ถึงคราว ‘เยอรมนี’ เผชิญวิกฤติอสังหาฯ Vonovia ประกาศขาดทุนครั้งใหญ่ 7.36 พันล้านดอลล์
วันที่ 15 มีนาคม 2567 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า หุ้น Vonovia บริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของเยอรมัน ลดลง 6% ในการซื้อขายวันที่ 15 มี.ค.2567 หลังรายงานการขาดทุนครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในปี 2566 ซึ่งเป็นสัญญาณล่าสุดของความตึงเครียดในภาคอสังหาริมทรัพย์ Vonovia กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เผชิญภาวะขาดทุน 6.76 พันล้านยูโร หรือราว 7.36 พันล้านดอลลาร์ นั้นมากกว่า 10 เท่าของการขาดทุน 669.4 ล้านยูโรในปี 2565 การขาดทุนเกิดขึ้นเมื่อ Vonovia ลดมูลค่าอพาร์ทเมนท์มากกว่า 500,000 ห้อง ลง 1.07 หมื่นล้านยูโร หรือ 11.4% ส่งผลให้มูลค่าพอร์ตโฟลิโอของบริษัทลดลงเหลือ 8.4 หมื่นล้านยูโร รอล์ฟ บุค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Vonovia กล่าวว่า “การล่มสลายของการประเมินมูลค่าถือเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่เราเคยเห็นมา” […]
อสังหาฯ จีนยังตกต่ำได้อีก แต่หุ้นจีนผ่านจุดต่ำสุดแล้ว
วิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์ เศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัว และการที่ภาครัฐไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพียงพอ เป็นเหตุผลให้นักลงทุนโยกเงิน หนีจากหุ้นจีนอย่างต่อเนื่องในปีนี้ เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนที่นักลงทุน “ขายสุทธิ” หุ้นจีนสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มใช้ stock connect เชื่อมโยงการซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นจีนกับตลาดหุ้นฮ่องกงในเดือนพฤศจิกายน 2014 ส่งผลให้เมื่อเทียบรายไตรมาส ไตรมาส 3 ของปีนี้เป็นไตรมาสที่นักลงทุนขายสุทธิหุ้นจีน สูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2014 ด้วยเช่นกัน คำถามที่น่าสนใจในตอนนี้คือ อสังหาฯ จีนถึงจุดแย่สุดหรือยัง แล้วตลาดหุ้นจีนจะตกต่ำไปกว่านี้อีกหรือไม่ สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์และนักจัดการเงินลงทุนในฮ่องกงและจีน แผ่นดินใหญ่จำนวน 15 คน เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ผู้ตอบแบบสำรวจ 9 คน จาก 15 คน (คิดเป็น 60%) มองว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังไม่ถึงจุดที่เลวร้ายที่สุด กล่าวคือ วิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนจะเลวร้ายลงยิ่งกว่านี้อีก และอาจจะผลักดัน ให้นักลงทุนเคลื่อนย้ายเงินลงทุน ออกจากตลาดหุ้นจีนต่อไปอีก ผู้ตอบแบบสอบถาม 6 จาก 15 ราย (คิดเป็น […]
BF Knowledge Center Real Estate REITs
จัดพอร์ตลงทุนต้องมีอสังหาฯ จริงหรือ ?
จัดพอร์ตลงทุนต้องมีอสังหาฯ จริงหรือ ? โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center ปัจจุบันนักลงทุนให้ความสนใจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรงในที่ดิน บ้าน คอนโด อาคารพาณิชย์ หรือการลงทุนผ่านกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) ซึ่งปัจจุบันปรับเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) โดยสาเหตุหลักที่ทำให้นักลงทุนสนใจน่าจะเป็นเพราะผลตอบแทนที่ได้รับอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เปรียบเทียบให้เห็นภาพก็เหมือนอยู่ตรงใจกลางความเจ็บปวด ระหว่างการลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงก็จริงแต่ก็ต้องยอมรับความผันผวนของราคา กับการลงทุนในตราสารหนี้ที่ความผันผวนของราคาน้อยทำให้โอกาสในการรับผลตอบแทนน้อยตามไปด้วย การลงทุนในอสังหาฯ ซึ่งให้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 6 – 8% ต่อปี จึงเป็นคำตอบที่พอจะเยียวยาหัวใจของนักลงทุนได้บ้าง สำหรับนักลงทุนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มาก่อน แต่สนใจอยากลงทุน ขอแนะนำให้ลงทุนผ่านกองทุนรวม ซึ่งปัจจุบันเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) โดยการลงทุนในกองทรัสต์ฯ ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นไม่มาก มีสภาพคล่องสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยตรง อีกทั้งยังมีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลาย อาทิ ออฟฟิศ ห้างสรรพสินค้า โกดัง โรงแรม รวมถึงสนามบิน และสบายใจได้เพราะกองทุนได้รับการบริหารจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ คำถามที่นักลงทุนสงสัยคือ ในเมื่อการลงทุนในอสังหาฯ มีความน่าสนใจขนาดนี้ นักลงทุนควรลงทุนในอสังหาฯ […]
Senior Citizen อสังหาฯสบช่องสร้างที่อยู่รับสังคม“สูงวัย”
นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่าแนวโน้มการเติบโตของที่อยู่อาศัยสำหรับ “ผู้สูงอายุ” จากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อสภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยในผลสำรวจช่วงครึ่งปีหลังของปี 2016 และช่วงครึ่งปีแรกของปี 2017 พบว่าผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญต่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุหรือเพื่อรองรับวัยเกษียณของตนเองในอนาคตเพิ่มมากขึ้นถึง 5% โดยคาดว่าแนวโน้มดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นอีก สิ่งที่เกิดขึ้นในไทยสอดคล้องกับกระแสโลก ที่เริ่มมีผู้ให้ความสนใจกับที่อยู่อาศัยที่พัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการและความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งโครงการส่วนใหญ่จะพัฒนาโดยเอกชน จากข้อมูลของธนาคารโลก ณ ปี 2016 ระบุว่า 11% ของประชากรในประเทศไทยมีอายุ 65 ปีขึ้นไปจากที่เมื่อปี 1995 หรือ 21 ปีก่อนมีอยู่เพียง 5% เท่านั้น และจากการคาดการณ์ของธนาคารโลกในปี 2040 ประชากรไทยกว่า 17 ล้านคนหรือมากกว่าหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมดจะมีอายุมากกว่า 65 ปี ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สนับสนุนเทรนด์ดังกล่าว จากแต่เดิมที่คนไทยมักจะอยู่อาศัยกันเป็นครอบครัวใหญ่ ที่มีทั้งพ่อ-แม่และปู่-ย่า-ตา-ยาย และลูกหลานจะต้องดูแลผู้ใหญ่ในบ้านยามแก่เฒ่า แต่ในปัจจุบันรูปแบบสังคมมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งคนไทยและคนในภูมิภาคอาเซียนเริ่มมีมุมมองที่เปิดกว้างในเรื่องที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุมากขึ้น นอกจากนี้จำนวนชาวต่างชาติวัยเกษียณ อาทิ ชาวญี่ปุ่น ชาวจีน และ […]