ส่งออกไทยเดือน ก.ค. ยังขยายตัวดี แต่คาดว่าน่าจะผ่านช่วงพีคไปแล้ว
BF Economic Research การส่งออกไทยมีมูลค่า 22,650 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ ขยายตัว 20.27% YoY (vs prev 44%) ทั้งนี้ หากหักสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธยุทโธปกรณ์ หรือขยายตัวได้ 25.38% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 22,467 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 45.94% YoY (vs prev 53.9%) ส่งผลให้เกินดุลการค้า 183 ล้านดอลลาร์ฯ (vs prev 945.1 ล้านดอลลาร์ฯ) หากพิจารณาการขยายตัวเมื่อเทียบรายเดือนพบว่าการส่งออกและการนำเข้าหดตัวทั้งคู่ที่ -4.4%MoM (vs prev 2.8%) และ -1.3%MoM (vs prev 2.2%) ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่าผลจากฐานต่ำเริ่มหมดไป และการค้าระหว่างประเทศอาจจะผ่านช่วงพีคไปแล้ว สำหรับภาพรวมในช่วง 7 […]
GDP ไทยขยายตัว 7.5% ผลจากฐานต่ำช่วงเดียวกันปีก่อน หนุนจาก C, I, และ Change in Inventories
BF Economic Research GDP ไทยในไตรมาสที่ 2/2021 ขยายตัว 7.5% (vs. cons. 6.4%) เร่งตัวขึ้นจาก 2.6% ในไตรมาส 1/2021 เนื่องจากผลของฐานต่ำไตรมาสที่ 2/2020 หดตัว -12.1% (หมายความว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาสสองปีนี้สามารถฟื้นขึ้นมาได้ครึ่งหนึ่งจากที่หดตัวไปเมื่อช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว) ด้านการผลิต การผลิตภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.0% YoY หนุนโดยข้าวเปลือก ยางพารา และมันสําปะหลัง โดยสินค้าเกษตรที่ได้รับอานิสงส์ด้านราคาที่ปรับตัวขึ้นได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง สุกร และสินค้าประมง นอกจากนี้ การผลิตนอกภาคเกษตรก็ขยายตัวเช่นเดียวกัน โดยภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เร่งตัวขึ้น 14.2% และ 5.0% ปรับตัวดีขึ้นจาก 0.3% และ 4.3% ในไตรมาสก่อน ด้านการใช้จ่าย การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว 4.6% และ […]
ตลาดแรงงงานฟื้นตัวดีขึ้นกว่าที่ตลาดคาดในเดือน ก.ค.
BF Economic Research ตลาดแรงงงานฟื้นตัวดีขึ้นกว่าที่ตลาดคาดในเดือน ก.ค. โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 9.43 แสนตำแหน่ง มากสุดในรอบเกือบ 1 ปี ขณะที่อัตราการว่างงานปรับลดลงเป็น 5.4% การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 9.43 แสนตำแหน่ง สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2020 และสูงกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 8.7 แสนตำแหน่ง ขณะที่ตัวเลขเดือนก่อนหน้าถูก Revised เพิ่มขึ้น 8.8 หมื่นตำแหน่ง เป็น 9.38 แสนตำแหน่ง สะท้อนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังการเปิดเศรษฐกิจ รวมทั้งการยุติการให้สวัสดิการว่างงานพิเศษ (เพิ่มเติม $300/สัปดาห์) ในบางรัฐก่อนกำหนดวันที่ 6 ก.ย. โดยมี 20 รัฐที่ได้ยุติในเดือน มิ.ย. และอีก 3 รัฐ จะทยอยยุติในเดือน […]
กนง. มีมติคงดอกเบี้ย ขณะที่ส่งสัญญาณปรับลด GDP ปีนี้ลงเหลือ 0.7%
BF Economic Research กนง. คงดอกเบี้ยตามคาดการณ์ในวงกว้างของตลาด โดย กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% เช่นเดิม อย่างไรก็ดี คณะกรรมการมีมติ 4 ต่อ 2 ในการคงดอกเบี้ย (โดยกรรม 2 ท่านนั้นสนับสนุนลดดอกเบี้ย ขณะที่กรรมการที่เหลืออีก 1 ท่านลาประชุม) ทั้งนี้ กนง. ยังคงเน้นย้ำที่จะดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายและมุ่งเน้นการสนับสนุนด้านสภาพคล่องและการลดภาระหนี้ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินควบคู่ไปกับนโยบายการคลัง ประเด็นสำคัญจากมติที่ประชุม ด้านเศรษฐกิจ : ธปท. ส่งสัญญาณปรับลดคาดการณ์ GDP ลงเหลือ +0.7% ในปีนี้ และ +3.7% ปีหน้า (vs. ประมาณการเดิมที่ +1.8% และ +3.9% ตามลำดับ ในการประชุมเดือน มิ.ย.) โดยมีสมมติฐานว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 0.15 ล้านคนในปีนี้ และ 6 […]
สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน มิ.ย.
