สภาอังกฤษลงมติ Brexit 12 มี.ค. คาดเลื่อนกำหนดเวลาการออกจากอียู เลี่ยงผลกระทบจากการที่ยังไม่มีข้อตกลงใดๆ
BF Economic Research รัฐสภาอังกฤษจะลงมติต่อข้อตกลงว่าด้วยการแยกตัวของสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ของนางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษในวันพรุ่งนี้ (12 มี.ค.) หลังจากที่ก่อนหน้านี้ รัฐสภาลงมติปฏิเสธข้อตกลง Brexit ฉบับเดิมที่นางเทเรซา เมย์เสนอ อย่างถล่มทลายด้วยคะแนนเสียง 432 ต่อ 202 ทั้งนี้ หากรัฐสภาลงมติปฏิเสธข้อตกลง Brexit ของนางเทเรซา เมย์อีกครั้ง ขั้นถัดไป รัฐสภาจะต้องลงมติเลือกระหว่างการแยกตัวออกจาก EU โดยไร้ข้อตกลง (No-Deal Brexit) ซึ่งจะส่งผลกระทบมากที่สุด หรือลงมติให้ขยายกำหนดเวลาการแยกตัวจากเดิมตามมาตรา 50 ที่วันที่ 29 มี.ค. ด้านการเจรจาระหว่างเจ้าหน้าที่ของอังกฤษและสหภาพยุโรป (อียู) กำลังเจรจากันเพื่อแก้ไขข้อตกลง Brexit เดิมที่นางเทเรซา เมย์เสนอรัฐสภาครั้งก่อน แต่การเจรจาไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด แม้อังกฤษจะออกมาเรียกร้องให้อียูยอมตกลงกับสัญญาฉบับใหม่ โดยชี้ให้เห็นว่าการออกจากอียูของสหราชอาณาจักรโดยปราศจากข้อตกลงใดๆ จะส่งผลเชิงลบกับอียูอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กองทุนบัวหลวงมองว่า สุดท้ายแล้วรัฐสภาอังกฤษจะลงมติให้เลื่อนกำหนดเวลาการแยกตัวออกจากอียูออกไป เนื่องจากทุกฝ่ายต่างเห็นพ้องกันถึงผลกระทบของ No-Deal […]
อีซีบีส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยไว้ทั้งปีนี้ รวมทั้งประกาศโครงการ TLTRO รอบ 3 หวังกระตุ้นเศรษฐกิจหลังชะลอตัวต่อเนื่อง
BF Economic Research ในการประชุมธนาคารกลางยุโรป หรืออีซีบี เมื่อวันที่ 7 มี.ค. ที่ผ่านมา สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ทั้งสิ้น 3 ประเด็น ได้แก่ 1.) อีซีบีปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2019 และ 2020 ลง จาก 1.7% ในการประมาณครั้งก่อนในเดือนธ.ค. 2018 เป็น 1.1% และ 1.6% ตามลำดับ รวมทั้งปรับคาดการณ์เงินเฟ้อ (HICP) ลงเช่นเดียวกัน จาก 1.6% และ 1.7% ในปี 2019 และ 2020 หลังจากที่ก่อนหน้านี้คณะกรรมาธิการยุโรปได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจลง โดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนเป็นผลจากความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ทำให้การค้าโลกผันผวน และเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงสถานการณ์ Brexit ที่ยังมีทิศทางที่ไม่แน่นอน 2.) ด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจเช่นนี้ อีซีบีจึงส่งสัญญาณว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันไปอย่างน้อยตลอดทั้งปี 2019 […]
จับตาเลือกตั้งอาเซียนหนุนเศรษฐกิจภายในประเทศ
BF Economic Research โดยฐนิตา ตุมราศวิน และรมณ ไชยวรรณ Macro Analyst ในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 ประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์จะมีการเลือกตั้งขึ้น โดยคาดว่าประเทศทั้งสองน่าจะได้รัฐบาลโฉมหน้าเดิม นโยบายของรัฐบาลในช่วงก่อนการเลือกตั้งจะส่งผลให้การใช้จ่ายของรัฐบาลพุ่งสูงขึ้น และหนุนการจับจ่ายใช้สอยในประเทศให้คึกคัก อีกทั้งความแข็งแกร่งดังกล่าวจะยังคงมีแนวโน้มดำเนินต่อไปภายหลังการเลือกตั้ง จากความต่อเนื่องในการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดเดิม ผ่านการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่ได้มีการอนุมัติไปก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ จะเป็นการช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศที่มีต่อเศรษฐกิจ โดยในปี 2019 นี้ อาเซียนยังมีความท้าทายจากกระแสเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและประเด็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่เป็นคู่ค้าสำคัญของประเทศอาเซียน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 นอกจากการเลือกตั้งทั่วไปของไทยที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคมนี้ ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนอย่างอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ก็จะมีการเลือกตั้งเช่นกัน ส่วนสิงคโปร์นั้นมีความเป็นไปได้ที่จะยุบสภา และจัดการเลือกตั้งก่อนหมดสมัยในเดือนมกราคม 2021 ทั้งนี้ นโยบายของรัฐบาลในช่วงก่อนการเลือกตั้งมักจะส่งผลให้การใช้จ่ายของรัฐบาลพุ่งสูงขึ้น และหนุนการจับจ่ายใช้สอยในประเทศให้คึกคัก ซึ่งจะก่อให้เกิดการเร่งตัวขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ และเป็นการช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศที่มีต่อเศรษฐกิจ โดยในปี 2019 นี้ อาเซียนยังมีความท้าทายจากกระแสเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและประเด็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่เป็นคู่ค้าสำคัญของประเทศอาเซียน เลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซียเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด […]
ส่งออกมาเลเซียเดือนม.ค. 2019 ชะลอลง ขณะที่เงินเฟ้อฟิลิปปินส์ลดลงสู่กรอบแล้ว
BF Economic Research มาเลเซีย: การส่งออกสินค้าของมาเลเซีย ในเดือนม.ค. 2019 เติบโตชะลอลงที่ 3.1% YoY เป็นผลจากการหดตัวลงในสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รวมถึงปาล์มน้ำมัน ฟิลิปปินส์: อัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ในเดือน ก.พ. 2018 ขยายตัวชะลอลง ที่ 3.8% YoY ต่ำกว่าคาดการณ์ และต่ำสุดในรอบ 1 ปี โดยปรับตัวลดลงมาอยู่ภายใต้กรอบนโยบายของ BSP ที่ 2.0-4.0% ได้เป็นครั้งแรก มาเลเซีย: การส่งออกสินค้าของมาเลเซีย ในเดือนม.ค. 2019 เติบโตชะลอลงที่ 3.1% YoY จากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 5.1 % YoY เป็นการหดตัวลงลงในสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รวมถึงสินค้าปาล์มน้ำมันที่หดตัวลงเช่นกัน ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักที่มีสัดส่วนกว่า 40% มีการขยายตัวที่ชะลอลง สำหรับการนำเข้า ในเดือนก.พ. 2019 ขยายตัวเล็กน้อยใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมาที่ […]
อัตราเงินเฟ้อไทยขยับมาที่ 0.7%
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.อยู่ที่ 101.95 เพิ่มขึ้น +0.73% YoY (vs prev +0.27% YoY ) จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น+ 0.24% MoM (vs prev -0.02% MoM) ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ในเดือน ก.พ. อยู่ที่ 102.32 เพิ่มขึ้น +0.60% YoY (vs prev +0.69% YoY) แต่ลดลง -0.02% MoM โดยระดับราคาในกลุ่มอาหาร (36% ของตะกร้าราคา) ปรับตัวขึ้น +1.89% YoY (vs prev 1.34% YoY) หนุนโดยอาหารในกลุ่ม […]
GDP สหรัฐฯชะลอลงในไตรมาส 4 ทั้งปี2018โต 2.9%
BF Economic Research GDP สหรัฐฯไตรมาส 4/2018 ชะลอตัวลงเป็น +2.6% QoQ, saar จาก +3.4% QoQ, saar ในไตรมาสก่อน ทั้งปี 2018 ขยายตัว +2.9% (จากปีก่อนที่ +2.2%) ในรายองค์ประกอบ การบริโภคเอกชน (+2.8% vs. +3.5% ไตรมาสก่อน) และการใช้จ่ายภาครัฐ (+0.4% vs. +2.6% ไตรมาสก่อน) ชะลอตัวลง ขณะที่การลงทุนชะลอลงมากจาก +15.2%QoQ saar สู่ +4.6% QoQ saar โดยผลลบมาจากการลงทุนในที่อยู่อาศัยที่ได้หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 (-3.5% vs. -3.6% ไตรมาสก่อน) แม้ว่าการลงทุนของธุรกิจเอกชนจะขยายตัวได้ดีที่ +6.2% QoQ saar […]
