‘พาวเวลล์’ เผยเฟดมีงานต้องทำเพิ่ม หลังเงินเฟ้อดีดตัว ตลาดคาดปีนี้หั่นดอกเบี้ยครั้งเดียว
นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนม.ค. ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อล่าสุด บ่งชี้ว่า เฟดยังคงมีสิ่งที่ต้องทำอีกมาก แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีความคืบหน้าไปมากในการควบคุมเงินเฟ้อก็ตาม “สิ่งที่ผมอาจบอกได้ก็คือ เราเข้าใกล้ แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายเรื่องเงินเฟ้อ” พาวเวลล์ กล่าวในการแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีต่อคณะกรรมการด้านบริการการเงินของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อวันพุธ (12 ก.พ.) “เงินเฟ้อเมื่อปีที่แล้ว อยู่ที่ 2.6% ซึ่งถือว่าคืบหน้าไปมาก แต่เรายังไปไม่ถึงเป้าหมาย” นายพาวเวลล์ กล่าว โดยหมายถึงตัวเลขชี้วัดเงินเฟ้ออื่นๆ นอกเหนือจากดัชนีราคาผู้บริโภค ที่ประกาศเมื่อคืนที่ผ่านมา “เราจึงต้องการใช้นโยบายแบบคุมเข้มต่อไปก่อน” ซึ่งหมายความว่า อัตราดอกเบี้ยจะยังคงสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline CPI) เดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 3.0% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าประมาณการของ Dow Jones ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.9% หลังจากเพิ่มขึ้น 2.9% ในเดือนธ.ค. ปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้น […]
Fund Comment มกราคม 2025: ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกในเดือนมกราคมปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เราเห็นถึงความผันผวนของตลาดระหว่างเดือน จากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาผสมผสาน การดำเนินนโยบายต่างๆ ในยุค Trump 2.0 รวมถึงความสำเร็จของโมเดล AI ในจีน โดยในช่วงครึ่งแรกของเดือน ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงจากตัวเลขเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ที่ออกมาแข็งแกร่ง ทำให้ตลาดเกิดความกังวลต่อการลดดอกเบี้ยต่อจากนี้ว่า อาจจะมีความล่าช้าและน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา ตลาดได้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้งระหว่างเดือน หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาชะลอตัวลง รวมถึงการตอบรับเชิงบวกต่อการดำเนินนโยบายต่างๆ ของทรัมป์หลังจากการได้รับตำแหน่ง โดยนโยบายส่วนใหญ่มุ่งเน้นถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น นโยบายทางเศรษฐกิจ นโยบายการย้ายถิ่นฐาน นโยบายทางด้านพลังงาน รวมถึงการยกเลิกหลายคำสั่งจากรัฐบาลในชุดก่อน อย่างไรก็ตาม นโยบายการขึ้นภาษีนำเข้ากับนานาประเทศ โดยเฉพาะประเทศต่างๆ ที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าอยู่มาก เริ่มสร้างความผันผวนให้กับตลาดโลกมากขึ้น ทำให้เรามองว่าตลาดหุ้นโลกในระยะต่อจากนี้จะเผชิญกับความผันผวนมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา สำหรับตลาดหุ้นไทยในเดือนมกราคมปรับตัวลดลงสวนทางกับตลาดโลก โดยตลาดหุ้นไทยได้รับแรงกดดันจากทั้งปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบ อย่างแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยของ Fed และปัจจัยเสี่ยงจากนโยบายการขึ้นภาษีของทรัมป์ รวมทั้ง แรงกดดันที่มีต่อหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์จากโมเดล AI DeepSeek ขณะที่ ด้านปัจจัยภายใน ตลาดยังถูกกดดันจากหลายปัจจัย เช่น ความไม่แน่นอนต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งการขยายตัวของ […]
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 11 ก.พ. 2568 ปิดตลาดที่ 1,283.97 จุด เพิ่มขึ้น 13.48 จุด (+1.06%)
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 11 ก.พ. 2568 ปิดตลาดที่ 1,283.97 จุด เพิ่มขึ้น 13.48 จุด (+1.06%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,269.58 จุด และสูงสุดที่ 1,285.98 จุด มูลค่าการซื้อขาย 38,989.02 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ ADVANC ปิดที่ 284.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 (+0.35%) มูลค่าการซื้อขาย 3,086.89 ล้านบาท GULF ปิดที่ 56.50 บาท ลดลง 0.75 (-1.31%) มูลค่าการซื้อขาย 3,047.71 ล้านบาท INTUCH ปิดที่ 98.50 บาท ลดลง 1.00 (-1.01%) […]
มูดี้ส์ เตือนอันดับเครดิตเวิลด์แบงก์เสี่ยงถูกกระทบ หากทรัมป์ตัดการสนับสนุน
