โกลด์แมนแซคส์คาดแบงก์ชาติในเอเชียชะลอหั่นดอกเบี้ย กังวลความเสี่ยงภาษีการค้าสหรัฐฯ

โกลด์แมนแซคส์คาดแบงก์ชาติในเอเชียชะลอหั่นดอกเบี้ย กังวลความเสี่ยงภาษีการค้าสหรัฐฯ

โกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางในเอเชียจะใช้ความระมัดระวังในการผ่อนคลายนโยบายการเงิน เมื่อพิจารณาจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า และความเสี่ยงที่เกิดจากมาตรการภาษีการค้าของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แอนดรูว์ ทิลตัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ฝ่ายกิจการเอเชียแปซิฟิกของโกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้จะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในการประชุมสัปดาห์นี้ ส่วนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซียเตือนว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอยู่ในขอบเขตที่จำกัด เนื่องจากสถานการณ์ด้านการเมืองในสหรัฐฯ “เมื่อพิจารณาจากความเป็นไปได้ที่จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้า และสกุลเงินดอลลาร์ที่เคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดในรอบหลายสิบปี เราคิดว่าจังหวะในการปรับลดจะช้าลงมาก” ทิลตัน กล่าวกับสถานีโทรทัศน์บลูมเบิร์ก “ผมคิดว่าสกุลเงินดอลลาร์มีความสำคัญอย่างมากเช่นกัน เพราะอัตราแลกเปลี่ยนและเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนนั้นมีความสำคัญมากสำหรับธนาคารกลางในเอเชีย” ทั้งนี้ ทรัมป์ได้ขู่ว่าจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 60% นอกจากนี้ เขายังได้เสนอชื่อบุคคลต่างๆ เข้าร่วมคณะรัฐมนตรี ซึ่งรวมถึงการเลือกมาร์โก รูบิโอ ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านจีน ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ และไมค์ วอลซ์ ให้เป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งสัญญาณถึงความพร้อมที่จะเป็นปฏิปักษ์กับจีน นอกจากนี้ ทิลตันคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจีนอาจต้องการรักษาค่าเงินหยวนให้อยู่ในระดับที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพในขณะนี้ แต่เงินหยวนก็มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งแรกของปีหน้าหากสหรัฐฯ บังคับใช้มาตรการภาษีการค้า โดยเขาคาดว่าเงินหยวนจะอ่อนค่าลงสู่ระดับประมาณ 7.50 หยวนต่อดอลลาร์ ที่มา: […]

ราคาอสังหาฯ ในเอเชียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 68 ตลาดฮ่องกงนำขบวนโต 10%

ราคาอสังหาฯ ในเอเชียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 68 ตลาดฮ่องกงนำขบวนโต 10%

บลูมเบิร์ก อินเทลลิเจนซ์ (Bloomberg Intelligence) คาดการณ์ว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักๆ ของเอเชียมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในปีหน้า โดยฮ่องกงจะนำโด่งในด้านการเติบโต ทั้งนี้ นอกจากฮ่องกงแล้ว ราคาที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ก็จะปรับตัวสูงขึ้นเช่นกันในปี 2568 โดยราคาที่อยู่อาศัยในฮ่องกงมีแนวโน้มพุ่งขึ้นสูงถึง 10% ตามด้วยออสเตรเลีย 7% – 8% ขณะที่ สิงคโปร์และญี่ปุ่นคาดว่าจะเติบโตปานกลางที่ 3% และ 2% ตามลำดับ นักวิเคราะห์ของบลูมเบิร์ก บ่งชี้ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผลักดันให้ราคาอสังหาฯ ของฮ่องกงพุ่งสูงขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้ดิ่งลงเกือบ 30% จากระดับสูงสุดในปี 2562 โดยล่าสุด รัฐบาลฮ่องกงได้ผ่อนคลายกฎเกณฑ์ด้านการจำนองโดยลดอัตราส่วนเงินดาวน์ลง ซึ่งเป็นมาตรการที่คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้มีผู้ซื้อเข้าสู่ตลาดมากขึ้น สำหรับออสเตรเลียนั้น ราคาบ้านที่พุ่งขึ้นได้ปัจจัยหนุนจากราคาที่เพิ่มขึ้นในเมืองเพิร์ทและบริสเบนที่คาดว่าราคาบ้านจะเพิ่มขึ้น 15% และ 10% ตามลำดับ หลังจากที่ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในปีนี้ ขณะที่ ราคาอสังหาริมทรัพย์ในซิดนีย์จะเพิ่มขึ้นเพียง 5% เท่านั้น ด้านสิงคโปร์ […]

