นโยบาย Smart Cities ของอินเดียใน 3 ข้อ

นโยบาย Smart Cities ของอินเดียใน 3 ข้อ

ประเทศอินเดียถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มี “ศักยภาพ” ในการเติบโตทางธุรกิจเป็นอันดับต้นๆของโลก ด้วยปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญหลายประการ ไม่ว่าจะด้วยจำนวนประชากรที่มีถึงกว่า 1,200 ล้านคน ซึ่งอยู่อันดับที่ 2 ของโลก เป็นรองเพียงสาธารณรัฐประชาชนจีนเท่านั้น (ข้อมูล ณ สิ้นเดือน กรกฎาคม 2560) นอกจากนี้โครงสร้างประชากรของอินเดียยังมีความเหมาะสมต่อการก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจ ด้วยสัดส่วนประชากรวัยแรงงาน (15-64 ปี) ประมาณ 66% โดยมีอายุเฉลี่ยประชากรเพียง 27.6 ปี ซึ่งทำให้แดนภารตะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างโดดเด่นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ทั้งนี้ อินเดียมี GDP ประมาณ 2.3ล้านล้านดอลล่าร์ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 7 ของโลกและมีการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในรอบทศวรรษล่าสุดเฉลี่ยที่ปีละ 7.5% โดยล่าสุดอยู่ที่ 7.1% ณ สิ้นปี 2559 ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก แม้รายได้เฉลี่ยต่อประชากร (GDP per capita) ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำที่ประมาณ1,861.5 ดอลลาร์ ในปี […]

ตลาดหุ้นอินเดียแรลลี่ “ด้วยคุณภาพ”

ตลาดหุ้นอินเดียแรลลี่ “ด้วยคุณภาพ”

นักลงทุนต่างชาติอาจจะมีความระมัดระวังในการแรลลี่ของตลาดหุ้นอินเดียในช่วงเวลานี้ แต่ Cartica Management LLC ซึ่งบริหารทรัพย์สิน 3,200 ล้านดอลลาร์ทั่วโลก มีความเห็นว่าตลาดหุ้นอินเดียกำลังอยู่ในขาขึ้นแรลลี่อย่างมีคุณภาพ Teresa Barger ผู้ร่วมก่อตั้ง และซีอีโอของ Cartica Management กล่าวว่า กำไรต่อหุ้นมีการเติบโตในบริษัทของอินเดีย อย่างน้อยในบริษัทที่ทาง Cartica Management ได้ลงทุน สามารถมองได้ว่านี้เห็นการแรลลี่ที่มีคุณภาพ ด้วยเหตุนี้ในฐานะที่เป็นนักลงทุนระยะยาว จึงไม่มีความเห็นกังวลใจกับการสะดุดของตลาดซึ่งอาจจะเกิดขึ้นบ้าง ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา Teresa Barger เปิดเผยว่า กองทุนของเธอได้ลงทุนใน Cholamandalam Finance อย่างเป็นกอบเป็นกำ “เราเข้าไปลงทุนในบริษัทที่มีคุณภาพสูง ที่มีสปอนเซอร์ที่มีความซื่อสัตย์ เรามีความนิยมชมชอบกลุ่ม Murugappa” Teresa Bargerกล่าว “Cholamandalam มีตลาดนิช โดยใช้ข้อมูลเพื่อช่วยในการออกโปรดักส์ใหม่ เราชอบการที่พวกเขาเข้าไปหาเอสเอ็มอี กับขบวนการปล่อยเครเดิตที่เหนือชั้น” ผู้จัดการกองทุนหลายคนบอกว่าฤดูการประกาศผลประกอบการนี้ดีกว่าที่คาดมาก และการประเมินราคาหุ้นของตลาดอาจจะไม่ตึงตัวเกินไป Taher Badshah หัวหน้าฝ่ายการลงทุนหุ้นของ Invesco Mutual […]

