ตลาดอสังหาฯ เอเชียแปซิฟิกเฟื่องฟู ผลจากดอกเบี้ยต่ำและความต้องการสูง
CNBC รายงานว่า ราคาที่อยู่อาศัยในเมืองต่างๆ ของเอเชียแปซิฟิกในปีนี้พุ่งสูงขึ้น โดยมีแรงขับเคลื่อนจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ โดยมุมมองบวกเริ่มเพิ่มขึ้น ท่ามกลางการฉีดวัคซีนที่เร่งตัว และบางประเทศเริ่มเคลื่อนตัวไปสู่การฟื้นตัวหลังโควิดแล้ว นักวิเคราะห์ มองว่า ท่ามกลางบริษัทต่างๆ ที่ปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบไฮบริด คือ ผสมผสานระหว่างการทำงานจากที่บ้านบางเวลา และในสำนักงานบางเวลา ก็ทำให้ความต้องการบ้านขนาดใหญ่ขึ้นเพิ่มขึ้นมา ตลาดอสังหาริมทรัพย์ร้อนแรงขึ้นในประเทศแถบเอเชีย ทำให้เกิดความคาดหมายในวงกว้างว่า รัฐบาลต่างๆ อาจจะเข้าแทรกแซงการควบคุมที่อยู่อาศัยหรือมีมาตรการอื่นๆ เช่น นโยบายการคลังหรือการเงินออกมา เช่น เกาหลีใต้ ที่ล่าสุดเพิ่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี ในเดือน ส.ค. ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า เป็นความเลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับราคาบ้านที่สูงขึ้นและการเพิ่มขึ้นของหนี้ จากข้อมูลของ Knight Frank พบว่า 10 อันดับ เมืองในเอเชียแปซิฟิกที่มีราคาบ้านเพิ่มขึ้นสูงที่สุดเมื่อเทียบรายปี ณ สิ้นเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ได้แก่ เมืองเวลลิงตัน (นิวซีแลนด์) เพิ่มขึ้น 29.2% ตามด้วยเมืองโอ๊คแลนด์ (นิวซีแลนด์) เพิ่มขึ้น […]
BMAPS BMAPS100 BMAPS25 BMAPS55 Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 25 (BMAPS25) กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 55 (BMAPS55) กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ 100 (BMAPS100)
Highlight หุ้นโลกปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 โดยมีปัจจัยหนุนมาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น มีมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และประชากรทั่วโลกมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น ในช่วงที่ผ่านมา กองทุนเพิ่มน้ำหนักใน B-NIPPON B-SIP และ BCARE และ มีการขายทำกำไรบางส่วนใน B-GTO และลดน้ำหนักในหุ้นไทยเล็กน้อย ผู้จัดการกองทุนมองว่า ปี 2564 สินทรัพย์เสี่ยงยังสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีกับนักลงทุน จากสภาพคล่องในระบบและการปรับตัวดีขึ้นของกำไรบริษัทจดทะเบียนทั่วโลก และมองว่าการรักษาความสมดุลย์ระหว่างหุ้นเติบโตกับหุ้นวัฏจักรเป็นสิ่งที่สำคัญ กองทุน BMAPS ทั้ง 3 กองทุน ยกเว้นค่าธรรมเนียมการขายตั้งแต่วันนี้ถึง 30 ธ.ค. 2564 และค่าธรรมเนียมการจัดการไม่เรียกเก็บซ้ำซ้อน ภาพรวมตลาด หุ้นโลกปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 โดยมีปัจจัยหนุนมาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น มีมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และประชากรทั่วโลกมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีปัจจัยบวกจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และกำไรของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 2 ที่ส่วนใหญ่ออกมาดี ทำให้นักวิเคราะห์ปรับประมาณการณ์กำไรปี 2564 และ 2565 เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีความผันผวนจาก […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 2 ก.ย. 2564 ปิดตลาดที่ 1,647.75 จุด เพิ่มขึ้น 13.27 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 2 ก.ย. 2564 ปิดตลาดที่ 1,647.75 จุด เพิ่มขึ้น 13.27 จุด หรือ +0.81% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,652.03 จุด และต่ำสุดที่ 1,633.12 จุด มูลค่าการซื้อขาย 101,413.00 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.DELTA ปิดที่ 726.00 บาท เพิ่มขึ้น 70.00 บาท (+10.67%) มูลค่าการซื้อขาย 5,880.67 ลบ. 2.CPALL ปิดที่ 64.00 บาท ลดลง 1.00 บาท (-1.54%) มูลค่าการซื้อขาย 3,487.37 ลบ. 3.CV ปิดที่ 3.92 […]
สหรัฐฯ เผชิญดัชนีต้นทุนการจ้างงานเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจจะโตต่อต้องเสริมแกร่งตลาดแรงงาน
