ประธานาธิบดีจีนเยือนพม่าในวันที่ 17-18 ม.ค. โดย รมว.ต่างประเทศ อองซานซูจี ให้การต้อนรับ
BF Economic Research ในการเยือนพม่าครั้งนี้ จีน-พม่า ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ จดหมาย และร่างพิธีสาร ครอบคลุม 33 โครงการของจีนในภาคส่วนต่างๆ ทั้งข้อมูลข่าวสาร อุตสาหกรรม การเกษตร ความมั่นคง และการโยกย้ายถิ่นฐานของผู้พลัดถิ่นภายในประเทศในรัฐกะฉิ่น ที่มีพรมแดนติดกับจีน ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนโครงการสาธารณูปโภคที่สำคัญต่างๆ มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในแผนระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา (CMEC) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Belt and Road Initiative หรือ BRI ทั้งนี้ ปธน.สีเดินทางเยือนเมียนมาครั้งแรกในฐานะประธานาธิบดี หลังจากที่เขาเคยเดินทางเยือนเมียนมาในปี 2009 ในฐานะรองประธานาธิบดีในสมัยประธานาธิบดีหู จิ่นเทา และนับเป็นการเดินทางเยือนเมียนมาครั้งแรกของประธานาธิบดีจีนในรอบเกือบ 20 ปี โครงการในความร่วมมือนั้น อาทิเช่น การร่วมทุนก่อสร้าง และสัมปทานท่าเรือน้ำลึกเจาะพยูในรัฐยะไข่ มีความยาว 1,700 กิโลเมตร มูลค่า3 พันล้านดอลลาร์ฯ แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเจาะพยูโดยรอบบริเวณท่าเรือ ซึ่งจะช่วยให้ขยายโครงข่ายการค้าจากบริเวณมณฑลยูนาน ผ่านทางเมียนมา เพื่อออกสู่มหาสมุทรอินเดีย โครงการเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมเมียนมา-ยูนาน […]
ตัวเลขเศรษฐกิจจีนดีขึ้นในเดือน ธ.ค.
BF Economic Research GDP GDP ไตรมาส 4 ขยายตัว 6.0% YoY เท่ากับไตรมาสก่อน ซึ่งนับเป็นการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1992 โดย GDP ทั้งปี 2019 ชะลอตัวลงเป็น 6.1% YoY จาก 6.6% YoY ในปีก่อน ในรายอุตสาหกรรม พบว่า กลุ่มเกษตร และกลุ่มการผลิต ขยายตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ซึ่งหากพิจารณาร่วมกันการขยายตัวเมื่อเทียบไตรมาสก่อน เราเริ่มเห็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนอาจจะ Bottom Out ในปีนี้ เราได้ประมาณการว่า GDP ปี 2019-2020 ของจีนจะคงที่ที่ 6.0% แต่จากข้อมูลรายเดือนที่ออกมาดี ทำให้เราคาดว่า GDP จีนในปี 2020 น่าจะมี Upside ตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือน กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดือน ธ.ค. […]
Update สถานการณ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน (16 ม.ค.)
BF Economic Research ภายหลังจากเมื่อวานนี้ที่ทางการสหรัฐฯ ได้ออกมาเผยว่าจะไม่มีการเจรจาทางการค้ารอบ 2 (Phase-2 Deal) จนกว่าจะเลือกตั้ง ในวันนี้ (เวลาท้องถิ่น 11:30 น.ของวันที่ 15 ม.ค.) สหรัฐฯ และจีน ก็ได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเฟสแรกแล้ว โดยประธานาธิบดี ทรัมป์ ได้จัดพิธีลงนามดังกล่าวที่ทำเนียบขาว และได้เชิญกลุ่มนักธุรกิจของสหรัฐฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของจีนและสหรัฐฯเข้าร่วมในพิธีด้วย จากข้อตกลงการค้าเฟสแรกซึ่งมีจำนวน 86 หน้า โดยสรุปแล้ว สหรัฐฯ จะปรับลดภาษีลงครึ่งหนึ่งจากอัตรา 15% ที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าจากจีนวงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์ฯ และชะลอการเก็บภาษีเพิ่มเติม สหรัฐฯ จะยังคงตรึงอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนราว 2 ใน 3 คิดเป็นมูลค่าราว 3.6 แสนล้านดอลลาร์ฯ จนกว่าจะผ่านพ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพ.ย. และจะพิจารณาปรับลดอัตราภาษีก็ต่อเมื่อสหรัฐฯและจีนมีการลงนามในข้อตกลงการค้าเฟสสอง จีนจะเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เป็นจำนวนมูลค่าประมาณ 200,000 ล้านดอลลาร์ฯ ภายในระยะเวลา […]
Update สถานการณ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน (15 ม.ค.)
