นักลงทุนหน้าใหม่แห่ลงทุนตลาดทองคำ ETF หลังนโยบายการค้าทรัมป์ทำปั่นป่วน

นักลงทุนหน้าใหม่แห่ลงทุนตลาดทองคำ ETF หลังนโยบายการค้าทรัมป์ทำปั่นป่วน

นักลงทุนที่มองหาที่หลบภัยจากความผันผวนทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดจากนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ กำลังหันไปลงทุนในกองทุน ETF ทองคำมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ราคาทองคำพุ่งทำสถิติสูงสุดอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนม.ค. การดำเนินนโยบายที่สุดขั้ว ตั้งแต่การตั้งกำแพงภาษีการค้า ความต้องการที่จะผนวกเกาะกรีนแลนด์เป็นของสหรัฐฯ และแนวทางการทูตที่ไม่เหมือนใคร เพื่อพยายามยุติสงครามในยูเครน ล้วนผลักดันให้ราคาทองคำทำสถิติใหม่หลายครั้งติดต่อกัน โดยในช่วงแรก การไหลเข้าลงทุนในกองทุน ETF ทองคำ จะถูกขับเคลื่อนโดยนักลงทุนฝั่งยุโรปเป็นหลัก แต่บรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า ความปั่นป่วนด้านนโยบายในสหรัฐฯ เริ่มดึงดูดนักลงทุนชาวอเมริกัน ซึ่งปกติแล้วมักจะนิยมลงทุนในหุ้นมากกว่า โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (15 มี.ค.) ราคาทองคำทำสถิติใหม่ แตะที่ 3,004.86 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 14% ตั้งแต่ต้นปี 2025 หลังจากพุ่งไปแล้ว 27% ในปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากสภาทองคำโลก (WGC) ยังระบุว่า การถือครองทองคำในกองทุน ETF ที่จดทะเบียนในยุโรป ยังเพิ่มขึ้น 46.7 ตัน หรือ 3.6% รวมเป็น 1,334.3 […]

ผลสำรวจชี้ตลาดที่อยู่อาศัยของ UK ซบเซาที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2566

ผลสำรวจชี้ตลาดที่อยู่อาศัยของ UK ซบเซาที่สุดนับตั้งแต่ปลายปี 2566

สถาบันผู้สำรวจอสังหาริมทรัพย์แห่งราชอาณาจักร (RICS) เปิดเผยผลสำรวจในวันนี้ (13 มี.ค.) บ่งชี้ว่า ตลาดที่อยู่อาศัยของสหราชอาณาจักร (UK) ส่งสัญญาณชะลอตัวรุนแรงที่สุดในรอบกว่าหนึ่งปีในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา หลังจากกระแสเร่งปิดดีลของผู้ซื้อเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีก่อนหมดเขตนั้นได้เริ่มซาลง ดุลราคาบ้านสุทธิ ซึ่งชี้วัดส่วนต่างระหว่างจำนวนนักสำรวจที่รายงานว่า ราคาบ้านเพิ่มขึ้นกับลดลง ร่วงลงมาอยู่ที่ +11 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.ปีที่แล้ว จากระดับ +21 ในเดือนม.ค. และลดจากจุดสูงสุดในรอบ 2 ปีที่ +25 ในเดือนธ.ค. ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ทั้งหมดในโพลของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ไว้ว่าจะชะลอตัวเพียงเล็กน้อย ตลาดที่อยู่อาศัยของ UK คึกคักขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา จากความคาดหวังว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BOK) จะปรับลดดอกเบี้ย ประกอบกับผู้ซื้อเร่งปิดดีลก่อนมาตรการลดหย่อนภาษี สำหรับบ้านราคาย่อมเยาและผู้ซื้อบ้านหลังแรกจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มี.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม กระแสดังกล่าวเริ่มซาลงเมื่อใกล้ถึงกำหนดเส้นตาย ไซมอน รูบินโซห์น หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ RICS ระบุว่า การชะลอตัวครั้งนี้เป็นผลจากการสิ้นสุดมาตรการทางภาษี รวมถึงความกังวลต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากความไม่แน่นอนทั่วโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น นับตั้งแต่โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แม้กระนั้น หากมองข้ามผ่านช่วง […]

