ทำไมฟิลิปปินส์! กล้าประกาศขึ้นเป็นผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทำไมฟิลิปปินส์! กล้าประกาศขึ้นเป็นผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“ฟิลิปปินส์” แซงหน้าประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกลายเป็นผู้นำระดับภูมิภาค ในโครงการพลังงานสะอาดที่วางแผนไว้ เนื่องจากฟิลิปปินส์มีข้อจำกัดด้านการลงทุนที่น้อยกว่า และมีนโยบายใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่ดึงดูดเงินจากในประเทศและต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมถึงการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของโครงการพลังงานหมุนเวียนได้อย่างเต็มที่ ช่วยให้ฟิลิปปินส์สามารถดำเนินการพัฒนาพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 99 กิกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอต่อการจ่ายไฟฟ้าให้ครัวเรือนทั่วประเทศ อีกทั้งยังแซงหน้าการผลิตไฟฟ้า 86 กิกะวัตต์ของเวียดนาม และสูงกว่าตัวเลขในอินโดนีเซียประมาณ 5 เท่า ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในประเทศเกิดใหม่ที่พึ่งพาถ่านหินอย่างฟิลิปปินส์ จะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของความพยายามระดับโลก ในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และควบคุมผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งแตกต่างจากประเทศรายได้ปานกลางหลายประเทศ ที่กำลังประสบปัญหาในการรักษาสมดุลระหว่างการออกห่างจากเชื้อเพลิงฟอสซิล กับอุปสงค์พลังงานที่เพิ่มขึ้น และความต้องการการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในการประชุมพลังงานที่กรุงมะนิลา เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา บริษัทหลายแห่ง เช่น “สกาเทค เอเอสเอ” ซึ่งเป็นผู้พัฒนาพลังงานหมุนเวียนในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ต่างแสดงความกระตือรือร้นเกี่ยวกับศักยภาพของฟิลิปปินส์โดยเฉพาะ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีความคืบหน้าล่าช้า เนื่องจากปัญหาด้านเงินทุนและกฎระเบียบ ตามรายงานของ บลูมเบิร์ก เอ็นอีเอฟ (บีเอ็นอีเอฟ) ทางการฟิลิปปินส์ดำเนินกลยุทธ์การพัฒนาพลังงานลมนอกชายฝั่ง เสนอแรงจูงใจด้านภาษี และเปิดภาคส่วนพลังงานหมุน เวียนให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยกระตุ้นให้การลงทุนในพลังงานสะอาด […]

ญี่ปุ่นเผยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลง 1.8% ในเดือนพ.ค. สวนทางคาดการณ์

ญี่ปุ่นเผยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลง 1.8% ในเดือนพ.ค. สวนทางคาดการณ์

กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่น เปิดเผยในวันนี้ว่า การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนญี่ปุ่นลดลง 1.8% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี สวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% เนื่องจากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นยังคงส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค และอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เปราะบางของญี่ปุ่น เมื่อเทียบเป็นรายเดือน การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนญี่ปุ่นลดลง 0.3% ในเดือนพ.ค. สวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.5% สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเป็นดัชนีชี้วัดการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นปรับลดการประเมินตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 1/2567 เป็นหดตัวลง 2.9% จากตัวเลขประมาณการเดิมที่ระบุว่าหดตัวเพียง 1.8% นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ คาดการณ์ว่า การปรับลดการประเมินตัวเลข GDP อาจจะส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตัดสินใจปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นรายไตรมาสในเดือนนี้ และอาจจะมีผลกระทบต่อช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของ BOJ ด้วยเช่นกัน ที่มา: รอยเตอร์