BF Monthly Economic Review – ก.พ. 2562
BF Economic Research ประเด็นเศรษฐกิจสำคัญเดือน ก.พ. 2019 ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ Soft ลง แต่ได้ข่าวดีที่ FOMC ส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยไปก่อน (จนกว่าจะเห็นข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีขึ้น) และจะเผยแผนเกี่ยวกับการยุติการลดขนาดงบดุลในช่วง H2/2019 เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวได้ดี สะท้อนจากตัวเลขการระดมทุนรวม เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ และการส่งออก โดยตลาดคาดหวังว่ารัฐบาลจีนจะประกาศนโยบายผ่อนคลาย เศรษฐกิจเพิ่มเติมออกมา ตลาดรับข่าวดีสองข่าว คือ การเลื่อนการเจรจาระหว่างจีนและสหรัฐฯ ออกไปก่อน รวมถึงความเป็นไปได้ที่ นายกฯ อังกฤษ จะเลื่อน Brexit ไปจากเดิม ที่กำหนดไว้ที่ 29 มี.ค. GDP ไทยไตรมาส 4/2018 ขยายตัว +3.7% YoY (prev. +3.3% YoY) หรือเมื่อเทียบรายไตรมาส ขยายตัว +0.8% QoQ sa พลิกกลับมาบวกจากไตรมาสก่อนหน้า ที่ […]
การส่งออกไทยหดตัว -5.7% YoY
BF Economic Research การส่งออกของไทยในเดือนม.ค. มีมูลค่า 18,994 ล้านดอลลาร์ฯ (vs. prev. 19,381.4 ล้านดอลลาร์ฯ, vs. last year YoY 20,130.5 ล้านดอลลาร์ฯ) หดตัว -5.7% YoY (vs. prev. -1.72% YoY) ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 23,026 ล้านดอลลาร์ฯ (vs. prev. 18,316.4 ล้านดอลลาร์ฯ, vs. last year YoY 20,199.51 ล้านดอลลารฯ) ขยายตัว +14.0% YoY (vs. prev. -8.1% YoY) สำหรับดุลการค้าเดือน ม.ค. ขาดดุล -4,032.4 ล้านดอลลาร์ฯ (vs. […]
การส่งออกไม่รวมน้ำมันของสิงคโปร์เดือนม.ค. 2019 หดตัวลงที่ -10.1% YoY ขณะที่ ยอดเงินโอนกลับประเทศจากแรงงานฟิลิปปินส์เดือนธ.ค. 2019 ขยายตัว 3.9% YoY
BF Economic Research สิงคโปร์ : การส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมัน (NODX) ของสิงคโปร์เดือนม.ค. 2019 หดตัวลงที่ -10.1% YoY เป็นการหดตัวลงต่ำสุดในรอบ 2 ปี ฟิลิปปินส์ : ยอดเงินโอนกลับประเทศจากแรงงานฟิลิปปินส์ที่ทำงานในต่างประเทศ (OFW) ในเดือนธ.ค. 2018 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 2,850 ล้านดอลลาร์ หรือขยายตัว 3.9% YoY สิงคโปร์: การส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมัน (NODX) ของสิงคโปร์เดือนม.ค. 2019 หดตัวลงที่ -10.1% YoY เร่งขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาที่หดตัวเช่นกันที่ -8.5 % YoY เป็นการหดตัวลงต่ำสุดในรอบ 2 ปี นับตั้งแต่เดือนต.ค. ปี 2016 และเป็นการหดตัวลงทั้งในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (-15.9% YoY) […]
GDP ไทยไตรมาส 4/2018 ขยายตัว 3.7% ทั้งปี 4.1%
BF Economic Research GDP ไทยไตรมาส 4/2018 ขยายตัว +3.7% YoY (prev. +3.3% YoY) หรือเมื่อเทียบรายไตรมาสขยายตัว +0.8% QoQ sa พลิกกลับมาบวกจากไตรมาสก่อนหน้าที่ -0.3% QoQ sa ทำให้ GDP ทั้งปี 2018 ขยายตัวที่ +4.1% จากปีก่อนที่ +3.9% และสูงเหนือค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ +3.1% ในด้านการใช้จ่าย การบริโภคภาคเอกชน (55% ของ GDP) ขยายตัว +5.3% YoY จากไตรมาก่อนที่ +5.2% YoY หนุนโดยการใช้สินเชื่อส่วนบุคคล การดำเนินมาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อย และยอดขายรถยนต์ การลงทุน (25% ของ GDP) […]