IMF เตือนการขึ้นภาษีนำเข้าตอบโต้กันไปมา อาจทำศก.เอเชียสะดุด

IMF เตือนการขึ้นภาษีนำเข้าตอบโต้กันไปมา อาจทำศก.เอเชียสะดุด

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนในวันนี้ (19 พ.ย.) ว่า การขึ้นภาษีนำเข้าตอบโต้กันไปมาอาจบั่นทอนโอกาสทางเศรษฐกิจของเอเชีย เพิ่มต้นทุนและกระทบห่วงโซ่อุปทาน แม้ IMF คาดการณ์ว่า ภูมิภาคนี้จะยังคงเป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจโลก “การขึ้นภาษีนำเข้าตอบโต้กันไปมา มีความเสี่ยงที่จะกระทบต่อโอกาสการเติบโตทั่วทั้งภูมิภาค ทำให้ห่วงโซ่อุปทานยืดเยื้อขึ้นและมีประสิทธิภาพน้อยลง” กฤษณะ ศรีนิวาสัน ผู้อำนวยการ IMF เอเชียแปซิฟิก กล่าวในฟอรัมที่จังหวัดเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เรื่องความเสี่ยงเชิงระบบ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า คำเตือนของศรีนิวาสันเกิดขึ้น ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแผนการของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีน 60% และสินค้านำเข้าอื่นๆ อย่างน้อย 10% ภาษีนำเข้าอาจเป็นอุปสรรคต่อการค้าโลก ฉุดการเติบโตของประเทศที่เน้นการส่งออก และอาจทำให้เงินเฟ้อในสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้น ซึ่งจะบีบให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ต้องขึ้นดอกเบี้ย แม้ว่าแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะยังไม่สดใสก็ตาม เมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมา สหภาพยุโรป (EU) เพิ่งประกาศขึ้นภาษีรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในจีนสูงถึง 45.3% ซึ่งทำให้จีนตอบโต้กลับ IMF คาดการณ์ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic […]

IMF เตือนเศรษฐกิจเอเชียเสี่ยงถูกกระทบจากสงครามการค้า-วิกฤตอสังหาฯ จีน

IMF เตือนเศรษฐกิจเอเชียเสี่ยงถูกกระทบจากสงครามการค้า-วิกฤตอสังหาฯ จีน

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจเอเชียมีความเสี่ยงมากขึ้นจากสถานการณ์ตึงเครียดด้านการค้าที่ทวีความรุนแรง รวมถึงวิกฤตการณ์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน และความเป็นไปได้ที่ตลาดจะผันผวนอย่างต่อเนื่อง IMF ระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชีย ซึ่งเผยแพร่ในวันนี้ (1 พ.ย.) ว่า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในจีนนั้น อาจกระตุ้นให้เกิดความตึงเครียดทางการค้า โดยส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนในประเทศเพื่อนบ้านที่มีโครงสร้างการส่งออกคล้ายกัน โดย IMF เรียกร้องให้จีนดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์มากขึ้น “เศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวยาวนานและรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้นั้น จะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก ดังนั้นการตอบสนองด้านนโยบายของจีนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องนี้” IMF ระบุ พร้อมเรียกร้องให้จีนใช้มาตรการต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อภาคอสังหาริมทรัพย์และเสริมสร้างการอุปโภคบริโภคในภาคเอกชนให้แข็งแกร่งขึ้น “ความเสี่ยงที่รุนแรง คือ การตอบโต้ทางการค้าระหว่างบรรดาประเทศคู่ค้ารายใหญ่ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการแตกกลุ่ม (Fragmentation) ทางการค้า และส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค” IMF ระบุ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ในรายงานคาดการณ์ล่าสุดนั้น IMF คาดว่าเศรษฐกิจเอเชียจะขยายตัว 4.6% ในปี 2567 และ 4.4% ในปี 2568 โดยระบุว่า การผ่อนคลายนโยบายการเงินทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะช่วยหนุนอุปสงค์ของภาคเอกชนในปีหน้า ที่มา: รอยเตอร์

