Cash is King or Cash is Trash

Cash is King or Cash is Trash

โดย…ชัชวาล  สิมะธัมนันท์ ในอดีต คำว่า “Cash is king” ถ้าแปลตรงตัว คือ เงินสด คือ พระราชา หรือที่เราได้ยินกันบ่อยๆ คือ เงินสด คือ พระเจ้า มักจะใช้พูดถึงเวลาบริษัทประสบปัญหาทางการเงิน โดยเฉพาะยามวิกฤต ที่หลายๆ บริษัท หรือบุคคลทั่วไปก็ตาม ขาดเงินสด หรือภาษาทางการ คือ ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่มีเงินสดที่เพียงพอไว้ใช้จ่ายหมุนเวียน ซึ่งมีสาเหตุมาจากกำไรลดลงหรือขาดทุน มีหนี้สินที่ครบกำหนด ดอกเบี้ยต้องจ่ายคืน จะขอกู้เงินใหม่ก็ยาก ผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องนั้นอาจรุนแรงจนทำให้ต้องขายทรัพย์สิน เพื่อนำเงินสดมาใช้ในการดำเนินงานของกิจการ หรือเพื่อการชำระหนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการล้มละลาย หากกิจการไหนไม่สามารถหาเงินสดมาได้ ก็คงต้องล้มละลายหรือปิดกิจการไป ดังนั้น การมีเงินสดในมือ หรือการจัดการกระแสเงินสดที่ดี ทำให้สามารถผ่านช่วงวิกฤต และเป็นโอกาสดีที่กิจการสามารถซื้อของถูก ไม่ว่าจะเป็น สินทรัพย์ ที่ดิน โรงงาน สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ จากคู่แข่ง […]

CBDC สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง อีกนวัตกรรมการเงินที่ต้องจับตา

CBDC สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง อีกนวัตกรรมการเงินที่ต้องจับตา

โดย…เต็มเดือน พัฒจันจุน กองทุนบัวหลวง การเกิดขึ้นของคริปโตเคอเรนซี (Cryptocurrency) และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เทคโนโลยีแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology: DLT) หรือที่รู้จักในนามบล็อกเชน (Blockchain) เข้ามาปฏิวัติวงการการเงินที่กำลังปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยท่านผู้อ่านอาจจะรู้จักกับ Cryptocurrency กันบ้างแล้ว เช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) ซึ่งเป็น Decentralized Cryptocurrency ที่ไม่มีผู้ออกที่ชัดเจน แต่มีกลไกให้ทุกคนมีโอกาสเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการรับรองความถูกต้องของธุรกรรม หรือลิบรา (Libra) ที่เป็น Private-entity Issued Cryptocurrency มีภาคเอกชนเป็นผู้ออก ในคอลัมน์นี้ เราจะมาทำความรู้จักกับสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency: CBDC) ซึ่งอาจเป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญที่ผลักดันให้เกิด Cashless Society อย่างเต็มรูปแบบในอนาคต ท่ามกลางปัจจัยเร่งจากโควิด-19 ที่หนุนระบบการชำระเงินแบบ Contactless Central Bank Digital […]

CIO กองทุนบัวหลวง เผยจุดเด่น B-CHINE-EQ โอกาสการลงทุนหุ้นจีนทั่วโลก

CIO กองทุนบัวหลวง เผยจุดเด่น B-CHINE-EQ โอกาสการลงทุนหุ้นจีนทั่วโลก

ในช่วงที่ผ่านมา เราจะเริ่มเห็นนักลงทุนหันมาให้ความสนใจกับการลงทุนในหุ้นจีนมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจจีนมีความแข็งแกร่ง แม้จะเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 แต่เศรษฐกิจจีนก็ยังสามารถขยายตัวได้อยู่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ  อย่างไรก็ตามนักลงทุนก็มีคำถามตามมาว่า เศรษฐกิจจีนจะเติบโตได้ดีจริงหรือไม่ ธุรกิจจีนมีโอกาสการเติบโตได้มากแค่ไหน ราคาหุ้นจีนถือว่าแพงไปแล้วหรือยัง ซึ่ง คุณสันติ ธนะนิรันดร์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน (CIO) กองทุนบัวหลวง จะมาไขคำตอบเหล่านี้ให้ พร้อมเจาะลึกด้วยว่า กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ) ของกองทุนบัวหลวง มีความแตกต่างไปจากกองทุนหุ้นจีนอื่นๆ อย่างไร ทำไมจึงน่าสนใจ ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ตลาดหุ้นจีนน่าสนใจ? มี 2 ปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้นจีนมีความน่าสนใจ 1.ภาวะเศรษฐกิจ – เศรษฐกิจจีนเติบโตได้ดี โดยเติบโตประมาณ 6% ต่อปี ช่วงก่อนโควิด-19 และในช่วงที่มีโควิด-19 แพร่ระบาด จีนก็เป็นไม่กี่ประเทศที่ยังมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ โดยเติบโตได้ 2% ในขณะที่ประเทศอื่นๆ การเติบโตติดลบกันหมด สิ่งนี้ทำให้การบริโภคในประเทศของจีนยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโดยปกติโตได้เกือบ 10% เลยทีเดียว 2.การใช้อินเทอร์เน็ตในจีน – มีการใช้งานอย่างกว้างขวางมาก เพราะฉะนั้นธุรกิจอี-คอมเมิร์ซจึงเติบโตได้ดี ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีก็เติบโตได้ดีตามไปด้วย […]