เวียดนามเตรียมเจรจารัฐบาลทรัมป์ หวังปรับความสัมพันธ์การค้า – ลดแรงกดดันภาษี

เวียดนามเตรียมเจรจารัฐบาลทรัมป์ หวังปรับความสัมพันธ์การค้า – ลดแรงกดดันภาษี

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า เจ้าหน้าที่การค้าระดับสูงของเวียดนาม เตรียมเดินทางไปยังสหรัฐฯ เพื่อโน้มน้าวทีมงานของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ว่า เวียดนามจริงจังกับการปรับความสัมพันธ์ทางการค้าใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการภาษี ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยการส่งออกของประเทศ เหงียน ห่ง เดี่ยน (Nguyen Hong Dien) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เวียดนาม มีกำหนดพบกับฮาวเวิร์ด ลุตนิก (Howard Lutnick) รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รวมถึงตัวแทนการค้าสหรัฐฯ เพื่อเจรจาหารือเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าทวิภาคี โดยคาดว่า การหารือเกี่ยวกับข้อตกลงด้านพลังงาน การป้องกันการหลบเลี่ยงไม่เปิดเผยแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ และการเลี่ยงภาษีจะอยู่ในวาระการประชุมด้วย ข้อมูลจากสำนักงานตัวแทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ระบุว่า ในปี 2024 สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับเวียดนาม 123,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามกลายเป็นเป้าหมายสำคัญภายใต้วาระ “America First” ของทรัมป์ ที่ใช้มาตรการภาษีเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ เพื่อแก้ไขสิ่งที่สหรัฐฯ มองว่าเป็นนโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรมต่อตนเอง โดยสหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับเวียดนามมากเป็นลำดับ 3 รองจากจีนและเม็กซิโก โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนเส้นทางการส่งออกของบริษัทจีนที่ตั้งฐานการผลิตในประเทศอื่นเพื่อเลี่ยงภาษี นอกจากนี้ […]

‘ทรัมป์ คัมแบ็ก’ ทุบตลาด-ฉุดความมั่งคั่ง 5 ซีอีโอร่วงไปแล้ว 2.09 แสนล้านดอลล์

‘ทรัมป์ คัมแบ็ก’ ทุบตลาด-ฉุดความมั่งคั่ง 5 ซีอีโอร่วงไปแล้ว 2.09 แสนล้านดอลล์

ผ่านไปเพียงเดือนกว่า ๆ  หลังจากที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนั้น บรรดาซีอีโอบริษัทยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น อีลอน มัสก์ (Elon Musk), เจฟฟ์ เบซอส (Jeff Bezos) และมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ได้เข้าร่วมในพิธี ขณะที่ หุ้นของบริษัทกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นสุดๆ ตั้งแต่ช่วงเลือกตั้ง จากความหวังด้านนโยบายของทรัมป์ แต่บรรยากาศช่วงฮันนีมูนได้หายไป หลังทรัมป์เปิดสงครามการค้า เดินหน้าประกาศขึ้นและระงับขึ้นภาษีหลายระลอก จนตลาดระส่ำ ส่งผลให้ 5 มหาเศรษฐี สูญความมั่งคั่งรวมกันไปแล้ว 209,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามข้อมูลจากดัชนีมหาเศรษฐีของบลูมเบิร์ก (Bloomberg Billionaires Index) ข้อมูลจากบลูมเบิร์ก เผยว่า ในช่วงเลือกตั้งจนถึงช่วงที่ทรัมป์รับตำแหน่งเป็นช่วงที่สร้างความมั่งคั่งให้กับมหาเศรษฐีและผู้บริหารบริษัทใหญ่มากที่สุด จะเห็นว่า ดัชนี S&P 500 […]

