จีนประกาศผ่อนคลายกฎสกัดโควิดครั้งใหญ่ที่สุด ส่งสัญญาณเตรียมพร้อมประชาชน ‘อยู่ร่วมกับไวรัส’
จีนประกาศในวันพุธ (7 ธ.ค.) ผ่อนคลายกฎระเบียบมุ่งเข้มงวดสกัดโรคโควิดทั่วประเทศที่จุดชนวนการประท้วงใหญ่เมื่อเร็วๆ นี้ รวมทั้งขัดขวางการขยายตัวทางเศรษฐกิจของแดนมังกร ซึ่งส่งผลพวงต่อเนื่องกระทบต่อทั่วโลก ถือเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนที่สุดว่า ปักกิ่งกำลังเตรียมพร้อมประชาชนอยู่ร่วมกับไวรัส ภายใต้แนวทางใหม่ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา จะมีการลดความถี่และขอบเขตการตรวจโควิดแบบพีซีอาร์ รวมทั้งจำกัดมาตรการล็อกดาวน์ให้เหลือแค่ขนาดพื้นที่น้อยที่สุดเท่าที่มีเหตุผลความจำเป็นจริงๆ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ต้องยกเลิกการล็อกดาวน์หลังจากพื้นที่ดังกล่าวไม่พบผู้ติดเชื้อติดต่อกัน 5 วัน สำหรับผู้ป่วยโควิดที่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรง สามารถกักตัวที่บ้านเองได้ และประชาชนไม่จำเป็นต้องแสดงรหัสสุขภาพสีเขียวบนมือถือเพื่อเข้าสู่อาคารหรือพื้นที่สาธารณะอีกต่อไป ยกเว้นสถานพักฟื้นผู้สูงวัย สถานพยาบาล โรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนมัธยม คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (เอ็นเอชซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่แถลงการเปลี่ยนแปลงนี้ เมื่อวันพุธ (7) เสริมว่า จะเร่งฉีดวัคซีนผู้สูงวัย ซึ่งที่ผ่านมาถูกมองว่า เป็นอุปสรรคสำคัญขัดขวางการผ่อนคลายนโยบายโควิดเป็นศูนย์ ทั้งนี้ ปักกิ่งประกาศว่า กฎระเบียบใหม่มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการป้องกันและควบคุมโรคระบาดปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เอ็นเอชซีประกาศล่าสุด สอดรับกับความเคลื่อนไหวของเมืองใหญ่จำนวนมากที่ทยอยผ่อนกฎสกัดโควิดในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ภายหลังเหตุการณ์ประท้วงต่อต้านมาตรการควบคุมโรคระบาดทั่วประเทศเมื่อเดือนที่แล้วที่ลุกลามกลายเป็นการเรียกร้องเสรีภาพทางการเมืองและบางคนถึงขั้นเรียกร้องให้สีลาออก และถือเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดนับจากที่สีเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2012 ข่าวการเปลี่ยนแปลงสำคัญครั้งนี้กลายเป็นประเด็นที่มีผู้เข้าชมสูงสุดบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมเว่ยปั๋ว โดยผู้ใช้จำนวนมากหวังว่า จีนจะกลับคืนสู่สถานการณ์ปกติ หลังจากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาหลายพื้นที่ต้องผ่านมาตรการล็อกดาวน์อันยาวเหยียดกินเวลาหลายสัปดาห์มาหลายรอบ และทำให้คนหลายสิบล้านนอกจากเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่แล้ว ยังมีปัญหาสภาพจิตใจอีกด้วย […]
กลุ่ม G7 เตรียมยื่นข้อเสนอ $15,000 ล้าน ช่วยเวียดนามลดการใช้ถ่านหิน
กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก G7 ได้ร่างข้อเสนอใหม่มูลค่า 15,000 ล้านดอลลาร์ ให้แก่เวียดนามเพื่อตกลงกันระหว่างการประชุมสุดยอดที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า เพื่อเป็นทุนในการเร่งการเปลี่ยนผ่านจากถ่านหิน เวียดนาม ที่เป็นหนึ่งในผู้ใช้ถ่านหิน 20 อันดับแรกของโลก เดิมมีกำหนดที่จะลงนามในสิ่งที่เรียกว่า ‘หุ้นส่วนการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม’ กับกลุ่มประเทศ G7 ที่การประชุมสุดยอด COP27 เมื่อเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา แต่การเจรจาในระดับสูงกลับยุติลงก่อนการประชุม และเพื่อโน้มน้าวให้เวียดนามเห็นพ้องกับข้อเสนอนี้ คณะเจรจาของตะวันตกที่นำโดยสหภาพยุโรปและอังกฤษ ได้เสนอแพคเกจทางการเงินที่มีมูลค่ามากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งรวมถึง 7,500 ล้านดอลลาร์ ที่ส่วนใหญ่มาจากเงินกู้จากภาครัฐ และในจำนวนที่เท่ากันในคำมั่นสัญญาจากภาคเอกชน แหล่งข่าวระบุ เจ้าหน้าที่จากชาติตะวันตก 3 คน ซึ่งปฏิเสธที่จะเปิดเผยชื่อเนื่องจากการเจรจาหารือเป็นความลับ ระบุว่า นี่จะเป็นข้อเสนอสุดท้ายจาก G7 ก่อนการประชุมสุดยอดสหภาพยุโรปและสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในกรุงบรัสเซลส์ ในวันที่ 14 ธ.ค. ข้อเสนอดังกล่าวค่อยๆ ขยายตัวขึ้นจากข้อเสนอครั้งแรกที่ตั้งต้นเพียง 2,000 ล้านดอลลาร์ในกองทุนสาธารณะ พร้อมกับการสนับสนุนส่วนตัวเพิ่มเติมที่ไม่ได้ระบุชัดเจน ทั้งนี้ ยังไม่แน่ชัดว่า ข้อเสนอดังกล่าวจะสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้หรือไม่ หากยังไม่สามารถตกลงกันได้ในสัปดาห์หน้า และยังไม่ชัดเจนว่า […]
IMF มองศก.อาเซียนโตเด่น
คริสตาลินา จอร์เจียวา กรรมการจัดการ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ส่งสัญญาณว่า ประเทศในเอเชียมีความเสี่ยงต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเรียกร้องให้หน่วยงานกำหนดนโยบายในแต่ละประเทศเสริมสร้างกันชนสำหรับแรงกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะเดียวกัน นายมาซัตสึกุ อาซาคาวะ ประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของเอเชียตื่นตัวต่อสัญญาณกระแสเงินทุนไหลออกแบบฉับพลัน จากผลพวงของกรณีที่สหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบต่อเนื่อง “เราเห็นความเสี่ยงจากการคุมเข้มนโยบายการเงินในเชิงรุกของสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเงินทุนไหลออกแบบฉับพลัน หรือเงินอ่อนค่าอย่างหนัก” นายอาซาคาวะ กล่าวผ่านระบบทางไกลต่อที่ประชุมอาเซียน+3 ณ ประเทศสิงคโปร์ จอร์เจียวา กล่าวต่อว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จะเป็นกลุ่มที่มีความสดใสมากที่สุดในเศรษฐกิจโลก โดยการเติบโตทางเศรษฐกิจคาดว่าจะอยู่ที่ 5% ในปีนี้ และลดลงเล็กน้อยในปี 2566 อย่างไรก็ตาม จอร์เจียวายังเตือนว่า แนวโน้มยังมีความไม่แน่นอน และถูกกดดันด้วยความเสี่ยง เช่น ผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซีย และยูเครน การเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั่วโลก และการเติบโตในจีนที่ชะลอตัวลง “อีกปัจจัยที่สร้างความท้าทายไปทั่วโลก คือ เงินเฟ้อ แม้คาดการณ์ว่า […]
“ประธานเวิลด์แบงก์” เผยประเทศยากจนสุดในโลก หนี้พุ่งขึ้น 35% และ 6.2 หมื่นล้านดอลล์ เตือนถึงความเสี่ยงผิดนัดชำระ
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ว่า เดวิด มัลพาส ประธานธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) กล่าวในการประชุม Reuters NEXT ในนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.ว่า ขณะนี้ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกเป็นหนี้เจ้าหนี้ทวิภาคีอย่างเป็นทางการจำนวน 6.2 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้น 35% จากปีที่ผ่านมา พร้อมเตือนว่าภาระที่เพิ่มขึ้นคือ ความเสี่ยงของการผิดนัดชำระที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ 2 ใน 3 ของภาระหนี้นี้เป็นของจีน โดยให้รายละเอียดบางส่วนของรายงานสถิติหนี้ประจำปีของผู้ให้กู้เพื่อการพัฒนาที่จะครบกำหนดในสัปดาห์หน้า พร้อมระบุว่า “กังวลเกี่ยวกับกระบวนการผิดนัดชำระหนี้ที่ไม่เป็นระบบ ซึ่งไม่มีระบบที่จะจัดการกับหนี้ของประเทศยากจน” มัลพาส