IMF เพิ่มคาดการณ์ GDP จีนปีนี้ โต 5% คาดปี 68 ขยายตัว 4.5%

IMF เพิ่มคาดการณ์ GDP จีนปีนี้ โต 5% คาดปี 68 ขยายตัว 4.5%

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของจีนในปี 2567 และ 2568 ขึ้นปีละ 0.4% สู่ระดับ 5% และ 4.5% ตามลำดับ หลังพบว่าเศรษฐกิจจีนในไตรมาสแรกของปีนี้แข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์  หลังก่อนหน้านี้ คาดการณ์ว่า GDP ของจีนในปี 2567 จะขยายตัวที่ระดับ 4.6% อย่างไรก็ตาม ได้เตือนว่า การเติบโตจะช้าลงในปีต่อๆ ไป การคาดการณ์ครั้งใหม่ของ IMF เกิดขึ้น หลังรัฐบาลจีนพยายามเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่ซบเซา หลังจีนต้องเผชิญกับการเติบโตที่อ่อนแอ เนื่องมาจากวิกฤตการณ์ด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ยืดเยื้อ และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ผู้บริโภค และธุรกิจในภาคต่าง ๆ อย่างไรก็ดี IMF กล่าวเตือนว่า การเติบโตจะชะลอตัวลงเหลือ 3.3% ในปี 2572 เนื่องจากประชากรสูงวัยมีจำนวนเพิ่มขึ้น และการขยายตัวด้านการผลิตที่ชะลอตัวลง Gita […]

‘คริสตาลินา จอร์เจียวา’ อยากนั่งผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟต่อสมัยสอง

‘คริสตาลินา จอร์เจียวา’ อยากนั่งผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟต่อสมัยสอง

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงในเมื่อวานนี้ (7 มี.ค.) ว่า นางคริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) สนใจที่จะดำรงตำแหน่งผู้นำต่อไปเป็นสมัยที่สองอีก 5 ปี จากที่จะหมดวาระในวันที่ 30 ก.ย.นี้ นางจอร์เจียวา เพิ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากนายบรูโน เลอ แมร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของฝรั่งเศส ในการประชุมกลุ่ม G20 ที่เซาเปาโล โดยระบุว่า เธอทำงานได้ “ยอดเยี่ยม” ในการนำไอเอ็มเอฟและฝรั่งเศสจะสนับสนุนการดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง การสนับสนุนของนายเลอ แมร์ มีความสำคัญมาก เนื่องจากประเทศในยุโรปมักเสนอชื่อผู้สมัครเพื่อเป็นผู้นำของไอเอ็มเอฟ แม้ว่าประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ทั้งหมดจะต้องเห็นชอบร่วมกันก็ตาม โดยการตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะตกเป็นของคณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นางจอร์เจียวาให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า เธอกำลังมุ่งเน้นไปที่งานในปัจจุบันและไม่ได้ครุ่นคิดว่าจะแสวงหาตำแหน่งในวาระใหม่หรือไม่ ทั้งนี้ นางจอร์เจียวา ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวบัลแกเรีย เป็นผู้หญิงคนที่สองที่ได้เป็นผู้นำไอเอ็มเอฟ และเป็นคนแรกจากประเทศในตลาดเกิดใหม่ที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้ ในช่วงแรกของการดำรงตำแหน่ง นางจอร์เจียวาถูกวิจารณ์ทั้งจากภายในและภายนอกไอเอ็มเอฟ เนื่องจากเธอพยายามผลักดันให้มีการพิจารณาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรายงานการประเมินเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก รวมถึงให้ความสนใจอย่างมากต่อตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา นางจอร์เจียวามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ยูเครนได้รับเงินกู้จำนวนมาก เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจที่ตึงเครียดจากสงครามกับรัสเซีย นอกจากนี้ […]

IMF ห่วงศก.เอเชียทรุดหนัก แนะธ.กลางชะลอลดดบ.หวั่นเงินเฟ้อยังพุ่ง

IMF ห่วงศก.เอเชียทรุดหนัก แนะธ.กลางชะลอลดดบ.หวั่นเงินเฟ้อยังพุ่ง

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ชี้เศรษฐกิจเอเชียกระทบหนัก หลังเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง ชี้ธนาคารกลางชาติต่าง ๆ ไม่ควรเร่งปรับลดดอกเบี้ย เนื่องจากความขัดแย้งในตะวันออกกลาง อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจผลักดันอัตราเงินเฟ้อให้เพิ่มสูงขึ้น นายกฤษณะ ศรีนิวาสัน ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า เมื่อใดก็ตามที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะชาติในทวีปเอเชีย แม้อัตราเงินเฟ้อของเอเชียจะอยู่ในระดับปานกลางเร็ว แต่ธนาคารกลางชาติต่างๆ ก็ไม่ควรเร่งรีบในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในระดับสูง และธนาคารกลางควรใช้แนวทางดังกล่าวต่อไป เนื่องจากความขัดแย้งในตะวันออกกลางอาจเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่อาจผลักดันอัตราเงินเฟ้อให้เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ IMF ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนลง เหลือ 0.7% ในปี 2566 และ 1.2% ในปี 2567 ซึ่งลดลงจากตัวเลขคาดการณ์ในเดือน ก.ค.ที่ 0.9% และ 1.5% ตามลำดับ ขณะเดียวกัน สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ (IMF) คาดว่า การที่เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวซบเซาประกอบกับวิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์ […]

IMF มองจีดีพีโลกดีขึ้นเล็กน้อย ตลาดเกิดใหม่จะเห็นการเติบโตอย่างชัดเจนในปีนี้

IMF มองจีดีพีโลกดีขึ้นเล็กน้อย ตลาดเกิดใหม่จะเห็นการเติบโตอย่างชัดเจนในปีนี้

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกในปี 2566 ขึ้นเล็กน้อย โดยระบุถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวในไตรมาสแรก แต่ยังคงกล่าวเตือนถึงความท้าทายที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะบั่นทอนแนวโน้มระยะกลาง IMF ระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกครั้งล่าสุด ว่า อัตราเงินเฟ้อกำลังลดลง และความตึงเครียดอย่างเฉียบพลันในภาคการธนาคารลดลง อย่างไรก็ตาม ความสมดุลของความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญยังคงเอียงไปสู่ด้านลบ ในขณะที่ สินเชื่อยังตึงตัวอยู่ โดยกล่าวว่า ขณะนี้คาดการณ์การเติบโตของ GDP ที่แท้จริงทั่วโลกของปีนี้อยู่ที่ 3.0% เพิ่มขึ้น 0.2% จากการคาดการณ์เมื่อเดือนเมษายน ในขณะที่ยังคงแนวโน้มในปี 2567 ไม่เปลี่ยนแปลงที่ 3.0% เช่นกัน การคาดการณ์การเติบโตในปี 2566-2567 ยังคงอ่อนแอ หากเปรียบเทียบตามมาตรฐานในอดีต ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรายปีที่ 3.8% ในปี 2543-2562 โดยสาเหตุหลักนั้นมาจากการผลิตที่อ่อนแอในประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว และอาจคงอยู่ในระดับนั้นต่อไปอีกหลายปี “เรากำลังมาถูกทาง แต่เราไม่ได้ออกจากจุดอันตราย” ปิแอร์-โอลิวิเยร์ กูรินชาส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ โดยสังเกตว่า การปรับขึ้นดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการไตรมาสแรกเป็นส่วนใหญ่ พร้อมกันนั้นยังระบุว่า สิ่งที่ […]

IMF เร่งประเมินแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์ม CBDC แบงก์ชาติทั่วโลก

IMF เร่งประเมินแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์ม CBDC แบงก์ชาติทั่วโลก

