.9% อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำในช่วงเดือน พ.ค. ส่งสัญญาณกลับตัวเพิ่มอีกครั้งเมื่อความเสี่ยงเรื่องสงครามการค้าเร่งตัวขึ้น หลังจากสหรัฐฯ ประกาศปรับขึ้นภาษีนำเข้ากับจีนอีกครั้ง พร้อมกับความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้เป็นที่ค่อนข้างแน่ชัดว่าช่วงเวลาของอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของโลกสิ้นสุดลงแล้ว จากการที่ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ออกมาส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงหากมีความจำเป็น รวมถึงธนาคารกลางอื่นๆ ล้วนส่งสัญญาณดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั่วโลกส่วนมากปรับตัวลดลงและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ซึ่งส่งผลบวกต่อราคาทองคำด้วยความสัมพันธ์ที่ผกผันกันระหว่างราคาทองคำกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ด้านอุปสงค์ต่อทองคำในช่วงไตรมาสแรกของปี 2019 เพิ่มขึ้น 7% […]
กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์ฟันด์ (BGOLD) และ กองทุนเปิดบัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BGOLDRMF)
สรุปภาวะการลงทุนในทองคำ “ราคาทองคำคาดว่าจะอยู่ในแนวโน้มทิศทางขาขึ้นและเคลื่อนไหวในกรอบ USD 1,200 – 1,400 oz. โดยมีปัจจัยหลัก ได้แก่ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ มีแนวโน้มในทิศทางอ่อนค่าลงจากการที่ FED ส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย” ราคาทองคำในช่วงปี 2018 ลดลงเกือบตลอดทั้งปี ทว่ามีสัญญาณกลับฟื้นตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 สวนทางกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง จากการที่ FED ส่งสัญญาณชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2019 จากเดิม 3 ครั้งลดลงเหลือ 2 ครั้งรวมถึง ความต้องการเข้าซื้อทองคำ จากฝั่งผู้บริโภคเพื่อปกป้องมูลค่าทรัพย์สินและอุปสงค์ต่อสินทรัพย์ปลอดภัยที่เร่งตัวขึ้น ท่ามกลางความผันผวนและการปรับฐานของสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นทั่วโลกหรือราคาน้ำมัน รวมถึงปัญหาเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ด้วยความกังวลของนักลงทุนได้สะท้อนผ่าน VIX Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความกังวลของนักลงทุนในตลาดหุ้นที่ไต่ระดับสูงขึ้น โดยผลตอบแทนของทองคำในช่วงไตรมาส 4 ปี 2018 เท่ากับ 7.7% และผลตอบแทนของทองคำในช่วงปี 2018 เท่ากับ -1.5% นอกจากนั้น ราคาทองคำในช่วงปลายปี […]