ญี่ปุ่นเริ่มเห็นเงินเฟ้อบ้างแล้ว แต่เอกชนมองว่าเป็นการเพิ่มจากต้นทุน ไม่ใช่ความต้องการผู้บริโภค
Ernie Higa ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Higa Industries ผู้ประกอบการรุ่นใหญ่ออกมาให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคหลักของญี่ปุ่นอาจจะไปถึงเป้าหมาย 2% ที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นตั้งไว้ได้ แต่คงยังไม่ใช่เวลานี้ โดยเมื่อพูดถึงเงินเฟ้อ ก็คล้ายๆ กับไขมันส่วนเกิน ซึ่งมีทั้งไขมันที่ดีและไขมันที่ไม่ดี จากประสบการณ์ในเวลานี้เงินเฟ้อในญี่ปุ่นก็เหมือนไขมันส่วนเกินที่ไม่ดี ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคในกรุงโตเกียว ที่รวมอาหารสดและเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 1.9% ในเดือนพฤษภาคม 2022 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลของรัฐบาล แม้ตัวเลขนี้จะเข้าใกล้เป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางญี่ปุ่นซึ่งอยู่ที่ 2% แต่การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อส่วนใหญ่มาจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญในด้านอาหารสดและราคาพลังงาน แต่ถ้าไม่นับรวมต้นทุนที่มาจากอาหารสดและราคาพลังงาน ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นแค่ 0.9% เท่านั้น Higa กล่าวว่า เป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่นนั้น เน้นไปที่เงินเฟ้อซึ่งมาจากความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น เมื่อค่าจ้างเพิ่มขึ้นก็จะทำให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นตาม แต่ปัจจุบันสิ่งที่ประเทศกำลังเผชิญคือ เงินเฟ้อที่มาจากฝั่งต้นทุนเพิ่มขึ้น โดยราคาเพิ่มขึ้นแต่ค่าจ้างไม่ได้ขึ้นตาม ซึ่งบรรดาผู้ค้าปลีกถูกบีบคั้นอยู่ต้องกดต้นทุนเอาไว้ ทำให้เมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้นแล้วก็ยังไม่สามารถส่งผ่านไปให้ผู้บริโภคได้ ทั้งนี้ ญี่ปุ่นไม่ใช่ประเทศเศรษฐกิจหลักเพียงแห่งเดียวที่เผชิญกับแรงกดดันด้านต้นทุน ประเทศอื่น เช่น สหรัฐฯ และอังกฤษ […]
ซาอุดิอาระเบียเตือนทั่วโลกยังให้ความสำคัญกับวิกฤติขาดแคลนอาหารน้อยเกินไป
หลายประเทศกำลังเผชิญวิกฤติอาหารรุนแรงขึ้น ซึ่งมีปัจจัยขับเคลื่อนมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน เนื่องจากทั้งคู่เป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก และป้อนสินค้าให้กับประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก Mohammed al-Jadaan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซาอุดิอาระเบีย กล่าวในเวทีประชุมสุดยอดของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ว่า โลกยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาวิกฤติขาดแคลนอาหารมากพอ ทั้งที่เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก โดยวิกฤติอาหารเป็นเรื่องจริง ที่ทั่วโลกยังประเมินเรื่องนี้ต่ำเกินไป ซึ่งปัญหานี้กำลังจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เป็นปัญหาแค่ในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ แต่เป็นปัญหาวงกว้างทั่วโลก ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ มีความเสี่ยงสูงมากๆ เพราะนำเข้าอาหารจำนวนมาก ซึ่งทั้ง 2 ภูมิภาคนี้ มีประชากร 26% ของประชากรทั้งโลก สงครามรัสเซีย-ยูเครนขณะนี้ส่งผลกระทบต่อตะวันออกกลางและแอฟริกาที่พึ่งพาข้าวสาลีและธัญพืชจากพื้นที่นี้ ขณะที่รัสเซียและยูเครน มีสัดส่วนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีประมาณ 1 ใน 3 ของการส่งออกข้าวสาลีทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีสัดส่วนการส่งออกข้าวโพด 20% และ 80% สำหรับน้ำมันดอกทานตะวัน นอกจากนี้ยังเป็นอุปทานส่วนหลักของภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือด้วย ที่มา : CNBC
ตัวแทนกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เตรียมบุกอินเดียเพื่อย้ำมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย
กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ระบุว่า ทีมบริหารของ Joe Biden ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางไปอินเดียเพื่อหารือกับเจ้าหน้าที่ทางการและตัวแทนภาคอุตสาหกรรม เกี่ยวกับการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ กรณีที่อินเดียซื้อน้ำมันจากรัสเซียเพิ่มขึ้น โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า Elizabeth Rosenberg ผู้ช่วยเลขานุการด้านการจัดหาเงินทุนของผู้ก่อการร้ายและอาชญากรรมทางการเงิน จะเดินทางไปเยือนนิวเดลีและมุมไบในวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2022 เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐฯ คนอื่น กล่าวกับ Reuters เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2022 ว่า การที่รัสเซียส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญให้กับอินเดีย อาจจะทำให้อินเดียต้องเจอความเสี่ยงอย่างยิ่ง ขณะที่สหรัฐฯ เตรียมยกระดับการบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียเพิ่มเติมหลังรุกรานยูเครน โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การที่ Rosenberg เดินทางไปเยือนอินเดีย เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางทีมบริหารของ Biden ที่พยายามจะโน้มน้าวให้คู่ค้าและพันธมิตรทั่วโลก พูดคุยกับเจ้าหน้าที่และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการคว่ำบาตร และควบคุมการส่งออกของสหรัฐฯ “สิ่งสำคัญคือต้องไปพูดคุยกับส่วนต่างๆ ของโลกที่เป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ ในประเด็นอื่นทั้งหมด และทำให้แน่ใจว่า เราติดต่ออย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับการคว่ำบาตรและมีการทำงานร่วมกัน เพื่อปราบปรามโอกาสหลบเลี่ยงหรือกิจกรรมที่หลบเลี่ยงการคว่ำบาตร” โฆษก กล่าว อินเดียเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันอันดับ […]
ธุรกิจและภาครัฐประสานเสียงเตือนแนวโน้มเศรษฐกิจค่อนข้างมืดหม่น
ในการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum : WEF) ซึ่งจัดขึ้นที่ดาวอส เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2022 พบว่า เศรษฐกิจโลกเผชิญภัยคุกคามหลายอย่าง ที่ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงมากขึ้น ผู้นำการเมืองและธุรกิจที่เข้าร่วมการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก ต่างมองตรงกันว่า เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงสุดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับประเทศเศรษฐกิจหลักๆ ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ และยุโรป ซึ่งราคาที่เพิ่มขึ้นได้บั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและเขย่าตลาดการเงินโลก ทำให้ธนาคารกลางต่างๆ เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Robert Habeck รองนายกรัฐมนตรีเยอรมัน กล่าวว่า ผลกระทบในตลาดน้ำมันและอาหาร มาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และโควิด-19 ระบาดในจีนที่ทำให้มีการปิดเมือง ทั้งนี้เราเจอวิกฤติอย่างน้อย 4 อย่างที่มีความเชื่อมโยงกัน ได้แก่ เงินเฟ้อสูง วิกฤติพลังงาน การขาดแคลนอาหาร และวิกฤติด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถ้าเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ ถ้าเรามัวมุ่งเน้นแก้เพียงวิกฤติเดียว แต่ถ้าไม่มีปัญหาใดถูกแก้ไขได้ ก็เกรงว่า เรากำลังเดินไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมากต่อความมั่นคงของโลก ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา […]
Oxfam คาดการณ์มีนับล้านคนทั่วโลกฐานะตกไปอยู่ในระดับความยากจนสูงสุด