จับตาเลือกตั้งสหราชอาณาจักรโพลคาด ‘แรงงาน’ แลนด์สไลด์

จับตาเลือกตั้งสหราชอาณาจักรโพลคาด ‘แรงงาน’ แลนด์สไลด์

สหราชอาณาจักรจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันนี้ (4 ก.ค.) ผลสำรวจความคิดเห็นชี้พรรคแรงงานฝ่ายค้าน เหนือพรรครัฐบาลอนุรักษนิยมหลายจุด ส่อเค้าคว้าชัยชนะถล่มทลาย หลังไม่ได้อยู่ในอำนาจมานานถึง 14 ปี สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงาน ผลสำรวจความคิดเห็นของ Survation ชี้ว่า พรรคแรงงาน นำโดยเคียร์ สตาร์เมอร์ จะชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย ได้ 484 จาก 650 ที่นั่ง ในสภามากยิ่งกว่า 418 ที่นั่งที่พรรค เคยทำผลงานครั้งประวัติศาสตร์ในปี 1997 ภายใต้การนำของโทนี แบลร์ ส่วนพรรคอนุรักษนิยม ที่อยู่ในอำนาจ มานาน 14 ปี คาดว่าจะได้เพียง 64 ที่นั่ง ซึ่งน่าจะน้อยที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคในปี 1834 ขณะที่พรรคปฏิรูป ฝ่ายขวา คาดว่าจะได้เจ็ดที่นั่ง ทั้งนี้ Survation ใช้เทคนิคเอ็มอาร์พี ประเมินความคิดเห็นสาธารณะในระดับท้องถิ่น จากตัวอย่างขนาดใหญ่ทั้งประเทศ หากพิจารณาตัวผู้นำพรรค การสำรวจของยูกัฟในเดือนนี้พบว่า […]

ประธานเฟดชี้สัญญาณเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัว-ย้ำรอข้อมูลเพิ่ม ก่อนหั่นดอกเบี้ย

ประธานเฟดชี้สัญญาณเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัว-ย้ำรอข้อมูลเพิ่ม ก่อนหั่นดอกเบี้ย

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายเจอโรม พาวเวลล์  ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด กล่าวว่า ขณะนี้เส้นทางเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เริ่มกลับมาอยู่ในช่วงแนวโน้มขาลงแล้ว อย่างไรก็ตาม ทางเฟดยังคงต้องการดูสัญญาณเพิ่มเติมจากข้อมูลเศรษฐกิจ ก่อนเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดใช้ ไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเลย ในขณะที่ อัตราการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในรอบ 12 เดือนปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 2.6% ซึ่งแม้จะยังคงสูงกว่าระดับเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางสหรัฐฯ แต่ก็บ่งชี้ว่ากำลังปรับตัวลดลง หลังสร้างความกังวลในช่วงต้นปี ประธานเฟด กล่าวในการประชุมนโยบายทางการเงินที่ประเทศโปรตุเกส ซึ่งจัดโดยธนาคารกลางยุโรปว่า “เราเพียงต้องการทำความเข้าใจว่าระดับที่เห็นอยู่ตอนนี้ สะท้อนตัวเลขที่แท้จริงที่เกี่ยวเนื่องกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน” พร้อมกล่าวเพิ่มเติม “ผมคิดว่า การรายงานครั้งล่าสุดและครั้งก่อนหน้า บ่งชี้ว่า เรากำลังกลับเข้าสู่เส้นทางในการทำให้เงินเฟ้อลดลงแล้ว ซึ่งเราต้องการความมั่นใจมากขึ้น ว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังลดลงอย่างยั่งยืนไปสู่เป้าหมาย 2% ก่อนที่เราจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย” นายเจอโรม พาวเวลล์ ไม่ได้ระบุถึงช่วงเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแต่อย่างใด แต่ยอมรับว่า เฟดได้เข้าสู่ช่วงเวลาที่ละเอียดอ่อนในการพิจารณา ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเป้าหมายด้านอัตราเงินเฟ้อและการจ้างงาน โดยอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ อยู่ที่หรือต่ำกว่าระดับ 4% […]

‘บอนด์ยีลด์จีน’ อายุ 10 ปี ร่วงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์แตะ 2.18%

‘บอนด์ยีลด์จีน’ อายุ 10 ปี ร่วงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์แตะ 2.18%