Jack Kleinhenz หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสหพันธ์ค้าปลีกแห่งชาติ (NRF) ซึ่งเป็นสมาคมค้าปลีกใหญ่ที่สุดในโลก เปิดเผยว่า มาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ที่มีบุตร หรือ Child tax credit และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีนี้ อย่างไรก็ดีการเติบโตทางเศรษฐกิจในขั้นต่อไปคงต้องพึ่งพาการจ้างงานมากขึ้น บทความที่ตีพิมพ์เมื่อวันพุธที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ระบุเนื้อหาว่า จากนี้ไปเศรษฐกิจที่ถูกขับเคลื่อนไปข้างหน้าสู่เดือนต่อๆ ไปของปี 2021 จะมีส่วนจากความช่วยเหลือของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ลดลงเรื่อยๆ โดยรัฐบาลจะเริ่มมุ่งเน้นไปที่ความสำคัญไปที่ความสามารถในการสร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดแรงงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านค่าแรงและเงินเดือนเพื่อรองรับการใช้จ่ายของแรงงาน เขา มองว่า ผู้บริโภคชาวอเมริกันยังคงใช้จ่ายต่อเนื่อง แต่ตลาดแรงงานและการสร้างงานจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นต่อความสามารถของพวกเขาที่จะจับจ่ายใช้สอย ทั้งนี้ ตลาดแรงงานตึงตัวมาก ณ เดือน มิ.ย. 2021 โดยรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เปิดรับอยู่มีจำนวน 10.07 ล้านตำแหน่ง แต่มีเพียง 9.48 ล้านคนที่หางานทำ การสำรวจตำแหน่งงานที่เปิดรับและการหมุนเวียนของแรงงานจากกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ความไม่สมดุลดังกล่าวส่งผลให้ตามดัชนีต้นทุนการจ้างงานเพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบเป็นรายปีในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 […]
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นญี่ปุ่น (B-NIPPON)
Highlight ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นจากความคาดหวังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่ยังฟื้นตัวช้ากว่าตลาดหุ้นหลักของโลก เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 รายใหม่ที่ยังคงไม่ลดลงมากนัก แม้ว่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก และการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้ามากขึ้น แต่จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังคงเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น กองทุนหลักเน้นการลงทุนในบริษัทที่มีผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีความยั่งยืน (Sustainable ROE) มีแนวโน้มเติบโตสูง และมีความสามารถในการทำกำไรสูง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาบางบริษัทราคาปรับตัวลงเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ ครึ่งปีหลัง กองทุนหลักมีมุมมองว่าสถานการณ์โควิดจะดีขึ้น มีอัตราการฉีดวัคซีนจะทำให้เข้าสู่ภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ได้ในปลายปี ทำให้ภาคการบริโภคจะแข็งแกร่งขึ้น และเริ่มเห็นสัญญานการฟื้นตัวของภาคบริการ จึงคาดหวังว่าการบริการจะค่อยๆ ฟื้นตัวตามการบริโภคและภาคการผลิต ภาพรวมตลาด ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นจากความคาดหวังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่ยังฟื้นตัวช้ากว่าตลาดหุ้นหลักของโลก เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 รายใหม่ที่ยังคงไม่ลดลงมากนัก แม้ว่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก และการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้ามากขึ้น แต่จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังคงเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น GDP ในไตรมาสที่ 2/2564 ขยายตัว 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัว 0.7% และดีกว่าในไตรมาสที่ 1/2564 ที่หดตัว 3.7% การขยายตัวมาจากภาคบริโภคซึ่งเป็นผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และแม้ว่าภาคการส่งออกจะขยายตัวจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคการผลิต แต่การนำเข้าก็เพิ่มขึ้นมาก จนทำให้การส่งออกสุทธิเป็นลบ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นจากความคาดหวังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ […]
