ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 3 พ.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,369.92 จุด เพิ่มขึ้น 6.67 จุด (+0.49%)

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 3 พ.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,369.92 จุด เพิ่มขึ้น 6.67 จุด (+0.49%)

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่ 3 พ.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,369.92 จุด เพิ่มขึ้น 6.67 จุด (+0.49%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,364.26 จุด และสูงสุดที่ 1,372.72 จุด มูลค่าการซื้อขาย 37,512.00 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ PTTEP ปิดที่ 152.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 (+1.00%)  มูลค่าการซื้อขาย 1,952.64 ล้านบาท AOT ปิดที่ 65.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 (+0.38%)  มูลค่าการซื้อขาย 1,889.50 ล้านบาท CPALL ปิดที่ 58.25 บาท ลดลง 0.50 (-0.85%)  มูลค่าการซื้อขาย 1,207.00 ล้านบาท  […]

OECD คาดเศรษฐกิจโลกปี 67 โต 3.1% เงินเฟ้อลดเร็วกว่าคาดในหลายประเทศ

OECD คาดเศรษฐกิจโลกปี 67 โต 3.1% เงินเฟ้อลดเร็วกว่าคาดในหลายประเทศ

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณฟื้นตัวได้ดีขึ้นและอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงเร็วกว่าที่คาดไว้ในหลายประเทศ พร้อมเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทั่วโลกในปี 2567 เป็น 3.1% จาก 2.9% ในเดือนก.พ. OECD ระบุว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว แม้สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง หรือราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เศรษฐกิจขาดเสถียรภาพมากขึ้น แต่ความเสี่ยงดังกล่าวจะอยู่ในระดับที่สมดุลขึ้น ทั้งนี้ OECD ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทั่วโลกในปี 2567 เป็น 3.1% จาก 2.9% ในเดือนก.พ. โดยเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐฯ จีน และอินเดียขึ้นมาอย่างโดดเด่น ซึ่งการขยายตัวน่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.2% ในปี 2568 แนวโน้มที่สดใสดังกล่าวบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจโลกดูเหมือนจะรอดพ้นภาวะ Stagflation ซึ่งเป็นภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อและอัตราว่างงานสูง แม้ว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะยังไม่แตะค่าเฉลี่ย 3.4% ในเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 และก่อนวิกฤตพลังงาน ขณะเดียวกัน OECD  คาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อ […]

คาดญี่ปุ่นแทรกแซง ‘ค่าเงินเยน’ ครั้งที่ 2 หลังค่าเงินพุ่งแรง 3% ไปแตะ 153 เยน

คาดญี่ปุ่นแทรกแซง ‘ค่าเงินเยน’ ครั้งที่ 2 หลังค่าเงินพุ่งแรง 3% ไปแตะ 153 เยน

ตลาดคาดญี่ปุ่นเข้าแทรกแซง ‘ค่าเงินเยน’ รอบใหม่ หลังเงินเยนแข็งค่าขึ้นแรงกว่า 3% และอาจเป็นการแทรกแซงค่าเงินเป็นครั้งที่ 2 ในรอบสัปดาห์นี้ คาดพยุงค่าเงินอีกยาว ขณะที่ สื่อประเมิน BOJ ใช้เงินมากถึง 1.2 ล้านล้านบาทในการพยุงค่าเงินรอบแรก สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า ค่าเงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นอย่างร้อนแรงมากกว่า 3% ในช่วงท้ายของการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวันที่ 1 พ.ค. ขึ้นไปแตะระดับ 153.04 เยนต่อดอลลาร์ ท่ามกลางสัญญาฟิวเจอร์สค่าเงินเยนมากถึงกว่า 4,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.47 แสนล้านบาท) ในช่วงท้ายของการซื้อขาย ซึ่งเป็นปริมาณสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ. 2567 จากข้อมูลของ CME การเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้ตลาดการณ์คาดการณ์ว่า อาจเป็นการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนรอบใหม่จากทางการญี่ปุ่น และอาจเป็นการแทรกแซงค่าเงินครั้งที่ 2 แล้วในรอบสัปดาห์นี้ หลังจากที่มีความเคลื่อนไหวคล้ายกันเมื่อวันจันทร์ที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา  อย่างไรก็ดี ค่าเงินเยนกลับมาอ่อนค่าลงกว่า 1% ในการซื้อขายในตลาดโตเกียวเมื่อช่วงเช้าวันนี้ (2 พ.ค.) โดยเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 156.10 […]

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่  2 พ.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,363.25 จุด ลดลง 4.70 จุด (-0.34%)

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่  2 พ.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,363.25 จุด ลดลง 4.70 จุด (-0.34%)

ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันที่  2 พ.ค. 2024 ปิดตลาดที่ 1,363.25 จุด ลดลง 4.70 จุด (-0.34%) ระหว่างวัน ดัชนีต่ำสุดที่ 1,362.84 จุด และสูงสุดที่ 1,372.01 จุด มูลค่าการซื้อขาย 48,883.09 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ PTTEP ปิดที่ 150.50 บาท ลดลง 6.00 (-3.83%)  มูลค่าการซื้อขาย 3,614.48 ล้านบาท ADVANC ปิดที่ 207.00 บาท เพิ่มขึ้น 9.50 (+4.81%)  มูลค่าการซื้อขาย 3,428.79 ล้านบาท TRUE ปิดที่ 8.05 บาท เพิ่มขึ้น 0.35 (+4.55%)  มูลค่าการซื้อขาย 2,042.97 ล้านบาท  […]

Fund Comment เมษายน 2024: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment เมษายน 2024: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ เดือน เม.ย. เป็นเดือนที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐทั้งไทยและสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จากการที่ตลาดเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง โดยในเดือนนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.02-0.08% จากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุมากกว่า 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 0.12%-0.29% จากเดือนก่อนหน้า สาเหตุที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจาก ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2567 ที่ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% ด้วยมติ 5 ต่อ 2 เสียง โดยกรรมการส่วนใหญ่มองว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน รวมถึงเห็นว่านโยบายการเงินมีประสิทธิผลจำกัดในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง แนวคิดดังกล่าวถูกให้น้ำหนักอีกครั้งในงาน Monetary Policy Forum ที่ ธปท. จัดขึ้นในวันที่ 24 เม.ย. 2567 ทำให้ตลาดเปลี่ยนมุมมองจากเคยคาดว่าจะเห็นการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1-2 ครั้งภายในปีนี้ […]

Fund Comment มีนาคม 2024: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment มีนาคม 2024: มุมมองตลาดตราสารหนี้

ในเดือนก.พ. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.01-0.06% จากเดือนก่อนหน้า ส่วนพันธบัตรรัฐบาลอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปปรับลดลง 0.01%-0.06% จากเดือนก่อนหน้า ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงเล็กน้อย 0.05% มาอยู่ที่ 4.2% จากตัวเลข PMI ในเดือนก.พ. ที่ออกมาต่ำกว่าคาด เป็นการลดแรงกดดันต่อการเพิ่มขึ้นเงินเฟ้อ รวมทั้งถ้อยแถลงต่อสภาของประธาน Fed ชี้ว่า Fed อาจเริ่มต้นลดดอกเบี้ยอีกไม่กี่เดือน ขณะที่ปัจจัยในประเทศตลาดให้น้ำหนักต่อโอกาสที่ธปท.อาจจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินในปี 2024 มากขึ้น จากแรงกดดันจากรัฐบาล รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อไทยเดือนก.พ. 2024 ลดลง -0.77% (YoY) เป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน และรวมทั้งตัวเลขเศรษฐกิจของไทยในเดือนก.พ. ยังขยายตัวได้ในระดับต่ำ จากการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐที่หดตัว   สำหรับผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมามีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25% – 5.50%  ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ พร้อมระบุว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยน่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ […]

Fund Comment กุมภาพันธ์ 2024: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment กุมภาพันธ์ 2024: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนก.พ. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้นปรับตัวลดลง 0.01-0.08% จากเดือนก่อนหน้า ส่วนพันธบัตรรัฐบาลอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปปรับลดลง 0.08%-0.14% จากเดือนก่อนหน้า ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.19% มาอยู่ที่ 4.25% จากตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ (GDP) ประจำไตรมาส 4/2023 ขยายตัวที่ 3.3% (QoQ saar) ดีกว่าตลาดคาดที่ 2% และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ 4.9% รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ ชะลอลง 3.1% YoY ในเดือนม.ค. 2024 จากเดือนก่อนที่ 3.4% เดือนก่อน แต่สูงกว่าตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.9% ทำให้ตลาดเริ่มคาดว่า การลดดอกเบี้ยจะชะลอจากเดือนมีนาคม ขณะที่ปัจจัยในประเทศตลาดเริ่มให้น้ำหนักต่อโอกาสที่ธปท.อาจจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินในปี 2024 มากขึ้น จากแรงกดดันจากรัฐบาล รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อไทยเดือนม.ค. 2024 ลดลง -1.11% […]