“บอนด์ยีลด์จีน” อายุ 10 ปี ร่วงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์แตะ 2.18% อายุ 20 ปี และอายุ 50 ปี มีการซื้อขายที่ระดับต่ำสุดเป็นเวลาหลายเดือน หลังนักลงทุนมองเศรษฐกิจชะลอตัว วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจีนลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากนักลงทุนยังคงจับตาท่ามกลางการมองโลกในแง่ร้ายเกี่ยวกับเศรษฐกิจภายในประเทศ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจีน อายุ 10 ปี ลดลง 0.02% มาอยู่ที่ 2.18% ซึ่งกำหนดให้ปิดที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่บลูมเบิร์กเริ่มติดตามข้อมูลในปี 2545 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจีน อายุ 20 ปี และอายุ 50 ปี มีการซื้อขายที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เป็นเวลาหลายเดือน พันธบัตรพุ่งสูงขึ้นจากการเติบโตที่ซบเซาในจีน ความคาดหวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และผลกระทบของสภาพคล่องที่เพียงพอในระบบการเงิน เนื่องจากความต้องการสินเชื่ออ่อนแอมาก การเพิ่มขึ้นของการกู้ยืมของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นทางการคลังไม่สามารถชะลอผู้ซื้อพันธบัตรได้ Zhaopeng Xing นักยุทธศาสตร์อาวุโสของ Australia & […]

เศรษฐกิจแย่กว่าที่คาด ‘ญี่ปุ่น’ ปรับลด GDP ไตรมาสแรก ‘หดตัว 2.9%’

เศรษฐกิจแย่กว่าที่คาด ‘ญี่ปุ่น’ ปรับลด GDP ไตรมาสแรก ‘หดตัว 2.9%’

เศรษฐกิจญี่ปุ่นแย่กว่าที่คาด รัฐบาลปรับลด GDP ไตรมาสแรก เป็นหดตัว 2.9% จากเดิมแค่ลบ 1.8% กดดันธนาคารกลางเรื่องทบทวนนโยบายขึ้นดอกเบี้ย สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ปรับลดตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาสแรกใหม่ โดยระบุว่า ตัวเลข GDP ญี่ปุ่นที่แท้จริง (ไม่รวมผลการเปลี่ยนแปลงของราคาเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเข้ามา) หดตัวลง 2.9% ต่อปีในช่วงไตรมาส 1 ซึ่งรุนแรงกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ที่ 1.8% จนทำให้แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เปราะบางนี้เลือนรางลง นักวิเคราะห์มองว่า การปรับลดตัวเลข GDP ลงนี้ มีแนวโน้มส่งผลต่อการปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในรายงานประจำไตรมาสที่จะออกปลายเดือนนี้ และอาจส่งผลต่อกำหนดเวลาการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของธนาคารกลางอีกด้วย นอกจากนี้ ข้อมูล GDP ที่แท้จริงสำหรับช่วงไตรมาส 4 ปี 2566 ยังได้รับการปรับลดลงเหลือการเติบโตแบบรายปี 0.1% เมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้น 0.4% ที่รายงานก่อนหน้านี้ ขณะที่ ข้อมูลสำหรับช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ได้รับการปรับลดลงเหลือการหดตัวแบบรายปี 4.0% จากการลดลง 3.7% […]

อินเดียจ่อดูดเงินทุนได้หลายพันล้านดอลล์ หลังเจพีมอร์แกนรวมบอนด์ในดัชนี เริ่มวันนี้

อินเดียจ่อดูดเงินทุนได้หลายพันล้านดอลล์ หลังเจพีมอร์แกนรวมบอนด์ในดัชนี เริ่มวันนี้

