สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ค.

สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ค.

BF Economic Research ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน พ.ค.ว่า เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบชัดเจนขึ้นจากการแพร่ระบาดระลอกสามของโควิด-19 ส่งผลให้เครื่องชี้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว เนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศยังมีอยู่ อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าปรับดีขึ้นต่อเนื่องตามอุปสงค์ประเทศคู่ค้า และช่วยพยุงการผลิตภาคอุตสาหกรรม ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงตามอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานเป็นสำคัญ จากผลของมาตรการลดค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาค่าครองชีพให้กับประชาชน สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากกว่าเดือนก่อน จากดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่ขาดดุลเพิ่มขึ้น สำหรับรายละเอียดของเครื่องชี้ดังแสดงดังตารางด้านล่าง ในรายละเอียด การใช้จ่ายภาคเอกชน สะท้อนผ่านการหดตัวลง MoM (หลังปรับฤดูกาล) ของทั้งการบริโภค (PCI -3.1% MoM; แต่ยังคงโต +0.5% YoY vs. +12.6% เดือนก่อน) • การลงทุน (PII -2.3% MoM; แต่ยังคงโต +28.1% YoY vs. +17.2% เดือนก่อน) จากองค์ประกอบของการใช้จ่ายหลักหดตัวลงทั้งหมด: อย่างไรก็ดี […]

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ (7:0) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50%

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ (7:0) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50%

BF Economic Research ธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ (7:0) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ในการประชุมประจำเดือนมิ.ย. เช่นเดียวกับการประชุมก่อนหน้านี้แถลงการณ์ของกนง. เน้นว่า “นโยบายการเงินจะต้องยังคงอยู่ในระดับผ่อนคลาย” ในขณะที่คณะกรรมการ “พร้อมที่จะใช้กรอบนโยบายที่จํากัด ในเวลาที่จำเป็นเพื่อให้นโยบายได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด” ในการประชุมครั้งนี้กนง. ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของ GDP ที่แท้จริงในปี 2021 ลงเป็น 1.8% จาก 3.0% ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมี.ค. โดยอ้างอิงคาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง กนง. คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย 7 แสนคนในปี 2021 นี้ จาก 3 ล้านคนในประมาณการก่อนหน้า (แม้ว่ารัฐบาลจะมีการอนุมัติของรัฐบาลภูเก็ต ‘Sandbox’ ในเดือนก.ค.ก็ตาม) นอกจากนี้ กนง. ยังปรับลด GDP ปี 2022 ลงเหลือ 3.9% (เทียบกับ 4.7% ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมี.ค.) […]

สรุปเศรษฐกิจจีนเดือน พ.ค.

สรุปเศรษฐกิจจีนเดือน พ.ค.

BF Economic Research ตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจเดือนพ.ค.ของจีนเริ่ม Rebalancing เป็นผลให้ เกือบทุกเครื่องชี้ขยายตัวในอัตรา ชะลอลงเมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลงในเดือนพ.ค.โดยขยายตัวที่ 8.8% YoY จากที่ขยายตัว 9.8% เดือนก่อน โดยหากคำนวณเป็น 2-year Growth (2020-21 Compound Growth) พบว่าขยายตัว 6.6% ช้ากว่าในเดือนเม.ย.ที่ 6.8% ส่วนหนึ่งเกิดจากผลผลิตรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะการขาดแคลนชิป (Chips Shortages) โดยผลผลิตรถยนต์หดตัว -4.0% ( vs. 6.8% เดือนก่อน) ขณะที่สินค้ากลุ่มอื่นๆ เช่น โลหะเหล็ก (7.7% vs. 10.9% เดือนก่อน), แร่ธาตุที่ไม่มีเหล็ก (7.6% vs. 12.6% เดือนก่อน) และเครื่องจักร (18.7% vs. 22.6% เดือนก่อน) […]

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25%

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25%

BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% โดยระบุว่าจะยังคงดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed Moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง (For Some Time) สำหรับการเข้าซื้อสินทรัพย์ Fed ยังคงจะเข้าซื้อสินทรัพย์ที่อัตราปัจจุบัน USD120bn ต่อเดือน เป็นอย่างน้อย แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล (US Treasury) เดือนละ USD80bn และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ซึ่งออกโดยหน่วยงานภาครัฐ (MBS) เดือนละ USD40bn โดยระบุจะเข้าซื้อจนกว่าจะเห็นพัฒนาการที่ชัดเจนว่าการจ้างงานจะกลับเข้าสู่ระดับที่คณะกรรมการประเมินตัวว่าเป็นการจ้างงานเต็มอัตราและเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมาย โดยภาพรวมแถลงการณ์ Fed ไม่เปลี่ยนแปลงจากการประชุมรอบก่อนนัก แต่ได้เน้นย้ำว่าการฉีดวัคซีนที่รวดเร็ว และแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นผลให้เครื่องชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน “เติบโตได้แข็งแกร่งขึ้น” และระบุว่ากลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก […]