BF Economic Research ธปท. เผย เศรษฐกิจเดือน มิ.ย. ชะลอลงต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เราให้กรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ 31.5-33.5 บาทต่อดอลลาร์ฯ การบริโภคภาคเอกชนพลิกกลับมาติดลบ (-1.2% YoY vs. 0.8% เดือนก่อน): องค์ประกอบของเครื่องชี้การบริโภคสะท้อนสภาวะการเติบโตที่ช้าหรือหดตัวลง โดยเฉพาะการบริโภคหมวดสินค้าไม่คงทน (-3.4% vs. -3.9% เดือนก่อน) หมวดบริการ (-3.3% vs. -0.6% เดือนก่อน) และหมวดสินค้าคงทน (12.0% vs. 24.3% เดือนก่อน) แม้ว่ารายได้ภาคเกษตรจะยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง (15.2%) แต่ตลาดแรงงานยังคงมีความเปราะบางจะเห็นได้จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวลดลง (18.3% vs. 28.9% เดือนก่อน): ดัชนีอ่อนแอลงในเกือบทุกกลุ่ม อาทิ วัสดุก่อสร้าง (3.4% vs. 6.9% เดือนก่อน) ยอดขายเครื่องจักรในประเทศ (34.5% […]
การส่งออก มิ.ย.โตพุ่ง 44% สูงสุดในรอบ 11 ปีต่อเนื่องหนุนโดยภาคเกษตร
BF Economic Research การส่งออกไทยเดือน มิ.ย. มีมูลค่า 23,699.43 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 43.82% YoY (vs prev41.6%) เป็นการการขยายตัวสูงสุดในรอบ 11 ปี จากสินค้าเกษตรที่มีอัตราการขยายตัวสูง เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องน้ำมัน ทองคำ และอาวุธแล้ว การส่งออกขยายตัว 41.56% YoY เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สะท้อนการเติบโตที่ฟื้นตัวจากภาคเศรษฐกิจจริง ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 22,754.37 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 53.75% ส่งผลให้เกินดุลการค้า 945.06 ล้านดอลลาร์ฯ สำหรับภาพรวมในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.64) การส่งออกมีมูลค่า 132,334.65 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 15.53% การนำเข้า มีมูลค่า 129,895.50 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 26.15% YoY YTD […]
สรุปเศรษฐกิจจีนเดือน มิ.ย.
BF Economic Research การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนลดลงกว่าครึ่งในไตรมาสที่สองจากที่ได้ขยายตัวเป็นประวัติการณ์ในช่วงไตรมาสแรกของปี เนื่องจากกิจกรรมการผลิตที่ชะลอตัวต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น สอดคล้องกับเครื่องชี้รายเดือนที่สะท้อนว่าอานิสงส์จากฐานต่ำเริ่มหมดไป ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของจีน (GDP) ไตรมาส 2/2021 ขยายตัว 7.9% YoY (cons. 8.1%) ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 18.3% YoY เมื่อเทียบรายไตรมาส GDP จีนขยายตัว 1.3% QoQ (cons. 1.2%) ต่อเนื่องจากไตรมาสแรกที่ 0.4% สำหรับ1H2021 เศรษฐกิจจีนขยายตัว 12.7% สํานักงานสถิติของจีน (NBS) กล่าวในแถลงการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของCOVID-19 ทั่วโลกและการฟื้นตัวที่ไม่สมดุลในประเทศ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนขยายตัว 8.3% YoY (cons. 7.8%) จาก 8.8% เดือนก่อนหน้า และเป็นอัตราขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ในรายองค์ประกอบพบว่า กลุ่มการผลิตที่ชะลอตัวได้แก่โลหะเหล็ก (4.1% vs. […]
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 1.25% YoY ในเดือน มิ.ย.