Technology Infrastructures เพื่อรองรับชีวิตดิจิทัล

Technology Infrastructures เพื่อรองรับชีวิตดิจิทัล

โดย…ชนาทิพย์ เตียวตรานนท์ กองทุนบัวหลวง โควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจและสังคม  เป็นตัวเร่งให้ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด  เราได้เห็นธุรกิจที่ได้รับประโยชน์และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงจนต้องปิดกิจการไปเลยก็มี ก่อนหน้านี้ เราเคยกล่าวถึงยอดขายของออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้นหลังเกิดโควิด-19 ยอดการใช้แอปพลิเคชัน เพื่อทำ video conference เพิ่มขึ้น ไปจนถึงการใช้ e-signature แทนการเซ็นเอกสารเพิ่มขึ้น เพื่อความสะดวกในช่วง work from home (WFH) ขณะ lockdown ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนได้จากการปรับขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ (NYSE, NASDAQ) เช่น หุ้น FANG+ (Facebook, Amazon, Netflix, Google, อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) เพราะเป็นตลาดที่หุ้นส่วนใหญ่เป็นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจึงให้ผลตอบแทน outperform ตลาดอื่น คอลัมน์นี้ เราจะกล่าวถึงความสำคัญและแนวโน้มของการเติบโตที่ดีของเทคโนโลยี และ infrastructures ที่จำเป็นเพื่อรองรับชีวิต new normal เนื่องจากช่วง lock down ทำให้มีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น […]

Technology Infrastructures เพื่อรองรับชีวิตดิจิทัล

Technology Infrastructures เพื่อรองรับชีวิตดิจิทัล

โดย…ชนาทิพย์ เตียวตรานนท์ กองทุนบัวหลวง โควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นตัวเร่งให้ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด  เราได้เห็นธุรกิจที่ได้รับประโยชน์และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงจนต้องปิดกิจการไปเลยก็มี คอลัมน์บัวหลวงก่อนหน้านี้ เราได้กล่าวถึงยอดขายของออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้นหลังเกิดโควิด-19  ยอดการใช้แอปพลิเคชันเพื่อทำ video conference เพิ่มขึ้น ไปจนถึงการใช้ e-signature แทนการเซ็นต์เอกสารเพิ่มขึ้นเพื่อความสะดวกในช่วง work from home (WFH) ขณะ lockdown ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนได้จากการปรับขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ (NYSE, NASDAQ) เช่น หุ้น FANG+ (Facebook, Amazon, Netflix, Google, อื่นๆที่เกี่ยวข้อง) เพราะเป็นตลาดที่หุ้นส่วนใหญ่เป็นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจึงให้ผลตอบแทน outperform ตลาดอื่น คอลัมน์นี้เราจะกล่าวถึงความสำคัญและแนวโน้มของการเติบโตที่ดีของ เทคโนโลยี และ infrastructures ที่จำเป็นเพื่อรองรับชีวิต new normal เนื่องจากช่วง lock down ทำให้มีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น  ผู้บริโภคสั่งซื้อของ มี delivery […]