ยังกล่าวอีกว่า เขากังวลเกี่ยวกับการสะสมหนี้ในประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา เพราะสิ่งนี้กำลังดึงเงินทุนออกจากประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น และเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น การชำระหนี้ก็จะสูงขึ้นสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว และนั่นต้องใช้เงินทุนจำนวนมากจากทั่วโลก มัลพาส กล่าวว่า เขาจะเข้าร่วมการประชุมในประเทศจีนในสัปดาห์หน้ากับหัวหน้าสถาบันระหว่างประเทศอื่นๆ และทางการจีน เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางของประเทศในการบรรเทาหนี้สำหรับประเทศยากจน รวมถึงนโยบายในการควบคุมโควิด-19 ความวุ่นวายในภาคอสังหาริมทรัพย์ […]
จับตา “อินเดีย” อาจขึ้นแท่น “ประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 โลก” ภายในปี 2573 แซงหน้าญี่ปุ่น-เยอรมนี
สำนักข่าว CNBC รายงานเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 ว่า ข้อมูลของ S&P Global และ Morgan Stanley ระบุว่าอินเดียกำลังจะแซงหน้าญี่ปุ่นและเยอรมนี ก้าวขึ้นเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยการคาดการณ์ของ S&P ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ว่า การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศประจำปี (GDP) ของอินเดียจะเฉลี่ยอยู่ที่ 6.3% จนถึงปี 2573 ในทำนองเดียวกัน Morgan Stanley ประมาณการว่า GDP ของอินเดียมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า จากระดับปัจจุบันภายในปี 2574 นักวิเคราะห์ของ Morgan Stanley นำโดย Ridham Desai และ Girish Acchipalia ระบุว่า “อินเดียมีเงื่อนไขสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยต่างประเทศ การลงทุนด้านการผลิต การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลขั้นสูงของประเทศ […]
วิกฤต ‘น้ำมันดีเซล’ กำลังลามทั่วโลก
“น้ำมันดีเซล” มีความสำคัญต่อธุรกิจและเศรษฐกิจของแต่ละประเทศใหญ่หลวงมาก เนื่องจากเป็นชนิดน้ำมันที่ใช้เป็นพลังงานของเรือขนส่งสินค้า รถบรรทุกขนถ่ายสินค้า และรถไฟ รวมทั้งเป็นพลังงานเพื่อให้ความร้อนแก่บ้านเรือน และธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคที่หนาวเย็นของโลก อย่างเช่น ในอเมริกาเหนือและยุโรป ที่สำคัญยังถูกนำมาใช้เป็นพลังงานสำคัญส่วนหนึ่งในการเดินเครื่องจักรสำหรับผลิตน้ำประปา ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับการบริโภคของครัวเรือนและธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งหลายอีกด้วย ภาวะขาดแคลนน้ำมันดีเซลที่อาจทำให้ราคาพุ่งพรวด จึงส่งผลกระทบอย่างทั่วถึงเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะต่อ “เครือข่าย การขนส่งสินค้า” ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าทุกอย่างแพงขึ้น ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น อัตราเงินเฟ้อถีบตัวสูงขึ้นตามมา เดือดร้อนกันไปทั่ว ตั้งแต่คนเดินถนนไปจนถึงในคฤหาสน์มหาเศรษฐี และทุกภาคส่วนของธุรกิจอุตสาหกรรม ที่ต้องหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา เนื่องจากสำนักข่าว บลูมเบิร์ก รายงานไว้เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แทบทั่วทุกภูมิภาคของโลกจะเผชิญกับอันตรายจากการขาดแคลนน้ำมันดีเซล เนื่องจากภาวะตึงตัวของผลผลิตน้ำมันชนิดนี้ในตลาดเกือบทั่วทั้งโลกที่สามารถ “ส่งผลทำให้ภาวะเงินเฟ้อเลวร้ายลง” และ “ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ” ตามมา “มาร์ก ฟินลีย์” นักวิชาการด้านพลังงาน