Fund Comment ตุลาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment ตุลาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

ภาพรวมตลาดหุ้น             ตลาดหุ้นโลกกลับมาปรับตัวขึ้นได้ 6.4% ในเดือนตุลาคม หลังจากปรับตัวลดลงในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า หรือ ลดลงจากจุดสูงสุดช่วงต้นปีมาราว 27.0% โดยความเข้มงวดทางการเงินโลกที่เร่งตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนผ่าน Bond Yield สหรัฐฯ 10 ปี ที่ปรับขึ้นมาที่ระดับ 4.0% และ Real Yield ที่ปรับขึ้นมาเป็นบวกในเกือบทุกช่วงอายุนั้น เริ่มส่งผลกระทบมากขึ้น ทั้งต่อภาคเศรษฐกิจจริงและสภาพคล่องในตลาดการเงิน ทำให้ตลาดเริ่มคาดการณ์ถึงสัญญาณนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลง โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ย ครั้งสุดท้ายของปีของ Fed ในเดือน ธ.ค. ผ่าน FedWatch Tool ว่าจะขึ้นดอกเบี้ย +75bps ลดลงจากมากกว่า 70% เหลือราว 40% กอปรกับ US 10Y Yield และค่าเงินสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลงเล็กน้อย […]

Fund Comment กันยายน 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment กันยายน 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.ย.   อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอายุน้อยกว่า 1 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 13-20 bps จากเดือนก่อน   เป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) เป็น 1.00% ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา   โดยกนง.มีมุมมองว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศ และคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะขยายตัวได้ที่ 3.3% และเพิ่มขึ้นเป็น 3.8% ในปีหน้า   สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวอายุมากกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 20-65 bps  เป็นการปรับตัวในทิศทางเดียวกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จากความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง  ซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% สู่ระดับ 3.00%-3.25% ในการประชุมในวันที่ 20-21 ก.ย. พร้อมส่งสัญญาณว่า จะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายที่วางไว้  ทั้งนี้ FED ประเมินว่า จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 4.25%-4.50% ในปี 2565 และปรับขึ้นอีกเป็น 4.50%-4.75% […]

Fund Comment กันยายน 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment กันยายน 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

ภาพรวมตลาดหุ้น             ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลดลงต่อจากปลายเดือนก่อนหน้า จากท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ยังคงเข้มงวดต่อเป้าหมายเงินเฟ้อ และความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วที่มีมากขึ้น ทำให้ดัชนี MSCI World Index ปรับตัวลดลง 9.7% ในเดือนกันยายน โดยในการประชุมเดือนที่ผ่านมา Fed ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ย 75bps สู่ระดับ 3.00-3.25% ตามที่ตลาดคาด แต่ Dot Plot ส่งสัญญาณว่า Fed จะยังคงขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องไปถึง Terminal rate ที่ 4.6% ในปี 2023 ซึ่งบ่งชี้ถึงการยังไม่รีบปรับลดดอกเบี้ยลงในปีหน้า ทิศทางดังกล่าวสร้างความผันผวนต่อตลาดพันธบัตรและสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก โดย Bond Yield สหรัฐฯ 10 ปี ปรับขึ้นแตะระดับ 4.0% สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2010 และค่าเงิน Dollar Index ปรับขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบ 20 ปี […]

Fund Comment สิงหาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment สิงหาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกปิดลดลง 3.9% ในเดือนสิงหาคม โดยปรับตัวขึ้นต่อในครึ่งแรกเดือนก่อนที่จะปรับตัวลดลงในครึ่งเดือนหลัง ท่ามกลางความคาดหวังต่อนโยบายการเงินและสัญญาณที่ปะปนกันของตัวเลขเศรษฐกิจ โดยปัจจัยต่อเนื่อง ได้แก่ ความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดเริ่มคาดหวังต่อนโยบายการเงินที่อาจผ่อนคลายลง หลังการส่งสัญญาณที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สนับสนุนโดยตัวเลขเงินเฟ้อ CPI YoY ที่เพิ่มขึ้นน้อยลงเป็น 8.5% และ MoM เพิ่มขึ้นเพียง 0.3% น้อยกว่าตลาดคาด ภาวะ Technical recession ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลัง GDP ไตรมาส 2 ออกมาติดลบ รวมถึง Yield Spread สหรัฐฯ 10 ปี และ 2 ปี ที่ยังคงอยู่ระดับติดลบลึกสุด นับตั้งแต่ปี 2000 อย่างไรก็ดี ตัวเลขการจ้างงานและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงออกมาแข็งแกร่งต่อเนื่อง ทำให้บางฝ่ายมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงห่างไกลจากภาวะ Recession และการชะลอตัวลงของภาคการบริโภคและตลาดบ้านนั้น เป็นผลมาจากกำลังซื้อที่ถูกบั่นทอนจากภาวะเงินเฟ้อ […]