BF Economic Research สหรัฐฯ ประกาศจะไม่ปรับลดภาษีนำเข้าแก่จีน ภายใน 10 เดือนหลังการลงนามในข้อตกลงการค้าระยะที่หนึ่งในวันนี้ ขณะที่การเจรจาในระยะต่อไปจะขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามข้อตกลงของจีนเป็นหลัก นาย Robert Lighthizer, U.S. Trade Representative และนาย Steven Mnuchin, Treasury Secretary ได้ออกมายืนยันว่า ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อตกลง ไม่ว่าจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจา เกี่ยวกับการพิจารณาปรับลดภาษีนำเข้ามากกว่าที่ได้เคยประกาศไปก่อนหน้านี้ ที่ได้ยกเลิกแผนการขึ้นภาษีในสินค้าหมวดอุปโภคบริโภค และลดภาษีนำเข้ากับสินค้ารวม 120 พันล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งประกาศไปในเดือน ธ.ค. 2019 เท่ากับว่า ณ ขณะนี้ การตกลงทางการค้าจะอยู่ที่ Phase-1 Deal กล่าวคือ 1) สหรัฐฯจะลดอัตราภาษีลงเป็น 7.5% จากปัจจุบันที่ 15.0% กับสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 1.12 แสนล้านดอลลาร์ฯ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. […]
จีนถูกถอนออกจากการเป็น Currency Manipulator
BF Economic Research กระทรวงการคลังของสหรัฐฯได้รายงาน Macroeconomic and Foreign Exchange Policies of Major Trading Partners of the United States (ตามข้อกำหนดใน The Trade Facilitation and Trade Enforcement Act of 2015) โดยได้พิจารณาประเทศที่เข้าข่ายที่มีความได้เปรียบเชิงการค้า เสถียรภาพทางการเงิน และค่าเงิน ผ่านการพิจารณาสามเกณฑ์หลัก (เป็นเกณฑ์ที่ได้รับการปรับปรุงเมื่อเดือนพ.ค. 2019 เป็นต้นมา) ประกอบไปด้วย มูลค่าการค้ารวมส่งออกและนำเข้าขั้นต่ำ 4 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ เป็นต้นไป เกินดุลกับสหรัฐฯ 2 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ เป็นต้นไป มีการเข้าป้องกัน FX คิดเป็นมูลค่า 2% ของ GDP เป็นระยะเวลา […]
Update แนวนโยบายของธนาคารกลาง Fed, ECB และ BoJ
BF Economic Research แนวนโยบายของธนาคารกลาง Fed, ECB,และ BoJ ในปัจจุบันยังคงหนุนการเพิ่มสภาพคล่องต่อเนื่อง โดยที่สภาพคล่องมาจาก Fed มากที่สุด (แม้ว่า Fed จะไม่ได้ประกาศทำ QE ก็ตาม) Implication: เราคาดการณ์ว่าสภาพคล่องในตลาดจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปีนี้ประมาณ 8-9 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ต่อเดือน โดยที่สภาพคล่องส่วนใหญ่จะมาจาก Fed กว่าครึ่ง ซึ่งเราประเมินจากขนาดของสินทรัพย์ที่ Fed เข้าซื้อในช่วงปลายปี 2019 ถึงข้อมูลล่าสุดเดือน ม.ค. 2020 พบว่า Fed ได้เข้าซื้อพันธบัตรระยะสั้นในปริมาณค่อนข้างมาก ซึ่งแม้ว่า Fed จะไม่ได้ประกาศทำ QE อย่างเป็นทางการ แต่พบว่าปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรสูงกว่าในช่วงที่ประกาศทำ QE ซึ่ง หาก Fed ยังเพิ่มสภาพคล่องประมาณ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯไปเรื่อยๆ จะทำให้ขนาดสินทรัพย์ของ Fed กลับไปที่ […]
Update สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านได้เริ่มคลี่คลาย
BF Economic Research สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านได้เริ่มคลี่คลาย เมื่อประธานาธิบดีสหรัฐฯ แถลงในวันที่ 8 ม.ค. ว่า สหรัฐฯ จะไม่ตอบโต้ทางการทหาร ต่อเหตุการณ์โจมตีฐานทัพสหรัฐฯ ในอิรัก โดยกองทัพอิหร่าน เนื่องจากการโจมตีครั้งนี้มิได้สร้างความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญ และเห็นว่าท่าทีของอิหร่านลดความแข็งกร้าวลง อย่างไรก็ดี สหรัฐฯ จะตอบโต้ด้วยมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมแทน หากต่อไปประธานาธิบดีสหรัฐฯ เริ่มมีท่าทีใช้มาตรการทางการทูต จะยิ่งเป็นสัญญาณบวกต่อสถานการณ์ในตะวันออกกลาง สำหรับนัยยะของสถานการณ์นี้ที่มีต่อการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ในตลาดนั้น พบว่าราคาทองลงมาปิดที่ 1559.85 ดอลลาร์ฯ/ounce (-33%) ส่วนราคาน้ำมัน Brent อยู่ที่ 65.96 ดอลลาร์ฯ/bbl (+0.8%) ส่วนดัชนีหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นมานำโดยดัชนีหุ้นสหรัฐฯ เช่น DJIA ที่ 28,745.09 (+161.41 จุด) ขณะที่หุ้นเอเชียทั่วเริ่มเปิดมาบวกเช่นกัน สำหรับทิศทางของตลาดในระยะข้างหน้าคาดว่าความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านน่าจะลดระดับลงและจะเป็นผลดีต่ออารมณ์ของนักลงทุนมากขึ้น ส่วนการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันที่จะมีต่อทิศทางของเศรษฐกิจไทยนั้น เราคาดว่าหากราคาน้ำมันBrent วิ่งอยู่ในระดับที่ไม่เกิน 70 ดอลลาร์ฯ/ bbl แล้ว อัตราเงินเฟ้อไทยน่าจะยืนต่ำกว่า […]
