ติ๊กต็อกวางแผนขยายตัวสู่ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในสหรัฐฯ

ติ๊กต็อกวางแผนขยายตัวสู่ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในสหรัฐฯ

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า ติ๊กต็อกวางแผนจะขยายธุรกิจเชิงรุกเข้าไปในตลาดอี-คอมเมิร์ซ ในสหรัฐฯ โดยอ้างอิงมาจากรายงานของเดอะ ไฟแนนเชียล ไทม์ส ซึ่งได้ข้อมูลมาจากบุคคลที่ได้เห็นแผนของแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียนี้ เกี่ยวกับคุณสมบัติใหม่ที่จะนำเสนอในปีนี้ สำหรับคุณสมบัติใหม่ที่ว่า จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ติ๊กต็อกซึ่งได้รับความนิยมสูงจากผู้ใช้งานสามารถแบ่งปันลิงค์ที่จะเชื่อมต่อไปยังผลิตภัณฑ์และรับค่าคอมมิชชันจากการขายโดยอัตโนมัติได้ โดยติ๊กต็อกจะเปิดตัวไลฟ์ สตรีม ชอปปิง ซึ่งเป็นช่องชอปปิงบนโทรทัศน์ในเวอร์ชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นพื้นที่ที่ผู้ใช้งานสามารถซื้อสินค้าได้เพียงแค่แตะไม่กี่ครั้ง นอกจากนี้ติ๊กต็อกยังหาระหว่างการหาแบรนด์ต่างๆ มาแสดงในรายการสินค้าด้วย ติ๊กต็อกนั้น มีบริษัท ไบท์แดนซ์ สัญชาติจีนเป็นเจ้าของ โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการเปิดตัวเป็นพันธมิตรกับ WPP Plc ที่นำเสนอความสามารถในการทำตลาดโดยเข้าถึงไวรัลวิดีโอแพลตฟอร์มให้กับเครือข่ายและลูกค้าเอเจนซีโฆษณาในลอนดอน “ดูเหมือนว่าติ๊กต็อกจะข้ามประสบการณ์บนเดสก์ท็อปไป และมุ่งไปที่การค้าโดยตรง ซึ่งกรณีที่ติ๊กต็อกเป็นพันธมิตรกับ WPP จะเป็นการเข้าไปจับความเชื่อมโยงระหว่างคอนเทนต์และการค้า” Jack Smyth เจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสร้างสรรค์ มายด์แชร์ กล่าว เครื่องมือใหม่นี้จะทำให้ติ๊กต็อกยกระดับการเป็นคู่แข่งกับเฟซบุ๊กในด้านการใช้จ่ายอี-คอมเมิร์ซ โดยติ๊กต็อกเคยกล่าวไว้ว่า มีแผนในปีนี้ที่จะสร้างความสามารถให้แบรนด์ต่างๆ สามารถใส่โฆษณาออนไลน์ของตัวเองได้แทนที่จะทำผ่านตัวแทนขาย

สิงคโปร์ชี้วิกฤติสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามมนุษยชาติ ดันนโยบายพัฒนาประเทศยั่งยืน

สิงคโปร์ชี้วิกฤติสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามมนุษยชาติ ดันนโยบายพัฒนาประเทศยั่งยืน

