Fund Comment มิถุนายน 2024: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment มิถุนายน 2024: ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกในเดือนมิถุนายนปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯได้ขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง ด้วยแรงหนุนจากหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ประกอบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีที่ทยอยปรับลดลงตามความคาดหวังนโยบายการเงินที่มีความชัดเจนมากขึ้นว่า จะเห็นการเริ่มลดอัตราดอกเบี้ย โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีสัญญาณชะลอตัวมากขึ้น เช่น ตัวเลข ISM Manufacturing PMI ของเดือนพฤษภาคมที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ หรือตัวเลขที่สะท้อนเงินเฟ้อที่ไม่ได้เร่งตัวมากขึ้นกว่าตลาดคาด เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ผลประกอบการในบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มที่ยังเติบโตได้ดีอยู่โดยเฉพาะในกลุ่ม IT และ Communication Services เป็นต้น ส่วนตลาดหุ้นยุโรปแม้จะปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา แต่ด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจของยุโรปที่เริ่มฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้น ประกอบกับการเริ่มลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป และ Valuation ของตลาดยุโรปยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตอยู่ เป็นปัจจัยที่จะหนุนนำตลาดหุ้นโลกน่าจะยังมีโมเมนตัมในเชิงบวกได้ ในฝั่งตลาดหุ้นไทยปิดปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา สวนทางกับการปรับขึ้นของตลาดโลก โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยภายในประเทศ โดยเฉพาะประเด็นทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น คดีพิจารณาคุณสมบัติของนายกฯเศรษฐา การพิจารณายุบพรรคก้าวไกล รวมถึงคดีของอดีตนายกฯ ทักษิณ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเสถียรภาพทางการเมือง ว่า การดำเนินการนโยบายต่างๆ ของภาครัฐ จะมีความต่อเนื่องที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีเพียงใด ส่งผลให้เห็นแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่องในเดือนมิถุนายน ในขณะเดียวกัน มาตรการต่างๆ ที่ออกมาเพื่อช่วยประคองตลาดหุ้น […]

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 10 ก.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,323.28 จุด  เพิ่มขึ้น 3.36 จุด (+0.25%) 

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 10 ก.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,323.28 จุด  เพิ่มขึ้น 3.36 จุด (+0.25%) 

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 10 ก.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,323.28 จุด  เพิ่มขึ้น 3.36 จุด (+0.25%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,318.72 จุด และสูงสุดที่ 1,327.16 จุด มูลค่าการซื้อขาย 34,210.34ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่  AOT ปิดที่ 58.25 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 (+1.75%) มูลค่าการซื้อขาย 2,447.42 ล้านบาท CPALL ปิดที่ 57.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,726.22 ล้านบาท ADVANC ปิดที่ 221.00 บาท เพิ่มขึ้น 3.00 (+1.38%) มูลค่าการซื้อขาย 1,679.03 ล้านบาท  PTTEP ปิดที่ 151.00 บาท […]

ETF ทองคำทั่วโลกมีเงินทุนไหลเข้าในมิ.ย.เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน

ETF ทองคำทั่วโลกมีเงินทุนไหลเข้าในมิ.ย.เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน

สภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยเมื่อวานนี้ (9 ก.ค.) ว่า กองทุนรวมดัชนีที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (ETF) ซึ่งลงทุนในทองคำทั่วโลกมีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือนมิ.ย. เนื่องจากกองทุนที่จดทะเบียนในยุโรปและเอเชียเพิ่มการซื้อ ETF ทองคำ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ETF ทองคำนั้นรองรับความต้องการส่วนใหญ่ในด้านการลงทุนในทองคำ โดยราคาทองคำแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,449.89 ดอลลาร์/ออนซ์ เมื่อวันที่ 20 พ.ค. ท่ามกลางความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งได้รับแรงผลักดันจากความไม่แน่นอนทางด้านภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม กองทุน ETF ทองคำยังคงมีเงินทุนไหลออกเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงทั่วโลก และเงินทุนที่ไหลเข้า 2 เดือนล่าสุดนั้นได้ช่วยจำกัดการขาดทุนได้เล็กน้อยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ WGC ระบุในบทวิจัยว่า กองทุน ETF ทองคำมีเงินทุนไหลเข้า 1.4 พันล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับการซื้อทองคำ 17.5 เมตริกตันในเดือนมิ.ย. ราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นและเงินทุนไหลเข้าในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหารของ ETF ทองคำอยู่ที่ 2.333 […]

BBLAM เสนอขาย IPO ‘กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 14/24’ วันที่ 10-15 ก.ค. 2567  