ชีวิตดิจิทัลหลังโควิด

ชีวิตดิจิทัลหลังโควิด

โดย… พิชา  เลียงเจริญสิทธิ์ กองทุนบัวหลวง ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนของปี 2020 ซึ่งประเทศของเราได้มีการล็อคดาวน์เมืองบางส่วน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ท่านผู้อ่านหลายท่านคงจะมีประสบการณ์เช่นเดียวกันว่า รูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน การบริโภคสินค้า หรือการทำงานนั้นมีความเปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดเลย คือ การซื้อสินค้าออนไลน์ที่พุ่งขึ้นชัดเจน เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ยอดขายสินค้าออนไลน์ของ Amazon.com ในทวีปอเมริกาเหนือของไตรมาสแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นเป็น  32% y-y เมื่อเทียบกับที่ขยายตัวประมาณ 24% y-y ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ซึ่งนี่ยังไม่สะท้อนถึงผลของ Traffic ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเดือนช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม โดยหลังจากหลายประเทศทยอยเปิดเมืองในช่วงเดือนพฤษภาคม ได้ส่งผลให้ยอดขายออนไลน์ของสินค้าบางกลุ่มชะลอลงมาก เช่น ร้านค้าเฟอร์นิเจอร์ออนไลน์ ที่ได้รับผลบวกเป็นพิเศษในช่วงล็อคดาวน์ กลับมี traffic ที่ลดลงชัดเจน เนื่องจากผู้บริโภคสามารถกลับไปซื้อสินค้าได้ที่สาขาของร้านค้าคู่แข่งขนาดใหญ่ได้ แต่ธุรกิจออนไลน์หลายแห่งยังมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่อง (ชะลอลงเพียงเล็กน้อย) แม้ว่าสถานการณ์จะทยอยกลับสู่ภาวะปกติ เช่น marketplace สำหรับการหาคนทำงานฟรีแลนซ์ หรือ การบริการส่งอาหาร online […]

ไม่ได้มีแค่เทคโนโลยีที่น่าลงทุนในรอบนี้ Healthcare/ Biotech ก็เช่นกัน

ไม่ได้มีแค่เทคโนโลยีที่น่าลงทุนในรอบนี้ Healthcare/ Biotech ก็เช่นกัน

โดย มทินา วัชรวราทร กองทุนบัวหลวง โควิด -19 ถึงแม้จะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมหาศาล แต่ก็เป็นเครื่องเตือนใจเช่นกันว่า ไม่มีสิ่งใดมาทดแทนการมีสุขภาพที่ดีได้เลย ดังนั้น เราจึงเชื่อว่า คนจะให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้หนึ่งในแนวโน้มหลักในอนาคต คือ การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและความรู้ด้านการแพทย์ เพื่อนำไปสู่การป้องกัน หรือรักษาโรค ที่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น การคิดค้นยาใหม่ๆ การให้บริการทางด้านการแพทย์ ที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยทุกขั้นตอน นำไปสู่การเติบโตใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมการแพทย์ Citi ออกรายงานเรื่อง 10 themes for the New Decades และหนึ่งในนั้น คือ การนำ AI มาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง และเราเชื่อว่า ธีมนี้ก็หนีไม่พ้นการนำ AI มาใช้ในการแพทย์ ในยุคต่อไปที่เทคโนโลยีกับการแพทย์คือเรื่องเดียวกัน เราเชื่อว่า ไม่มีช่วงเวลาไหนที่น่าลงทุนในหุ้นหรือกองทุนที่เกี่ยวกับการแพทย์ โรงพยาบาล หรือ biotech ได้เท่าช่วงเวลานี้ โรงพยาบาลจะเปลี่ยนไปอย่างไร ในขณะที่ทุกธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในช่วงที่ปิดเมืองหรือกำลังซื้อที่แย่ลง ธุรกิจโรงพยาบาลจากที่นักลงทุนคิดว่า […]

เตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้วย “Agile”

เตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้วย “Agile”

โดย…เศรณี นาคธน กองทุนบัวหลวง “Agile” คือ แนวคิดในการทำงานที่สามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสถานการณ์ สภาพแวดล้อม รวมถึงรวมถึงความต้องการของลูกค้า ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากบริษัทเทคโนโลยีที่ตระหนักได้ว่า ระบบการทำงานแบบเดิมไม่สามารถก้าวทันต่อความต้องการของลูกค้าได้ ดังนั้น แทนที่ระบบการทำงานจะเป็นลำดับขั้นที่เริ่มต้นด้วยการหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงไปดำเนินการปฏิบัติงานจนออกมาเป็นผลลัพธ์ และหากผลงานหรือผลลัพธ์ที่ได้ไม่ตอบโจทย์ตามความต้องการหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปผู้ปฏิบัติงานจึงกลับไปแก้ไขอีกรอบ จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจของทุกฝ่าย แต่ระบบการ Agile จะเน้นการทำงานร่วมกัน มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง มีความยืดหยุ่นในแผนการปฏิบัติงาน ทำให้ผลงานที่ออกมาสามารถตอบสนองความต้องการของทุกฝ่ายและทันต่อสถาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงเพื่อให้ทราบถึงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำงานได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ แนวคิด Agile ในอาเซียนยังไม่แพร่หลายมากนัก โดยธุรกิจที่นำมาปรับใช้ส่วนใหญ่จะได้แก่ธุรกิจด้านเทคโนโลยีและโดยเฉพาะธุรกิจ Start Up ด้วยเหตุผลด้านวัฒนธรรม ระบบการศึกษา กรอบความคิด (Mindset) และมุมมอง โดยธุรกิจส่วนใหญ่ในเอเชีย รวมถึงอาเซียน จะให้ความสำคัญกับลำดับขั้นตอนการทำงาน ลำดับความอาวุโส ลำดับตำแหน่งงาน หลายองค์กรที่อำนาจการตัดสินใจถูกกระจุกอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาทำให้ไม่เกิดความยืดหยุ่นเท่าที่ควร รวมไปถึงลักษณะนิสัยของชาวอาเซียนที่มักหลีกเลี่ยงความขัดแย้งจนกระทั่งไม่เกิดการแสดงความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องที่ดีที่ในปัจจุบันธุรกิจขนาดใหญ่ในหลากหลายอุตสาหกรรมของอาเซียนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของ Agile มากขึ้น และพยายามที่จะนำมาปรับใช้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สำหรับบริษัทขนาดใหญ่และเก่าแก่นั้นการปฏิวัติองค์กรจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งหลายองค์กรเริ่มด้วยการเสริมทักษะและพยายามปรับเปลี่ยนกรอบความคิดของกับพนักงานในองค์กร ทั้งนี้ […]