Fund Comment สิงหาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment สิงหาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ส.ค.  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-12 bps จากเดือนก่อน  เป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) เป็น 0.75% ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา  อย่างไรก็ตาม  รายงานการประชุมกนง. ยังยืนยันการดำเนินนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป และปรับเปลี่ยนตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ทำให้ความกังวลที่ทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะปรับขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนกับของสหรัฐฯ ผ่อนคลายลง  ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2-7 ปีปรับตัวลดลง 13-25 bps จากเดือนก่อน    ด้านกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในเดือนส.ค. กลับมาเป็นยอดซื้อสุทธิอีกครั้งที่ 1.13 พันล้านบาท แบ่งเป็น การซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น 12.19 พันล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว 8.72 พันล้านบาท โดยมีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระคืนรวม 19.78 พันล้านบาท   สำหรับรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในเดือนส.ค.อยู่ที่  8.3% ลดลงจากเดือนก่อนที่ 8.5% แต่ยังคงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 8.1%  โดยราคาสินค้าหมวดบริการยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของอัตราเงินเฟ้อในเดือนที่ผ่านมา   ขณะที่ราคาสินค้าพลังงานเริ่มปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก       ในขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อของไทย  กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ส.ค. อยู่ที่ 7.86% เพิ่มขึ้นจาก 7.61% ในเดือนก่อน  โดยปัจจัยหลักยังคงเป็นผลจากราคาสินค้าหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นถึง […]

Fund Comment สิงหาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment สิงหาคม 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

ภาพรวมตลาดหุ้น ตลาดหุ้นโลกปิดลดลง 3.9% ในเดือนสิงหาคม โดยปรับตัวขึ้นต่อในครึ่งแรกเดือนก่อนที่จะปรับตัวลดลงในครึ่งเดือนหลัง ท่ามกลางความคาดหวังต่อนโยบายการเงินและสัญญาณที่ปะปนกันของตัวเลขเศรษฐกิจ โดยปัจจัยต่อเนื่อง ได้แก่ ความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดเริ่มคาดหวังต่อนโยบายการเงินที่อาจผ่อนคลายลง หลังการส่งสัญญาณที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา สนับสนุนโดยตัวเลขเงินเฟ้อ CPI YoY ที่เพิ่มขึ้นน้อยลงเป็น 8.5% และ MoM เพิ่มขึ้นเพียง 0.3% น้อยกว่าตลาดคาด ภาวะ Technical recession ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลัง GDP ไตรมาสสองออกมาติดลบ รวมถึง Yield Spread สหรัฐฯ 10 ปี และ 2 ปี ที่ยังคงอยู่ระดับติดลบลึกสุดนับตั้งแต่ปี 2000 อย่างไรก็ดี ตัวเลขการจ้างงานและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงออกมาแข็งแกร่งต่อเนื่อง ทำให้บางฝ่ายมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงห่างไกลจากภาวะ Recession และการชะลอตัวลงของภาคการบริโภคและตลาดบ้านนั้น เป็นผลมาจากกำลังซื้อที่ถูกบั่นทอนจากภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ Fed […]

Fund Comment กรกฎาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment กรกฎาคม 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.ค.  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลง 5-44 bps จากเดือนก่อน เป็นผลมาจากตลาดเริ่มมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ IMF ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ลงเหลือ 2.3% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 2.9% จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวลง  แม้แนวโน้มเศรษฐกิจจะเริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวลง  แต่ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารกลางหลายประเทศยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง นำโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% สู่ระดับ 2.25% – 2.50%, ธนาคารกลางยุโรปปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับ 0.00% สู่ระดับ 0.50%, ธนาคารกลางอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 1.75%  อีกทั้งในวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา  คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยมีมติ 6 ต่อ 1 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 0.75%  โดยมีคณะกรรมการ 1 ท่าน เห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% แทน   ด้านกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในเดือนก.ค. […]