Fund Comment มีนาคม 2024: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment มีนาคม 2024: ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกในเดือนมีนาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯได้ทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนี S&P 500 ให้ผลตอบแทนนับตั้งแต่ต้นปีสูงถึง 10.2% หลังจากที่ตลาดคลายความกังวลต่อทิศทางดอกเบี้ยลงจากผลการประชุมของ FED เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ย และยังมีท่าทีที่ผ่อนคลายมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทั้งการส่งสัญญาณในการลดอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจนยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีการปรับการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจไปในทิศทางที่ดีขึ้น และคาดว่าเศรษฐกิจจะสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ในขณะเดียวกัน FED ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อตัวเลขเงินเฟ้อที่จะค่อยๆลดลงสู่เป้าหมายในระยะยาว แม้ว่าในช่วงต้นปีที่ผ่านมาจะเห็นตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดก็ตาม ซึ่งทาง FED มองว่าเป็นเพียงแค่ปัจจัยทางฤดูกาลเท่านั้น โดยจากท่าทีดังกล่าวส่งผลเชิงบวก และยังสามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนเพิ่มมากขึ้น สำหรับ ประเด็นที่น่าติดตามต่อจากนี้ คือ ผลประกอบการในไตรมาสแรกของสหรัฐฯ ที่จะเริ่มทยอยประกาศออกมาในเดือนเมษายน ซึ่งจากการคาดการณ์ของตลาดพบว่ามีหุ้นจาก 5 ใน 11 อุตสาหกรรมที่มีผลประกอบการออกมาได้ดีกว่าดัชนี S&P500 และมี 3 ใน 5 อุตสาหกรรมที่มีการปรับการประมาณการของกำไรที่เพิ่มขึ้นจากช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา ได้แก่ Information Technology, Communication Services และ Consumer Discretionary […]

Fund Comment กุมภาพันธ์ 2024: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment กุมภาพันธ์ 2024: ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกในเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังจากผลประกอบการที่ไตรมาส 4 ของบริษัทส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ ที่ออกมาดี นำโดยหุ้นในกลุ่ม Magnificent 7 ที่มีการเติบโตสูงกว่า 56% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และบริษัทที่ได้ประโยชน์จากกระแสการพัฒนาโครงสร้างด้าน AI ยังสามารถทำรายได้สูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์และดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ค่อนข้างมาก จึงเป็นปัจจัยหนุนให้กับตลาดโลกในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่า Valuation จะค่อนข้างตึงตัวก็ตาม สำหรับภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมา หลังจากการประชุมของ FED ในครั้งล่าสุด ทำให้ตลาดได้คาดการณ์ว่า การเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยน่าจะชะลอออกไป โดยยังต้องจับตาการชะลอตัวลงของตัวเลขเงินเฟ้อที่มากกว่านี้ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐฯ ในเดือนมกราคมตัวเลขออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ อีกทั้ง ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมมีโมเมนตัมและทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้มีการดีดตัวขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯขึ้นในช่วงสั้นๆ แต่ด้วยพัฒนาการของกำไรในบริษัทจดทะเบียนที่ดีขึ้น ทำให้ตลาดหุ้นไม่ได้ถูกกระทบจากความคาดหวังการลดอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนไปมากนัก ในส่วนตลาดหุ้นไทยในเดือนกุมภาพันธ์ แกว่งตัวอยู่ในกรอบแคบ และยังขาดปัจจัยใหม่ๆ มาขับเคลื่อน โดยจากตัวเลขทางเศรษฐกิจไทยที่ออกมา ไม่ว่าจะเป็น GDP ที่ออกมาในระดับต่ำ เงินเฟ้อไทยที่ยังติดลบอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 4 […]

BBLAM เสนอขาย IPO ‘BP10/24(AI)’ วันที่ 2-7 พ.ค. 2567

BBLAM เสนอขาย IPO ‘BP10/24(AI)’ วันที่ 2-7 พ.ค. 2567

BBLAM เสนอขาย IPO ‘กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 10/24 ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย’ หรือ BP10/24(AI)    ซึ่งเป็นเทอมฟันด์  อายุ  6  เดือน  วันที่  2-7 พฤษภาคม 2567 นี้  ลงทุนขั้นต่ำ  500,000  บาท เป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่มองหาการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่เหมาะสม   รายงานข่าวจาก   บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด   หรือ BBLAM  เปิดเผยว่า  BBLAM  เสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) กองทุนรวมบัวหลวงธนสารพลัส 10/24 ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย หรือ BP10/24(AI) ระหว่างวันที่ 2-7 พฤษภาคม 2567 ประมาณการผลตอบแทน 2.15% ต่อปี โดยเสนอขายในราคา 10 บาทต่อหน่วย  และผู้ลงทุนจะต้องจองซื้อครั้งแรกขั้นต่ำ 500,000 […]