Fund Comment สิงหาคม 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ส.ค. ปรับเพิ่มขึ้นในทุกช่วงอายุ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยาวอายุ 3 – 30 ปีปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากประมาณ 8 – 24 bps ส่งผลให้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยมีความชันเพิ่มขึ้น โดยส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 2 ปี กับ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 95 bps เทียบกับ 81 bps ณ สิ้นเดือน ก.ค. สาเหตุหลักเป็นผลมาจากการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) มูลค่ารวม 1 แสนล้านบาท ซึ่งให้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มสำหรับพันธบัตรระยะยาว อีกทั้ง ยังเป็นการเพิ่มปริมาณพันธบัตรระยะยาวอายุระหว่าง 4 – 47 ปีในตลาด นอกจากนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจ ำปีงบประมาณ […]
Fund Comment กรกฎาคม 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
“อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะมีความผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลังของภาครัฐ ปริมาณพันธบัตรรัฐบาล (Bond supply) ความผันผวนในตลาดการเงินโลก อัตราแลกเปลี่ยน และเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดตราสารหนี้”
Fund Comment กรกฎาคม 2563: ภาพรวมตลาดหุ้น
“สิ่งที่ตลาดกำลังจับตามองต่อไป คือ พัฒนาการของสถานการณ์การแพร่ระบาด และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจว่าจะช้าเร็วกว่าที่คาดหวังไว้อย่างไร รวมทั้งปัจจัยที่กำลังใกล้เข้ามาอย่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐในช่วงปลายปี ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กระทบกับตลาดในระยะสั้น”
Fund Comment มิถุนายน 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
สรุป อัตราผลตอบแทนพันธบัตร จะมีความผันผวนมากขึ้น โดยเฉพาะจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจภายหลังจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ตราสารหนี้ภาคเอกชน จะมีความเสี่ยงด้านเครดิตและสภาพคล่องเพิ่มขึ้น กองทุนจะมีการลงทุนในหุ้นกู้โดยคัดเลือกผู้ออกหุ้นกู้ที่ได้รับผลกระทบด้านกระแสเงินสดในระดับต่ำ และมีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับภาระหนี้ที่จะครบกำหนดในระยะสั้น เพื่อลดความเสี่ยงด้านการระดมทุนเพื่อต่ออายุหุ้นกู้
Fund Comment มิถุนายน 2563: ภาพรวมตลาดหุ้น
สรุป แนวโน้มการลงทุนในช่วงต่อจากนี้ อยู่ที่การฟื้นตัวทางปัจจัยพื้นฐานว่าจะฟื้นขึ้นเร็วมากน้อยกว่าที่ตลาดคาดหวังไว้อย่างไร ความเสี่ยง ได้แก่ การแพร่ระบาดระลอกสอง รวมถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน ถ้ามีการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง อาจจะทำให้มีการเปลี่ยนนโยบายของสหรัฐฯ ส่วนปัจจัยบวกที่สนับสนุนคือสภาพคล่องในตลาดการเงิน กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้เป็นแบบ Selective ควรเน้นหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง และให้ความสำคัญกับธุรกิจที่เห็นสัญญาณของรายได้กลับมาในเวลาเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
Fund Comment พฤษภาคม 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นทั่วโลกในเดือนพฤษภาคมปรับตัวในทิศทางเชิงบวก หลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทยอยดีขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับความพร้อมของอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีมากขึ้น ทำให้หลายประเทศสามารถทยอยกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง เพิ่มความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่รวดเร็วมากขึ้นในระยะข้างหน้า และตัวเลขบ่งชี้ถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศจีนนั้น มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีประเด็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯและจีนที่กลับมาปะทุอีกครั้ง เช่น การที่สหรัฐฯโจมตีจีนเรื่อง การเป็นต้นตอการแพร่ระบาดของไวรัส การผ่านกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ในฮ่องกงของจีน และการถอดบริษัทจดทะเบียนของจีนในตลาดหุ้นสหรัฐ แต่ตลาดก็ยังมองว่าสถานการณ์ดังกล่าว ยังไม่ลุกลามบานปลายจนไปกระทบกับข้อตกลงการค้าเฟส 1 ที่ได้ทำกันไว้ ทำให้บรรยากาศการลงทุนโดยรวมยังเป็นเชิงบวก นอกจากนี้ ตลาดยังคงมีความหวังว่า การตอบสนองที่รวดเร็วเป็นประวัติการณ์ของธนาคารกลางต่างๆ และนโยบายการคลังขนาดใหญ่จากทางภาครัฐ จะทำให้เศรษฐกิจสามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ในเวลารวดเร็ว และไม่ได้สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจมากเกินไป ด้านตลาดหุ้นไทย ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.2% ในเดือนพฤษภาคม เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก ทำให้ ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี ติดลบลดลงเหลือ -15% โดยนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิที่ 3.16 หมื่นล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 4.7 หมื่นล้านบาท ขณะที่ ผลประกอบการไตรมาส 1 ที่ประกาศออกมานั้น กำไรของตลาดฯลดลงประมาณ 60% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีที่แล้ว โดยสาเหตุหลักมาจาก การขาดทุนสต็อกของกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี […]