อินเดียจะดึงดูดเงินทุนได้หลายพันล้านดอลลาร์ เมื่อเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค รวมพันธบัตรรัฐบาลของอินเดียในดัชนีตลาดเกิดใหม่ในวันนี้ (28 มิ.ย.) ซึ่งจะเป็นการเปิดตลาดมูลค่า 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ให้กับนักลงทุนจำนวนมากขึ้น กองทุนทั่วโลกได้ทุ่มเงินทุนไปแล้วเกือบ 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในพันธบัตรที่จะเข้ารวมในดัชนีดังกล่าวนับตั้งแต่เจพีมอร์แกนประกาศเมื่อเดือนก.ย.ปีที่แล้ว โดยเจพีมอร์แกนคาดว่าจะมีเงินลงทุนไหลเข้าอีก 2-2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในอีก 10 เดือนข้างหน้า ซึ่งนักลงทุนต่างชาติจะเพิ่มการถือครองพันธบัตรอินเดียเป็น 4.4% จาก 2.5% ในปัจจุบัน ข้อมูลจากบลูมเบิร์กบ่งชี้ว่า ตราสารหนี้ของอินเดียกลายเป็นที่ชื่นชอบในหมู่นักลงทุนในตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากอินเดียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมีค่าเงินที่มีเสถียรภาพ โดยเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสู่พันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้เอกชนของอินเดียต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 ติดต่อกันแล้ว ซึ่งเคยเกิดขึ้นครั้งหลังสุดเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ทั้งนี้ พันธบัตรรัฐบาลอินเดียเป็นตราสารหนี้ของเอเชียที่ปรับตัวได้ดีที่สุดในปีนี้ โดยให้ผลตอบแทนถึง 5.3% เทียบกับพันธบัตรสกุลเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียที่ให้ผลตอบแทน 1.3% ที่มา: บลูมเบิร์ก

เยนอ่อนค่าหนักสุดในรอบ 38 ปีที่ 1 ดอลล์ต่อ 160 เยน คาด BOJ เข้าแทรกแซงเร็วๆ นี้

เยนอ่อนค่าหนักสุดในรอบ 38 ปีที่ 1 ดอลล์ต่อ 160 เยน คาด BOJ เข้าแทรกแซงเร็วๆ นี้

อัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนเคลื่อนไหวในตลาดเอเชียที่ 160.45 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ช่วงเช้าวันนี้ (27 มิ.ย.) เป็นการแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจาก 160.88 เยนต่อดอลลาร์ เมื่อคืนวันพุธ (26 มิ.ย.) ซึ่งถือเป็นระดับที่เงินเยนอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 38 ปี รายงานข่าว ระบุว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2567 มานี้ เงินเยนอ่อนค่า ลงมาแล้วถึง 12% เมื่อเทียบกับ เงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการที่เยนหลุดแนวรับที่ 160 เยนต่อดอลลาร์ ทำให้ตลาดคาดว่า รัฐบาลญี่ปุ่น จะแทรกแซงด้วยการเข้าซื้อเยน หลังจากที่เคยใช้เงิน 9.8 ล้านล้านเยน หรือราว 2.26 ล้านล้านบาท แทรกแซงเมื่อปลายเดือนเมษายนและต้นเดือนพฤษภาคมปีนี้ ในช่วงที่เงินเยนออนค่าที่สุดในรอบ 34 ปีที่ 160.245 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ครั้งนั้นถือเป็นการแทรกแซงตลาดครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2565 นายโยชิมาสะ ฮายาชิ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น แถลงในวันนี้ว่า รัฐบาลจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมกับความเคลื่อนไหวด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่มากเกินไป แต่ยังสามารถระบุชัดว่า รัฐบาลจะเข้าแทรกแชงตลาดหรือไม่  ขณะที่ นายชุนอิจิ ซูซูกิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นแสดงความกังวลต่อเรื่องนี้โดยระบุว่า […]

