BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021 รายประเทศ : ญี่ปุ่น
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา และทิ ศทางเศรษฐกิจปี 2020-2021 ญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับการระบาดของ COVID-19 เป็นระลอกที่ 3 โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์มากกว่าในระลอกแรกและระลอกที่ 2 ซึ่งสาเหตุนอกเหนือจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจแล้ว การเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวทำให้สถานที่ต่าง ๆ ต้องปิดประตูหน้าต่าง การระบายอากาศจึงลดลง และมีส่วนสำคัญให้เกิดการกระจายของเชื้อโรค อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ ที่เผชิญการระบาดเช่นเดียวกันจะพบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันในญี่ปุ่นนั้นมีจำนวนไม่มาก และยอดผู้เสียชีวิตมีอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับระลอกแรก เศรษฐกิจไตรมาส 3/2020 ขยายตัว 22.9% QoQ saar จากที่หดตัว -29.2% ในไตรมาสก่อน เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส จากการใช้จ่ายของภาครัฐที่ขยายตัวดี ประกอบกับการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคในภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP และยอดส่งออกที่เติบโต 7.0% QoQ อย่างไรก็ดี ด้านการลงทุนภาคเอกชนยังคงอ่อนแอ อันเนื่องมาจากมุมมองของภาคธุรกิจที่ยังมีความกังวลต่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 สำหรับในปี 2021 เรามองว่า […]
BOJ กำลังรอดูทิศทางพัฒนาการทางเศรษฐกิจก่อนเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน
BF Economic Research ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ -0.1% ในการประชุมวันที่ 14-15 ก.ค. รวมทั้งคงมาตรการ Yield Curve Control ที่ควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ไว้ที่ประมาณ 0% (-0.2% ถึง 0.2%) และไม่เปลี่ยนแปลงวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด นอกจากนี้ BoJ ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจให้หดตัวมากขึ้นเพิ่มเติมจากการประชุมในเดือนเม.ย. โดยคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 2020 (เม.ย. 2020-มี.ค. 2021) จะหดตัว -5.7% ถึง -4.5% จากเดิม -5.0% ถึง -3.0% แต่มองเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2021 และ 2022 เติบโตดีขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน ในขณะที่ กรอบคาดการณ์เงินเฟ้อในปีงบประมาณ 2020 แคบลงเหลือ -0.6% […]
เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่สภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 หลัง GDP ไตรมาส 1 หดตัว -3.4% QoQ saar
BF Economic Research เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่สภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 ภายหลัง GDP (เบื้องต้น) ในไตรมาส 1/2020 หดตัว -3.4% QoQ saar (-0.9% QoQ) โดยแม้จะเป็นการหดตัวที่น้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ แต่นับเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน จากที่ก่อนหน้านี้ GDP ของญี่ปุ่นหดตัว -7.1% QoQ saar ในไตรมาส 4/2019 ในรายองค์ประกอบของ GDP นั้น ทั้งการบริโภค การลงทุน และส่งออกต่างชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว โดยการบริโภคหดตัวต่อเนื่องที่ -2.8% QoQ saar แม้ว่าไตรมาสที่แล้วจะหดตัวลงแรงถึง -11.1% จากการปรับภาษีบริโภคขึ้นในเดือนต.ค. 2019 ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัว -2.1% QoQ saar จาก -17.7% ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนภาครัฐชะลอตัว […]
Economic Review Economic Update Japan
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : ญี่ปุ่น
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 3/2019 ขยายตัว 0.4% QoQ sa (1.8% QoQ saar) ซึ่งเป็นการเติบโตติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4 จากการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีการลงทุนขยายตัวมากขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่เติบโตถึง 1.8% QoQ sa ในส่วนของการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 0.5% QoQ sa ขณะที่ การส่งออกหดตัวจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน บวกกับอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ด้านผลของการขึ้นภาษีบริโภคในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมานั้น ส่งผลให้มีความผันผวนของการใช้จ่ายของประชาชนตามคาด คือ ยอดตัวเลขค้าปลีกในเดือนก.ย. ขยายตัวแรงแตะ 9.1% YoY จากการเร่งจับจ่ายก่อนการขึ้นภาษี และพลิกกลับลงมาหดตัว -7.1% YoY ในเดือนต.ค. (และ -2.1% YoY ในเดือนพ.ย.) สอดคล้องกับตัวเลข PMI ภาคบริการที่ลดลงมาต่ำกว่าระดับ 50 ในเดือนต.ค.เป็นครั้งแรกในรอบ […]