Fund Comment พฤษภาคม 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน พ.ค. ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ตามทิศทางของ กนง. ที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 20 พ.ค. มาอยู่ที่ระดับ 0.50% จากความกังวลด้านภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีโอกาสหดตัวมากกว่าที่คาด อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มติดลบมากกว่าที่คาดจากปัจจัยของราคาพลังงานที่ลดลงเป็นหลัก อีกทั้งความกังวลด้านเสถียรภาพของระบบการเงินที่เปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุคงเหลือไม่เกิน 5 ปี ปรับลดลงในช่วงระหว่าง -4 ถึง -11 bps MTD ซึ่งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุคงเหลือ 5 ปี ณ สิ้นเดือน พ.ค. อยู่ที่ระดับ 0.82% (-9 bps MTD) อย่างไรก็ตาม พันธบัตรระยะยาวรุ่น 10-20ปี ปรับเพิ่มขึ้น 3 ถึง 13 bps MTD จากแรงขายของนักลงทุน เนื่องด้วยตลาดได้คาดการณ์ถึงปริมาณพันธบัตรที่จะเพิ่มขึ้นจากนโยบายการใช้จ่ายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งมีจำนวนสูงกว่า 6 แสนล้านบาท ในปีงบประมาณ 2563 ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุคงเหลือ […]
Fund Comment เมษายน 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน เม.ย. ปรับตัวลดลงตลอดช่วงอายุ จากภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ซึ่งภาครัฐยังคงประกาศใช้ พรก. ฉุกเฉินต่อถึงสิ้นเดือน พ.ค. ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า กนง. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีก 0.25% มาอยู่ที่ 0.50% ในการประชุมเดือน พ.ค. นี้ ทั้งนี้ หลังจากเกิดเหตุการณ์เงินทุนไหลออกจากสินทรัพย์ทุกประเภทเพื่อถือเงินสดในเดือน มี.ค. ทางภาครัฐได้มีการประกาศมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจเป็นจำนวนรวมกว่า 2 ล้านล้านบาท รวมถึงมาตรการรักษาเสถียรภาพทางการเงินจากธปท. ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. และแนวโน้มตลาดเงินโลกที่ได้รับแรงสนับสนุนจาก Fed ที่มีมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินถึง 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้นักลงทุนกลับเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยอีกครั้ง ส่งผลให้ Yield curve โดยรวมในเดือน เม.ย. ปรับลดลงในทิศทางขนานตัวจากเดือน มี.ค. โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในระยะ 10 ปี ณ สิ้นเดือน เม.ย. ปรับตัวตามการคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าวมาอยู่ที่ระดับ 1.21% […]
Fund Comment เมษายน 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนสูงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยหลังจากการปรับตัวลงแรงในเดือนมีนาคม ตลาดก็สามารถปรับตัวฟื้นขึ้นมาได้จากจากระดับต่ำสุดมากกว่า 20% ในเดือน เม.ย. จากการที่เหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ได้รับการรับมือที่เข้มข้นมากขึ้นจากประเทศต่างๆ ผ่านมาตรการของภาครัฐในภาคสาธารณสุขและการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการช่วยเหลือภาคธุรกิจ และการสร้างความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน เพื่อรักษาสภาพคล่องและกลไกตลาดให้ยังทำงานเป็นปกติได้ บรรยากาศการลงทุนในเดือนเมษายนนี้จึงเป็นไปในทิศทางเชิงบวก โดยถึงแม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่มีประกาศออกมาจะเป็นไปในเชิงลบ แต่ก็เป็นสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว นักลงทุนจึงหันมาให้น้ำหนักกับพัฒนาการที่ดีขึ้นเป็นลำดับของการแพร่ระบาดในประเทศต่างๆ ความหวังของการพัฒนายาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการกลับมาคลายล็อกดาวน์หลังจากที่สถานการณ์นั้นดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วมากขึ้น ด้านตลาดน้ำมันนั้น นอกจากจะถูกกดดันจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานอันทำให้ราคาน้ำมันตกต่ำแล้ว ยังลามไปจนเกิดภาวะติดลบครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยเป็นสาเหตุเพิ่มเติมจากภาวะขาดแคลนพื้นที่จัดเก็บ และสภาพคล่องที่น้อยในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ในช่วงที่สัญญาใกล้หมดอายุ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันก็ค่อยๆกลับมาสู่ภาวะปกติมากขึ้น สำหรับ ตลาดหุ้นไทยในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้น 175.8 จุด สู่ระดับ 1,301.66 จุด เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีติดลบลดลงเหลือ 17.6% นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิราว 4.7 หมี่นล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 7.8 หมื่นล้านบาท แนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงต่อจากนี้ยังคงมีความไม่แน่นอน โดยเศรษฐกิจที่ถูกล็อคดาวน์มาในเดือน […]
Fund Comment
Fund Comment กันยายน 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น
“แนวโน้มการลงทุนในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ยังไม่มีปัจจัยบวกเข้ามาในตลาดหุ้นไทย โดยต้องติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจต่างๆ การควบคุมการแพร่ระบาด และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่การเลือกตั้งของสหรัฐฯจะเป็นปัจจัยเชิง Sentiment ที่ตลาดให้ความสำคัญมากขึ้นในเดือนนี้ กลยุทธ์การลงทุน ยังต้องมีความ Selective เน้นหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจอย่างจำกัด และมีมูลค่าไม่แพง”