รัฐสภาสิงคโปร์ออกมายอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภาวะฉุกเฉินระดับโลก โดยมีเป้าหมายเรียกร้องให้รัฐบาล ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเร่งดำเนินการในประเด็นนี้ ซึ่งข้อเสนอบางส่วนที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อภิปรายไว้ ได้แก่ การติดตามการลดปริมาณการใช้พลังงาน รวมถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างห่วงโซ่อุปทานอาหารที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนมากขึ้น และที่สำคัญคือการบริหารจัดการกับขยะ หลังจากการอภิปรายเมื่อวันจันทร์ที่ 1 ก.พ. 2021 รัฐสภาสิงคโปร์ได้อนุมัติการเคลื่อนไหวที่จะเร่งการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ โดยประกาศให้ปัญหานี้เป็นภาวะฉุกเฉินระดับโลก การเคลื่อนไหวดังกล่าวยังได้รับการสะท้อนการยอมรับว่า วิกฤติสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติ ที่ต้องใช้ความพยายามร่วมกันในการบรรเทาและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง เพื่อรองรับความยั่งยืนในการพัฒนาของสิงคโปร์ ปัจจุบันยังคงอยู่ระหว่างการหารือนโยบายการดำเนินการด้านสภาพอากาศที่เข้มข้นมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในสิงคโปร์ หลังจากการประกาศชัดเจนก็จะทำให้ประเทศเป็นผู้นำในภูมิภาคอีกครั้งในการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เมื่อปีที่ผ่านมาสิงคโปร์ได้เปิดตัวแผนมูลค่า 1 แสนล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (7.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อปรับให้เข้ากับอนาคตที่ต้องเผชิญกับสภาพภูมิอากาศ และลงทุนเพิ่มเติมในภาคการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน ซึ่งเมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้สิงคโปร์กลายมาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอาหาร ย้อนไปในปี 2019 สิงคโปร์ประกาศให้เป็น ‘year of zero waste’ หรือปีแห่งการปลอดขยะ โดยเปิดตัวแผนแม่บทในการกำจัดขยะที่ฝังกลบลดลง 30% ภายในปี 2030 ซึ่งแผนแม่บทนี้เป็นเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน

ส่งออกจีนปี 2021 ยังสดใส ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์โลก-นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ

ส่งออกจีนปี 2021 ยังสดใส ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์โลก-นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ

รายงานพิเศษจากซินหัว ระบุว่า ข้อมูลศุลกากรของจีนแสดงให้เห็นว่าการส่งออกของจีนในปี 2020 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4%  แม้ว่าจะมีความวุ่นวายต่างๆ โดยมูลค่าการส่งออกรวมสูงถึง 17.93 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 2.77 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) ขณะที่การส่งออกในเดือน ธ.ค. 2020 (ในรูปสกุลเงินหยวน) เพิ่มขึ้น 10.9% Liang Ming นักวิจัยจากสถาบันการค้าระหว่างประเทศและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ กล่าวว่า การค้าต่างประเทศของจีนคาดว่าจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้ และยังสามารถขยายตลาดได้อย่างต่อเนื่อง เขา ตั้งข้อสังเกตว่า การค้าต่างประเทศของจีนแตะจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์หลายครั้งในปี 2020 แม้จะมีลมแรงจากปัจจัยกระทบต่างๆ บ้างก็ตาม ซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการค้าในปี 2021 จีนยังคงเป็นประเทศการค้าสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อปีที่แล้ว โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020 การส่งออกของจีนเติบโตสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 14.2% จากยอดรวมทั่วโลกซึ่งตัวเลขมาจากศุลกากรของจีน ตามรายงานการวิจัยของ CITIC Securities ระบุว่า การเติบโตของการส่งออกที่เกินกว่าคาดคิดนั้น ได้รับแรงหนุนจากภาคผลิตอุตสาหกรรมฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว หลังจากที่จีนเป็นประเทศแรกที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสามารถควบคุมได้ดี บวกกับข้อได้เปรียบของประเทศในห่วงโซ่อุตสาหกรรม […]

อียูต้องใช้เงิน 80,000 ล้านยูโร หนุนใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่ม 50 เท่าใน 10 ปี

อียูต้องใช้เงิน 80,000 ล้านยูโร หนุนใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่ม 50 เท่าใน 10 ปี

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า Eurelectric ออกมาเผยว่า สหภาพยุโรป (อียู) วางแผนที่จะเพิ่มการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเป็น 50 เท่า ภายในช่วง 10 ปีจากนี้ เพื่อช่วยลดมลภาวะจากก๊าซเรือนกระจก โดยคาดว่าจะต้องใช้เงิน 80,000 ล้านยูโร หรือประมาณ 96,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการลงทุนจุดชาร์จเพื่อสนับสนุน ทั้งนี้ สหภาพยุโรปต้องการให้มีรถยนต์ที่สร้างมลภาวะเป็นศูนย์ 30 ล้านคัน วิ่งบนถนนภายในปี 2030 ถือเป็นส่วนหนึ่งของการสนันสนุนการลดสร้างมลภาวะอย่างน้อย 55% ภายในทศวรรษนี้ เมื่อเทียบกับระดับที่มีในช่วงปี 1990-1999 จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ยุโรป เผยว่า สิ้นปี 2019 อียูมีรถยนต์ไฟฟ้าประมาณ 615,000 คัน ขณะที่จำนวนจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสาธารณะมีประมาณ 250,000 จุด ซึ่งต้องเพิ่มเป็น 3 ล้านจุด ภายในปี 2030 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายสีเขียว ตามรายงานของ Eurelectric สมาคมไฟฟ้าแห่งชาติ  […]

เศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวเร็วขึ้น จับตาการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีแรก

เศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวเร็วขึ้น จับตาการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีแรก

รายงานข่าวจากซินหัว ระบุว่า Zhang Yuxian ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ข้อมูลสารสนเทศแห่งชาติของจีน (SIC) คาดการณ์เศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวเร็วขึ้นกว่าที่คิดและจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายมหภาคเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยในปี 2021 จะเป็นปีที่ท้าทายในหลายด้านทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศ เขา มองว่า แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของจีนจะยังไม่เปลี่ยนแปลง แม้จะเผชิญความเสี่ยง ความท้าทาย และความไม่แน่นอนต่างๆ ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจ คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจโลก ตลาดการเงินระหว่างประเทศและความขัดแย้งระหว่างประเทศยักษ์ใหญ่ต่างๆ ส่วนความท้าทายภายในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในการจ้างงานของบางกลุ่มธุรกิจสำคัญๆ ความยากลำบากในการป้องกันและกำจัดความเสี่ยง และปัญหาหนี้สินของรัฐบาลท้องถิ่น จีนยังมีอุปทานคุณภาพสูงในด้านแรงงาน เงินทุน เทคโนโลยีและภาคการผลิต รวมถึงมีระบบอุตสาหกรรมแบบครบวงจรและเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ตลอดจนมีพื้นที่และมีช่องให้พัฒนาได้อย่างกว้างขวางเพื่อวางกลยุทธ์ทั้งในย่านเมืองและชนบท การที่จีนเดินหน้าเชิงรุกในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ควบคู่กับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ในปี 2021 จะทำให้จีนจะมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เร็วขึ้น โดยจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสแรกและไตรมาส 2

อินเดียเล็งใช้งบประมาณฟื้นเศรษฐกิจท่ามกลางข้อจำกัดด้านการเงิน

อินเดียเล็งใช้งบประมาณฟื้นเศรษฐกิจท่ามกลางข้อจำกัดด้านการเงิน

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า ในการเสนอแผนงบประมาณประจำปีครั้งล่าสุด ซึ่งมึขึ้นวันจันทร์ที่ 1 ก.พ. 2021 นิรมลา สิตารามัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินเดีย ประกาศว่าจะใช้มาตรการ เช่น ใช้จ่ายในโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น การลดภาษี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส เจ้าหน้าที่อาวุโส กระทรวงการคลัง และที่ปรึกษาการจัดทำงบประมาณ กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2021-2022 อินเดียจะเพิ่มการใช้จ่ายมากกว่า 15% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเน้นที่โครงสร้างพื้นฐานและการดูแลสุขภาพ อินเดียคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะหดตัว 7.7% ในปีงบประมาณปัจจุบัน แต่ในรายงานประจำปีด้านเศรษฐกิจที่จะนำเสนอต่อรัฐสภาวันศุกร์นี้ รัฐบาลคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโต 11% ได้ในปีงบประมาณถัดไป หลังจากที่เริ่มมีการกระจายวัคซีนโควิด-19 และความต้องการบริโภครวมถึงการลงทุนเริ่มฟื้นตัว นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย กล่าวว่า งบประมาณต้องสอดคล้องกับความพยายามของรัฐบาลในการฟื้นฟูภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดที่มีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และทำให้คนหลายล้านคนต้องว่างงาน ซึ่งโดยส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจขนาดเล็ก แหล่งข่าวจากรัฐบาลอินเดีย ยังระบุว่า รัฐบาลต้องการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าระดับไฮเอนด์ เพื่อเพิ่มรายได้มากกว่า 210,000 ล้านรูปี อินเดีย พึ่งพิงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการจำหน่ายหุ้นส่วนหนึ่งในบริษัทขนาดใหญ่ […]