บลูมเบิร์กชี้เงินบาทอ่อนค่าสุดในเอเชีย เหตุวิตกความเป็นอิสระของแบงก์ชาติ

บลูมเบิร์กชี้เงินบาทอ่อนค่าสุดในเอเชีย เหตุวิตกความเป็นอิสระของแบงก์ชาติ

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานโดยอ้างความเห็นของนักวิเคราะห์ว่า เงินบาทอ่อนค่ามากที่สุด เมื่อเทียบกับบรรดาสกุลเงินของประเทศในเอเชีย เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เงินบาทร่วงลงกว่า 1% แตะที่ระดับ 34.739 บาทต่อดอลลาร์ในวันนี้ (12 พ.ย.) ซึ่งเป็นการอ่อนค่ามากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค.ปีนี้ หลังจากมีข่าวว่า คณะกรรมการสรรหามีมติเลือก นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่ ยูจีเนีย วิกโตริโน หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์เอเชีย ของธนาคาร Skandinaviska Enskilda Banken AB ในสิงคโปร์ กล่าวว่า นักลงทุนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นอิสระของ ธปท.นับตั้งแต่รัฐบาลเพิ่มแรงกดดันให้ ธปท.ปรับลดอัตราดอกเบี้ย และข่าวลือเกี่ยวกับการแต่งตั้งนายกิตติรัตน์ ยิ่งส่งผลให้นักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายมากขึ้น “ตราบใดที่ความเป็นอิสระของ ธปท.ยังคงมีความเสี่ยง นักลงทุนจะยังคงหันไปถือครองสกุลเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับบาทในระยะยาว” วิกโตริโน กล่าว เงินบาทอ่อนค่าลงกว่า 7% ในไตรมาสนี้ ซึ่งทำผลงานย่ำแย่ที่สุดในเอเชีย หลังจากรัฐบาลกดดันให้ ธปท.ปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยแนวโน้มเงินบาทย่ำแย่ลงอีก เมื่อนักลงทุนเริ่มระมัดระวังการซื้อขายสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่ […]

เวิลด์แบงก์เพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชียใต้โต 6.4% ปีนี้ รับดีมานด์อินเดียแกร่ง

เวิลด์แบงก์เพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชียใต้โต 6.4% ปีนี้ รับดีมานด์อินเดียแกร่ง

ธนาคารโลกปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอเชียใต้เป็น 6.4% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ที่ 6.0% โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งภายในประเทศอินเดียและการฟื้นตัวที่รวดเร็วขึ้นในประเทศที่ประสบกับภาวะวิกฤติ เช่น ศรีลังกาและปากีสถาน ธนาคารโลกปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจอินเดียสำหรับปีงบประมาณปัจจุบันที่จะสิ้นสุดในเดือนมี.ค. 2568 ขึ้นเป็น 7% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ในเดือนเม.ย.ที่ 6.6% ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของผลผลิตการเกษตร และการบริโภคของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น มาร์ติน ไรเซอร์ รองประธานธนาคารโลก ประจำภูมิภาคเอเชียใต้ เปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า “คุณมีกลุ่มผู้บริโภคใหม่ในอินเดียซึ่งกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คุณมีการฟื้นตัวจากวิกฤติในศรีลังกาและปากีสถาน นอกจากนี้ คุณยังมีการฟื้นตัวที่นำโดยการท่องเที่ยวในเนปาลและภูฏาน” สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า การปรับเพิ่มคาดการณ์นี้ยืนยันว่า เอเชียใต้เป็นภูมิภาคเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุด โดยธนาคารโลกยังคาดการณ์ด้วยว่า เอเชียใต้จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 6.2% ต่อปีในอีก 2 ปีถัดไป ไรเซอร์ กล่าวว่า “จะมีศักยภาพในการเติบโตที่มากขึ้น” หากประเทศในเอเชียใต้หลอมรวมเข้ากับเศรษฐกิจโลกมากขึ้น แต่ประเทศเหล่านี้จำเป็นต้องยึดมั่นในโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อรักษาแรงขับเคลื่อนดังกล่าว เมื่อวันพุธ (9 ต.ค.) ธนาคารกลางอินเดียยังคงคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไว้ที่ 7.2% สำหรับปีงบประมาณปัจจุบัน และได้ปรับเปลี่ยนจุดยืนไปสู่นโยบายการเงินที่เป็นกลาง ธนาคารโลก […]

