ASEAN B-ASEAN B-ASEANRMF Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)
สรุปภาพรวมตลาดหุ้นอาเซียน ภาวะตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากจุดต่ำสุดในกลางเดือนมีนาคม จากความหวังในการค้นพบวัคซีนเพื่อการรักษา COVID-19 และการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในประเทศต่างๆ และปัจจัยสำคัญ คือ นักลงทุนมีความมั่นใจในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของหน่วยงานภาครัฐในหลายประเทศ นำโดยสหรัฐที่ Fed มีนโยบายอัดฉีดสภาพคล่องอย่างไม่จำกัด (QE Infinity) รวมถึงการเข้าซื้อตราสารหนี้เอกชน และการปล่อยกู้ให้กับเอกชนโดยตรง ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว นักลงทุนมองข้ามตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจที่ออกมาไม่ดีนัก รวมถึงข่าวร้าย ๆ ต่าง ไม่ว่าจะเป็น GDP ที่ติดลบในไตรมาส 1 และคาดการณ์ว่าจะติดลบในไตรมาส 2 ตัวเลขคนว่างงานสหรัฐที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สถานการณ์การประท้วงการเหยียดสีผิวในสหรัฐ ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีน เป็นต้น สถานการณ์ในตลาดหุ้นอาเซียน ฟื้นตัวเช่นเดียวกับตลาดหุ้นโลก ปัจจัยการฟื้นตัวของตลาดหุ้นในแต่ละประเทศมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และ ความคืบหน้าของตัวเลขผู้ติดเชื้อในประเทศนั้นๆ โดยตลาดให้มุมมองเชิงบวกกับประเทศที่ภาครัฐมีนโยบายอัดฉีดเงินเข้าระบบอย่างต่อเนื่อง และ ประเทศที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลง ซึ่งแสดงถึงสัญญาณการผ่อนคลายการ Lockdown เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติได้เร็วที่สุด เมื่อพิจารณา Fund Flow ที่เข้าในตลาดอาเซียน ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดอาเซียนรวม –USD […]
B-ASEAN B-ASEANRMF Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)
สรุปภาพรวมตลาดหุ้นอาเซียน ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนอย่างมากในปีนี้ และปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว หลังจากที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จากประเทศจีนกลายเป็นการแพร่ระบาดทั่วโลก แม้ว่าประเทศจีนจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีนกลับมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศอิตาลี เกาหลีใต้ อิหร่าน รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดต่างๆ อยู่ในโหมด Risk-off นักลงทุนขายสินทรัพย์เพื่อถือครองเงินสด จากความกังวลต่อผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจโลก ถึงแม้ว่า Fed มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นการเร่งด่วนลง 2 ครั้ง ครั้งแรกปรับลดลง 0.5% สู่ระดับ 1.00-1.25% และครั้งที่สอง ปรับลดลง 1% สู่ระดับ 0-0.25% และมีมาตรการอัดฉีดเงินเพิ่มเติมด้วยการซื้อคืนพันธบัตร (QE) วงเงิน 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ตลาดยังคงตอบรับในเชิงลบ ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ สะท้อนถึงแนวโน้มความเปราะบางของเศรษฐกิจโลกในช่วงเวลานี้ และอีกหนึ่งปัจจัยหนึ่ง คือ สถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวลงอย่างแรงและรวดเร็ว หลังจากที่ซาอุดิอาระเบียและรัสเซียไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการปรับลดกำลังการผลิตร่วมกันได้ กลายเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามราคาน้ำมันเข้ามาเพิ่มขึ้น ตลาดหุ้นในประเทศอาเซียนเผชิญกับความกดดันอย่างมากในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลง ภาคการส่งออกชะลอตัวจากห่วงโซ่การผลิตของจีน รวมถึงภาคการบริโภคในประเทศชะลอตัวลงจากมาตรการปิดเมืองบางเมืองเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด และวิกฤตการณ์ในครั้งนี้กระทบต่อ […]