ความท้าทายของสินค้าแบรนด์หรูในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ

ความท้าทายของสินค้าแบรนด์หรูในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ

โดย ณัฐพล ปรีชาวุฒิ กองทุนบัวหลวง หลายคนคงคิดว่า สินค้าแบรนด์หรูระดับโลกจะมีความทนทานต่อวิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างดีเยี่ยม ด้วยความแข็งแกร่งของแบรนด์ อัตรากำไรที่สูง รวมถึงกลุ่มลูกค้าที่ไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ซบเซาลงมากนัก ซึ่งเจ้าของแบรนด์หรูยักษ์ใหญ่ทั่วโลกเองก็คิดเช่นเดียวกันในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 และพวกเค้ายิ่งมั่นใจมากขึ้น เมื่อในช่วง 6 เดือนแรกของวิกฤตเศรษฐกิจ ยอดขายของพวก เขาได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่วิกฤตเศรษฐกิจไม่เคยปราณีใคร เพราะหลังจากนั้นไม่นาน ยอดขายของอุตสาหกรรมแบรนด์หรูที่เคยเติบโต 10% ต่อเนื่อง 4 ปีติดต่อกัน กลับต้องหดตัวลงกว่า 4% ในปี 2009 ส่งผลให้มูลค่าหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมแบรนด์หรูปรับตัวลดลงกว่า 40% ในช่วงปีดังกล่าว ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 แบรนด์ดังทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบและต้องปรับกลยุทธ์กันทั้งสิ้น อาทิ ยักษ์ใหญ่อย่างกลุ่ม LVMH ที่มีอัตราการเติบโตลดลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับในช่วงก่อนเกิดวิกฤตแบรนด์ Chanel ต้องปรับลดพนักงานกว่า 200 ตำแหน่งทั่วโลก เช่นเดียวกับแบรนด์เนมดังของอังกฤษอย่าง Burberry ที่ปรับลดพนักงานทั่วโลกกว่า 500 ตำแหน่ง นอกจากนี้ แบรนด์รถหรูอย่าง Bentley […]

นวัตกรรมรับมือกับฝุ่นพิษ

นวัตกรรมรับมือกับฝุ่นพิษ

โดย … ณัฐคม ธีรโรจนวงศ์ กองทุนบัวหลวง อย่างที่ทราบกันดีว่า ในหลายประเทศทั่วโลก เผชิญกับปัญหามลพิษและฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกินกว่าค่ามาตรฐาน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยที่ประสบปัญหาอย่างหนักในช่วงต้นปีที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากหลากหลายปัจจัย เช่น การปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ยานพาหนะ การเผาขยะ รวมไปถึงสภาพอากาศที่ปิด จนทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละอองในอากาศขึ้น ล่าสุด องค์การอนามัยโลก เปิดเผยว่า ประชากร 9 ใน 10 ของโลก สูดดมอากาศที่ปนเปื้อนมลพิษ และพบว่า ปัญหามลพิษดังกล่าวได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 7 ล้านคนต่อปี โดยเกิดขึ้นกับประเทศที่กำลังพัฒนามากกว่า 90% และในส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี จากการสูดดมและสะสมของมลพิษเป็นเวลานานติดต่อกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ รวมไปถึงการใช้ชีวิตของประชาชน จึงทำให้รัฐบาลในหลายประเทศให้ความสำคัญที่จะเร่งแก้ไขปัญหานี้แบบจริงจัง ประเทศจีน ถือว่า เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยมีการขยายตัวของเมือง และเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม จนกลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก แต่ในขณะเดียวกัน การขยายตัวอย่างรวดเร็วของจีน […]