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อประเมินแนวทางการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานระดับโลก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า การทำข้อตกลงระหว่างธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกเกี่ยวกับการออกสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) นั้นจะเป็นไปอย่างราบรื่น “CBDC ไม่ควรเป็นข้อเสนอระดับชาติที่แยกส่วน… เพื่อให้การทำธุรกรรมมีประสิทธิภาพและยุติธรรมมากขึ้น เราต้องการระบบที่เชื่อมโยงประเทศต่าง ๆ ต้องการความสามารถในการทำงานร่วมกัน …ด้วยเหตุผลนี้ที่ IMF เรากำลังทำงานเกี่ยวกับแนวคิดของแพลตฟอร์ม CBDC ระดับโลก” IMF ต้องการให้ธนาคารกลางตกลงเกี่ยวกับกรอบการกำกับดูแลทั่วไปสำหรับสกุลเงินดิจิทัลที่จะช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันได้ทั่วโลก การไม่ยอมรับแพลตฟอร์มร่วมกันจะทำให้เกิดสุญญากาศที่อาจถูกเติมเต็มด้วยสกุลเงินดิจิทัล CBDC เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ควบคุมโดยธนาคารกลาง ในขณะที่ สกุลเงินดิจิทัลนั้นมีการกระจายอำนาจเกือบตลอดเวลา ธนาคารกลาง 114 แห่งอยู่ในขั้นตอนของการสำรวจ CBDC มีประมาณ 10 แห่งที่ข้ามเส้นชัยไปแล้ว “หากประเทศต่างๆ พัฒนา CDBC สำหรับการใช้งานภายในประเทศเท่านั้น เรากำลังใช้ศักยภาพของตนต่ำกว่ามาตรฐาน” นอกจากนี้ CBDC ยังสามารถช่วยส่งเสริมการรวมบริการทางการเงินและทำให้การส่งเงินมีราคาถูกลง […]

IMF ชี้ “ธนาคารกลางยุโรป” ควรขึ้นดอกเบี้ยต่อ เพื่อฉุดเงินเฟ้อลดลง เรียกร้องรัฐบาลยูโรโซนลดการใช้จ่ายภาครัฐ

IMF ชี้ “ธนาคารกลางยุโรป” ควรขึ้นดอกเบี้ยต่อ เพื่อฉุดเงินเฟ้อลดลง เรียกร้องรัฐบาลยูโรโซนลดการใช้จ่ายภาครัฐ

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป เพื่อฉุดให้เงินเฟ้อลดลง และรัฐบาลในยูโรโซนควรลดยอดขาดดุลงบประมาณเพื่อช่วยลดเงินเฟ้ออีกแรงหนึ่ง ซึ่งการลดยอดขาดดุลงบประมาณจะช่วยบรรเทาแรงกดดันทางการคลังในภายหลังได้อีกด้วย ทั้งนี้ IMF ระบุในรายงานพิจารณาเศรษฐกิจยูโรโซนว่า รัฐบาลของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ควรเร่งตกลงเรื่องการปฏิรูปกฎระเบียบทางการคลังและหนี้สินของ EU ซึ่งจะช่วยหนุนมูลค่าของเงินยูโร โดยปัจจุบันข้อตกลงดังกล่าวยังคงอยู่ระหว่างขั้นตอนของการปรึกษาหารือ “ECB ต้องเดินหน้าคุมเข้มนโยบายการเงินต่อไป เพื่อฉุดเงินเฟ้อกลับคืนสู่เป้าหมายในเวลาที่เหมาะสม” IMF ระบุในรายงาน ECB ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับสูงสุดในรอบ 22 ปีเมื่อวันพฤหัสบดี (15 มิ.ย.) พร้อมระบุว่า เงินเฟ้อเคลื่อนไหวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง แต่ยืนยันว่า ECB จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนหน้าและมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปอีกหลังจากนั้น รายงานระบุว่า ECB ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งละ 0.25% ติดต่อกัน 8 ครั้ง นับตั้งแต่คำนวณทิศทางเงินเฟ้อผิดพลาดไปเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ECB ปรับตัวขึ้นสู่ 3.5% […]