หลังครบ 1 ปีกับการยกเลิกธนบัตรอินเดีย (ต่อ)

หลังครบ 1 ปีกับการยกเลิกธนบัตรอินเดีย (ต่อ)

นโยบายยกเลิกธนบัตรของรัฐบาลโมดี้ในช่วง 1 ปีเต็มที่ผ่านมาอาจจะทำให้เศรษฐกิจมีการชะลอตัวลงบ้าง แต่ตลาดหุ้นอินเดียเดินหน้าไปในทิศทางขาขึ้น ดัชนี Nifty 50 Index ซึ่งเป็นเบนช์มาร์คของ National Stock Exchange ของอินเดียทะยานสูงขึ้น 25% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว Nilesh Shah กรรมการผู้จัดการของ Kotak Mutual Fund ให้สัมภาษณ์ว่า ก่อนหน้าที่มีการใช้นโยบายยกเลิกธนบัตรเก่าเพื่อแลกธนบัตรใหม่เพื่อแก้ปัญหาการเลี่ยงภาษี หรือตลาดมืด คนอินเดียส่วนมากเก็บเงินเอาไว้ที่บ้าน ซุกใต้หมอน หรือใต้เตียง แต่หลังจากที่มีการใช้นโยบายยกเลิกธนบัตรเก่า คนอินเดียเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงพฤฒิกรรมด้วยการโยกเงินสดเข้าไปในกองทุนรวมต่างๆ ทำให้กองทุนรวมมีการเจริญเติบโต และมีผลทำให้มีเม็ดเงินใหม่ๆ ไหลเข้าตลาดหุ้น เขาบอกว่า ผลกระทบอีกประการหนึ่งของนโยบายยกเลิกธนบัตรคือทำให้คนอินเดียเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงิน และตลาดการเงินมากยิ่งขึ้น โดยที่พวกเขาได้เรียนรู้ว่าการลงทุนในกองทุนรวมช่วยเพิ่มสภาพคล่อง และให้ผลตอบแทนโดยที่นักลงทุนไม่ต้องกังวลใจอะไรมาก The Financial Times รายงานในบทความชื่อ “India’s stock market learns to live without foreigners” ในวันที่ […]

หลังครบ 1 ปีกับการยกเลิกธนบัตรอินเดีย (ต่อ)

หลังครบ 1 ปีกับการยกเลิกธนบัตรอินเดีย (ต่อ)

นโยบายยกเลิกธนบัตรของรัฐบาลโมดี้ในช่วง 1 ปีเต็มที่ผ่านมาอาจจะทำให้เศรษฐกิจมีการชะลอตัวลงบ้าง แต่ตลาดหุ้นอินเดียเดินหน้าไปในทิศทางขาขึ้น ดัชนี Nifty 50 Index ซึ่งเป็นเบนช์มาร์คของ National Stock Exchange ของอินเดียทะยานสูงขึ้น 25% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว Nilesh Shah กรรมการผู้จัดการของ Kotak Mutual Fund ให้สัมภาษณ์ว่า ก่อนหน้าที่มีการใช้นโยบายยกเลิกธนบัตรเก่าเพื่อแลกธนบัตรใหม่เพื่อแก้ปัญหาการเลี่ยงภาษี หรือตลาดมืด คนอินเดียส่วนมากเก็บเงินเอาไว้ที่บ้าน ซุกใต้หมอน หรือใต้เตียง แต่หลังจากที่มีการใช้นโยบายยกเลิกธนบัตรเก่า คนอินเดียเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงพฤฒิกรรมด้วยการโยกเงินสดเข้าไปในกองทุนรวมต่างๆ ทำให้กองทุนรวมมีการเจริญเติบโต และมีผลทำให้มีเม็ดเงินใหม่ๆ ไหลเข้าตลาดหุ้น เขาบอกว่า ผลกระทบอีกประการหนึ่งของนโยบายยกเลิกธนบัตรคือทำให้คนอินเดียเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงิน และตลาดการเงินมากยิ่งขึ้น โดยที่พวกเขาได้เรียนรู้ว่าการลงทุนในกองทุนรวมช่วยเพิ่มสภาพคล่อง และให้ผลตอบแทนโดยที่นักลงทุนไม่ต้องกังวลใจอะไรมาก The Financial Times รายงานในบทความชื่อ “India’s stock market learns to live without foreigners” ในวันที่ […]

