China Economy EU Japan Thailand US
มุมมองเศรษฐกิจใน 5 ประเทศหลัก
US : เศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2017-2018 จะสามารถขยายตัวเกินค่าเฉลี่ยระยะยาวได้ที่ 2.5% ทั้งสองปี ด้วยแรงหนุนจากการลงทุนภาคเอกชนที่จะเริ่มผลิตเพื่อเพิ่มสินค้าคงคลังให้พอกับความต้องการบริโภคในประเทศ ส่วนการจ้างงานน่าจะยังเติบโตได้แข็งแกร่ง EU : ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ราคาพลังงานช่วยสนับสนุนการบริโภค ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มกลับมา การใช้สินเชื่อเริ่มดีขึ้นเรามองว่า GDP จะขยายตัวที่ 2.3% JP : เศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถขยายตัวได้อัตรา 1.4% เป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่มีส่วนช่วยผลักดันได้แก่ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือ Supplementary Budget จากรัฐบาล มีส่วนหนุนการบริโภคภาคเอกชน CH : เศรษฐกิจจีนน่าจะขยายตัวได้ที่ 6.5% โดยเป็นการขยายตัวตามเป้าหมายของทางการที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ โครงสร้างเศรษฐกิจจีนค่อยๆขยับเข้าภาคบริการและการบริโภคภาคเอกชน TH : การส่งออกและการใช้จ่ายลงทุนภาเอกชนจะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.8% ในปี 2017-2018
SET แรงไม่เลิกพุ่งทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เปิดตลาดหุ้นปี 37
ดัชนี SET วันนี้ไม่ทำให้ผิดหวัง ( 4 ม.ค.) ปิดตลาดยืนระดับที่ 1,791.02 จุด เพิ่มขึ้น 12.49 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 90,816 ล้านบาท ขณะที่ระหว่างวันดัชนี SET ไปแตะระดับสูงสุดที่ 1791.39 จุด นับเป็นการทำลายสถิติตั้งแต่เปิดทำการตลาดหลักทรัพย์มาเมื่องวันที่ 5 ม.ค.37 ที่เคยทำสถิติสุดเดิมไว้ที่ 1,789.16 จุด ด้าน นายสันติ กีระนันทน์ รองผู้จัดการหัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนเป็นปัจจัยหลักผลักดันให้ตลาดปรับตัวขึ้นทำลายสถิติได้ โดยมองว่ามาจาก2 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1.ปัจจัยพื้นฐานทั้งมหภาคและจุลภาค ซึ่งสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนและความเข้มแข็งให้ษริษัทจดทะเบียน 2.นักลงทุนคลายคววามกังวลจากปัจจัยการเมื่องในประเทศและการเมืองต่างประเทศ
หุ้นไทยปิดตลาดวันแรกปีจอ เฉียดทุบสถิติปี 37
ตลาดหุ้นไทยปิดตลาดทำการซื้อขายหุ้นวันแรกของปีจอ 2561 ปิดตลาด 1,778.53 จุด เฉียดทุบสถิติเก่าที่ทำไว้ที่ 1,789.16 จุด เมื่อวันที่ 04 มกราคม 2537 นับรวมเวลากว่า 24 ปี ตลาดหุ้นไทยปิดทำการซื้อขายวันที่ 3 มกราคม 2561 ปิดตลาดที่ 1778.53 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น +24.82 จุด หรือเปลี่ยนแปลง +1.42% ระหว่างวัน ปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 1,779.55 จุด และปรับตัวลงลงต่ำสุดที่ 1,758.07 จุด นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท.กล่าวว่า การปรับขึ้นของ SET Index แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในการลงทุนซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียน ขณะที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (market capitalization) ปรับขึ้นสูงสุดเป็น 18.17 ล้านล้านบาท และมีมูลค่าการซื้อขายรวม […]
Market Product Update Thailand
มุมมองตลาดหุ้น
โอกาสเก็บหุ้นดีราคาถูก ตลอดเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบ Side-ways โดยนักลงทุนต่างชาติได้ขายหุ้นไทยสุทธิเป็นมูลค่ากว่า 18,800 ล้านบาท แต่ด้วยแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันในประเทศยังช่วยพยุงให้ SET Index ยืนระดับบริเวณ 1,700 จุดได้ ซึ่งในระหว่างเดือนดังกล่าว มีการขายทำกำไรในหุ้นขนาดกลางถึงเล็กที่ราคาปรับตัวขึ้นมาในช่วงก่อนหน้า ขณะที่หุ้นขนาดใหญ่นั้น ราคายังค่อนข้างทรงตัว ได้แรงหนุนโดยหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มท่องเที่ยว และกลุ่มพลังงาน ตลาดหุ้นที่อยู่ในช่วงของการปรับฐาน เรามองว่า ถือเป็นโอกาสดีที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่มีแนวโนมธุรกิจดี แต่ราคาย่อตัวลงมา และเริ่มมีระดับ Valuation ที่น่าสนใจมากขึ้น ด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่น่าจะมีโมเมนตัมต่อเนื่องในปี 2561 ส่งผลดีต่อผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในระยะหลังจากนี้ และถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันราคาหุ้นให้ปรับตัวขึ้นต่อไปได้ เนื่องจากนักลงทุนกลับมาให้ความสำคัญกับตัวเลขผลกำไรมากขึ้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเพียงลำพังอาจไม่เพียงพอที่จะผลักดันหุ้นให้ขึ้นต่อได้อีกอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยที่มีผลตลาดหุ้นไทย ด้านความเสี่ยงในช่วงนี้ ยังไม่เห็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ อย่างไรก็ดีปัจจัยในประเทศส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนตลาดมากกว่า เช่น การเลือกตั้ง ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ หรือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เป็นต้น ขณะที่ปัจจัยจากต่างประเทศนั้น แม้จะมีความกังวลว่าอาจจะมีแรงขายทำกำไรในตลาดหุ้นต่างประเทศหลังจากมีความชัดเจนต่อการที่รัฐบาลสหรัฐฯจะอนุมัติแผนการลดภาษีนิติบุคคล แต่ด้วยตัวเลขเศรษฐกิจในประเทศหลักๆทั้งประเทศทางฝั่งตะวันตกและฝั่งเอเชีย ถือว่ายังแสดงถึงการขยายตัวที่ดี และผลประกอบการที่ดีกว่าคาดการณ์ รวมถึงระดับ Valuation ที่ไม่ได้สูงนัก […]
เศรษฐกิจไทยปี 2018 จะแผ่วลงเล็กน้อยเมื่อเทียบปี 2017
บลูมเบิร์กรายงานว่า มองย้อนกลับไปในปี 2017 จะพบว่าเศรษฐกิจไทยดีที่สุดในรอบ 7 ปี โดยมีอัตราเจริญเติบโต 3.8% แต่ในปี 2018 นี้ การเติบโตของเศรษฐกิจไทยจะแผ่วลงเหลือ 3.7% ก่อนที่จะอ่อนตัวลงอีกเล็กน้อยเป็น 3.6% ในปี 2019 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังคงเติบโตต่ำกว่าเพื่อนบ้านมาก เมื่อเทียบกับทั้งเวียดนามและฟิลิปปินส์ที่มีอัตราเติบโตกว่า 6% ด้วยกันทั้ง 2 ประเทศ นายRahul Bajoria แห่ง Barclays Plc ที่สิงคโปร์ กล่าวว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2017 และ 2018 ดีกว่าในรอบหลายปีที่ผ่านมา แต่ภาคอุตสาหกกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตยังคงโตต่ำกว่าที่ควรเป็น เขาบอกว่า สิ่งที่ขาดสำหรับเศรษฐกิจประเทศไทยคือการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งต้องเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปร่างก่อนที่ไทยจะได้เห็นอัตราเติบโตที่ระดับ 5%
Innovation Technology Thailand
การท่าเรือเล็งใช้หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า “ย่นเวลา-บริหารจราจรดีขึ้น”
การท่าเรือแห่งประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างศึกษาการก่อสร้างท่าเรือ Premium Port บริเวณฝั่งตะวันตกของท่าเรือกรุงเทพ พร้อมระบบการขนถ่ายด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ทำหน้าที่ในการจัดการท่าเรือ โดยระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ในการขนย้ายตู้สินค้า (Port Automation) โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างรอบแรกจำนวน 2-3 ท่าก่อน นายโกมล ศรีบางพลีน้อย ผู้อำนวยการ ท่าเรือกรุงเทพ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กล่าวว่าการนำเอาระบบอัตโนมัติมาใช้ในการขนถ่าย จะช่วยลดระยะเวลาการรอขนถ่ายสินค้าและบริหารการจราจรของสินค้าภายในท่าเรือกรุงเทพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และรองรับลูกค้าระดับสูงในแบบฉบับของความเป็น Premium Port คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาถึงปี 2019 ก่อนเสนอของบประมาณก่อสร้าง ในปี 2021
ส่งออกไทยทำ High ต่อเนื่อง
การส่งออกไทยขยายตัวเหนือความคาดหมายในเดือนพ.ย. มีมูลค่า 21,434.7 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 20,083.2 ล้านดอลลาร์ฯ) หรือขยายตัวที่ 4% YoY (prev. 13.1% YoY) ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 19,671.7 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 19868.4 ล้านดอลลาร์ฯ) หรือขยายตัวที่ 13.7% YoY (prev. 13.5% YoY) ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1,763 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 214.4 ล้านดอลลาร์ฯ) สำหรับในช่วง 11 เดือนของปี 17 (ม.ค.-พ.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 216,953 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 10% AoA, นำเข้ามีมูลค่า 202,744 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 5% AoA ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 11เดือนที่ […]
Digital Economy Innovation Technology Thailand
วีซ่าประเทศไทย ระบุ กรุงเทพฯ ติด 1 ใน 6 มหานครของโลกที่ใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ
ผลวิจัยจากวีซ่าประเทศไทยประเมินผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ จากการเพิ่มการใช้จ่ายผ่านระบบดิจิตอลในหัวเมืองหลักทั่วโลกว่า กรุงเทพฯ ถือเป็น 1 ใน 6 มหานคร ที่กำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ และหากยังคงใช้จ่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย จะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 126,000 ล้านบาท แบ่งเป็นกลุ่มได้รับผลประโยชน์สุทธิ ผู้บริโภค 3,000 ล้านบาท ภาคธุรกิจ 73,000 ล้านบาท และภาครัฐบาล 50,000 ล้านบาท นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่าการใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งช่วยประหยัดเวลาในการทำธุรกรรมการเงิน ทั้งขั้นตอนการซื้อขายแบบค้าปลีก และช่วยลดต้นทุนการขนส่งอีกด้วย ขณะที่รายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นจากฐานลูกค้าที่ขยายทั้งแบบออนไลน์และในร้าน รายได้ภาษีที่เพิ่มขึ้นและการเติบโตทางเศรษฐกิจ การประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ที่สำคัยยังช่วยลดจำนวนอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินสด “ปัจจุบันเทคโนโลยีตัวเลือกใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ผลักดันให้การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ในอนาคตจะเห็นรูปแบบการชำระเงินคิวอาร์โค้ด มาตรฐานในร้านค้าต่าง ๆ ที่ไม่ใช่แค่การโอนเงินระหว่างบัญชี แต่สามารถผูกบัตรเครดิตและเดบิตเป็นแหล่งเงินอีกด้วย หรือการซื้อขายออนไลน์ที่มีมากขึ้นทุกวัน ทำให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจมีตัวเลือกที่หลากหลายในการชำระเงิน และรองรับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจดิจิตอลอีกด้วย” […]
Economy Innovation Technology Thailand
ศักยภาพไทยกับการเป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ขับเคลื่อนการลงทุนยุคใหม่
ในปัจจุบัน รถยนต์ที่ใช้กันทั่วไปบนท้องถนนนั้นต่างขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ชนิดสันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE) ซึ่งต้องใช้เชื้อเพลิงในรูปแบบน้ำมันเป็นหลัก แต่ในอนาคต การนำรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกในการขับเคลื่อนจะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV (Electric Vehicle) ที่กำลังเป็นที่สนใจของตลาดในปัจจุบัน โดยรถยนต์ไฟฟ้านั้นจะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ให้กลายเป็นพลังงานกลขับเคลื่อนล้อแทนการสันดาปภายในเครื่องยนต์ ทั้งนี้ ในหลายประเทศทั่วโลกได้สนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น และตั้งเป้ายกเลิกการจำหน่ายรถยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยพลังงานเชื้อเพลิงแบบเดิมภายในปี 2035-2040 ทำให้บริษัทรถหลายค่ายต้องเร่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยในอีก 30 ปีข้างหน้าองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดว่ายอดขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน จะค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ที่หันมาพึ่งพาแหล่งพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ อาทิ รถยนต์ไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle: PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV: Battery Electric Vehicle) เป็นต้น ความท้าทายในการเป็นฐานผลิต EV […]
Economy Fund Comment Policy Thailand
มุมมองตลาดตราสารหนี้ เดือนพฤศจิกายน
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือนพฤศจิกายนปรับเพิ่มขึ้น 0.02%-0.10% โดยมีปัจจัยหลักมาจาก 1) การประมูลพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 5 ปีด้วยวงเงินที่สูงถึง 40,000 ล้านบาท สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 10,000 -15,000 ล้านบาท ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในช่วงอายุดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้นในช่วงการประมูล 2) เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2560 ขยายตัว 4.3% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และสภาพัฒน์ฯยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ขึ้นเป็น 3.9% 3) ร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯได้ผ่านการเห็นชอบจากสภาฯผู้แทนและผ่านไปสู่การพิจารณาของวุฒิสภา ทำให้ตลาดกลับมาให้ความคาดหวังต่อนโยบายปฏิรูปภาษีที่อาจผ่านการพิจารณาจากสภาฯภายในปีนี้และจะกลายเป็นปัจจัยช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯในปีหน้า ช่วงกลางเดือนธันวาคมมีการประชุมธนาคารกลางหลักของโลก 3 แห่งคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED) ธนาคารกลางยุโรป(ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ(BOE) ซึ่งผลการประชุมเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดย ECB และ BOE มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและคงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินไว้ที่ระดับเดิม ขณะที่ FED ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.25% – 1.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ทำให้ตลาดไม่ได้ตอบสนองต่อผลการประชุมดังกล่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม FED ได้ปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี […]