แนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปปี 2018
มองเศรษฐกิจยูโรโซนอาจชะลอตัวเล็กน้อย แต่ยังมีพื้นฐานที่มั่นคง มองได้แรงหนุนจากนโยบายการเงินผ่อนคลาย-อุปสงค์โลกโตต่อเนื่อง และตลาดตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งขึ้น ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อยจากฐานสูงในปีนี้ เราคาดว่าการเติบโตจะยังคงอยู่ในกรอบสูง เพราะที่ผ่านมา การขยายตัวกำลังแผ่ออกเป็นวงกว้างขึ้นทั้งในเชิงอุตสาหกรรมและภูมิศาสตร์ เป็นสัญญาณว่าโมเมนตัมเศรษฐกิจในรอบนี้มีพื้นฐานที่มั่นคง นอกจากนั้น อัตราเงินเฟ้อที่ยังไม่ฟื้นตัว จะส่งผลให้ ECB รักษานโยบายการเงินลักษณะผ่อนคลายต่อไปก่อน เมื่อประกอบกับการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์โลก และตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งขึ้น จึงเป็นปัจจัยหนุนให้เกิดการลงทุนในภูมิภาคเป็นวงจรบวกต่อในระยะถัดไป โดยล่าสุด ECB รายงานว่า มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อไตรมาส 4/2017 ของธนาคารพาณิชย์ต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนยังคงมีทิศทางผ่อนคลายลง ขณะที่ความต้องการสินเชื่อใหม่ปรับตัวขึ้นในทุกๆภาคส่วน จากอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ช่วยลดภาระการกู้ยืมลง สำหรับทิศทางของเศรษฐกิจปี 2018 เราคาดว่า GDP รวมของยูโรโซนจะขยายตัว 2.3% และคาดว่าเงินเฟ้อเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายของ ECB ที่ใกล้เคียงกับแต่ต่ำกว่า 2% ต่อไป เพราะที่ผ่านมา การตึงตัวของตลาดแรงงานและการขยายตัวของเศรษฐกิจ ยังไม่ส่งผลผ่านไปเป็นแรงขับเคลื่อนทางราคาชัดเจนนัก อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านการเมืองของยุโรปยังไม่หมดไปเสียทีเดียว เพราะกระบวนการเจรจาถอนตัวออกจาก EU ของสหราชอาณาจักร หรือ Brexit กำลังดำเนินไปอย่างเชื่องช้า การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลเยอรมนีเผชิญกับความล้มเหลว วาระของรัฐบาลอิตาลีจะสิ้นสุดลงในปีหน้า ทำให้จะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่เกิดขึ้น […]
ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจยูโรโซนทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 17 ปี
คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ (ESI) ซึ่งวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจใน Euro area พบว่า ดัชนีพุ่งขึ้น 1.4 จุด สู่ระดับ 116.0 ในเดือน ธ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2543 โดยได้แรงสนับสนุนมาจากความเชื่อมั่นในภาคบริการ, ค้าปลีก และภาคก่อสร้าง ทั้งนี้ตัวเลขความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศฝรั่งเศส และเยอรมนี ขณะที่ประเทศสเปนความเชื่อมั่นลดลง นอกจากนี้ EC ยังเปิดเผยว่า ดัชนี ESI ของสหภาพยุโรป (EU) ดีดตัวขึ้น 1.6 จุด สู่ระดับ 115.9 ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2543
China Economy EU Japan Thailand US
มุมมองเศรษฐกิจใน 5 ประเทศหลัก
US : เศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2017-2018 จะสามารถขยายตัวเกินค่าเฉลี่ยระยะยาวได้ที่ 2.5% ทั้งสองปี ด้วยแรงหนุนจากการลงทุนภาคเอกชนที่จะเริ่มผลิตเพื่อเพิ่มสินค้าคงคลังให้พอกับความต้องการบริโภคในประเทศ ส่วนการจ้างงานน่าจะยังเติบโตได้แข็งแกร่ง EU : ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ราคาพลังงานช่วยสนับสนุนการบริโภค ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มกลับมา การใช้สินเชื่อเริ่มดีขึ้นเรามองว่า GDP จะขยายตัวที่ 2.3% JP : เศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถขยายตัวได้อัตรา 1.4% เป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่มีส่วนช่วยผลักดันได้แก่ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือ Supplementary Budget จากรัฐบาล มีส่วนหนุนการบริโภคภาคเอกชน CH : เศรษฐกิจจีนน่าจะขยายตัวได้ที่ 6.5% โดยเป็นการขยายตัวตามเป้าหมายของทางการที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ โครงสร้างเศรษฐกิจจีนค่อยๆขยับเข้าภาคบริการและการบริโภคภาคเอกชน TH : การส่งออกและการใช้จ่ายลงทุนภาเอกชนจะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.8% ในปี 2017-2018