กองทุนบัวหลวงเปิดมุมมองครึ่งปีหลัง คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้โต 2.0% มีโอกาสลงทุนรับ Theme เปิดประเทศได้

กองทุนบัวหลวงเปิดมุมมองครึ่งปีหลัง คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้โต 2.0% มีโอกาสลงทุนรับ Theme เปิดประเทศได้

HILIGHT กองทุนบัวหลวง ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโต 2.0% จากที่ช่วงต้นปีเคยประเมินไว้ 3.8% ชี้แม้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวตามหลังประเทศอื่น แต่มีปัจจัยบวกจากภาครัฐใช้เม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ และการระดมฉีดวัคซีน ทำให้ไทยมีความน่าสนใจสำหรับการลงทุนรับ Theme การกลับมาเปิดประเทศ ส่วนเศรษฐกิจโลกปีนี้ คาดว่า จะขยายตัว 5.8% ด้วยอานิสงส์จากการเติบโตของสหรัฐฯ เป็นหลัก น.ส.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา  Chief Economist  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ กองทุนบัวหลวง  เปิดเผยว่า  กองทุนบัวหลวงจัดทำรายงาน BF Economic Review – ครึ่งปีหลังปี 2021 เพื่อสรุปมุมมองเศรษฐกิจครึ่งปีหลังของแต่ละภูมิภาค โดยในครั้งนี้ ได้มีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยทั้งปีนี้จะขยายตัว 2.0% ซึ่งตัวเลขนี้ ลดลงจากที่เคยประเมินไว้ในช่วงต้นปีว่า จะเติบโต 3.8% เนื่องจากในช่วงดังกล่าว ยังไม่มีการระบาดระลอกที่ 3 แต่ก็สะท้อนการฟื้นตัวจากปีก่อนที่เคย -6.1% “กองทุนบัวหลวงคาดว่า […]

ECB ส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง แม้จะปรับคาดการณ์ GDP และเงินเฟ้อขึ้น

ECB ส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง แม้จะปรับคาดการณ์ GDP และเงินเฟ้อขึ้น

BF Economic Research ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงนโยบายการเงินไว้ตามเดิมในการประชุมเมื่อวานนี้ (10 มิ.ย.) โดยส่งสัญญาณว่าจะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป ในขณะที่ปรับเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนขึ้น ECB จะคงวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ผ่านมาตรการ Pandemic Emergency Purchase Program (PEPP) ที่ 1.85 ล้านยูโร ไปจนถึงเดือน มี.ค. 2022 และจะ Reinvest ในตราสารที่ครบกำหนดอายุจนถึงสิ้นปี 2023 เป็นอย่างน้อย ในแถลงการณ์หลังการประชุม Christine Lagarde ผู้ว่า ECB ระบุว่า เมื่อประเมินถึงสภาวะทางการเงินและแนวโน้มของเงินเฟ้อแล้ว ในไตรมาสหน้า ECB จะเพิ่มการเข้าซื้อสินทรัพย์ผ่านมาตรการ PEPP อย่างมีนัยยะเมื่อเทียบกับเมื่อช่วงต้นปี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะทางการเงินตึงตัว (การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ไม่สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ) ซึ่งจะส่งผลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทั้งนี้ ในไตรมาส 2/2021 อัตราการเข้าซื้อผ่านมาตรการ PEPP ได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว […]