Economic Update Thai Baht Thailand
บทวิเคราะห์ทิศทางค่าเงินบาท
BF Economic Research ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าไปอยู่ที่ต่ำกว่า 30 บาท เมื่อสิ้นปี และ ณ ตอนนี้เริ่มกลับมายืนเหนือ 30 บาท ได้ แต่ก็ยังค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับภูมิภาค ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เงินบาทแข็งค่านั้นมาจาก 1) การค้าสินค้าและบริการระหว่างประเทศ 2) การลงทุนระหว่างประเทศ และ 3) อัตราดอกเบี้ยโดยเปรียบเทียบเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ 1. การค้าและการบริการระหว่างประเทศ ในช่วงปี 2019 ทั้งปี จะเห็นว่าไทยส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ไทยกลับนำเข้าในอัตราที่ลดลงมากกว่า เป็นผลให้การส่งออกที่ไม่ดี กลับทำให้ไทย “เกินดุล” ด้านการค้า โดยข้อมูล 11 เดือน ไทยเกินดุลสะสมเกือบ 9 พันล้านดอลลาร์ฯ มากกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้วเกือบ 4 เท่า ซึ่งเมื่อผนวกกับรายได้จากการท่องเที่ยว (ซึ่งอีกนัยหนึ่งคือ การส่งออกการบริการ) ก็หนุนรายได้เข้าประเทศราวๆ เดือนละ 5 พันกว่าล้านดอลลาร์ฯ ก็เป็นผลให้ […]
(Update) วิเคราะห์ความขัดแย้งสหรัฐ-อิหร่านต่ออัตราเงินเฟ้อและการนำเข้าของไทย
BF Economic Research ความขัดแย้งสหรัฐฯ-อิหร่านในครั้งนี้ มีชนวนจากการลอบสังหาร นายพลกาเซ็ม โซไลมานี บุคคลสำคัญของอิหร่าน ด้วยการโจมตีทางโดรนของสหรัฐฯ ณ สนามบินกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก เมื่อวันที่ 3 ม.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้อิหร่านตอบโต้ด้วยการประกาศว่าจะไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015 ที่อิหร่านเคยตกลงไว้กับ 6 ชาติมหาอำนาจ ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน อีกต่อไป และจะกลับมาเดินหน้าพัฒนาโครงการวิจัยด้านนิวเคลียร์ ทั้งนี้ ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านก่อตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่องหลังจากในปี 2018 ที่ทรัมป์ให้สหรัฐฯ ถอนตัวจากความตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน และใช้วิธีการคว่ำบาตรกับอิหร่านหลายครั้ง หลังจากนั้น ส่งผลให้ท่าทีของอิหร่านต่อสหรัฐฯ เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งในอนาคตการตอบโต้ของอิหร่านอาจมีหลายรูปแบบ เช่น การโจมตีทางไซเบอร์ การสะสมแร่ยูเรเนียมเพื่อใช้ในการทำนิวเคลียร์ และการโจมตีแหล่งน้ำมัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อิหร่าน กล่าวว่า […]
สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ย. 2019
BF Economic Research เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนอ่อนแอต่อเนื่อง (PII -6.1% YoY vs. -4.7% เดือนก่อน) โดยเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวในวงกว้าง ทั้งหมวดก่อสร้าง (อาทิ ยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง -5.3%) และหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ (อาทิ ยอดขายรถยนต์พาณิชย์ -15.5%) การบริโภคภาคเอกชน (PCI) ขยายตัว 2.4% YoY (vs. 2.1% เดือนก่อน) โดยปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อที่อ่อนแอลงเมื่อเทียบกับช่วง 1H 2019 อาทิ รายได้และความเชื่อมั่นยังกดดันการใช้จ่ายของครัวเรือน ทั้งนี้ ในเดือน พ.ย. มีเพียงการบริโภคสินค้าไม่คงทนและภาคบริการที่ขยายตัว (1.6% และ 3.2% ตามลำดับ) ส่วนหนึ่งได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ขณะที่ยอดซื้อสินค้าคงทนหดตัวที่ -9.1% YoY ที่ถูกฉุดจากยอดขายรถยนต์ที่หดตัวในเดือนพ.ย.ถึง -16.2% YoY รายได้เกษตร ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของราคาสินค้าเกษตรที่เร่งขึ้นในกลุ่ม […]