กองทุนบัวหลวง ส่ง 2 กองทุน RMF ใหม่ “B-INNOTECHRMF และ B-ASIARMF” เสนอขายครั้งแรก 2-9 ต.ค. นี้ หวังเพิ่มทางเลือกออมเงินที่หลากหลายรับวัยเกษียณ

กองทุนบัวหลวง ส่ง 2 กองทุน RMF ใหม่ “B-INNOTECHRMF และ B-ASIARMF” เสนอขายครั้งแรก 2-9 ต.ค. นี้ หวังเพิ่มทางเลือกออมเงินที่หลากหลายรับวัยเกษียณ

นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (กองทุนบัวหลวง) เปิดเผยว่า กองทุนบัวหลวงเตรียมเปิดเสนอขาย “กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยีเพื่อการเลี้ยงชีพ” หรือ B-INNOTECHRMF และ “กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชียเพื่อการเลี้ยงชีพ” หรือ B-ASIARMF เป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 2-9 ตุลาคมนี้ เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมให้กับนักลงทุนที่กำลังมองหากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สำหรับใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีประจำปี พร้อมไปกับโอกาสรับผลตอบแทนด้วยการลงทุนในต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังช่วยตอบโจทย์นักลงทุนที่ต้องการออมเงินรับวัยเกษียณในด้านการจัดพอร์ตลงทุน (Asset Allocation) “กองทุนบัวหลวงไม่หยุดที่จะมองหาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า โดยการพิจารณาออกกองทุนใหม่แต่ละครั้ง กองทุนบัวหลวงคำนึงถึงภาพการลงทุนในระยะยาว มองศักยภาพการเติบโตที่ชัดเจน ไม่ใช่การออกกองทุนตามกระแสที่ร้อนแรงในระยะเวลาสั้นๆ เช่นเดียวกับการเลือกกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยี (B-INNOTECH) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) มาต่อยอดเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพราะเราเชื่อมั่นว่า ทั้ง 2 กองทุนนี้สามารถสร้างผลการดำเนินงานได้ดีในระยะยาว และสร้างความมั่นคงทางการเงินให้นักลงทุน อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในต่างประเทศ และเข้าใจความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนควบคู่ไปด้วย” นายพีรพงศ์ กล่าว B-INNOTECHRMF ช่วยตอบโจทย์การลงทุน […]

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF)

ประเด็นเด่นในตลาดตราสารหนี้ ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้เคลื่อนไหวผันผวนมาก โดยในช่วงแรกๆ ต่อเนื่องจากเดือนมีนาคมจนถึงกลางเดือนเมษายน จะมีปัจจัยเรื่องความกังวลด้าน การทำสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังจากที่ทั้งสองประเทศต่างประกาศปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าตอบโต้กันไปมา (Trade war) และสถานการณ์ความไม่สงบในซีเรีย ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐปรับลดลงจากการที่นักลงทุนเข้ามาถือครองสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ประเด็น Trade war และความตึงเครียดในตะวันออกกลางผ่อนคลายลง ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี และมีการเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้แต่งตั้งให้นาย Richard Clarida เป็น Federal Reserve ซึ่งตลาดมีความเห็นว่านาย Richard Clarida เป็นสาย Hawkish ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น รวมทั้งมีความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ อันเป็นผลจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และตัวเลขยอดค้าปลีกที่ปรับตัวขึ้น ประกอบกับการกู้ยืมเพิ่มขึ้นของรัฐบาลสหรัฐฯ จากการขาดดุลงบประมาณ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรุ่นอายุ 10 ปี พุ่งทะลุระดับจิตวิทยาของนักลงทุนที่ 3% ถือเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2014 ขณะที่รุ่นอายุ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)

ประเด็นเด่นในตลาดตราสารหนี้ ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้เคลื่อนไหวผันผวนมาก โดยในช่วงแรกๆ ต่อเนื่องจากเดือนมีนาคมจนถึงกลางเดือนเมษายน จะมีปัจจัยเรื่องความกังวลด้าน การทำสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังจากที่ทั้งสองประเทศต่างประกาศปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าตอบโต้กันไปมา (Trade war) และสถานการณ์ความไม่สงบในซีเรีย ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐปรับลดลงจากการที่นักลงทุนเข้ามาถือครองสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ประเด็น Trade war และความตึงเครียดในตะวันออกกลางผ่อนคลายลง ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี และมีการเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้แต่งตั้งให้นาย Richard Clarida เป็น Federal Reserve ซึ่งตลาดมีความเห็นว่านาย Richard Clarida เป็นสาย Hawkish ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น รวมทั้งมีความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ อันเป็นผลจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และตัวเลขยอดค้าปลีกที่ปรับตัวขึ้น ประกอบกับการกู้ยืมเพิ่มขึ้นของรัฐบาลสหรัฐฯ จากการขาดดุลงบประมาณ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรุ่นอายุ 10 ปี พุ่งทะลุระดับจิตวิทยาของนักลงทุนที่ 3% ถือเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2014 ขณะที่รุ่นอายุ […]

RMF vs. LTF : กองไหนเหมาะกับคุณ?

