อินโดนีเซียเผยมีนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศกว่า 30 รายสนใจร่วมลงทุนพัฒนาเมืองใหม่
เดอะ จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่า รัฐบาลอินโดนีเซีย ให้ข้อมูลว่า มีนักลงทุนทั้งในท้องถิ่นและต่างประเทศกว่า 30 ราย สนใจเข้าร่วมพัฒนาเมืองใหม่ ทั้ง North Penajam Paser และ Kutai Kertanegara ทางตะวันออกของเกาะกะลิมันตัน “เราต้องการพันธมิตรที่มีคุณภาพสูง เพราะเราไม่ต้องการการลงทุนที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เมืองหลวงใหม่” Luhut Pandjaitan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประสานงานการเดินเรือและการลงทุน กล่าว เขา กล่าวเพิ่มเติมว่า นักลงทุนมีมาจากสิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมถึงประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ รัฐบาลคาดการณ์ว่าจะมีต้นทุนพัฒนาเมืองหลวงใหม่ 466 ล้านล้านรูเปียห์ หรือประมาณ 33,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย 54.4% มาจากการรัฐร่วมทุนกับเอกชน ส่วน 26.4% มาจากภาคเอกชน และ 19.2% มาจากงบประมาณของรัฐ สำหรับนักลงทุนกว่า 30 ราย […]
อินโดนีเซียเล็งกำหนดค่าธรรมเนียมคงที่สำหรับการทำธุรกรรมผ่านอี-วอลเล็ท
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า อินโดนีเซียวางแผนจัดเก็บค่าธรรมเนียมอัตราคงที่กับการทำธุรกรรมบางรายการผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อี-วอลเล็ท) ซึ่งความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนี้ อาจกระทบรายได้และเพิ่มต้นทุนให้สตาร์ทอัพด้านการชำระเงิน เช่น แอนท์ ไฟแนนเชียล บริษัททางการเงินในกลุ่มอาลีบาบา โดยปัจจุบันผู้ให้บริการอี-วอลเล็ทในอินโดนีเซีย จัดเก็บค่าธรรมเนียมโดยปรับตามความเหมาะสมกับผู้ขาย มีการเก็บค่าธรรมเนียมพรีเมียมกับผู้ค้าปลีกรายใหญ่ และยอมรับภาระต้นทุนให้ร้านค้าเล็กๆ เพื่อสนับสนุนให้พวกเขาหันมาใช้แพลตฟอร์ม ก่อนหน้านี้มีข่าวออกมาว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซีย พูดคุยกับสตาร์ทอัพการชำระเงินดิจิทัลรายใหญ่ที่สุดในประเทเรียบร้อยแล้ว เกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านคิวอาร์โค้ด ซึ่งความเคลื่อนไหวนี้เกิดตั้งแต่เดือน ส.ค. 2019 เพื่อสร้างมาตรฐานการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้บาร์โค้ดแบบเมทริกซ์ อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางอินโดนีเซียยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวนี้ สำหรับผู้นำอี-วอลเล็ทในอินโดนีเซีย ก็คือสตาร์ทอัพด้านการแบ่งปันการขับขี่ที่มีต้นกำเนิดในอินโดนีเซียอย่าง Gojek ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกูเกิล นอกจากนี้ยังมีสตาร์ทอัพที่ชื่อว่า OVO ที่มี Grab คู่แข่งของ Gojek ถือหุ้น ขณะที่อี-วอลเล็ทของแอนท์ ไฟแนนเชียล ชื่อว่า DANA ก็พยายามขยายตลาดนี้ เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มชำระเงินของรัฐที่ชื่อ่า LinkAja ทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียต้องการเก็บค่าธรรมเนีมการทำธุรกรรมผ่านอี-วอลเล็ท แบบคงที่ในอัตรา 0.7% โดยอาจส่งผลกระทบต่อร้านคารายเล็กที่ปัจจุบันยังไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใดๆ สำหรับการใช้เครือข่ายอี-วอลเล็ท หรืออาจเป็นการบังคับให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต้องเพิ่มแรงจูงใจในการใช้บริการกับร้านค้าเหล่านี้ […]
Economic Review Economic Update Indonesia
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : อินโดนีเซีย
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจอินโดนีเซียปี 2019 นับว่ามีเสถียรภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วงปี 2018 ในแง่ของค่าเงินรูเปียห์ เงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างไรก็ดี แม้ว่าอินโดนีเซียจะเป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพาการส่งออกน้อยที่สุดในเอเชีย แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ผ่านการลดลงของราคาน้ำมันปาล์มและถ่านหิน ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศ กดดันรายได้เกษตรกร และกระทบการใช้จ่ายในประเทศ ขณะที่ภาคการผลิตเพื่อการส่งออกก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ส่วนด้านการลงทุนภาครัฐเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในปีนี้ที่ชะลอตัวลงนั้น เป็นผลจากความพยายามของรัฐบาลในการลดการนำเข้า เพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และพยุงค่าเงิน ดังนั้น เราจึงเห็นภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียที่ชะลอตัวลงจากปีที่แล้วตั้งแต่ต้นปี 2019 ที่ผ่านมา โดยล่าสุด GDP ไตรมาส 3/2019 เติบโต 5.02% YoY ลดลงจาก 5.05% ในไตรมาสก่อนหน้า จากการชะลอตัวอย่างรุนแรงของการใช้จ่ายภาครัฐจาก 8.2% YoY ในไตรมาส 2/2019 มาเป็น 1.0% ประกอบกับการบริโภคในประเทศ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจอินโดนีเซียก็เติบโตชะลอตัวลงเป็น 5.0% YoY จาก 5.2% […]