ประเทศจีน: ความท้าทายด้านโครงสร้างประชากร และนัยในเชิงการลงทุน

ประเทศจีน: ความท้าทายด้านโครงสร้างประชากร และนัยในเชิงการลงทุน

BF Economic Research ประเทศจีน: ความท้าทายด้านโครงสร้างประชากร และนัยในเชิงการลงทุน จีนเคยเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากการปันผลทางประชากร (Demographic Dividend) ในช่วงปี 1980-1995  แต่ในขณะนี้ ข้อได้เปรียบเชิงประชากรนั้นเริ่มจะหมดไป จากพลวัตประชากร (Demographic Dynamics) ที่ถูกกระทบสืบเนื่องจากนโยบายลูกคนเดียวของประเทศในทศวรรษ 1980s  เป็นผลส่งต่อไปยัง นัยทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพราะการเพิ่มของประชากรมีแนวโน้มชะลอลง ขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สัดส่วนของประชากรในจีนกลับมาเป็นประเด็นที่ได้รับการอภิปรายอย่างกว้างขวาง จากที่รัฐบาลจีนเพิ่งจะได้ประกาศสำมะโนประชากรครบรอบทศวรรษ (Decennial Census) เมื่อวันที่ 11 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยสำมะโนประชากรจีนนั้นจะจัดทำทุกๆ 10 ปี  จึงมีความสำคัญต่อการวางแผนทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต สำมะโนประชากรแห่งชาติในรอบนี้เป็นการจัดทำครั้งที่ 7 ของจีนเป็นการปิดรอบการสำรวจ ณ เดือน ธ.ค. 2020 และเผยแพร่ในเดือนพ.ค. 2021 ประเด็นสำคัญของการสำรวจสำมะโนประชากรในรอบ 10 ปีนี้มีดังนี้ ในปี 2020 […]

ธนาคารกลางอินเดียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 4.0% ตามที่ตลาดคาด

ธนาคารกลางอินเดียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 4.0% ตามที่ตลาดคาด

ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามเดิมที่ 4.0% สำหรับ Repo Rate และ 3.35 สำหรับ Reverse Repo Rate ในการประชุมระหว่างวันที่ 2-4 มิ.ย. ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6 ที่ RBI คงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิม หลังจากครั้งสุดท้ายที่ปรับลดคือในการประชุมฉุกเฉินวันที่ 22 พ.ค. 2020 ที่ลดลงมา 40bps แม้ว่า RBI จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามเดิม แต่จาก Statement ของผู้ว่า RBI กลับชี้ให้เห็นว่า RBI มีมุมมองที่เป็นบวกน้อยลงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับรายงานนโยบายการเงินรายครึ่งปีเมื่อเดือนเม.ย. และด้วยความเสี่ยงที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่สอง ทำให้ RBI ปรับลดประมาณการ GDP ในปีงบประมาณ 2021/22 ลงจาก 10.5% เป็น […]

สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน เม.ย.

สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน เม.ย.

BF Economic Research สรุปตัวเลขเศรษฐกิจไทยในเดือนเม.ย. ที่จัดทำโดย ธปท และหน่วยงานอื่นๆ โดยภาพรวมยังโตเมื่อเทียบรายปี แต่เมื่อเทียบรายเดือนพบว่าหดตัวในรายเครื่องชี้ มีรายละเอียดดังนี้ การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน -4.3% MoM (vs. +1.0% เดือนก่อน) แม้ว่าจะเติบโตสูงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากฐานที่ต่ำ (+8.7% YoY vs. +3.7% เดือนก่อน) : หลังจากที่ปรับฤดูกาล ดัชนีการใช้จ่ายปรับตัวลดลงในทุกหมวดย่อย ได้แก่ สินค้าไม่คงทน (-5.3% MoM), บริการ (-3.9%) สินค้าคงทน (-3.5%) และสินค้ากึ่งคงทน (-0.8%) ด้านรายได้เกษตรกรยังคงขยายตัวสองหลัก (+14.2% vs. +16.3% เดือนก่อน) ส่วนใหญ่ได้แรงหนุนจากราคา แต่ดัชนี้ด้านผลผลิตชะลอลง ขณะที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากฐานต่ำ (+11.9% YoY vs. +10.7% เดือนก่อน) : […]

เศรษฐกิจอินเดียไตรมาส 1/2021 ก่อนการระบาดรอบสอง เติบโต 1.6%YoY สูงกว่าตลาดคาด

เศรษฐกิจอินเดียไตรมาส 1/2021 ก่อนการระบาดรอบสอง เติบโต 1.6%YoY สูงกว่าตลาดคาด

BF Economic Research เศรษฐกิจอินเดียในไตรมาส 1/2021 หรือ ไตรมาส 4 ของปีงบประมาณ 2020/2021 เติบโต 1.6%YoY ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 0.5% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า ทำให้ทั้งปีงบประมาณ 2020/2021 (เม.ย. 2020- มี.ค. 2021) GDP อินเดียหดตัว -7.3% ชะลอลงจาก 4.0% ในปีงบประมาณ 2019-20 ทั้งนี้ การเติบโตของเศรษฐกิจในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ก่อนที่จะมีการระบาดของ COVID-19 นั้น เป็นการขยายตัวในวงกว้างเกือบทุก Sector จากอุปสงค์ในประเทศ และการใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ ภาคบริการ โดยเฉพาะภาคการก่อสร้างเติบโตโดดเด่น สำหรับในปีงบประมาณ 2021-2022 (เม.ย. 2021- มี.ค. 2022) เราคาดว่าเศรษฐกิจอินเดียมีแนวโน้มขยายตัว […]