ประจำสถาบันเบเกอร์เพื่อศึกษานโยบายสาธารณะของมหาวิทยาลัยไรซ์ บอกกับ บลูมเบิร์กว่า การขาดแคลนและราคาน้ำมันดีเซลที่พุ่งสูงขึ้น จะทำให้สหรัฐอเมริกาต้องใช้ต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้นถึง 100,000 ล้านดอลลาร์ ในสหรัฐอเมริกา ปริมาณดีเซลสำรองในคลังลดฮวบลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1982 ในขณะที่ปริมาณน้ำมันดีเซลในท้องตลาดในเวลานี้อยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ สำนักงานข้อมูลพลังงาน (อีไอเอ) […]
“ค่าเงินเอเชีย” จ่อพุ่งแกร่งสุดในรอบ 6 ปี วอนเกาหลีใต้ทำผลงานดีสุดพุ่ง 7% บาทไทยแข็งค่าขึ้น 6.8%
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ว่า สกุลเงินของประเทศต่างๆ ในเอเชียอาจปรับตัวขึ้นรายเดือนแข็งแกร่งที่สุดในรอบกว่า 6 ปี โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใกล้จะยุติวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยดัชนี Bloomberg JPMorgan Asia Dollar Index ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของสกุลเงินดอลลาร์ในเอเชียซึ่งเจพี มอร์แกนจัดทำร่วมกับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก พุ่งขึ้น 2.7% ในเดือนพฤศจิกายน และมีแนวโน้มที่จะทำสถิติรายเดือนที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2559 โดยเงินวอนของเกาหลีใต้ทำผลงานได้ดีที่สุดด้วยการพุ่งขึ้น 7% ตามด้วยเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้น 6.8% Eugenia Victorino หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์เอเชีย ของ Skandinaviska Enskilda Banken AB ในสิงคโปร์ กล่าวว่า “แม้ว่า เฟดสื่อสารอย่างชัดเจนกับตลาดว่า จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป แต่การปรับตัวขึ้นของดอลลาร์เริ่มส่งสัญญาณว่า กำลังจะสิ้นสุดลง สกุลเงินในภูมิภาคเอเชียมีโอกาสที่จะกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง หลังจากที่อ่อนค่าลงอย่างมากในปีนี้” อย่างไรก็ตาม ประเทศต่างๆ […]
‘โกลด์แมน แซคส์’ คาดจีนเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์เดือนเม.ย. ปีหน้า
โกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์ วาณิชธนกิจรายใหญ่ของสหรัฐ ประเมินว่า จีนอาจจะต้องยุติมาตรการโควิดเป็นศูนย์ก่อนเดือนเม.ย. ในปี 2566 ซึ่งเร็วกว่าที่คาดไว้มาก โดยมีการประเมินกันว่า การออกจากมาตรการดังกล่าวนั้น อาจจะไม่เป็นระเบียบเท่าไรนัก นางหุย ชาน หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์ ประเทศจีน ของธนาคาร ระบุในรายงานว่า มีความเป็นไปได้ประมาณ 30% ที่จีนจะกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งก่อนไตรมาสสองของปี 2566 “ในไม่ช้า รัฐบาลกลางอาจต้องเลือกระหว่างการล็อกดาวน์เพิ่มมากขึ้น หรือไม่ก็การระบาดของโควิดมากขึ้น” นางหุย เขียนและระบุต่อไปว่า รัฐบาลท้องถิ่นพยายามดิ้นรน เพื่อปรับสมดุลในการควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส ในขณะที่ปฏิบัติตามมาตรการล่าสุดที่กําหนดให้มีแนวทางที่ตรงเป้าหมายมากขึ้น เศรษฐกิจจีน กำลังได้รับผลกระทบอย่างยิ่งจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ ด้วยการควบคุมที่เข้มข้นมากขึ้นซึ่งควบคุมไปถึงการขนส่ง กิจกรรมทางธุรกิจของผู้คน ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ อีกทั้งมาตรการดังกล่าวทำให้เกิดการประท้วงใหญ่ๆ ทั้งในเซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง ขณะที่ สำนักข่าวรอยเตอร์ และเอเอฟพี รายงานเมื่อวันอาทิตย์ (27 พ.ย.) ว่า ชาวจีนออกมาชุมนุมต่อต้านมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดในหลายเมืองทั่วประเทศ ทั้งที่นครเซี่ยงไฮ้ และการชุมนุมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่กรุงปักกิ่ง หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารสูงแห่งหนึ่งในเมืองอุรุมชี เมืองเอกของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ที่มีผู้เสียชีวิต 10 ราย เหตุเพลิงไหม้อาคารที่พักอาศัยในเมืองอุรุมชีทำให้เกิดคลื่นของอารยะขัดขืนทั่วจีน […]
“อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภค” เมืองหลวงญี่ปุ่น พุ่งเร็วสุดในรอบ 40 ปี ส่งสัญญาณกระทบวงกว้าง
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก (CPI) ในเมืองหลวงของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้แนวโน้มทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นในอัตราประจำปีที่เร็วที่สุดในรอบ 40 ปีในเดือนพฤศจิกายน และสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ซึ่งส่งสัญญาณการขยายตัวของเงินเฟ้อในวงกว้าง นักวิเคราะห์บางคน กล่าวว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคหลักในเมืองหลวงของญี่ปุ่นที่สูงขึ้น ได้แรงหนุนส่วนใหญ่มาจากค่าอาหารและเชื้อเพลิง แต่กระจายไปยังสินค้าในวงกว้าง ทำให้เกิดข้อสงสัยต่อมุมมองของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) โดยดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก (CPI) ของโตเกียว ซึ่งไม่รวมอาหารสด แต่รวมเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 3.6% ในเดือนพฤศจิกายนจากปีก่อนหน้า การเพิ่มขึ้นเกินการคาดการณ์ของตลาดเฉลี่ยที่ 3.5% และเพิ่มขึ้น 3.4% ในเดือนตุลาคม ซึ่งครั้งสุดท้ายที่อัตราเงินเฟ้อของโตเกียวเร็วขึ้น คือ เดือนเมษายน 2525 เมื่อ CPI พื้นฐานสูงกว่าปีก่อนหน้า 4.2% ขณะที่ การเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากค่าไฟฟ้าและราคาอาหาร บริษัทต่างๆ ก็เรียกเก็บค่าสินค้าคงทนมากขึ้นเช่นกัน […]
“ก.ล.ต.โลก” เร่งกำกับดูแลแพลตฟอร์มคริปโทฯ หลัง FTX ล้มละลาย
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 24 พฤศจิายน 2565 ว่า ฌอง-พอล เซอร์เวส์ ประธานคนใหม่ขององค์กรคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (International Organization of Securities Commissions – IOSCO) ซึ่งเป็นหน่วยงานเฝ้าระวังด้านหลักทรัพย์ระดับโลกเปิดเผยในการให้สัมภาษณ์ว่า การล้มละลายของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโทเคอเรนซี อย่าง FTX ทำให้เกิดความเร่งด่วนมากขึ้นในการควบคุมภาคคริปโทฯ และจะให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มต่างๆ ของกลุ่มบริษัทในปี 2566 ทั้งนี้ การควบคุมแพลตฟอร์มคริปโทฯ สามารถใช้หลักการเดียวกับภาคส่วนอื่นๆ ที่ใช้ในการจัดการปัญหาความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ต่างๆ เช่น หน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือ และหน่วยงานซึ่งรวบรวมเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ของตลาด โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด สำหรับสินทรัพย์คริปโทฯ เช่น บิทคอยน์ มีมานานหลายปีแล้ว แต่ยังไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลใดเข้าไปเขียนกฎเกณฑ์ใหม่อย่างจริงจัง แต่การล่มสลายของ FTX ซึ่งทำให้เจ้าหนี้ราว 1 ล้านรายต้องเผชิญกับความสูญเสียมูลค่ารวมหลายพันล้านดอลลาร์นั้น จะเข้ามาช่วยในการเปลี่ยนแปลงเรื่องดังกล่าวอย่างแน่นอน “ความรู้สึกเร่งด่วนไม่เหมือนเดิม แม้เมื่อ 2 หรือ 3 ปีที่แล้ว […]