BBLAM เสนอขาย IPO ‘กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 14/24’ วันที่ 10-15 ก.ค. 2567  

BBLAM เสนอขาย IPO กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 14/24 หรือ Bualuang Thanarat 14/24 เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ IPO 10-15 กรกฎาคม 2567 รายงานข่าวจาก     บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM เปิดเผยว่า  BBLAM เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) กองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 14/24 หรือ Bualuang Thanarat 14/24  (B14/24) อายุประมาณ 6 เดือน ประมาณการผลตอบแทน 2.05% ต่อปี ขนาดโครงการ 3,000 ล้านบาท โดยเสนอขายในราคา 10 บาทต่อหน่วย และผู้ลงทุนจะต้องจองซื้อครั้งแรกขั้นต่ำ 10,000 บาท สำหรับ บัวหลวงธนรัฐ 14/24 จะนำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง […]

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 9 ก.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,319.92 จุด ลดลง 2.58 จุด (-0.20%)

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 9 ก.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,319.92 จุด ลดลง 2.58 จุด (-0.20%)

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 9 ก.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,319.92 จุด ลดลง 2.58 จุด (-0.20%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,317.02 จุด และสูงสุดที่ 1,325.18 จุด มูลค่าการซื้อขาย 38,111.14 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่  CPALL ปิดที่ 57.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 (+1.77%) มูลค่าการซื้อขาย 2,494.08 ล้านบาท EA ปิดที่ 12.40 บาท ลดลง 0.80 (-6.06%) มูลค่าการซื้อขาย 2,261.54 ล้านบาท CHAO ปิดที่ 14.20 บาท เพิ่มขึ้น 2.40 (+20.34%) มูลค่าการซื้อขาย 2,020.78 ล้านบาท  […]

JPMorgan ปรับลดคาดการณ์ผิดนัดชำระหนี้บริษัทตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก เหลือ 3.6% ในปีนี้

JPMorgan ปรับลดคาดการณ์ผิดนัดชำระหนี้บริษัทตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก เหลือ 3.6% ในปีนี้

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า JPMorgan ปรับลดคาดการณ์จำนวนบริษัทในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market – EM) ที่คาดว่าจะผิดนัดชำระหนี้ หลังจาก distressed-level market pricing ปรับตัวดีขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559 โดยการผิดนัดชำระหนี้บางส่วนได้ข้อสรุปหรือยุติไปแล้ว ขณะที่บางส่วนไม่เกิดการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งคาดว่าปี 2567 จะเป็นปีแรกนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ระดับการผิดนัดชำระหนี้ขององค์กรในตลาดเกิดใหม่ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ JPMorgan ได้ปรับลดการคาดการณ์การผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก ที่ได้รับการจัดอันดับ “ขยะ” ลงมาอยู่ที่ 3.6% จาก 4.0% สำหรับบริษัทในดัชนี CEMBI Broad Diversified ที่มีการติดตามอย่างใกล้ชิด ปรับลดลงเหลือ 2.1% จาก 2.9% นักวิเคราะห์ของ JPMorgan ระบุว่า “เราเห็นความเสี่ยงที่ลดลงในช่วงที่เหลือของปีนี้ เนื่องจากบริษัทที่มีแนวโน้มผิดนัดชำระบางแห่งได้หลุดออกจากรายชื่อไปแล้ว เนื่องจากไม่มีการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้น ขณะที่บางแห่งมีการผิดนัดชำระหนี้ไปแล้ว ในขณะที่บริษัทรายใหม่ที่เสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ก็มีไม่มากนัก” นักวิเคราะห์ยังคาดว่า ปัญหาผิดนัดชำระจะยังคงกระจุกตัวอยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนและในกลุ่ม “ผู้ผิดนัดชำระหนี้ซ้ำซาก” […]

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 8 ก.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,322.50 จุด เพิ่มขึ้น 10.51 จุด (+0.80%) 

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 8 ก.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,322.50 จุด เพิ่มขึ้น 10.51 จุด (+0.80%) 

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 8 ก.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,322.50 จุด เพิ่มขึ้น 10.51 จุด (+0.80%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,311.05 จุด และสูงสุดที่ 1,322.50 จุด มูลค่าการซื้อขาย 31,299.39 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่  EA ปิดที่ 13.20 บาท ลดลง 0.50 (+3.65%) มูลค่าการซื้อขาย 1,640.01 ล้านบาท CPALL ปิดที่ 56.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 (+1.80%) มูลค่าการซื้อขาย 1,372.64 ล้านบาท CPF ปิดที่ 24.40 บาท เพิ่มขึ้น 0.80 (+3.39%) มูลค่าการซื้อขาย 1,259.73 ล้านบาท  […]