Oxfam องค์กรการกุศล เผยแพร่สถิติใหม่ที่จัดทำออกมา โดยชี้ว่า มีมหาเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นทุกๆ 30 ชั่วโมง ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด แล้วก็มีคนกว่าล้านคนที่สถานะปรับลดลงไปสู่ความยากจนระดับสูงสุดในอัตราเดียวกันในปี 2022 ทั้งนี้ องค์กรการกุศล เผยแพร่ข้อมูลในเวทีประชุมสภาเศรษฐกิจโลกที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยชี้ว่า ณ เดือนมีนาคม 2022 ทั่วโลกมีมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นมากกว่า 573 คน เมื่อเทียบกับปี 2020 ในช่วงที่การแพร่ระบาดเริ่มต้น ซึ่งก็เท่ากับทุกๆ 30 ชั่วโมงจะมีมหาเศรษฐีใหม่เกิดขึ้น 1 คน ขณะเดียวกัน ในรายงานคาดการณ์ว่า มีคน 263 ล้านคนทั่วโลก ที่กำลังตกอยู่ในสถานะยากจนสูงสุดในปี 2022 เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ความไม่เท่าเทียมในโลกที่เพิ่มขึ้น และราคาอาหารที่สูงขึ้น ซึ่งก็เป็นความเลวร้ายที่ตามมาจากสงครามในยูเครน นั่นหมายความว่าในทุกๆ 33 ชั่วโมง มีคนที่สถานะปรับลดลงไปสู่กลุ่มที่มีความยากจนสูงสุด 1 ล้านคนนั่นเอง Oxfam ชี้ว่า มหาเศรษฐีสะสมความมั่งคั่งรวมกัน 12.7 […]
ยอดจองเที่ยวบินเพื่อท่องเที่ยวและธุรกิจเพิ่มขึ้นเกินกว่าช่วงเริ่มต้นโควิดระบาดเป็นครั้งแรก
ในเวลานี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มต้นการแพร่ระบาดของโควิด ที่เที่ยวบินเพื่อการไปพักผ่อนและธุรกิจเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในปี 2019 Mastercard Economics Institute เผยแพร่ข้อมูลรายงานการท่องเที่ยวฉบับล่าสุดออกมา โดยมีการวิเคราะห์ 37 ตลาดทั่วโลก ในรายงานชี้ว่ายอดการท่องเที่ยวข้ามผ่านระดับก่อนเกิดโควิดไปแล้วในเดือนมีนาคม 2022 ซึ่งถือเป็นตัวเลขสำคัญหลังจากที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเดินหน้าด้วยการท่องเที่ยวในประเทศ นับตั้งแต่ปี 2020 David Mann หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา Mastercard Economics Institute ระบุว่า จากข้อมูลในรายงานชี้ให้เห็นว่า การฟื้นตัวครั้งใหญ่กำลังดำเนินไปอยู่ เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าความต้องการที่ถูกกักขังเอาไว้มีความแข็งแกร่งแค่ไหน ทั้งนี้ พบว่า ยอดจองตั๋วเครื่องบินสำหรับการเดินทางท่องเที่ยว ในเดือนเมษายน 2022 เพิ่มขึ้น 25% จากระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาด โดยขับเคลื่อนด้วยการเดินทางเที่ยวบินระยะใกล้และระยะกลางเป็นสำคัญ ซึ่งตัวเลขการจองในเดือนเมษายน 2022 สูงกว่าช่วงเมษายน ปี 2019 แล้ว ขณะที่การจองเที่ยวบินระยะยาว ขยับตามมาติดๆ โดยเริ่มต้นปีในระดับ -75% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด หลังจากนั้นก็มีปรากฎการณ์ยอดจองเพิ่มขึ้นแบบไม่เคยมีมาก่อน กับเที่ยวบินระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้ยอดกลับมาไล่เลี่ยกับช่วงปี […]
หุ้นสิงคโปร์และอินโดนีเซียให้ผลตอบแทนดีสุดในเอเชียแปซิฟิกปีนี้
นับตั้งแต่ต้นปี 2022 จนถึงตอนนี้ มีดัชนี 2 ตลาดหลักๆ ในเอเชียแปซิฟิกที่ยังเป็นบวกได้ โดยทั้งคู่ต่างก็อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ณ วันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2022 หลังจากปิดตลาด ดัชนี Straits Times index ของสิงคโปร์ ให้ผลตอบแทนอันดับ 1 ในภูมิภาค คือ เพิ่มขึ้น 3.25% จากสิ้นปี 2021 โดย Wilson Ng และ Derek Chang นักวิเคราะห์หุ้นของ Morgan Stanley เผยแพร่รายงาน ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2022 ว่า หุ้นสิงคโปร์เป็นเหมือนหลุมหลบภัยท่ามกลางตลาดโลกที่ผันผวน พวกเขามองว่า ตลาดทั่วโลกกำลังต่อสู้กับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ท่ามกลางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มลดลง อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น จากการที่ธนาคารกลางใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวด […]
เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาสแรกปี 2022 หดตัวครั้งแรกในรอบ 2 ไตรมาส
เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวครั้งแรกในรอบ 2 ไตรมาส ในงวดไตรมาสแรกของปี 2022 หรือเดือนมกราคม-มีนาคม 2022 เนื่องจากโควิด-19 ที่แพร่ระบาดกระทบกับภาคบริการ และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็เป็นแรงกดดันใหม่ที่ทำให้เกิดความกังวลเพิ่มขึ้นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัวจะยืดเยื้อออกไป การปรับตัวลงของเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้สร้างความท้าทายให้กับ Fumio Kishida นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น สำหรับการเดินไปให้ถึงเป้าหมายการเติบโตและการกระจายความมั่งคั่งให้ทั่วถึง ภายใต้วาระทุนนิยมใหม่ที่เขาวางไว้ และยังกระตุ้นให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดภาวะชะงักงัน คือ เจอทั้งการเติบโตที่ไม่แน่นอน เศรษฐกิจชะลอตัวและยังเจอเรื่องเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่นในเดือนมกราคม-มีนาคม หดตัว 1.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ GDP นี้ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะหดตัว 1.8% สัญญาณเศรษฐกิจที่อ่อนแอนี้ กดดันให้ Kishida ต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งสภาระดับสูงในวันที่ 10 กรกฎาคม 2022 โดยได้มีแผนการใช้จ่ายงบประมาณพิเศษ 2.7 ล้านล้านเยน หรือ 20,860 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ออกมาเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา Hiroshi Shiraishi นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส BNP Paribas Securities […]
ไวรัสโควิดกระทบเศรษฐกิจจีนเดือนเม.ย. เต็มๆ แต่คาดว่าตัวเลขจะดีขึ้นตั้งแต่เดือนมิ.ย.
ไวรัสโอมิครอนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจีน ทำให้การผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2022 ลดลง เช่นเดียวกับยอดค้าปลีก และการลงทุนด้วย โดยจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน ระบุว่า มีสัญญาณที่ดีขึ้นในเดือนพฤษภาคม และคาดว่าในไตรมาส 2 การเติบโตจะเป็นไปอย่างมั่นคง นักวิเคราะห์ คาดการณ์ว่า ในไตรมาสที่ 2 น่าจะเห็นตัวเลขเศรษฐกิจปรับลงไปถึงจุดต่ำสุด โดยการเติบโตน่าจะอยู่ในระดับ 4% ขณะที่การฟื้นตัวคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 3 โดยเศรษฐกิจยังมีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตในปี 2022 ที่ 5.5% ได้อยู่ สำหรับตัวเลขการผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน ลดลง 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยลดลงจากที่โต 5% ในเดือนมีนาคม และยอดค้าปลีกร่วงลงไปกว่า 11% เป็นผลจากการแพร่ระบาดที่กระทบกับเศรษฐกิจ ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ในช่วง 4 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้น 6.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง 2.5% เมื่อเปรียบเทียบกับยอดการเติบโตในช่วงไตรมาสแรก Fu Linghui […]
ESG Morning Brief Sustainability
อุณหภูมิโลกมีโอกาสผ่านจุดชี้ชะตาสำคัญร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสได้ ในอีก 5 ปีข้างหน้า
ผลการศึกษาใหม่ที่พยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จัดทำโดย U.K. Met Office ชี้ว่า มีโอกาส 50% ที่ภายใน 5 ปีข้างหน้า โลกเราจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับเกณฑ์ความร้อนสำคัญของโลก ที่ได้มีการตั้งเป้าหมายกันไว้ว่า จะพยายามทำให้โลกไม่ร้อนขึ้นเกินระดับนี้ เมื่อปี 2015 นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศ เคยกล่าวว่า มีโอกาส 0% ที่อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับอุณหภูมิในยุคก่อนอุตสาหกรรมในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่ว่าแนวโน้มที่อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นระดับนี้ กลับเพิ่มขึ้นเป็น 10% ระหว่างปี 2017-2021 และล่าสุดก็ไต่ระดับขึ้นมาเข้าใกล้ 50% สำหรับปี 2022-2026 ความเป็นไปได้นี้เกิดขึ้นเพียงไม่นาน หลังจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ (IPCC) ออกมาเตือนว่า เราต้องร่วมกันต่อสู้เพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์ IPCC เรียกร้องให้มีการลดใช้พลังงานฟอสซิลเพื่อควบคุมความร้อนของโลก โดยปัจจุบันโลกเราร้อนขึ้นมา 1.1 […]