IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP โลกปีนี้ลงเล็กน้อยเป็น 5.9% ขณะที่แสดงความกังวลต่อ Downside Risks ของเศรษฐกิจที่ีเพิ่มขึ้น

IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP โลกปีนี้ลงเล็กน้อยเป็น 5.9% ขณะที่แสดงความกังวลต่อ Downside Risks ของเศรษฐกิจที่ีเพิ่มขึ้น

BF Economic Research IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP โลกปีนี้ลงเล็กน้อยเป็น 5.9% ขณะที่แสดงความกังวลต่อ Downside Risks ของเศรษฐกิที่เพิ่มขึ้น ส่วนเงินเฟ้อ IMF มองจะเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดในไตรมาส 4 และชะลอลงหลังจากนั้น  ในรอบการประมาณการเดือนต.ค. IMF ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP โลกปี 2021F ลงเล็กน้อยเป็น 5.9% จากที่คาด 6.0% ในเดือน ก.ค. โดยฟื้นตัวขึ้นจากที่หดตัว -3.1% ในปี 2020 จากการระบาดของไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ Delta ปัญหา Supply Disruptions เงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น รวมถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มอาหารและพลังงาน นอกจากนี้ ได้ระบุถึงการเข้าถึงวัคซีนที่ยังคงมีความเหลื่อมล้ำกันอย่างมากระหว่างกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ดี IMF คงคาดการณ์ GDP ปี 2022F […]

ธนาคารกลางอินเดียคงดอกตามคาดหนุนตลาดอินเดีย แต่เตรียมลดมาตรการกระตุ้น จับตาเงินเฟ้อในประเทศ ราคาพลังงานและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ

ธนาคารกลางอินเดียคงดอกตามคาดหนุนตลาดอินเดีย แต่เตรียมลดมาตรการกระตุ้น จับตาเงินเฟ้อในประเทศ ราคาพลังงานและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ

BF Economic Research ธนาคารกลางอินเดีย (Reserve Bank of India: RBI) มีมติ 5 ต่อ 1 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งได้แก่ Repo rate และ Reverse Repo rate ไว้ที่ 4.0% และ 3.35% ตามลำดับในการประชุมเมื่อวันที่ 8 ต.ค. ที่ผ่านมา เป็นไปตามที่ตลาดคาด แม้จะมีนักลงทุนบางส่วนกังวลก่อนหน้านี้ว่า RBI อาจปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น ทั้งนี้ มุมมองของ RBI ใน Statement หลังการประชุมยังคงสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Accommodative) อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีงบประมาณ 2021/2022 ลดลงจาก 5.7% เป็น 5.3% เนื่องจากราคาอาหารที่ลดลง ส่วนอัตราการขยายตัวของ GDP […]

การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ ต่ำ ตลาดแรงงานตึงตัว แรงงานผู้หญิงออกจากตลาดแรงงาน

การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ ต่ำ ตลาดแรงงานตึงตัว แรงงานผู้หญิงออกจากตลาดแรงงาน

BF Economic Research การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน ก.ย. เพิ่มขึ้น 1.94 แสนตำแหน่ง ต่ำสุดในปีนี้และต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 5.0 แสนตำแหน่ง ด้านอัตราว่างงานปรับลดลงมาสู่ 4.8% ขณะที่กลุ่มผู้หญิงออกจากตลาดแรงงานส่งผลให้อัตราค่าจ้างปรับตัวสูงขึ้น ด้านตลาดแรงงานยังตึงตัว ในรายองค์ประกอบ พบว่า การจ้างงานภาครัฐที่ลดลง -1.23 แสนตำแหน่ง โดยหลักจากการจ้างงานในภาคการศึกษาที่ลดลงมากถึง -1.61 แสนตำแหน่ง ขณะที่การจ้างงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 3.17 แสนตำแหน่ง แต่ต่ำกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 4.20 แสนตำแหน่ง โดยการจ้างงานเพิ่มขึ้นในหมวดสำคัญ ได้แก่ โรงแรมและพักผ่อน (+7.4 หมื่นตำแหน่ง), บริการด้านธุรกิจ (+6.0 หมื่นตำแหน่ง), ก่อสร้าง (+2.2 หมื่นตำแหน่ง), ค้าปลีก (+5.6 หมื่นตำแหน่ง), การขนส่งและคลังสินค้า (+4.7 หมื่นตำแหน่ง), บริการด้านสุขภาพและการให้ความช่วยเหลือทางสังคม […]