ญี่ปุ่นหั่นคาดการณ์ศก. Q4/24 เหลือโต 2.2% หลังการบริโภคซบเซา

ญี่ปุ่นหั่นคาดการณ์ศก. Q4/24 เหลือโต 2.2% หลังการบริโภคซบเซา

สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นปรับลดประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ลงมาอยู่ที่ 2.2% เมื่อเทียบรายปี ในไตรมาส 4/2024 ต่ำกว่าคาดการณ์เบื้องต้นที่ 2.8% เนื่องจากการบริโภคที่อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์และสต็อกสินค้าคงคลังที่ลดลงมากกว่าที่คาด เศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งขยายตัวในอัตราช้ากว่ารายงานในข้อมูลเบื้องต้น อาจเป็นปัจจัยเพิ่มเติมที่ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมในการประชุมนโยบายทางการเงินในสัปดาห์หน้า ข้อมูลแยกต่างหาก แสดงให้เห็นว่า ครัวเรือนญี่ปุ่นใช้จ่ายน้อยกว่าที่คาดไว้ในเดือนม.ค. เนื่องจากผลกระทบของเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ตัวเลข GDP ที่ปรับลดลงสะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนในบางส่วนของเศรษฐกิจญี่ปุ่น แม้ว่าการเติบโตโดยรวมยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนอาจทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดย BOJ มีกำหนดประชุมนโยบายทางการเงินครั้งถัดไปในวันที่ 19 มี.ค. ทาโร่ ไซโตะ หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจของ NLI Research Institute กล่าวว่า “การใช้จ่ายของผู้บริโภคน่าจะยังคงอ่อนแอในไตรมาสนี้ เนื่องจากครัวเรือนต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ” อย่างไรก็ตาม “ข้อมูลนี้เพียงอย่างเดียว อาจไม่ทำให้ BOJ เปลี่ยนมุมมองว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป” ด้านนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า BOJ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนก.ค. เช่นเดียวกับการประมาณการเบื้องต้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้รับแรงหนุนจากการค้าและการใช้จ่ายของภาคธุรกิจ […]

แบงก์ชาติญี่ปุ่นอาจขึ้นดอกเบี้ยเร็วสุดในพ.ค. นี้ รับแนวโน้มเงินเฟ้อขยับขึ้น

แบงก์ชาติญี่ปุ่นอาจขึ้นดอกเบี้ยเร็วสุดในพ.ค. นี้ รับแนวโน้มเงินเฟ้อขยับขึ้น

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า แรงกดดันเงินเฟ้อจากการปรับขึ้นค่าจ้างและต้นทุนอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไป เร็วสุดในเดือนพ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม การที่ BOJ จะปรับขึ้นหรือคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 30 เม.ย. – 1 พ.ค. นี้ จะขึ้นอยู่กับแนวโน้มเงินเฟ้อและผลกระทบจากนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีต่อตลาดการเงิน โดยคาดว่า BOJ จะคงนโยบายการเงินเอาไว้ในการประชุมวันที่ 18-19 มี.ค.นี้ หลังเพิ่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับ 0.25% เป็น 0.50% ในการประชุมเดือนม.ค. ที่ผ่านมา โดยตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในไตรมาส 3 ของปีนี้ ชินอิจิ อุชิดะ รองผู้ว่าการ BOJ กล่าวว่า “เราไม่ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในทุกการประชุม” ซึ่งนับเป็นการส่งสัญญาณว่าไม่น่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมี.ค. อย่างไรก็ตาม โอกาสที่ BOJ จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนพ.ค. เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก BOJ จะเปิดเผยคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อรายไตรมาส โดยขยายช่วงการคาดการณ์ไปถึงปีงบประมาณ […]

ECB ลดดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด หั่นเป้าศก.ปีนี้เหลือโต 0.9%

ECB ลดดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด หั่นเป้าศก.ปีนี้เหลือโต 0.9%