ผลสำรวจชี้ Gen Z ห่วงโลกร้อนเป็นภาวะฉุกเฉินต้องเร่งแก้ ชี้รัฐต้องมีนโยบายเข้มข้น

ผลสำรวจชี้ Gen Z ห่วงโลกร้อนเป็นภาวะฉุกเฉินต้องเร่งแก้ ชี้รัฐต้องมีนโยบายเข้มข้น

รายงานข่าวจากบลูมเบิร์ก เผยผลสำรวจความคิดเห็นด้านสภาพอากาศครั้งที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา แสดงให้เห็นว่า กลุ่ม Gen Z หรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี มีความกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศในอนาคตของโลกมากกว่าผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นในประเทศที่ก่อมลพิษเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จะมีความเชื่ออย่างยิ่งว่าภาวะโลกร้อนเป็นภาวะฉุกเฉิน การสำรวจความคิดเห็นด้านสภาพอากาศในครั้งนี้ดำเนินการโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด มีผู้ตอบแบบสอบถาม 1.2 ล้านคนใน 50 ประเทศ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำการสำรวจมา อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ไม่ได้มีการสำรวจประชากรจีนซึ่งเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ที่สุดในโลก รายงานยังระบุว่า 69% ของผู้ตอบแบบสอบถามจากทั่วโลกที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเหตุฉุกเฉิน เมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมีเพียง 58% ที่มองเช่นนั้น Stephen Fisher ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้สะท้อนการรับรู้ถึงภาวะฉุกเฉินทางสภาพอากาศที่แพร่หลายมากกว่าที่เคยคิดไว้ นอกจากนี้เรายังพบว่า คนส่วนใหญ่ต้องการการตอบสนองต่อนโยบายที่เข้มข้นและรุนแรงอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยรวมแล้ว 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องฉุกเฉินและในจำนวนนี้ 59% กล่าวว่าจำเป็นต้องมีการตอบสนองอย่างเร่งด่วน การอนุรักษ์ผืนดินและป่าไม้ การเพิ่มพลังงานหมุนเวียนและการใช้เทคนิคการทำฟาร์มที่เป็นมิตรกับสภาพอากาศเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด อีกทั้งการให้บริษัทต่างๆ จ่ายชดเชยค่ามลพิษเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับการสนับสนุนสูงจากผู้ตอบแบบสอบถามในหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้สูง

เวียดนามถูกยกให้เป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตดีที่สุดในเอเชีย

เวียดนามถูกยกให้เป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตดีที่สุดในเอเชีย

รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า ในปี 2020 เวียดนามน่าจะเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตได้ดีที่สุดในเอเชีย เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงขยายตัว ในขณะที่เศรษฐกิจหลายๆ ประเทศทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 โดยเศรษฐกิจเวียดนามเติบโต 2.9% ในปี 2020 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ตามการประมาณการของรัฐบาลที่เปิดเผยในปลายเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งดีกว่าจีนที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจปี 2020 จะเติบโต 2.3% นักเศรษฐศาสตร์ทีมวิจัยเศรษฐกิจโลกจากแบงก์ ออฟ อเมริกา มองว่า เวียดนามมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดแห่งหนึ่ง ในขณะที่ประเทศที่เหลือของโลกอยู่ในภาวะถดถอยอย่างรุนแรง นอกจานี้ เมื่อพิจารณาเรื่องการจัดการกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 เวียดนามก็ได้รับการยกย่องในระดับสากลว่าเป็นต้นแบบสำหรับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ที่จะปฏิบัติตามและช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2020 รายงาน ยังระบุว่า เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งนั้นจะดำเนินต่อไปในปี 2021 โดยแบงก์ ออฟ อเมริกา คาดว่า เศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโต 9.3% ในปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตสูงกว่าที่ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 6.7% ขณะที่ภาคการผลิตของเวียดนามได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่า มีผลการดำเนินงานที่ดีในปีที่แล้ว โดยมีการผลิตที่เติบโตขึ้นตามความต้องการส่งออกที่คงที่ นั่นคือแนวโน้มที่จะคงอยู่ต่อไปข้างหน้า นอกจากนี้ รายงานจากฟิทช์ โซลูชั่นส์ […]