BF Monthly Economic Review – ต.ค. 2564

BF Monthly Economic Review – ต.ค. 2564

BF Economic Research สรุปความ สรุปประเด็นสำคัญทางเศรษฐกิจสำหรับเดือนตุลาคม 2564 ซึ่งมีด้วยกัน 1 เรื่องที่มีความสำคัญต่อการจัดพอร์ตลงทุนจากจุดนี้ไปจนถึงปีหน้า สิ่งที่จะนำเสนอครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แล้ว เนื่องจากในเดือน ก.ย. มีการพูดคุยเรื่อง Fed ไปมาก ส่วนเรื่องเศรษฐกิจเริ่มที่จะขยายตัวในอัตราที่ช้าลงก็เป็นเรื่องที่เราทราบกันอยู่แล้ว แต่สิ่งที่จะนำเสนอและอยากให้นักลงทุนเอาใจใส่ค่อนข้างมากคือ พลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ในกลุ่มพืชพันธุ์ต่างๆ สาเหตุที่ต้องพูดถึงเรื่องนี้ เนื่องจาก ระดับราคาที่ปรับสูงขึ้นเป็นเรื่องที่พอรับรู้ได้ ในช่วงที่มีประเด็นการส่งออกมีเรื่องค่าระวางเรือสูงขึ้น จากนั้นมาก็มีความต้องการซื้อบ้านในสหรัฐฯ ปรับสูงขึ้น ราคาไม้ ราคาบ้านก็ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการสินค้ากลุ่มโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้นไป ทั้งนี้ จะเห็นการปรับขึ้นของราคาสินค้าหลายๆ ประเภท เช่น ไม้ ที่ราคาดีดขึ้นไปในช่วงครึ่งปีแรก จากนั้นก็มีภาวะภัยแล้ง เพราะถึงแม้บ้านเราจะเจอปัญหาน้ำท่วม แต่อีกฟากของโลกกำลังเผชิญภาวะภัยแล้งอยู่ ซึ่งทำให้ราคากาแฟดีดตัวขึ้นมาก เพราะมีความต้องการจากการ work from home มากขึ้น ทำให้คนสั่งแคปซูลเ Nespresso มากขึ้น จน Nespresso […]

สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ส.ค.

สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ส.ค.

BF Economic Research สรุปภาวะเศรษฐกิจจากธปท. สะท้อนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ฉุดเศรษฐกิจต่อเนื่องในเดือน ส.ค. ขณะที่การท่องเที่ยวในประเทศจะได้รับแรงหนุนในเดือน ต.ค. การบริโภคภาคเอกชนหดตัวลงแรงในเดือน ส.ค. (-9.2% YoY vs. -6.8% เดือนก่อน) โดยดัชนีการใช้จ่ายทุกหมวดปรับตัวลดลงจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส อาทิ สินค้าคงทน (-22.3%) สินค้าไม่คงทน (-11.1%) และภาคบริการ (-7.7%) ด้านรายได้เกษตรกรชะลอลงเป็น 6.5% (vs. +9.3% เดือนก่อน) จากราคาที่ลดลง ขณะที่การขอรับสวัสดิการต่อเนื่องยังคงสูงกว่าระดับปกติ การลงทุนภาคเอกชนชะลอลงเป็น 9.6% (vs. +13.6% เดือนก่อน) โดยหลักเป็นผลของยอดจดทะเบียนรถยนต์สำหรับลงทุนใหม่ (-16%) และหมวดวัสดุก่อสร้าง (-10.4%) ที่ลดลง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังอยู่ในระดับต่ำ (15.1k vs. 18.1k เดือนก่อน) อันเป็นผลจากการบังคับใช้มาตรการด้านการท่องเที่ยวที่เข้มงวดยังคงอยู่ แม้ว่าจะเริ่มมีการทยอยเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในเฟสนำร่อง อาทิ […]

Fed มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

Fed มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% ตามการคาดการณ์ของตลาด และระบุเช่นเดิมว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง (For some time) ด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์ Fed ยังคงระบุเช่นเดิมว่าจะเข้าซื้อสินทรัพย์ที่อัตราปัจจุบัน USD120bn ต่อเดือน เป็นอย่างน้อย แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล (Treasury) เดือนละ USD80bn และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ซึ่งออกโดยหน่วยงานภาครัฐ (MBS) เดือนละ USD40bn และระบุจะเข้าซื้อไปจนกว่าจะเห็นพัฒนาการที่ชัดเจน “Substantial further progress” ว่าการจ้างงานจะกลับเข้าสู่ระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นการจ้างงานเต็มอัตราและเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมาย ซึ่งเป็นประโยคที่ Fed ระบุในแถลงการณ์นับตั้งแต่การประชุมเดือน ธ.ค. […]

สรุปเศรษฐกิจจีนเดือน ส.ค.

สรุปเศรษฐกิจจีนเดือน ส.ค.