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 1.25% YoY ในเดือน มิ.ย. (vs. 2.44% เดือน พ.ค. และ 3.41% เดือน เม.ย.) ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิ.ย. อยู่ที่ 99.93 เพิ่มขึ้น 1.25% YoY เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ 2.4% YoY ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 0.89% YoY YTD สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) เดือนมิ.ย. อยู่ที่ 100.47 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 0.52% YoY ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ย 6 เดือนแรกของปีนี้ […]
การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 8.50 แสนตำแหน่ง มากที่สุดในรอบ 10 เดือน
BF Economic Research การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น 8.50 แสนตำแหน่ง มากที่สุดในรอบ 10 เดือน และดีกว่าที่ตลาดคาดที่ 7.20 แสนตำแหน่ง ขณะที่ตัวเลขเดือนก่อนถูกปรับเพิ่มขึ้น 2.4 หมื่นตำแหน่ง เป็น 5.83 แสนตำแหน่ง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อน COVID-19 พบว่ายังมีตำแหน่งงานที่ว่างอยู่ราว -6.8 ล้านตำแหน่ง ในรายองค์ประกอบพบว่า การจ้างงานยังเพิ่มขึ้นโดยหลักในหมวดที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก COVID-19 ได้แก่ การโรงแรมและพักผ่อน (+3.43 แสนตำแหน่ง), การจ้างงานภาคการศึกษา (+2.68 แสนตำแหน่ง), ค้าปลีก (+6.7 หมื่นตำแหน่ง) และการบริการอื่นๆ เช่น ช่างซ่อมรถยนต์ (+5.6 หมื่นตำแหน่ง) ด้านการจ้างงานภาคก่อสร้างลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 (-7.0 พันตำแหน่ง […]
BF Monthly Economic Review – มิ.ย. 2564
สรุปความ BF Economic Research ประเด็นสำคัญที่มีผลต่อมุมมองการลงทุนอีก 6 เดือนข้างหน้า มี 4 หัวข้อ คือ 1.การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า 2.อัตราเงินเฟ้อ 3.ความเสี่ยงด้านการเมือง 4.นัยของเศรษฐกิจมหภาคที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนในระยะถัดไป การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือ PMI ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้เศรษฐกิจรายเดือน พบว่า มีการฟื้นตัวที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยสหรัฐฯ มีดัชนี PMI พุ่งทะยานขึ้นไปอยู่เหนือระดับ 50 อยู่มาก เป็นแรงสะท้อนจากการที่สหรัฐฯ มีมาตรการกระตุ้นทางการคลังในปริมาณค่อนข้างมาก อัดฉีดเงินใส่มือประชาชน ทำให้มีคำสั่งซื้อเข้ามามากมาย เป็นผลให้ภาคธุรกิจต้องเร่งผลิตตอบรับกับคำสั่งซื้อที่มากขึ้น ส่วนประเทศจีน หากดูตามกราฟจะเห็นว่า จีนมีความแตกต่างจากสหรัฐฯ คือฟื้นตัวก่อน ดัชนีวิ่งสู่เหนือระดับ 50 ก่อนสหรัฐฯ แต่ว่าดัชนีค่อนข้างนิ่ง เพราะเมื่อฟื้นตัวก่อน สิ่งที่เป็นปัจจัยบวกจากฐานต่ำก็จะไม่มีแล้ว ภาพของจีนจึงเป็นการฟื้นตัวอย่างค่อนข้างมีเสถียรภาพและไปเรื่อยๆ สำหรับอินเดียและญี่ปุ่น เข้าข่ายการฟื้นตัวที่ไม่ทั่วถึง […]