หลังครบ 1 ปีกับการยกเลิกธนบัตรอินเดีย

หลังครบ 1 ปีกับการยกเลิกธนบัตรอินเดีย

หนึ่งปีหลังจากที่รัฐบาลโมดี้ประกาศยกเลิกธนบัตรจำนวน 18 ล้านล้านรูเบิ้ล หรือ 86% ของเงินรูปีทั้งหมดที่หมุนเวียนในระบบ ปรากฎว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจอินเดียของมาตรการนี้ยังคงมีอยู่ นายกรัฐมนตรี นาเรนดรา โมดี้ ต้องการใช้นโยบายยกเลิกธนบัตรเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาตลาดมืด การเลี่ยงการจ่ายภาษี ธนบัตรปลอม รวมทั้งการเร่งสู่ระบบการชำระเงินแบบออนไลน์ แต่นโยบายนี้สร้างความปั่นป่วนพอสมควรให้กับระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคชนบทที่คนยังไม่เข้าถึงธนาคาร หรืออินเทอร์เน็ต วันที่ 8 พฤศจิกายนนี้จะเป็นวันครบรอบ 1 ปีที่นโยบายยกเลิกธนบัตรได้ประกาศใช้ โดยบังคับให้ประชาชนเอาธนบัตรเก่ามาแลกธนบัตรใหม่ ตอนนี้สถานการณ์เริ่มกลับคืนสู่สภาพปกติ โดยมีธนบัตรใหม่กลับเข้าไปหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 15.89 ล้านล้านรูปี นอกจากมาตรยกเลิกธนบัตรแล้ว นโยบายภาษีใหม่ (Goods and Services Tax) ที่รัฐบาลโมดี้ประกาศใช้ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาก็ทำให้เกิดความอลเวงพอสมควรในการจัดเก็บภาษีที่บังคับใช้ทั่วประเทศเพื่อให้ทุกรัฐของอินเดียมีระบบภาษีรูปแบบเดียวกัน นับว่าเป็นความกล้าหาญของโมดี้ที่ใช้นโยบายยกเลิกธนบัตร และนโยบายภาษีใหม่ ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นที่นิยม และอาจจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วงแรก โดยเศรษฐกิจในไตรมาสระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนปี 2017 มีอัตราเติบโตที่ 5.7% เทียบกับ 6.1%ในไตรมาสแรกระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม อย่างไรก็ตาม ทาง DBS Bank ของสิงคโปร์มีรายงานว่า แม้ว่าการใช้นโยบายยกเลิกธนบัตรอาจจะมีผลกระทบระยะแรก […]