BF Economic Research เศรษฐกิจจีนในเดือนส.ค.ชะลอลงต่อเนื่อง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน ส.ค. ขยายตัว 5.3% YoY ชะลอตัวลงจาก 6.4% ในเดือนก่อน และต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 5.8% โดยผลผลิตรถยนต์ (-12.6% vs. -8.5% เดือนก่อน), โลหะเหล็ก (-10.1% vs. -6.6% เดือนก่อน) และโทรศัพท์มือถือ (-7.2% vs. -2.1% เดือนก่อน) หดตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตสินค้ากลุ่มอื่นๆ เช่น อุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ (13.3% vs. 13.0% เดือนก่อน) ยังคงขยายตัวได้ดี ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือน ส.ค. ขยายตัว 2.5% YoY ชะลอตัวลงอย่างมากจาก […]

การจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เดือน ส.ค.

การจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เดือน ส.ค.

BF Economic Research การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-farm Payrolls) เดือน ส.ค. เพิ่มขึ้น 2.35 แสนตำแหน่ง ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน และแย่กว่าที่ตลาดคาดที่ 7.33 แสนตำแหน่ง สะท้อนผลกระทบจากการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ Delta ขณะที่ตัวเลขเดือนก่อนหน้าถูก Revised ปรับเพิ่มขึ้น 1.10 แสนตำแหน่ง เป็น 1.053 ล้านตำแหน่ง (จากเดิมที่ 9.4 แสนตำแหน่ง)   โดยการจ้างงานในหมวดโรงแรมและพักผ่อนไม่เพิ่มขึ้น หลังจากที่เพิ่มขึ้นมากต่อเนื่องก่อนหน้านี้ (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.18 แสนตำแหน่งในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา) ส่วนการจ้างงานในหมวดค้าปลีก (-2.9 หมื่นตำแหน่ง), ก่อสร้าง  (-3.0 พันตำแหน่ง), ภาครัฐ (-8.0 พันตำแหน่ง) และการบริการด้านสุขภาพและการให้ความช่วยเหลือทางสังคม (-4.6 พันตำแหน่ง) ลดลง […]

BF Monthly Economic Review – ส.ค. 2564

BF Monthly Economic Review – ส.ค. 2564

สรุปความ BF Economic Research ในการสรุปเศรษฐกิจครั้งที่แล้ว เราบอกไปว่า ภาพเศรษฐิจไตรมาสที่ 3 โดยปกติจะดูปรับลดลงไปเมื่อเทียบกับช่วงอื่นๆ ซึ่งในรอบเดือน ส.ค. นี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจหลายอย่างให้สัญญาณในเชิงนั้นเช่นกัน ถ้าดูตาชั่งเชิงเศรษฐกิจ จะพบว่า มีปัจจัยที่อาจจะดูเป็น downside ให้กับเศรษฐกิจโลกอยู่หลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัญญาณความเปราะบางเกิดขึ้น เครื่องชี้เศรษฐกิจหลายตัว โดยเฉพาะเครื่องชี้ PMI ที่ไว้ใช้วัดเศรษฐกิจรายเดือนมีสัญญาณชะลอลงทั่วโลกเลย ทั้งฝั่งตลาดพัฒนาแล้ว (DM) และตลาดเกิดใหม่ (EM) เป็นไปในทิศทางเช่นนั้นหมด จากปัญหาการ supply shortage หรือการขาดแคลนในฝั่งอุปทาน ซึ่งในช่วงต้นปีตลาดคาดหวังว่าเรื่องนี้ต้องจบภายในช่วง มิ.ย. 2021 แต่หลังจากเดือน มิ.ย. เป็นต้นมา ปัญหาเรื่องนี้ยิ่งทวีความรุนแรงเข้าไปอีก โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วน หากเคยได้ยินปรัชญาการผลิตที่ญี่ปุ่นเป็นผู้ก่อตั้ง ที่เรียกว่า just-in-time supply chain คือผลิตก็ต่อเมื่อมีความต้องการ ก็จะพบว่า ปรัชญาแบบนั้นใช้ไม่ได้แล้วในเวลานี้ ไม่มีการผลิตแบบ just-in-time […]

สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยรายเดือน

สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยรายเดือน

BF Economic Research สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยโดย ธปท. ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนหดตัวลงแรงในเดือน ก.ค. (-8.1% YoY vs. -0.5% เดือนก่อน) : โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่หดตัวในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะการใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทน (-10.2% vs. -2.5% เดือนก่อน) หมวดบริการ (-8.1% vs. -2.4% เดือนก่อน) และหมวดสินค้าคงทน (-8.0% vs. +12.0% เดือนก่อน) ขณะที่รายได้เกษตรกรชะลอลงมาอยู่ที่ 7.3% (vs. +14.1% เดือนก่อน) และการขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับภาวะปกติ ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนชะลอลงเป็น 11.6% (vs. 19.1% เดือนก่อน): โดยหลักเป็นผลของยอดขายวัสดุก่อสร้างที่ลดลง (-11.8% vs. +0.5% เดือนก่อน) และยอดจดทะเบียนรถยนต์สำหรับลงทุนใหม่ (-10.8% vs. +11.2% เดือนก่อน) […]