สกุลเงินเอเชียทรงตัว หลังดอลลาร์ร่วงระดับสูงสุดใน 3 เดือน ความกลัวในอัตราดอกเบี้ย

สกุลเงินเอเชียทรงตัว หลังดอลลาร์ร่วงระดับสูงสุดใน 3 เดือน ความกลัวในอัตราดอกเบี้ย

สกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่ทรงตัวในวันนี้ เนื่องจากเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงจากระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน แม้ว่าแนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะสูงขึ้นเป็นเวลานานจะยังคงทำให้เทรดเดอร์ไม่มั่นใจ สกุลเงินในภูมิภาคยังคงฟื้นตัวการขาดทุนอย่างหนักในช่วงสามเซสชั่นที่ผ่านมา หลังจากที่รายงานเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งและความคิดเห็นเชิง hawkish จากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ลดเดิมพันเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นโดยธนาคารกลาง แนวโน้มนี้กระตุ้นให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยดอลลาร์ได้ขยับลงจากระดับที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน ดัชนีดอลลาร์ และ ดัชนีดอลลาร์ฟิวเจอร์ส ขยับลงประมาณ 0.1% ในตลาดเอเชีย เนื่องจากตลาดลดเดิมพันการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมและพฤษภาคม สกุลเงินในเอเชียจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับแรงกดดันมากขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ยังคงแข็งแกร่ง อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นของสหรัฐอเมริกาจะลดความน่าดึงดูดของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงและให้ผลตอบแทนสูง ข้อมูล อัตราเงินเฟ้อ ของสหรัฐฯ ประจำเดือนมกราคมที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์หน้า มีโอกาสที่จะเสนอทิศทางของอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ในบรรดาสกุลเงินเอเชีย ดอลลาร์ออสเตรเลีย ขยับขึ้น 0.1% และปรับขึ้นเพิ่มเติมจากเซสชั่นก่อนหน้า หลังจากที่ ธนาคารกลางออสเตรเลีย เตือนว่า อาจจะยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกเมื่อเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่เหนียวแน่น เยนญี่ปุ่น ทรงตัวหลังจากแตะระดับต่ำสุดในรอบหนึ่งเดือนครึ่งเมื่อต้นสัปดาห์นี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับแผนการของธนาคารกลางญี่ปุ่นเกี่ยวกับการเริ่มการกระชับนโยบายมากขึ้น หยวนจีน เคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย และยังตามหลังหุ้นประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพทางเศรษฐกิจของจีนยังคงมีอยู่ แม้ว่าทางการจีนจะประกาศมาตรการหลายอย่างเพื่อสนับสนุนตลาดหุ้นท้องถิ่นในสัปดาห์นี้ แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนักในการรับมือกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ซบเซาในประเทศ ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของจีนประจำเดือนมกราคมจะเผยแพร่ในวันพฤหัสบดี และคาดว่าจะสนับสนุนเงินหยวนได้เพียงเล็กน้อย ข้อมูลนี้ยังเปิดเผยก่อนวันหยุดปีใหม่หรือตรุษจีนที่ยาวนานหนึ่งสัปดาห์อีกด้วย สกุลเอเชียอื่นๆ ส่วนใหญ่ยังคงซื้อขายในกรอบแคบ ดอลลาร์สิงคโปร์ และวอนเกาหลีใต้ ขยับขึ้น 0.1% หลังจากขาดทุนเล็กน้อยในสัปดาห์นี้ รูปีของอินเดียปรับขึ้นก่อนการประชุม RBI การสำรวจจากรอยเตอร์สเห็นความแข็งแกร่งบางส่วน รูปีอินเดีย ขยับขึ้น 0.1% และทะลุขึ้นเกือบถึงระดับ 83 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ […]