ทำไมฟิลิปปินส์! กล้าประกาศขึ้นเป็นผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทำไมฟิลิปปินส์! กล้าประกาศขึ้นเป็นผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“ฟิลิปปินส์” แซงหน้าประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกลายเป็นผู้นำระดับภูมิภาค ในโครงการพลังงานสะอาดที่วางแผนไว้ เนื่องจากฟิลิปปินส์มีข้อจำกัดด้านการลงทุนที่น้อยกว่า และมีนโยบายใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่ดึงดูดเงินจากในประเทศและต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมถึงการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของโครงการพลังงานหมุนเวียนได้อย่างเต็มที่ ช่วยให้ฟิลิปปินส์สามารถดำเนินการพัฒนาพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 99 กิกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอต่อการจ่ายไฟฟ้าให้ครัวเรือนทั่วประเทศ อีกทั้งยังแซงหน้าการผลิตไฟฟ้า 86 กิกะวัตต์ของเวียดนาม และสูงกว่าตัวเลขในอินโดนีเซียประมาณ 5 เท่า ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในประเทศเกิดใหม่ที่พึ่งพาถ่านหินอย่างฟิลิปปินส์ จะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของความพยายามระดับโลก ในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และควบคุมผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งแตกต่างจากประเทศรายได้ปานกลางหลายประเทศ ที่กำลังประสบปัญหาในการรักษาสมดุลระหว่างการออกห่างจากเชื้อเพลิงฟอสซิล กับอุปสงค์พลังงานที่เพิ่มขึ้น และความต้องการการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในการประชุมพลังงานที่กรุงมะนิลา เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา บริษัทหลายแห่ง เช่น “สกาเทค เอเอสเอ” ซึ่งเป็นผู้พัฒนาพลังงานหมุนเวียนในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ต่างแสดงความกระตือรือร้นเกี่ยวกับศักยภาพของฟิลิปปินส์โดยเฉพาะ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีความคืบหน้าล่าช้า เนื่องจากปัญหาด้านเงินทุนและกฎระเบียบ ตามรายงานของ บลูมเบิร์ก เอ็นอีเอฟ (บีเอ็นอีเอฟ) ทางการฟิลิปปินส์ดำเนินกลยุทธ์การพัฒนาพลังงานลมนอกชายฝั่ง เสนอแรงจูงใจด้านภาษี และเปิดภาคส่วนพลังงานหมุน เวียนให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยกระตุ้นให้การลงทุนในพลังงานสะอาด […]

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 5 ก.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,311.99 จุด เพิ่มขึ้น 10.95 จุด (+0.84%) 

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 5 ก.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,311.99 จุด เพิ่มขึ้น 10.95 จุด (+0.84%) 

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 5 ก.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,311.99 จุด เพิ่มขึ้น 10.95 จุด (+0.84%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,298.43 จุด และสูงสุดที่ 1,312.75 จุด มูลค่าการซื้อขาย 32,907.92 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่  EA ปิดที่ 13.70 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 (+12.30%) มูลค่าการซื้อขาย 3,299.55 ล้านบาท KCE ปิดที่ 46.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 (+5.75%) มูลค่าการซื้อขาย 1,273.72 ล้านบาท KBANK ปิดที่ 129.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 (+1.57%) มูลค่าการซื้อขาย 1073.38 ล้านบาท  […]

ญี่ปุ่นเผยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลง 1.8% ในเดือนพ.ค. สวนทางคาดการณ์

ญี่ปุ่นเผยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลง 1.8% ในเดือนพ.ค. สวนทางคาดการณ์

กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่น เปิดเผยในวันนี้ว่า การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนญี่ปุ่นลดลง 1.8% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี สวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% เนื่องจากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นยังคงส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค และอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เปราะบางของญี่ปุ่น เมื่อเทียบเป็นรายเดือน การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนญี่ปุ่นลดลง 0.3% ในเดือนพ.ค. สวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.5% สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเป็นดัชนีชี้วัดการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นปรับลดการประเมินตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 1/2567 เป็นหดตัวลง 2.9% จากตัวเลขประมาณการเดิมที่ระบุว่าหดตัวเพียง 1.8% นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ คาดการณ์ว่า การปรับลดการประเมินตัวเลข GDP อาจจะส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตัดสินใจปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นรายไตรมาสในเดือนนี้ และอาจจะมีผลกระทบต่อช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของ BOJ ด้วยเช่นกัน ที่มา: รอยเตอร์