อินเดียอัด 32,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มทุนแบงก์

อินเดียอัด 32,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มทุนแบงก์

ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียประกาศว่าจะใช้เงิน 2.11 ล้านล้านรูปี หรือ 32,000 ดอลลาร์ล้านเพื่อเพิ่มทุนระบบธนาคารของรัฐในระยะเวลา 2 ปีข้างหน้า เม็ดเงินมหาศาลที่จะใส่เข้าไปเพื่อเพิ่มทุนระบบธนาคารของรัฐนี้ สูงกว่าที่รัฐบาลโมดีได้ให้สัญญาเอาไว้ถึง 10 เท่า ในการไฟแนนซ์การเพิ่มทุนแบงก์ของรัฐ รัฐบาลอินเดียจะก่อหนี้ด้วยการออกพันธบัตรมูลค่า 1.35 ล้านล้านรูปี ส่วนธนาคารของรัฐจะระดมเงินผ่านงบประมาณที่จะได้รับการสนับสนุนและจากตลาดการเงิน Rajiv Kumar เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการคลังอินเดียเปิดเผยว่า นอกจากนี้รัฐบาลมีแผนที่จะลงทุน 108,000 ล้านเพื่อที่จะสร้างถนนไฮเวย์ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า การเพิ่มทุนของแบงก์รัฐในครั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้แบงก์มีฐานเงินทุนเพียงพอในการปล่อยกู้เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามทาง Fitch Ratings Ltd. คาดการว่าแบงก์รัฐของอินเดียต้องการเงินทุนอีก 62,000 ล้านดอลาร์ในปี 2019 เพื่อที่จะรองรับความพอเพียงของฐานเงินกองทุนตามกฎของ Basel III ระบบธนาคารของอินเดียยังคงมีหนี้เสียอยู่ทำให้ทางรัฐบาลโมดีต้องเข้าไปจัดการเพิ่มทุน รวมทั้งใช้เงิน 100,000 ล้านรูปีเพื่อซื้อหุ้นแบงก์

Welcome to a New, Better India

Welcome to a New, Better India

อินเดีย แดนภารตะ เมื่อเอ่ยถึงประเทศนี้ ถ้าไม่นับเรื่องของเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วแล้ว เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่จะนึกถึงภาพลักษณ์ที่อาจจะไม่ได้ดีมากนัก ทั้งสภาพบ้านเมือง หรือความแออัดของประชากรที่เราเคยได้เห็นผ่านทางสื่อ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ชาวอินเดียเองนั้นตระหนักดีถึงข้อเสียเหล่านี้ และสิ่งต่างๆ เหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไป เร็วๆ นี้ มีแนวโน้มที่น่าสนใจเกิดขึ้นในอินเดีย ก็คือ มีกลุ่มคนรุ่นใหม่กลุ่มหนึ่งที่พยายามจะเปลี่ยนอินเดียให้เป็นสถานที่ที่ดีขึ้น แต่การจะเปลี่ยนประเทศหนึ่งที่ใหญ่และยุ่งเหยิงขนาดนั้นให้ดีขึ้น โดยไม่ได้ทุนทรัพย์หรืออำนาจใดๆ มันจะต้องเริ่มจากตรงไหน อันดับแรก และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ต้องเริ่มจากการสื่อสารหรือรณรงค์ค่านิยมดีๆ ให้แผ่ขยายขึ้นมาก่อน ในเมืองหลวงของอินเดีย มีกลุ่มวัยรุ่นที่เคลื่อนไหวเรียกร้องด้วยแคมเปญ ‘Do Nice Sh*t’ ซึ่งสนับสนุนให้คนทำความดีเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น คนกลุ่มนี้ไม่ใช่ NGO และไม่ได้รับเงินบริจาคใดๆ เขาเพียงแต่แลกเปลี่ยนวิธีการช่วยเหลือสังคมกับคนที่มีความสนใจว่า เขาสามารถทำความดีอะไร เพื่อช่วยอะไรขึ้นมาได้บ้าง แล้วก็เผยแพร่ลงไปในโซเชียลมีเดีย กิจกรรมเหล่านั้นก็มีตั้งแต่ ให้คอมพิวเตอร์กับเด็กนักเรียนด้อยโอกาส รณรงค์สร้างนิสัยขับขี่ที่ปลอดภัย  แจกสิ่งของให้คนยากจนในสลัม ปลูกต้นไม้ในสวนสาธารณะ ไปจนถึงเรื่องเล็กๆ อย่าง เอาน้ำสะอาดมาให้สุนัขจรจัดในช่วงหน้าร้อน เรียกว่า เป็นการสร้างค่านิยมที่ทำให้คนรู้สึกว่า การได้ทำความดีให้สังคมนั้นเป็นเรื่องเท่ห์และน่าภูมิใจ โดยผู้ก่อตั้งแคมเปญนี้ […]