Cryptocurrency Japan Morning Brief
ญี่ปุ่นเดินหน้าพัฒนาระบบคล้าย SWIFT สำหรับคริปโตเคอเรนซี
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นผู้นำของโลกผลักดันให้มีการจัดตั้งเครือข่ายระหว่างประเทศสำหรับระบบชำระเงินคริปโตเคอเรนซีซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเครือข่าย SWIFT ที่ธนาคารใช้กันอยู่ โดยมีความมุ่งหวังเพื่อต่อสู้กับการฟอกเงิน แหล่งข่าว กล่าวว่า ญี่ปุ่นตั้งเป้าหมายจะทำเครือข่ายนี้ใช้งานให้ได้ภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่ปฏิเสธที่จะระบุข้อมูลมากกว่านี้ เพราะข้อมูลต่างๆ ยังไม่เปิดเผยให้สาธารณชนรับทราบ อย่างไรก็ตาม ทีมงานที่ทำนี้จะอยู่ในส่วนของคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการเงินระหว่างรัฐบาล (FATF) โดยจะจับตาพัฒนาของคริปโต และญี่ปุ่นจะทำงานร่วมกับประเทศอื่นๆ แม้จะยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เครือข่ายคริปโตเคอเรนซีจะเป็นสิ่งที่ทำงานได้ดี ขณะที่ SWIFT เป็นระบบชำระเงินระหว่างประเทศ ที่ใช้สื่อสารกันระหว่างธนาคารเพื่อส่งเงินทั่วโลก แต่ญี่ปุ่นก็เดินหน้าแล้ว โดยคณะทำงาน FATF ได้อนุมัติแผนเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อสร้างเครือข่ายใหม่ เป็นไปตามความมุ่งหมายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และหน่วยงานกำกับบริการทางการเงินของญี่ปุ่น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นต้องการผลักดันเพื่อให้แน่ใจในความปลอดภัยของสกุลเงินเสมือนจริงนี้ โดยหวังว่าจะทำให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการเงิน (ฟินเทค) มีส่วนขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโต โดยที่ผ่านมาญี่ปุ่นก็เป็นประเทศแรกในโลกที่กำกับตลาดซื้อขายคริปโตเคอเรนซี ด้วยมาตรการระดับชาติ เมื่อปี 2017
ราคาที่ดินในญี่ปุ่นขยับขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 4 รับการท่องเที่ยวโตหนุนความต้องการแข็งแกร่ง
นิกเกอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่า สำนักงานภาษีแห่งชาติของญี่ปุ่น เปิดเผยข้อมูลว่า ราคาที่ดินในญี่ปุ่นมีแนวโน้มพุ่งขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 4 เป็นผลจากความต้องการที่แข็งแกร่งในเมืองหลักๆ และมีจุดท่องเที่ยวเป็นแรงขับเคลื่อน เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่เศรษฐกิจก็เริ่มฟื้นตัว ทั้งนี้ความต้องการพื้นที่ของโรงแรมและสำนักงาน ส่งผลให้ราคาที่ดินในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 1.3% โดยเฉลี่ย ณ วันที่ 1 ม.ค. ปีนี้เทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ช่องว่างระหว่างพื้นที่เขตเมืองกับชนบทก็ยังคงกว้างอยู่ ราคาที่ดินไต่ขึ้นใน 19 จังหวัดจาก 47 จังหวัดทั่วญี่ปุ่น ในจำนวนนี้มีโตเกียว ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกในปีหน้าด้วย ขณะที่ปีก่อนราคาที่ดินขยับขึ้น 18 จังหวัด อย่างไรก็ตามพบว่า ปีนี้ราคาที่ดินในอีก 27 จังหวัดที่เหลือลดลง ส่วนอีก 1 จังหวัดคือ เฮียวโง่ ราคาที่ดินคงที่ สำหรับผลสำรวจราคาที่ดินนี้ มาจากพื้นที่ 329,000 แห่ง ที่นำมาใช้คำนวนภาษีมรดกและของขวัญสำหรับปี 2019 โดยเมื่อดูรายจังหวัดพบว่า โอกินาว่า ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด […]
สงครามการค้าและแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ยังกดดันความเชื่อมั่นภาคธุรกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 1/2019
BF Economic Research จากการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในประเทศของธนาคารกลางญี่ปุ่น (ดัชนี Tankan) ซึ่งเป็นตัวสะท้อนภาวะเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง พบว่า ในไตรมาส 1/2019 ความกังวลเรื่องสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ยังกดดันให้ดัชนีของบริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ลดลงมาจาก +19 เป็น +12 เช่นเดียวกับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่ลดลงจาก +17 เป็น +7 และจาก +14 เป็น +6 ตามลำดับ โดยเฉพาะในอุตสากรรมการผลิตเครื่องจักร อุตสากรรมโลหะอื่นๆ นอกเหนือจากเหล็ก และอุตสาหกรรมกระดาษ สำหรับมุมมองของภาคธุรกิจต่อความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า บริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางมีมุมมองที่เป็นบวกกว่าบริษัทขนาดเล็ก โดยบริษัทขนาดเล็กมองว่าดัชนีจะติดลบที่ -2 ในอีก 3 เดือนข้างหน้า
ประชากรเกิดใหม่ในญี่ปุ่นทำสถิติต่ำสุดในปีที่ผ่านมา
นิกเกอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่า กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่น ออกมาเปิดเผย0ว่า ปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นมีสถิติประชากรเกิดใหม่ 918,397 คน นับเป็นยอดการเกิดใหม่ที่ทำสถิติต่ำสุด โดยสถิตินี้คิดเป็นเพียง 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรเกิดใหม่ของญี่ปุ่นที่เคยสูงสุดเมื่อปี 1949 ซึ่งช่วงเวลานั้นถือเป็นช่วงที่ผู้คนจำนวนมากแต่งงาน ทั้งนี้ สถิติที่ออกมาทำให้รัฐบาลต้องเร่งหาแนวทางการจัดการกับเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วที่สุดในโลก โดยสถิติการเกิดใหม่ของประชากรในปี 2018 นั้น ลดลงจากปี 2017 ประมาณ 27,668 คน และถือเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันที่จำนวนประชากรเกิดใหม่ของญี่ปุ่นอยู่ต่ำกว่า 1 ล้านคน ขณะที่ปี 1949 ที่เคยมีจำนวนประชากรเกิดใหม่สูงสุดนั้นมีถึง 2.69 ล้านคน อัตราการเจริญพันธุ์ ซึ่งหมายถึงจำนวนบุตรเฉลี่ยของผู้หญิงแต่ละคนที่ให้กำหนดลดลงเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันเช่นกัน โดยอยู่ที่ 1.42 คนเท่านั้น ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการเพิ่มอัตราการเจริญพันธุ์ให้เป็น 1.8 […]
Economic Update Japan Morning Brief
ธนาคารกลางญี่ปุ่นคงนโยบายการเงินไว้ตามเดิม มองการส่งออกเชิงลบมากขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
BF Economic Research ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศคงนโยบายการเงินไว้ตามเดิมหลังการประชุมในเดือน มี.ค. โดยกำหนดให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปีอยู่ที่ 0% และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% รวมทั้งจะยังคงซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่อไป อาทิ กองทุน ETF และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (RIET) ทั้งนี้ ในการประชุมเดือนนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้มีการกล่าวถึงมุมมองเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยยังเติบโตได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ท่ามกลางการชะลอตัวของภาคการส่งออก และภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ด้านนายคุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า การดำเนินนโยบายในปัจจุบันต่อไปนั้น ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม โดยจะยังคงยึดเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ต่อไป และยังพยายามทำให้ถึงเป้าหมายโดยเร็วที่สุด โดยได้แสดงความเชื่อมั่นว่า แม้การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่เศรษฐกิจญี่ปุ่นโดยรวมยังสามารถขยายตัวได้ ในขณะที่มองว่าเศรษฐกิจจีนน่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง จากผลของการใช้นโยบายกระตุ้นของรัฐบาล ด้วยท่าทีของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้ค่าเงินเยนปรับตัวแข็งค่าขึ้น (เยนต่อดอลลาร์ลดลง) หลังการประชุม โดยก่อนหน้านี้ตลาดมองว่ามีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะประกาศใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นจึงทำให้เยนอ่อนค่าลงในช่วงก่อนการประชุม
เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวยาวนานที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
รายงานข่าวจากสำนักข่าวเกียวโด ระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้รายงานเศรษฐกิจประจำเดือน ม.ค. วานนี้ โดยรายงานดังกล่าว ระบุว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวในระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดนับแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่ามกลาง อุปสงค์ในประเทศที่แข็งแกร่ง ขณะที่ตลาดแรงงานตึงตัว นายโทชิมิตสึ โมเทกิ รัฐมนตรีด้านนโยบายเศรษฐกิจและการเงินของญี่ปุ่น อธิบายในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเป็นเดือนที่ 74 ติดต่อกันนับแต่เดือนธ.ค.ปี 2012 นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นยังคงระดับการประเมินปัจจัยหลักอื่นๆ ของเศรษฐกิจไว้ว่า การบริโภคในภาคเอกชนกำลังฟื้นตัว และการลงทุนในภาคธุรกิจกำลังเพิ่มขึ้น จึงคงระดับการประเมินภาวะเศรษฐกิจเอาไว้เท่าเดิม โดยระบุว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวขึ้นในระดับปานกลาง ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับทรงตัว นับว่าดีกว่าการประเมินในเดือนธ.ค.ซึ่งคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงในช่วงที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างเต็มที่ในปัจจุบันนั้น อยู่ที่ระดับ 1.2% ซึ่งต่ำกว่าระดับ 1.6% ในช่วงที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างเต็มที่ในช่วงทศวรรษที่ 2000 รายงานยังระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่า แตะที่ระดับ 3.75 ล้านตำแหน่ง จากระดับ 970,000 ตำแหน่ง ในช่วงที่เศรษฐกิจเผชิญกับภาวะฟองสบู่เมื่อช่วงปี […]