‘สิงคโปร์’ No.1 เมืองใช้จ่ายแบบลักชัวรีที่แพงที่สุดในโลก

‘สิงคโปร์’ No.1 เมืองใช้จ่ายแบบลักชัวรีที่แพงที่สุดในโลก

“สิงคโปร์” ยังคงครองแชมป์ “เมืองที่แพงที่สุดในโลก” สำหรับการใช้จ่ายสินค้าลักชัวรี เนื่องจากยังคงดึงดูดมหาเศรษฐีระดับ Ultrawealthy ได้ ทั้งยังมีความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ สำนักข่าวบลูมเบิร์ก อ้างอิงรายงานจากจูเลียส แบร์ กรุ๊ป (Julius Baer Group Ltd) กลุ่มธุรกิจบริการไพรเวทแบงก์กิ้งชั้นนำจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันอังคาร (25 มิ.ย.) เผยว่า “สิงคโปร์” ยังคงครองแชมป์ “เมืองที่แพงที่สุดในโลก” สำหรับการใช้จ่ายสินค้าลักชัวรี เช่น เครื่องประดับ เพชรพลอยและรองเท้า รวมถึงการบริการต่างๆ ทั้งดินเนอร์หรู บริการด้านสุขภาพ และการศึกษา เนื่องจากเมืองยังคงสามารถดึงดูดมหาเศรษฐีระดับ Ultrawealthy ได้ เพราะการเมืองและเศรษฐกิจของสิงคโปร์มีเสถียรภาพ และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ ขณะที่ เมืองคู่แข่ง อย่างฮ่องกง ครองอันดับที่ 2 ในปีนี้ ร่วงลงมา 1 อันดับจากปีก่อน โดยฮ่องกงถือเป็นเมืองที่แพงที่สุดในแง่ของการว่าจ้างทนายความ และเป็นเมืองอันดับที่ 2 ที่อสังหาริมทรัพย์แพงที่สุด […]

นักเศรษฐศาสตร์ ห่วงกำลังซื้อซึม ลามกระทบบิ๊กคอร์ป ที่ดับเศรษฐกิจฟื้น

นักเศรษฐศาสตร์ ห่วงกำลังซื้อซึม ลามกระทบบิ๊กคอร์ป ที่ดับเศรษฐกิจฟื้น

“นักเศรษฐศาสตร์” ชี้จุดเสี่ยงเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง จากกำลังซื้อซึมยาว การใช้จ่ายภาครัฐกระจุกตัว “ซีไอเอ็มบีไทย” ห่วงกำลังซื้อระดับล่าง-กลางอ่อนแอ ลามกระทบธุรกิจขนาดใหญ่พัง “อีไอซี” มองความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยมาจากต่างประเทศมากสุด เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง 2567 กำลังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการฟื้นตัว ซึ่งมีทั้งปัจจัยเสี่ยงระยะสั้นที่มีผลต่อกำลังซื้อและการลงทุน รวมถึงปัจจัยเสี่ยงระยะยาวที่มีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า จุดเสี่ยงเศรษฐกิจไทยหลังจากนี้ มองว่ามี 4 ความเสี่ยงที่สำคัญ คื 1.กำลังซื้อระดับกลาง-ล่างเริ่มซึม สะท้อนจากยอดขายรถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ เริ่มส่งสัญญาณแผ่วลง ตัวเลขค้าปลีกเริ่มเห็นสัญญาณซึมยาว เหล่านี้ฟื้นตัวช้ากว่าคาดไว้ ดังนั้น สิ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีแค่กำลังซื้อระดับกลางบนถึงบน และเริ่มเห็นแก๊ปหรือส่วนต่างรายกว้างขึ้น นอกจากนี้ สิ่งที่น่าห่วงระยะถัดไปคือ ปัจจุบันเริ่มเห็น “เอสเอ็มอี” มีปัญหา แต่สิ่งที่ห่วงต่อไปจะเริ่มฉุดธุรกิจขนาดใหญ่หากปล่อยให้ปัญหาซึมต่อไปจะลามจากระดับล่างขึ้นมากลาง และสุดท้ายลามสู่ธุรกิจใหญ่ที่เริ่มเห็นลูกค้าน้อยลง 2. การใช้จ่ายภาครัฐกระจุกช่วงปลายปี ขณะที่ ช่วงโลว์ซีซั่น (มิ.ย.-ก.ย.) ขาดเงินที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ดังนั้น ไม่มั่นใจว่าจะช่วยประคองไม่ให้เศรษฐกิจทรุดกว่านี้หรือไม่ โดยเฉพาะห่วงการหมุนเงินของคนระดับล่างที่มีปัญหาต่อเนื่อง 3.ภาคต่างประเทศมีทั้งสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่อาจกระทบการฟื้นตัวภาคส่งออกไทย […]