วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย 2 ก.ค. 2562 ปิดที่ 1,732.23 จุด ลดลง 8.68 จุด
วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย 2 ก.ค. 2562 ปิดที่ 1,732.23 จุด ลดลง 8.68 จุด หรือ -0.50% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,741.64 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,730.05 จุด มูลค่าการซื้อขาย 66,152.36 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.GULF ปิดที่ 129.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,812.15 ลบ. 2.SCB ปิดที่ 141.00 บาท ปิดไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 2,619.41 ลบ. 3.CPALL ปิดที่ 86.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย […]
ราคาที่ดินในญี่ปุ่นขยับขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 4 รับการท่องเที่ยวโตหนุนความต้องการแข็งแกร่ง
นิกเกอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่า สำนักงานภาษีแห่งชาติของญี่ปุ่น เปิดเผยข้อมูลว่า ราคาที่ดินในญี่ปุ่นมีแนวโน้มพุ่งขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 4 เป็นผลจากความต้องการที่แข็งแกร่งในเมืองหลักๆ และมีจุดท่องเที่ยวเป็นแรงขับเคลื่อน เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่เศรษฐกิจก็เริ่มฟื้นตัว ทั้งนี้ความต้องการพื้นที่ของโรงแรมและสำนักงาน ส่งผลให้ราคาที่ดินในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 1.3% โดยเฉลี่ย ณ วันที่ 1 ม.ค. ปีนี้เทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ช่องว่างระหว่างพื้นที่เขตเมืองกับชนบทก็ยังคงกว้างอยู่ ราคาที่ดินไต่ขึ้นใน 19 จังหวัดจาก 47 จังหวัดทั่วญี่ปุ่น ในจำนวนนี้มีโตเกียว ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกในปีหน้าด้วย ขณะที่ปีก่อนราคาที่ดินขยับขึ้น 18 จังหวัด อย่างไรก็ตามพบว่า ปีนี้ราคาที่ดินในอีก 27 จังหวัดที่เหลือลดลง ส่วนอีก 1 จังหวัดคือ เฮียวโง่ ราคาที่ดินคงที่ สำหรับผลสำรวจราคาที่ดินนี้ มาจากพื้นที่ 329,000 แห่ง ที่นำมาใช้คำนวนภาษีมรดกและของขวัญสำหรับปี 2019 โดยเมื่อดูรายจังหวัดพบว่า โอกินาว่า ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด […]
ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล -0.4 พันล้านดอลลาร์ฯ vs prev 1.4 พันล้านดอลลาร์ฯ
BF Economic Research ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล -0.4 พันล้านดอลลาร์ฯ vs prev 1.4 พันล้านดอลลาร์ฯ โดยเป็นการขาดดุลครั้งแรกตั้งแต่เดือน ก.ย. 2014 จากดุลการค้าที่เกินดุล 1.4 พันล้านดอลลาร์ฯ (prev -0.1 พันล้านดอลลาร์ฯ) และดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่ขาดดุล -1.8 พันล้านดอลลาร์ฯ (จากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์ฯ) ตามฤดูกาลส่งกลับกำไรและเงินปันผลของธุรกิจต่างชาติ แม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะแย่ลง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ถือว่าเสถียรภาพประเทศไทยค่อนข้างแข็งแกร่ง ผนวกกับดอกเบี้ยนโยบายซึ่งคงที่ที่ 1.75% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้ไทยให้ผลตอบแทนที่ดี Flow เงินวิ่งเข้าไทยเป็นสุทธิบวกทั้ง Bond และ Equity และค่าเงินบาท Outperform ประเทศอื่นๆ
สงครามการค้าและแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ยังกดดันความเชื่อมั่นภาคธุรกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 1/2019
BF Economic Research จากการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในประเทศของธนาคารกลางญี่ปุ่น (ดัชนี Tankan) ซึ่งเป็นตัวสะท้อนภาวะเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง พบว่า ในไตรมาส 1/2019 ความกังวลเรื่องสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ยังกดดันให้ดัชนีของบริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ลดลงมาจาก +19 เป็น +12 เช่นเดียวกับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่ลดลงจาก +17 เป็น +7 และจาก +14 เป็น +6 ตามลำดับ โดยเฉพาะในอุตสากรรมการผลิตเครื่องจักร อุตสากรรมโลหะอื่นๆ นอกเหนือจากเหล็ก และอุตสาหกรรมกระดาษ สำหรับมุมมองของภาคธุรกิจต่อความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า บริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางมีมุมมองที่เป็นบวกกว่าบริษัทขนาดเล็ก โดยบริษัทขนาดเล็กมองว่าดัชนีจะติดลบที่ -2 ในอีก 3 เดือนข้างหน้า
วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย 1 ก.ค. 2562 ปิดที่ 1,740.91 จุด เพิ่มขึ้น 10.57 จุด
วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย 1 ก.ค. 2562 ปิดที่ 1,740.91 จุด เพิ่มขึ้น 10.57 จุด หรือ 0.61% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,747.53 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,739.48 จุด มูลค่าการซื้อขาย 61,332.08 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.SCB ปิดที่ 141.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 6,982.19 ลบ. 2.PTT ปิดที่ 49.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,568.69 ลบ. 3.CPALL ปิดที่ 86.00 บาท ปิดไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย […]