RMF vs. LTF : กองไหนเหมาะกับคุณ?

พร้อมเกษียณแล้วหรือยัง

พร้อมเกษียณแล้วหรือยัง

ในแต่ละช่วงอายุของคน ช่วงวัยที่เราควรมีความพร้อมทางการเงินที่สุดคือระหว่าง 50-60 ปี เนื่องจากช่วงดังกล่าว คนส่วนใหญ่ควรจะอยู่ในจุดที่มีรายได้หรือเงินเดือนสูงสุด ปลอดจากภาระหนี้สินต่างๆ ไม่ว่า สินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อรถยนต์ เป็นช่วงเวลาที่เราควรพร้อมรับมือกับยามเกษียณที่กำลังใกล้ถึง แต่กลับมีคนจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาการดำรงชีวิตในวัยเกษียณ แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้การวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณไม่ประสบความสำเร็จ เตรียมตัวช้า หลายคนมักจะมองข้ามประเด็นนี้ไป เมื่อเริ่มต้นวางแผนการเงินช้า ประกอบกับอายุโดยเฉลี่ยของคนเราในปัจจุบันที่ยืนยาวขึ้น ทำให้ในท้ายสุดก็เตรียมเงินไว้ไม่เพียงพอสำหรับใช้จ่าย เลี่ยงลงทุนในหุ้น เพราะเชื่อว่ามีโอกาสขาดทุนสูง หลายคนมักย้ำว่า การลงทุนในหุ้นไม่เหมาะสำหรับแผนการลงทุนเพื่อเกษียณ ทั้งที่จริงแล้ว แม้โอกาสขาดทุนค่อนข้างสูง แต่หากเราได้ศึกษาข้อมูลที่ดีพอก่อนจะลงทุนในหุ้นโดยตรง หรืออาจเลือกลงทุนผ่านกองทุนหุ้นหรือกองทุนผสม แล้วจัดสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมกับช่วงอายุของเรา ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสให้แผนการลงทุนประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเช่นปัจจุบัน เพราะการลงทุนในเงินฝากแม้โอกาสจะสูญเงินต้นนั้นมีน้อย แต่ก็มีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่เราได้ วางแผนประกันสุขภาพ สิ่งที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ก็คือ อุบัติเหตุหรือความเจ็บป่วยในอนาคต ไม่ว่าจะโรคร้ายอย่างมะเร็งหรือโรคหัวใจ ที่ปัจจุบันมีสถิติผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การรักษาพยาบาลโรคจำพวกนี้ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก และปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลก็ดีดตัวสูงขึ้นทุกปี  ยิ่งเรามีอายุมากขึ้น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็มีแนวโน้มสูงตามขึ้นเช่นกัน หากไม่วางแผนเกี่ยวกับประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุไว้บ้าง เงินลงทุนที่ตระเตรียมไว้เพื่อยามเกษียณ ก็อาจจะหมดไปกับเหตุที่ไม่คาดคิด การทำประกันสุขภาพถือว่าเป็นการป้องกันความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง สำหรับผู้เตรียมตัวเกษียณ ข้อดีของการวางแผนประกันสุขภาพตั้งแต่อายุยังไม่มากก็คือ ค่าใช้จ่ายในการประกันสุขภาพมักไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับเริ่มทำในวัยใกล้เกษียณหรือหลังเริ่มป่วยไข้แล้ว อย่างไรก็ตามเพื่อตอบโจทย์คนวัยเกษียณที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สถาบันการเงินต่างๆ […]

ลงทุนเพื่อการเกษียณใน New India กับ B-INDIAMRMF

ลงทุนเพื่อการเกษียณใน New India กับ B-INDIAMRMF

เตรียมพร้อม 4 ด้านการลงทุน RMF

เตรียมพร้อม 4 ด้านการลงทุน RMF

RMF กับ LTF ซื้ออันไหนดี?

RMF กับ LTF ซื้ออันไหนดี?