ภัยคุกคาม! ไอเอ็มเอฟเตือน AI อาจทำให้ตลาดแรงงานชะงักชะงัน

ภัยคุกคาม! ไอเอ็มเอฟเตือน AI อาจทำให้ตลาดแรงงานชะงักชะงัน

รองกรรมการผู้จัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เตือน AI อาจทำให้ตลาดแรงงานชะงักชะงัน พร้อมเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายสร้างกฎอย่างรวดเร็ว เพื่อควบคุมเทคโนโลยีดังกล่าว หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์ รายงานเมื่อวันจันทร์ (5 มิ.ย.) ว่า นางกีตา โกปินาธ รองกรรมการผู้จัดการ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เตือนถึง การหยุดชะงักอย่างมากในตลาดแรงงานที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง และเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายสร้างกฎอย่างรวดเร็วเพื่อควบคุมเทคโนโลยีดังกล่าว นางโกปินาธ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “เราต้องการรัฐบาล เราต้องการสถาบันต่างๆ และเราต้องการผู้กำหนดนโยบายที่จะดำเนินการอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ในแง่ของกฎระเบียบ แต่ยังรวมถึงในแง่ของการเตรียมพร้อมสำหรับการหยุดชะงักครั้งใหญ่ในตลาดแรงงาน” นอกจากนี้ เธอยังเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม สำหรับพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการนำ AI มาใช้ และดำเนินการเกี่ยวกับนโยบายภาษีเพื่อที่จะไม่ให้ท้ายเหล่าบริษัทที่นำเครื่องจักรมาแทนที่พนักงาน สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นางโกปินาธได้เตือนให้ผู้กำหนดนโยบายระมัดระวังในกรณีที่บางบริษัทอยู่ในจุดที่เหนือชั้นกว่าในด้านเทคโนโลยี AI นี้ ทั้งนี้ เธอกล่าวว่า “เราไม่ต้องการมีบริษัทขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลและพลังการประมวลผลจำนวนมหาศาลซึ่งมีข้อได้เปรียบอย่างไม่ยุติธรรม” ที่มา: รอยเตอร์

IMF ชี้มีความเสี่ยงต่อ “เสถียรภาพระบบการเงิน” เพิ่มขึ้น เรียกร้องให้เฝ้าระวังต่อเนื่อง

IMF ชี้มีความเสี่ยงต่อ “เสถียรภาพระบบการเงิน” เพิ่มขึ้น เรียกร้องให้เฝ้าระวังต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า หัวหน้ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ คริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า ขณะนี้มีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินเพิ่มขึ้น พร้อมเรียกร้องให้มีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการดำเนินการของประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วได้ทำให้ความเครียดของตลาดสงบลง กรรมการผู้จัดการ IMF ย้ำมุมมองว่า ปี 2566 จะเป็นอีกปีที่ท้าทาย โดยการเติบโตทั่วโลกจะชะลอตัวลงเหลือต่ำกว่า 3% เนื่องจากผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 สงครามในยูเครน และการเข้มงวดทางการเงิน แม้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในปี 2567 แต่การเติบโตทั่วโลกจะยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 3.8% และแนวโน้มโดยรวมยังคงอ่อนแอ IMF ซึ่งคาดการณ์การเติบโตทั่วโลกไว้ที่ 2.9% ในปี 2566 โดยจะมีการออกการคาดการณ์ใหม่ในเดือนเมษายน คริสตาลินา จอร์จีวา กล่าวว่า ผู้กำหนดนโยบายในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ตอบสนองอย่างเด็ดขาดต่อความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงิน หลังจากการล่มสลายของธนาคาร แต่ถึงกระนั้นก็ยังต้องมีการเฝ้าระวัง “ดังนั้น เรายังคงติดตามการพัฒนาอย่างใกล้ชิดและกำลังประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเสถียรภาพทางการเงินโลก” พร้อมเสริมว่า IMF ให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดกับประเทศที่เปราะบางที่สุด โดยเฉพาะประเทศที่มีรายได้ต่ำ แต่มีระดับของหนี้สูง […]