ต่างชาติซื้อ “พันธบัตรเอเชีย” เดือน พ.ค.สูงสุดรอบ 2 ปี มูลค่าสุทธิ 1.01 หมื่นล้านดอลล์

ต่างชาติซื้อ “พันธบัตรเอเชีย” เดือน พ.ค.สูงสุดรอบ 2 ปี มูลค่าสุทธิ 1.01 หมื่นล้านดอลล์

ต่างชาติซื้อ “พันธบัตรเอเชีย” เดือน พ.ค.สูงสุดรอบ 2 ปี มูลค่าสุทธิ 1.01 หมื่นล้านดอลล์ ไทยเงินไหลเข้ากว่า 400 ล้านดอลล์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า พันธบัตรเอเชียดึงดูดเงินไหลเข้าของต่างชาติรายเดือนสูงสุดในรอบ 2 ปีในเดือนพฤษภาคม 2566 โดยได้แรงหนุนจากความหวังที่มาตรการคุมเข้มทางการเงินที่เข้มงวดน้อยลงจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ข้อมูลจากหน่วยงานกำกับดูแลและสมาคมตลาดตราสารหนี้ ระบุว่า ชาวต่างชาติซื้อพันธบัตรมูลค่าสุทธิ 1.01 หมื่นล้านดอลลาร์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ และไทย นับเป็นการซื้อรายเดือนที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 Fiona Lim นักยุทธศาสตร์ fx อาวุโสของ Maybank กล่าวว่า “พันธบัตรเอเชียที่ไม่รวมจีน อาจได้ประโยชน์ในขณะที่เฟดใกล้จะสิ้นสุดวงจรที่เข้มงวดขึ้น แม้จะมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยขั้นสุดท้าย” แม้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเบี่ยงเบนไปจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 10 […]

‘ตลาดหุ้นเอเชีย’ เปิดลบ แบงก์ชาติเกาหลีใต้ตรึงดอกเบี้ย

‘ตลาดหุ้นเอเชีย’ เปิดลบ แบงก์ชาติเกาหลีใต้ตรึงดอกเบี้ย

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดลบในวันนี้ (25 พฤษภาคม 2566) ขณะที่ ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.5% ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ ทั้งนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 30,599.27 จุด ลดลง 83.41 จุด หรือ -0.27%, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 18,930.23 จุด ลดลง 185.7 จุด หรือ -0.97% และดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,197.36 จุด ลดลง 7.39 จุด หรือ -0.23% เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในธนาคารกลางแห่งแรกๆ ของเอเชียที่ระงับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่เดือนม.ค. ขณะที่ ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีกำหนดประกาศการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันนี้เช่นกัน […]

เอเชียเติบโตเร็วขึ้น จากจีนเปิดประเทศ

เอเชียเติบโตเร็วขึ้น จากจีนเปิดประเทศ

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank – ADB) มองกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในทวีปเอเชียจะเติบโตเร็วขึ้นในปีนี้ พร้อมปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้ง 46 ประเทศในภูมิภาคมาอยู่ที่ 4.8% อันเป็นผลมาจากการที่จีนกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง จากรายงานการคาดการณ์สภาพเศรษฐกิจฉบับล่าสุดของธนาคารพัฒนาเอเชีย เผยให้เห็นว่า กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย นำโดยประเทศจีน มีแนวโน้มที่จะเติบโตเร็วขึ้นในปี 2566 แม้ว่าบรรยากาศเศรษฐกิจทั่วโลกจะยังคงซบเซาอยู่ก็ตาม ส่วนหนึ่งได้แรงสนับสนุนจากภาวะเงินเฟ้อที่เริ่มอ่อนตัวลง โดยธนาคารฯ คาดการณ์ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้ง 46 ชาติจะอยู่ที่ 4.8% ในปีนี้และปีหน้า ขยับตัวจาก 4.2% เมื่อปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยของทั้งภูมิภาคในปี 2566 จะอยู่ที่ 4.2% ปรับตัวลงเล็กน้อยจาก 4.4% ในปี 2565 ธนาคารพัฒนาเอเชีย มองว่า การที่จีนกลับมาเปิดประเทศ จะเป็นตัวกระตุ้นสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายชาติในเอเชีย โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว นอกจากนี้ จีนยังสามารถจัดการปัญหาเงินเฟ้อได้ดี แม้จะขาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ตาม อีกทั้งความต้องการและอุปทานในจีนก็มีความสมดุล ทำให้ธนาคารฯ เชื่อว่า การเปิดประเทศของจีนจะไม่ส่งผลกระทบต่อปัญหาเงินเฟ้อ […]