สำนักข่าว Euronews รายงานว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในการประชุมนโยบายการเงินวานนี้ (6 มี.ค.) และนับเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งที่ 6 ตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2024 ท่ามกลางเศรษฐกิจยุโรปที่ยังคงอ่อนแอ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มขยับเข้าใกล้เป้าหมายที่ 2% มติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ECB ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากขณะนี้อยู่ที่ 2.50% ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ระดับ 2.90% และอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์อยู่ที่ระดับ 2.65% มีผลตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.เป็นต้นไป แถลงการณ์ของ ECB ระบุว่า “แนวทางการดำเนินนโยบายการเงินเริ่มผ่อนคลายลงมาก โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทำให้ต้นทุนการกู้ยืมลดน้อยลงสำหรับภาคธุรกิจและครัวเรือน ซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตของสินเชื่อให้เพิ่มขึ้น” “ขณะเดียวกัน ปัจจัยที่ขัดขวางการผ่อนคลายการให้สินเชื่อยังมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอดีต และการให้สินเชื่อโดยรวมที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่เศรษฐกิจยังคงเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ ECB ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจลงอีกครั้ง มาอยู่ที่ 0.9% ในปี 2025, 1.2% ในปี 2026 และ 1.3% ในปี 2027” การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อยูโรโซนเดือนก.พ. […]

แรงเทขายพันธบัตรโลก หนุนบอนด์ยีลด์เยอรมนี-ญี่ปุ่นดีดแรงในรอบหลายสิบปี

แรงเทขายพันธบัตรโลก หนุนบอนด์ยีลด์เยอรมนี-ญี่ปุ่นดีดแรงในรอบหลายสิบปี

แรงเทขายพันธบัตรรัฐบาลโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเอเชียวันนี้ ท่ามกลางแรงเทขายพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีที่รุนแรง หลังมีรายงานว่า เยอรมนีภายใต้การนำของผู้นำคนใหม่เตรียมเพิ่มงบกลาโหม ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนี รวมถึงญี่ปุ่นแตะระดับสูงสุดในรอบหลายสิบปี ผลตอบแทนพันธบัตร หรือบอนด์ยีลด์ของญี่ปุ่น อายุ 10 ปี แตะระดับ 1.5% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2009 ขณะที่ญี่ปุ่นยังคงบริหารจัดการกับเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นและต้นทุนการกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น ด้านผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ อายุ 10 ปี ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่สาม แตะที่ 4.3% นอกจากนี้ พันธบัตรออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ยังเพิ่มขึ้นประมาณ 0.10% ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสะท้อนถึงความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการที่สหรัฐฯ ระงับการให้ความช่วยเหลือยูเครน และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมาตรการภาษีสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน ขณะที่เทรดเดอร์ยังประเมินผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ แผนนโยบายครั้งประวัติศาสตร์ของเยอรมนียังส่งผลต่อตลาดการเงิน หลังมีรายงานว่า นายฟรีดริช แมร์ซ ซึ่งกำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ให้คำมั่นว่า “จะทำทุกวิถีทาง” เพื่อปกป้องประเทศ โดยเขากำลังพิจารณาเพิ่มการใช้จ่ายด้านกลาโหม รวมถึงแผนจัดตั้งกองทุนพิเศษสำหรับโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 500,000 ล้านยูโร (535,000 ล้านดอลลาร์)  ซึ่งต้องอาศัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และได้รับการสนับสนุนจากเสียงข้างมาก อย่างน้อยสองในสามในรัฐสภาก่อน […]

‘ทรัมป์’ ยอมรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้า ทำปั่นป่วนบ้าง แต่ยันคุ้มค่าระยะยาว

‘ทรัมป์’ ยอมรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้า ทำปั่นป่วนบ้าง แต่ยันคุ้มค่าระยะยาว

ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวในที่ประชุมร่วมวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ว่า “ความปั่นป่วนเล็กน้อย” ที่เกิดขึ้นจากมาตรการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า ถือเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ แม้ตลาดหุ้นต้องเผชิญกับความผันผวนจากความกังวลเรื่องสงครามการค้า ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวยอมรับต่อที่ประชุมร่วมของสภาคองเกรสว่า แม้ภาษีนำเข้ารอบใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้เกิด “ความปั่นป่วนอยู่บ้าง” แต่ยืนยันว่าคุ้มค่า เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ระยะยาวจากนโยบายการค้าครั้งนี้ “ภาษีนำเข้าจะทำให้สหรัฐฯ ร่ำรวยขึ้นอีกครั้ง และกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้น และจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว” “การขึ้นภาษีจะสร้างความปั่นป่วนเล็กน้อย แต่เรารับมือได้ ซึ่งมันจะไม่มากนัก” ทรัมป์ กล่าวในการแถลง ซึ่งเป็นการกล่าวต่อสภาคองเกรสครั้งแรกในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่ 2 คำพูดของทรัมป์ เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง หลังจากตลาดหุ้นวอลล์สตรีทร่วงลงเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน เนื่องจากรัฐบาลมีมติปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้า 25% ที่ครอบคลุมแคนาดาและเม็กซิโก ก่อนหน้านี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ กล่าวเตือนว่า การขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งเป็นภาษีที่ผู้นำเข้าสินค้าต้องจ่าย จะทำให้ราคาสินค้าสำหรับผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ทรัมป์กล่าวยืนยันมานานแล้วว่า ภาษีนำเข้าถูกจ่ายโดยประเทศอื่น และเขาใช้ภาษีนำเข้าเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างอำนาจต่อรองในการเจรจา โดยภาษีนำเข้าใหม่ที่กำหนดกับแคนาดาและเม็กซิโกครั้งนี้ เคยถูกระงับไว้ชั่วคราวเป็นเวลา 30 วัน […]

ผู้นำชาติยุโรป รวมพลัง-เร่งจัดทำแผนสันติภาพหนุนยูเครน หลังวิวาทะเดือด ‘ทรัมป์’

ผู้นำชาติยุโรป รวมพลัง-เร่งจัดทำแผนสันติภาพหนุนยูเครน หลังวิวาทะเดือด ‘ทรัมป์’

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า บรรดาผู้นำชาติยุโรป ร่วมแสดงการยืนหยัดและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับประธานาธิบดีโวโลดีเมียร์ เซเลนสกีของยูเครน หลังถูกประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และรองประธานาธิบดี เจดี แวนซ์แห่งสหรัฐฯ กล่าวโจมตีในระหว่างการเจรจาข้อตกลงเรื่องทรัพยากรแร่ ก่อนจะบานปลายไปสู่การปะทะคารมที่ทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (28 ก.พ.) ภายในเวลาไม่นาน นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีจากทั่วทั้งยุโรป ทั้งทางตอนเหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก ต่างโพสต์ข้อความบนโซเชียลมีเดีย เพื่อสนับสนุนเซเลนสกีและยูเครน ในการต่อสู้กับการรุกรานของรัสเซีย โดยแม้จะไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยตรง แต่ข้อความเหล่านี้ ก็ชัดเจนว่า พวกเขาให้การสนับสนุนยูเครน ซึ่งสะท้อนถึงความแตกแยกครั้งสำคัญ ระหว่างพันธมิตรดั้งเดิมอย่างสหรัฐฯ และยุโรปเกี่ยวกับสงครามยูเครน-รัสเซีย นับตั้งแต่ที่ทรัมป์กลับมาดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ เป็นสมัยที่ 2 ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครงแห่งฝรั่งเศส ซึ่งเพิ่งเดินทางพบปะทรัมป์ ได้โพสต์ข้อความบน X ว่า “ผู้รุกราน คือรัสเซีย ประชาชนที่ถูกโจมตี คือ ยูเครน ขอแสดงความเคารพต่อผู้ที่ต่อสู้มาตั้งแต่ต้น เพราะพวกเขากำลังต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรี ความเป็นอิสระ เพื่อลูกหลานของพวกเขา […]