Fund Comment กรกฎาคม 2565: มุมมองตลาดหุ้น

Fund Comment กรกฎาคม 2565: มุมมองตลาดหุ้น

 ภาพรวมตลาดหุ้น  ตลาดหุ้นโลกยังคงได้รับอิทธิพลจาก 2 ปัจจัยหลัก จากแนวโน้มนโยบายการเงินและทิศทางของภาวะเศรษฐกิจ โดยในเดือนกรกฎาคม แม้ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.ประเทศพัฒนาแล้วจะยังออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทั้งของสหรัฐฯที่ 9.1% YoY และยูโรโซน ที่ 8.5% YoY ส่งผลกดดันสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงครึ่งแรกของเดือน แต่การที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา และเครื่องชี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง ทำให้ตลาดหันมาให้ความสำคัญกับความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเกิดภาวะถดถอยมากขึ้น สะท้อนผ่านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลงในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาหรือลดลงราว 90bps จากจุดสูงสุดในช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ 3.4% และ Yield Spread 10 ปี และ 2 ปี ที่กลับมาติดลบเป็นครั้งที่ 2 ของปีและเป็นระดับลึกสุดนับตั้งแต่ปี 2000 ซึ่งความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ อาจทำให้แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ไม่ได้มากอย่างที่คาด ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหุ้นเศรษฐกิจพัฒนาแล้วทั้งสหรัฐฯ และยูโรโซนปรับตึ้วขึ้นได้ดีในเดือนนี้ S&P500 ที่ 9.1% และ Euro Stoxx […]

Fund Comment มิถุนายน 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment มิถุนายน 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน มิ.ย. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น โดยเฉพาะพันธบัตรอายุ 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างแรง 42 bps จากสิ้นเดือนก่อน มาอยู่ที่ 1.09% หลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 8 มิ.ย. มีมติ 4 ต่อ 3 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% โดย 3 เสียงเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนที่คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีกทั้งรายงานการประชุมยังระบุว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบันจะมีความจำเป็นลดลงในระยะข้างหน้า ทำให้ตลาดคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกของ กนง. เร็วขึ้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไม่เกิน 17 bps ยกเว้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ที่ปรับลดลง 6 bps มาอยู่ที่ 2.90% ณ สิ้นเดือน […]

Fund Comment มิถุนายน 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment มิถุนายน 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น

ภาพรวมตลาดหุ้น ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวผันผวน โดยปรับตัวลงในช่วงแรกของเดือน และปิดลดลง 8.6% ในเดือนมิถุนายน โดยประเด็นที่เป็นปัจจัยกดดันตลาดมาจาก ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯเดือน พ.ค. ที่ 8.6% ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาด ตามมาด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในการประชุมเดือน มิ.ย. ที่สูงถึง 75bps เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1994 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ส่งผลต่อสภาพคล่องในระบบการเงิน และโมเมนตัมทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วให้ชะลอตัวลงจนมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งตลาดได้สะท้อนความกังวลดังกล่าวผ่านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ลดระดับลงในช่วงปลายเดือน และสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการที่เริ่มปรับตัวลดลง ยกเว้นราคาน้ำมันที่ชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะส่งผลช่วยให้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อลดความร้อนแรงลงในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี ตลาดอาจให้ความสำคัญกับตัวเลขเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งภาคการจ้างงาน ภาคการบริโภค ภาคการผลิต เป็นต้น โดยถ้าหากเศรษฐกิจสามารถประคองตัวได้ ในขณะที่นโยบายการเงินมีความเข้มงวดขึ้น และเงินเฟ้อสามารถควบคุมได้ ก็จะทำให้นโยบายการเงินไม่จำเป็นต้องเข้มงวดมากเกินไป ซึ่งจะเป็นบวกต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวมและหนุนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงได้ ในด้านเศรษฐกิจโลกนั้น แม้ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซนในช่วงครึ่งปีแรกจะยังคงฟื้นตัวได้ดี แต่ก็ต้องเผชิญกับระดับอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งอาจส่งผลต่อกำลังซื้อผู้บริโภคและการลงทุนของภาคธุรกิจ โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้น ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง แต่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มส่งสัญญาณลดลงจากความกังวลด้านเงินเฟ้อ ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซน ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อและด้านพลังงาน […]