B-GTO B-GTORMF B-GTOSSF Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลธีมเมติกออพพอร์ทูนิตี้ (B-GTO) กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลธีมเมติกออพพอร์ทูนิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GTORMF) กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลธีมเมติกออพพอร์ทูนิตี้เพื่อการออม (B-GTOSSF)
Highlight ตั้งแต่ต้นปีกลุ่มวัฎจักร (Cyclical) มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากลุ่มเติบโต (Growth) นำโดยกลุ่ม กลุ่มสื่อสาร กลุ่มพลังงาน และกลุ่มการเงิน แต่ราคาหุ้นกลุ่มเติบโตก็เริ่มปรับตัวขึ้นในช่วงกลางไตรมาส 2 ที่ผ่านมา กลยุทธ์ปัจจุบัน กองทุนเน้นถือหุ้นด้านการดูแลสุขภาพ หุ้นเทคโนโลยีสารสนเทศ และหุ้นบริการการสื่อสาร การลงทุนในกลุ่มนวัตกรรมโลกผ่านมุมมองระยะยาว (long term) และเน้นการทำกำไรเป็นระยะๆ (low turnover) จะทำให้นักลงทุนได้ประโยชน์จากการปรับพอร์ตการลงทุน ภาพรวมตลาด หุ้นโลกปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 โดยมีปัจจัยหนุนมาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น มีมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และประชากรทั่วโลกมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น สถานการณ์ที่ผู้บริโภคกลับมาจับจ่ายใช้สอยหลังวิกฤต ภาวะที่ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกขาดแคลน และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ธนาคารกลางบางแห่ง จึงพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือปรับใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดขึ้น ตั้งแต่ต้นปีกลุ่มวัฎจักร (Cyclical) มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากลุ่มเติบโต (Growth) นำโดยกลุ่ม กลุ่มสื่อสาร กลุ่มพลังงาน และกลุ่มการเงิน แต่ราคาหุ้นกลุ่มเติบโตก็เริ่มปรับตัวขึ้นในช่วงกลางไตรมาส 2 ที่ผ่านมา พอร์ตการลงทุน […]
B-GLOBAL B-GLOBALRMF Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)
Highlight หุ้นโลกปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 โดยมีปัจจัยหนุนมาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น มีมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และประชากรทั่วโลกมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น ไตรมาส 2/2021 ผู้จัดการกองทุนขายกำไรในหุ้นกลุ่มอุตสาหรรม เพราะราคาปรับเพิ่มขึ้นมามากจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวและการเพิ่มขึ้นของดีมานด์ โดยได้ลงทุนต่อในหลายอุตสาหกรรมและเลือกหุ้นที่ราคายังไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ผู้จัดการกองทุนหลักยังคงมุ่งรักษาความสมดุลย์ของพอร์ตการลงทุนระหว่างหุ้นวัฎจักรและหุ้นเติบโต (Cyclical and Growth) การคัดเลือกหุ้นรายตัวเป็นสิ่งที่สำคัญ ในจังหวะที่นโยบายเชิงมหภาคของแต่ละประเทศมีความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างมาก ทำให้เห็นโอกาสการลงทุนในช่วงที่ตลาดอาจเกิดความผันผวนจากนโยบายดังกล่าว ภาพรวมตลาด หุ้นโลกปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 โดยมีปัจจัยหนุนมาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น มีมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และประชากรทั่วโลกมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น สถานการณ์ที่ผู้บริโภคกลับมาจับจ่ายใช้สอยหลังวิกฤต ภาวะที่ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกขาดแคลน และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ธนาคารกลางบางแห่ง จึงพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือปรับใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดขึ้น ตั้งแต่ต้นปีกลุ่มวัฎจักร (Cyclical) มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากลุ่มเติบโต (Growth) นำโดยกลุ่ม กลุ่มสื่อสาร กลุ่มพลังงาน และกลุ่มการเงิน แต่ราคาหุ้นกลุ่มเติบโตก็เริ่มปรับตัวขึ้นในช่วงกลางไตรมาส 2 ที่ผ่านมา พอร์ตการลงทุน ไตรมาส 2/2021 ผู้จัดการกองทุนขายกำไรในหุ้นกลุ่มอุตสาหรรม เพราะราคาปรับเพิ่มขึ้นมามากจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวและการเพิ่มขึ้นของดีมานด์ […]
กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)
Highlight ในไตรมาส2/2021 ดัชนี MSCI World Health Care NET ปิดบวกที่ 9.1% เนื่องจากกลุ่มอุตสาหกรรมย่อย 4 ใน 5 กลุ่มของดัชนีอ้างอิงมีผลดำเนินการที่ดีขึ้น เมื่อวัดผลงานตามหมวดอุตสาหกรรมย่อยพบว่าหุ้นเทคโนโลยีทางการแพทย์ (medical technology) และหุ้นชีวเภสัชภัณฑ์ขนาดใหญ่ (biopharma large cap) ทำผลงานได้ดีที่สุด ในขณะที่หุ้นชีวเภสัชภัณฑ์ขนาดเล็ก (biopharma small cap) และหุ้นบริการด้านสุขภาพทำผลงานได้น้อยที่สุดในไตรมาสที่ผ่านมา กองทุนเน้นลงทุนในบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมการแพทย์ที่ยังมีอุปทานไม่เพียงพอ โดยในระยะยาวเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้น สังคมสูงวัย และความต้องการด้านการแพทย์แผนตะวันตกที่ทันสมัยจะเป็นปัจจัยหนุนทำให้อุตสาหกรรมการแพทย์เติบโต ภาพรวมตลาด ในไตรมาส 2/2021 ดัชนี MSCI World Health Care NET ปิดบวกที่ 9.1% จากกลุ่มอุตสาหกรรมย่อย 4 ใน 5 กลุ่มของดัชนีอ้างอิงมีผลดำเนินการที่ดีขึ้น เมื่อวัดผลงานตามหมวดอุตสาหกรรมย่อยพบว่าหุ้นเทคโนโลยีทางการแพทย์ (medical […]
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 1 ก.ย. 2564 ปิดตลาดที่ 1,634.48 จุด ลดลง 4.27 จุด
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 1 ก.ย. 2564 ปิดตลาดที่ 1,634.48 จุด ลดลง 4.27 จุด หรือ -0.26% ระหว่างวัน ดัชนีสูงสุดที่ 1,646.07 จุด และต่ำสุดที่ 1,628.16 จุด มูลค่าการซื้อขาย 117,677.56 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.MAKRO ปิดที่ 50.00 บาท เพิ่มขึ้น 8.00 บาท (+19.05%) มูลค่าการซื้อขาย 7,571.40 ลบ. 2.CPALL ปิดที่ 65.00 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 7,473.08 ลบ. 3.DELTA ปิดที่ 656.00 บาท เพิ่มขึ้น 72.00 […]
Fund Comment
Fund Comment สิงหาคม 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนระหว่างเดือน ปิดปรับเพิ่มขึ้น 2.9% นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq ปรับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ โดยการประชุมที่ Jackson Hole ประธาน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ส่งสัญญาณที่ Dovish ต่อตลาด โดยยังคงมุมมองต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในระยะสั้น และมองว่าการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเร็วเกินไป จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในภาพรวม Fed อาจเริ่มการทำ QE Taper ในปีนี้ แต่ยังคงขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจที่จะออกมาในระยะข้างหน้า และการทำ QE Taper จะไม่เชื่อมโยงกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในอนาคต การสื่อสารอย่างต่อเนื่องของ Fed และท่าทีที่ยังไม่เข้มงวดมากขึ้นเร็วนั้น ทำให้ตลาดการเงินได้ซึมซับข้อมูลและปรับคาดการณ์ ส่งผลให้ตลาดการเงินไม่เกิดภาวะผันผวนสูง กอปรกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับตัวลดลงแรงในเดือนก่อนหน้านั้น สะท้อนถึงสภาพคล่องในตลาดการเงินที่สูงและช่วยสนับสนุนตลาดหุ้นโลกในเชิง Valuation ได้ ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้นยังคงอยู่ในโมเมนตัมของการฟื้นตัว นำโดยเศรษฐกิจยูโรโซนที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง ผ่านดัชนี PMI ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงสุดในรอบหลายปี หนุนโดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอุปสงค์ที่ดีหลังการผ่านคลายมาตรการ ด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้น […]