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า มูดี้ส์ (Moody’s) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือยักษ์ใหญ่ของโลก กล่าวเตือนว่า อันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ และสถาบันการเงินพหุภาคีชั้นนำอื่นๆ ในระดับ AAA อาจได้รับผลกระทบ หากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ตัดสินใจลดการสนับสนุนลง แม้จะระบุว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ก็ตาม เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามในคำสั่งพิเศษฝ่ายบริหาร (Executive order) เพื่อตรวจสอบการสนับสนุนของรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อองค์กรระหว่างรัฐบาลระหว่างประเทศทั้งหมดที่ตนเป็นสมาชิก และถอนตัวจากหน่วยงานบางแห่งขององค์กรสหประชาชาติ (UN) มูดี้ส์ระบุในรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า “สหรัฐฯ เป็นผู้ถือหุ้นหลักในหลายธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างหลายประเทศ (MDB) ที่ได้รับการจัดอันดับ ดังนั้น หากสหรัฐฯ ลดการสนับสนุนอย่างมีนัยสำคัญ นั่นจะเป็นปัจจัยลบต่อความน่าเชื่อถือทางเครดิต” โดยสหรัฐฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดในกลุ่มธนาคารโลก ซึ่งมีสัดส่วนการถือครองหุ้น 16.4% ในธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา (IBRD) ซึ่งเป็นสถาบันที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่ม และถือหุ้น 19% ในสมาคมการพัฒนาระหว่างประเทศ (IDA) ที่ให้เงินกู้และเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าแก่ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ทั้งนี้ ธนาคารโลก […]
BBLAM เสนอขาย IPO ‘BP4/25(AI)’ วันที่ 11-18 ก.พ. 2568
BBLAM เสนอขาย IPO ‘กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 4/25 ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย’ หรือ BP4/25(AI) ซึ่งเป็นเทอมฟันด์ อายุ 6 เดือน วันที่ 11-18 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ ลงทุนขั้นต่ำ 500,000 บาท เป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่มองหาการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่เหมาะสม รายงานข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM เปิดเผยว่า BBLAM เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 4/25 ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย หรือ BP4/25(AI) ระหว่างวันที่ 11-18 กุมภาพันธ์ 2568 ประมาณการผลตอบแทน 1.85% ต่อปี โดยเสนอขายในราคา 10 บาทต่อหน่วย และผู้ลงทุนจะต้องจองซื้อครั้งแรกขั้นต่ำ 500,000 บาท กองทุนนี้ เป็นกองทุนที่มีกำหนดอายุโครงการ (เทอมฟันด์) ประมาณ 6 เดือน […]
นายกฯ ญี่ปุ่นมั่นใจภาษีสหรัฐฯ ไม่กระทบ หลังร่วมหารือทรัมป์
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายกรัฐมนตรี ชิเงรุ อิชิบะ ของญี่ปุ่น แสดงความหวังว่า ประเทศของตนจะสามารถหลีกเลี่ยงการขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ ได้ โดยกล่าวว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ รับทราบถึงข้อมูลการลงทุนมหาศาลของญี่ปุ่นในสหรัฐฯ และการสร้างงานให้กับชาวอเมริกันในการหารือที่ทำเนียบขาว นายอิชิบะ กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ NHK ของญี่ปุ่นว่า ตนเองได้อธิบายให้ทรัมป์ฟังว่าผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นจำนวนมากกำลังเข้ามาสร้างงานในสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี นายอิชิบะ ระบุเพิ่มเติมว่า ตนเองและประธานาธิบดีทรัมป์ ไม่ได้หารือเรื่องภาษีนำเข้ายานยนต์โดยตรง แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าญี่ปุ่นจะถูกเก็บภาษีตอบโต้ตามที่ทรัมป์กล่าวหรือไม่ ซึ่งนับตั้งแต่ทรัมป์เข้ารับตำแหน่งผู้นำอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ญี่ปุ่นยังสามารถเลี่ยงสงครามการค้าได้ หลังทรัมป์ประกาศเรียกเก็บภาษีกับสินค้าจากแคนาดา เม็กซิโก และจีนเท่านั้น แม้จะเลื่อนการขึ้นภาษี 25% สำหรับสองประเทศเพื่อนบ้านออกไปอีก 30 วัน เพื่อเปิดทางสำหรับการเจรจา นายกรัฐมนตรีอิชิบะ ยังกล่าวว่า “ตนเชื่อว่าประธานาธิบดีทรัมป์ตระหนักดีว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนในสหรัฐฯ มากที่สุด ติดต่อกันถึง 5 ปี ซึ่งต่างจากประเทศอื่น ๆ โดยบริษัทญี่ปุ่น ช่วยสร้างงานในสหรัฐฯได้เป็นจำนวนมาก และตนเชื่อว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะไม่รีบขึ้นภาษีญี่ปุ่น” […]
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 7 ก.พ. 2568 ปิดตลาดที่ 1,282.09 จุด เพิ่มขึ้น 20.02 จุด (+1.59%)
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 7 ก.พ. 2568 ปิดตลาดที่ 1,282.09 จุด เพิ่มขึ้น 20.02 จุด (+1.59%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,252.26 จุด และสูงสุดที่ 1,282.09 จุด มูลค่าการซื้อขาย 57,593.92 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ CPALL ปิดที่ 50.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 (+5.26%) มูลค่าการซื้อขาย 6,494.98 ล้านบาท ADVANC ปิดที่ 280.00 บาท เพิ่มขึ้น 5.00 (+1.82%) มูลค่าการซื้อขาย 2,858.88 ล้านบาท INTUCH ปิดที่ 99.25 บาท เพิ่มขึ้น 4.25 (+4.47%) มูลค่าการซื้อขาย […]
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 10 ก.พ. 2568 ปิดตลาดที่ 1,270.49 จุด ลดลง 11.60 จุด (-0.90%)
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 10 ก.พ. 2568 ปิดตลาดที่ 1,270.49 จุด ลดลง 11.60 จุด (-0.90%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,262.4 จุด และสูงสุดที่ 1,275.88 จุด มูลค่าการซื้อขาย 43,206.59 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ ADVANC ปิดที่ 283.00 บาท เพิ่มขึ้น 3.00 (+1.07%) มูลค่าการซื้อขาย 2,759.75 ล้านบาท DELTA ปิดที่ 112.00 บาท ลดลง 2.00 (-1.75%) มูลค่าการซื้อขาย 2,518.93 ล้านบาท TRUE ปิดที่ 12.70 บาท เพิ่มขึ้น 0.60 (+4.96%) มูลค่าการซื้อขาย […]
ECB เตือนยุโรปอาจพ่ายยับในศึกการค้าสหรัฐฯ-จีน มองแนวโน้มยังลดดอกเบี้ยได้
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายปิเอโร ชิโปลโลเน (Piero Cipollone) สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังมีพื้นที่ให้ปรับลดลงอีก เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัว พร้อมเตือนว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มยูโรโซน ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 20 ประเทศ นับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว ECB ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 5 ครั้ง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่เริ่มมีน้ำหนักมากกว่าความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ขณะที่ นักลงทุนคาดการณ์ว่า จะเกิดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อยอีก 3 ครั้งในปีนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังคงไม่กลับมาฟื้นตัว หลังจากซบเซามานานเกือบ 2 ปี นายปิเอโร ชิโปลโลเน ระบุว่า “ทุกคนเห็นตรงกันว่า ยังมีโอกาสในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก และใกล้จะไปถึงเป้าหมาย แต่เรายังอยู่ในช่วงของการใช้นโยบายที่เข้มงวด” อย่างไรก็ตาม ราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นและความตึงเครียดทางการค้าทั่วโลก กำลังกดดันให้ ECB ต้องพิจารณาในหลายทิศทาง ดังนั้น ในขณะนี้ […]
Fund Comment
Fund Comment มกราคม 2025: มุมมองตลาดตราสารหนี้
ประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดตราสารหนี้ในเดือนม.ค. คือ การประชุมของธนาคารกลางหลักๆ ทั้งธนาคารกลางสหรัฐฯ ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางญี่ปุ่น ธนาคารกลางอังกฤษ รวมทั้งนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ที่เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม โดยสิ่งที่ตลาดจับตามองมากที่สุด คือ นโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐฯ เกี่ยวกับการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้า ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ค่อนข้างผันผวนในเดือนนี้ โดยในช่วงต้นเดือนอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการที่ตลาดมีความกังวนจากนโยบายเกี่ยวกับการตั้งกำแพงภาษีของสหรัฐฯ ที่อาจจะส่งผลกระทบให้เงินเฟ้อลดลงได้ช้าลงกว่าที่คาดไว้ แต่หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อเดือนธันวาคม ออกมาส่งสัญญาณเชิงบวกมากขึ้นถึงพัฒนาการของเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงกลับสู่เป้าหมายของ Fed ทำให้อัตราผลตอบแทนปรับลดลง และในวันที่ 29 มกราคม คณะกรรมการ FOMC ได้มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 4.25-4.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยระบุว่า คณะกรรมการ FOMC ต้องการเห็นการชะลอลงขอเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ หรือการอ่อนตัวลงของตลาดแรงงาน ก่อนจะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งถัดไป ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า Fed อาจจะปรับลดดอกเบี้ยลงได้เพียง 1-2 ครั้งในปีนี้ ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับเพิ่มขึ้นในกลุ่มอายุคงเหลือระยะสั้นและยาว ในช่วง 0 bps ถึง12 […]