การทำนายเศรษฐกิจจีนและอินเดียในอนาคต

การทำนายเศรษฐกิจจีนและอินเดียในอนาคต

PricewaterhouseCoopers (PwC) ได้เขียนรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ภายในปี 2050 อินเดียจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าสหรัฐเมื่อวัดตามความเสมอภาคของอำนาจซื้อ (Purchasing Power Parity) ความเสมอภาคของอำนาจซื้อจะสะท้อนว่าประเทศนั้นๆ ได้ผลิตสินค้าและบริการรวมกันมากน้อยแค่ไหน หากใช้ราคาสินค้าและบริการในสหรัฐอเมริกาเป็นฐานในการคำนวณ (หรือง่ายๆ คือ สมมุติราคาสินค้าให้เท่ากับในสหรัฐอเมริกา) ปรากฎว่า จีนแซงหน้าสหรัฐเรียบร้อยแล้วในปี 2016 เมื่อเทียบขนาดเศรษฐกิจของจีนกับสหรัฐตามความเสมอภาคของอำนาจซื้อ โดยที่จีนมีขนาดเศรษฐกิจ 21.26 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ตามมาด้วยสหรัฐที่ 18.56ล้านล้านเหรียญดอลล่าห์สหรัฐ อินเดียที่ 8.7 ล้านล้านเหรียญดอลล่าห์สหรัฐ ญี่ปุ่นที่ 4.9 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ เยอรมันนีที่ 3.9 ล้านล้านเหรียญดอลล่าห์สหรัฐ รัสเซียที่ 3.7 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ บราซิลที่ 3.1 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ อินโดเนเซียที่ 3.0 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ อังกฤษที่ 2.7 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ และฝรั่งเศสที่ 2.7 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ PwC […]

เปลี่ยนผ่านสู่ยุค “พลังงานสะอาด”

เปลี่ยนผ่านสู่ยุค “พลังงานสะอาด”

ในยุคนี้ธุรกิจพลังงานกำลังเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนผ่าน พลังงานสะอาด (Green Energy) ทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ และค่อยๆ เข้ามาทดแทนพลังงานแบบเก่าที่ผลิตด้วยพลังงานความร้อน จนกลายเป็นพลังงานกระแสหลักมากขึ้นทุกวัน รูปแบบและการบริโภคพลังงานในอนาคตอีกไม่ไกลย่อมจะต้องแตกต่างไปจากวันนี้อย่างแน่นอน ความเปลี่ยนแปลงเริ่มปรากฎชัดขึ้นในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งแต่ละปีจะมีเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเป็นจำนวนมาก หากพิจารณาเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมในปี 2015 ได้ขยายกำลังผลิตไปแล้วถึง 118 กิกะวัตต์ จากปีก่อนหน้าที่มีกำลังผลิตราว 94 กิกะวัตต์ แต่หากพิจารณาเงินลงทุนที่ใช้สร้างโรงไฟฟ้าทั้งสองประเภทกลับกลายเป็นตรงกันข้าม โดยในปี 2015 ใช้ไป 1.99 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเพียง 6% เท่านั้น สะท้อนถึงแนวโน้มต้นทุนการก่อสร้างที่ต่ำลง โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ลดลงจาก 300 ดอลลาสหรัฐต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง ในปี 2010 เหลือเพียง 120 ดอลลาสหรัฐต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง ในปี 2015 (ค่าเฉลี่ยทั่วโลก) นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ต้นทุนผลิตในบางประเทศต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก เช่นในอินเดียเมื่อปี 2016 มีโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ชนะประมูลรับสัมปทานจากรัฐ โดยเสนอราคาขายไฟเพียง 64 ดอลลาสหรัฐต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง (ประมาณยูนิตละ […]