เปิดมุมมองนักวิเคราะห์ กองทุนบัวหลวง…10 ปีผ่านไป ‘จีน’ มีอะไรมากกว่าที่คิด
ถ้าใครไปเมืองจีน 10 ปีก่อน แล้วกลับไปเมืองจีนเวลานี้จะเห็นว่าจีนเปลี่ยนไปมากจริงๆ วันนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเมืองจีน ตามมุมมองที่นักวิเคราะห์ของกองทุนบัวหลวงไปเจอมา จะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในคลิปวิดีโอนี้
เงินเฟ้อไทยชะลอที่ 0.87% น้ำมันเป็น key drag
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 102.94 ขยายตัว 0.87% (vs prev 1.15% YoY) หรือลดลง -0.36% MoM (vs prev 0.48% MoM) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.) ขยายตัวเฉลี่ย 0.92% ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่หนุนให้เงินเฟ้อสูงขึ้น คือ สินค้ากลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้ ข้าวสาร และเนื้อสุกร ส่วนปัจจัยลบที่กดดันให้เงินเฟ้อชะลอตัว คือ สินค้ากลุ่มพลังงานที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ของปี ตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่ปรับลดลงตามสถานการณ์ในตลาดโลก จากผลกระทบความไม่สงบในตะวันออกกลาง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือน มิ.ย.62 อยู่ที่ 102.55 ขยายตัว 0.48% […]
ธนาคารกลางรุกทำงานร่วมกันผ่านศูนย์นวัตกรรมของ BIS รับมือเทคโนโลยีการเงิน
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า ธนาคารกลางกำลังจับตาการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการเงินที่เกิดขึ้นรวดเร็ว รวมถึงบริษัทอย่างเฟซบุ๊กที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคการเงิน โดยจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับศูนย์นวัตกรรมที่ ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) จัดตั้งขึ้น BIS ระบุว่า ศูนย์นวัตกรรมนี้จะมีฐานที่ตั้งในเมืองบาเซิล ของสวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และสิงคโปร์ ทำหน้าที่เพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบการเงินโลก ทั้งยังระบุและพัฒนาเชิงลึกในแนวโน้มเทคโนโลยีที่มีผลต่อธนาคารกลาง แม้กรณีที่เฟซบุ๊กวางแผนขยายตัวมาในระบบการชำระเงินและเปิดตัวคริปโตเคอเรนซีของตัวเองชื่อว่า ลิบรา จะไม่ได้ถูกกล่าวถึงในคำแถลงการณ์ของ BIS แต่การเคลื่อนไหวของโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่รายนี้ ก็เข้ามาช่วยให้ธนาคารเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการร่วมมือกันด้านการวางกฎระเบียบเพื่อตอบสนองต่อแนวโน้มเทคโนโลยีทางการเงิน “การปฏิวัติของไอทีที่เกิดขึ้น ทำให้ไม่มีพรมแดนและทำให้เกิดผลในหลายพื้นที่พร้อมๆ กัน ศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นนี้จะมุ่งเน้นช่วยเหลือธนาคารกลางเพื่อระบุถึงแนวโน้มเทคโนโลยีที่สำคัญ สนับสนุนการพัฒนาที่สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมรักษาการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบเพื่อปกป้องเสถียรภาพทางการเงิน” Jens Weidmann ประธาน BIS กล่าวผ่านคำแถลงการณ์ที่ออกมาเกี่ยวกับการสร้างศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้ สำหรับ BIS เป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่มีธนาคารกลางประเทศต่างๆ ถือหุ้นอยู่ โดยรายละเอียดเกี่ยวกับศูนย์นวัตกรรมที่จัดตั้งขึ้นนี้ยังมีจำกัด ทาง BIS ระบุเพียงว่า ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนหรือเกี่ยวกับระดับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานได้ ขณะที่ธนาคารกลางของสวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และสิงคโปร์ ต่างก็ร่วมลงนามในสัญญาสนับสนุนความคิดริเริ่มการจัดตั้งในครั้งนี้
SUPER เผยโรงไฟฟ้า 2 โครงการได้รับใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องครบถ้วน พร้อมเดินหน้ากองทุน SUPEREIF ต่อไป
นายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ SUPER เปิดเผยว่า ตามที่ บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งผลการอนุมัติการจัดตั้งของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ า ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี (Super Energy Power plant Infrastructure Fund หรือ “SUPEREIF”) แก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2562 โดยที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดให้สามารถเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนได้ต่อเมื่อโครงการโรงไฟฟ้า 2 โครงการ ที่กองทุนฯ จะลงทุนในสิทธิรายได้สุทธิได้รับใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว บริษัทขอแจ้งให้ทราบว่า ปัจจุบันโครงการโรงไฟฟ้าทั้ง 2 โครงการได้ใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว โดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) […]