IMF มองเศรษฐกิจเอเชียมีโอกาสโตต่อเนื่อง

IMF มองเศรษฐกิจเอเชียมีโอกาสโตต่อเนื่อง

เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เด่นสุด แม้โลกเผชิญภาวะถดถอย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF มองว่าเอเชีย โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจทั่วโลกโดยรวมมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้าก็ตาม เอเชียเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เห็นทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ด้วยความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การที่ธนาคารกลางหลายประเทศประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อสกัดกั้นปัญหาเงินเฟ้อ สงครามในยูเครน หลังจากรัสเซียเข้ารุกรานในเดือนกุมภาพันธ์ และสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในประเทศจีน เนื่องจากการบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เข้มขึ้น ทำให้การฟื้นตัวของชาติในเอเชียชะงักลง อย่างไรก็ตาม ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจฉบับล่าสุด (Asia Sails Into Headwinds From Rate Hikes, War, and China Slowdown) IMF ประเมินว่า เอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่มีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวอยู่ IMF คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก จะขยายตัว 4% ในปีนี้ และ 4.3% ในปี 2566 […]

BBLAM เสนอขายครั้งเดียว ‘ASIATRIGGER’ วันที่ 2-4 ส.ค.นี้ ตอบโจทย์แสวงหาโอกาสรับผลตอบแทนการลงทุน 6% ภายใน 1 ปี

BBLAM เสนอขายครั้งเดียว ‘ASIATRIGGER’ วันที่ 2-4 ส.ค.นี้ ตอบโจทย์แสวงหาโอกาสรับผลตอบแทนการลงทุน 6% ภายใน 1 ปี

BBLAM เสนอขายครั้งเดียวกับกองทุนเปิดบัวหลวงเอเชียทริกเกอร์ หรือ ‘ASIATRIGGER’ ระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม 2565 ตั้งเป้าพิชิตผลตอบแทนลงทุน 6% ภายใน 1 ปี จากการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย โดยมองว่าปัจจัยลบต่างๆ ที่กดดันตลาดหุ้นในเวลานี้ เป็นโอกาสเข้าลงทุนในบริษัทคุณภาพดี นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2565 ตลาดหุ้นหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียปรับตัวลดลงมาพอสมควร ตามตลาดหุ้นทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินเฟ้อและความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอนาคต ทั้งที่ในความเป็นจริง สถานการณ์ของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก รวมไปถึงศักยภาพการบริหารผลประกอบการและกำไรของบริษัทในหลายอุตสาหกรรมที่ยังสามารถขยายตัวได้ จึงมองว่าเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนหุ้นของบริษัทคุณภาพดี แนวโน้มกำไรเติบโตได้ในระยะยาว และยังมีมูลค่าไม่สูงมาก สำหรับประเทศที่น่าสนใจเข้าลงทุน เช่น จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยในส่วนของจีน แม้จะมีการใช้นโยบาย ‘Zero COVID’ ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจในประเทศชะงักงัน แต่สถานการณ์นั้นน่าจะทยอยผ่อนคลายได้มากขึ้นในอนาคต รวมทั้งบริษัทต่างๆ เริ่มสามารถปรับตัวให้เข้ากับต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้นได้ ทางด้านเวียดนามซึ่งตลาดหุ้นปรับตัวลงมามาก […]