ไอเอ็มเอฟปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกขึ้นในปี 2021 คาดขยายตัว 5.5%

ไอเอ็มเอฟปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกขึ้นในปี 2021 คาดขยายตัว 5.5%

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก โดยคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2021 ขยายตัว 5.5% ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ขยายตัว 5.2% และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกปี 2022 จะขยายตัว 4.2% Gita Gopinath หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ ไอเอ็มเอฟ ระบุในบล็อกโพสต์ว่า ทิศทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ว่าวัคซีนจะสามารถตอบสนองกับการกลายพันธุ์ของไวรัสและยุติการแพร่ระบาดได้หรือไม่ รวมไปถึงนโยบายต่างๆ ที่จะสามารถช่วยสนับสนุนให้กระบวนการต่างๆ มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ไอเอ็มเอฟ เตือนว่าเศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนอย่างมาก และแนวโน้มของแต่ละประเทศก็แตกต่างกัน ท่ามกลางการแพร่ระบาดรอบใหม่ และการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัว 5.1% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 3.1% โดยได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9 แสนล้านดอลลาร์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผ่านการอนุมัติของสภาคองเกรส ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการขยายตัวมากขึ้น […]

ไบเดนมีแผนเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทดแทนในยานพาหนะของรัฐบาล

ไบเดนมีแผนเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทดแทนในยานพาหนะของรัฐบาล

ซีเอ็นบีซี รายงานว่า นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ วางแผนนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้ทดแทนยานพาหนะที่รัฐบาลใช้อยู่ ทั้งรถยนต์และรถบรรทุก รัฐบาลเป็นผู้ซื้อยานพาหนะรายใหญ่ อย่างไรก็ตามการซื้อยานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในอเมริกันเพื่อมาทดแทนยานพาหนะเดิมที่มีอยู่มีต้นทุนและต้องใช้เวลา โดยปัจจุบันมียานยนต์ไฟฟ้าไม่กี่คันที่ประกอบในสหรัฐฯ ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศโดย เทสลา เจเนอรัล มอเตอร์ส และนิสสัน มอเตอร์ ขณะที่ ฟอร์ด มอเตอร์ และค่ายรถยนต์อื่นประกาศแผนว่าจะทำอยู่ Kristin Dziczek รองประธานฝ่ายอุตสาหกรรม แรงงาน และเศรษฐกิจ ศูนย์วิจัยยานยนต์ กล่าวว่า ข้อเสนอตอนนี้ค่อนข้างเบาบาง ขณะที่อุตสาหกรรมกำลังเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่จำนวนมาก และส่วนมากเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างในอเมริกาเหนือ ทุกโรงงานผลิตที่อยู่ในสหรัฐฯ ต่างกำลังจะมีรถยนต์ไฮบริดหรือรถยนต์ไฟฟ้าออกมา ซึ่งก็ยังไม่แน่ชัดว่าแผนที่ไบเดนออกมา รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด ที่ใช้มอเตอร์ยานยนต์ไฟฟ้าร่วมกับเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบดั้งเดิมด้วยหรือไม่ เพราะเมื่อพูดคุยเกี่ยวกับแผน เขากล่าวถึงยานยนต์ประจำการใหม่ที่เป็นยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ทั้งนี้ ไบเดน ไม่ได้ระบุกรอบเวลาที่ชัดเจนในการเปลี่ยนยานพาหนะของรัฐบาลเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งย่อมมีต้นทุนสูงกว่ายานยนต์แบบดั้งเดิม แต่เขา กล่าวว่า แผนการเปลี่ยนนี้รองรับแผนการบริหารของเขาในการสร้างงานใหม่ 1 ล้านตำแหน่ง ในอุตสาหกรรมยานยนต์ของสหรัฐฯ นอกจากนี้ ไบเดน […]