ASEAN ASEAN Corner B-ASEAN B-ASEANRMF
ส่องทิศทางเศรษฐกิจอาเซียนปี 2020 ตอน สิงคโปร์
BF Economic Research ปีที่แล้ว สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน มากที่สุดในอาเซียน เพราะมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดในอาเซียน ทำให้ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ปีที่แล้วค่อนข้างซบเซา ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) โต 0.7% เมื่อปลายปี 2019 กองทุนบัวหลวงมองว่าเริ่มเห็นสัญญาณของภาคก่อสร้างและภาคบริการผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ดังนั้นปี 2020 น่าจะมีการฟื้นตัว เศรษฐกิจเติบโตได้สูงกว่าปี 2019 ทั้งนี้ เมื่อมีเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 มา ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ปรับประมาณการจีดีพีลง เดิมมองไว้ 0.5 ถึง 2.5% ก็ปรับเป็น -0.5 ถึง 1% จะเห็นว่า มีการปรับให้ความเสี่ยงด้านขาลงเป็นติดลบของปี 2020 ทำให้กองทุนบัวหลวง มองว่า ปี 2020 จีดีพีสิงคโปร์น่าจะโตได้ 1% จากปีที่แล้วที่ 0.7% คือไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นมามากอย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ตอนแรก จากผลของโควิด-19 เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากติดอันดับ 3 ของโลก ทำให้ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก […]
ASEAN ASEAN Corner B-ASEAN B-ASEANRMF
ส่องทิศทางเศรษฐกิจอาเซียนปี 2020 ตอน ฟิลิปปินส์
BF Asean Corner ปี 2019 ถือว่าฟิลิปปินส์มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น เมื่อเทียบปี 2018 แต่เนื่องจากมีประเด็นความล่าช้าในการอนุมัติงบประมาณปี 2019 เลยทำให้เรื่องงบประมาณเป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ปี 2019 ไว้ เมื่อมองที่นโยบายการคลังของฟิลิปปินส์ ปีนี้ถือเป็นธีมหลัก เพราะการใช้จ่ายภาครัฐจะกลับมาเติบโตดี โดยงบประมาณปี 2020 มีการอนุมัติไปปลายปีที่แล้ว เมื่อรวมกับงบประมาณปี 2019 ที่ยังเหลืออยู่ จากการอนุมัติงบล่าช้า ทำให้ปีนี้มีงบประมาณเสริมเข้ามาค่อนข้างมาก เป็นตัวที่รัฐบาลนำมากระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี จึงมองว่า ปี 2020 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์น่าจะเติบโตดีขึ้นเทียบปี 2019 ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ มีโครงการชื่อว่า “Build, Build, Build” ซึ่งเราพูดกัน 2-3 ปีแล้ว เพราะโครงการนี้ออกมาตั้งแต่ปี 2017 แต่โครงการล่าช้าค่อนข้างมาก โดยตอนแรกมีถึง 75 โครงการ แต่ที่ทำแล้วเสร็จมีเพียง 2 โครงการ จะเห็นว่าเปอร์เซ็นต์ที่ทำได้เสร็จมีน้อยมาก ทำให้รัฐบาลต้องกลับมาทบทวนและแก้กระบวนการต่างๆ […]
ASEAN B-ASEAN B-ASEANRMF Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)
สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนในช่วง ต.ค. 2019 ในช่วงเดือน ต.ค. ต่อมาถึงเดือน พ.ย. บรรยากาศการลงทุนทั่วโลกผ่อนคลายมากขึ้น จากปัจจัยความเสี่ยงต่างๆที่ตลาดจับตามองนั้น มีพัฒนาการออกมาในเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ที่ใกล้จะบรรลุข้อตกลงเฟสแรกร่วมกันได้ รวมถึง Brexit ที่สามารถเลื่อนกำหนดเส้นตายออกไปได้อีก 3 เดือน และอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ การผ่อนคลายของนโยบายการเงินจากธนาคารกลางทั่วโลก โดยเฉพาะ FED ที่ในปีนี้ได้ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้วถึง 3 ครั้ง ท่ามกลางความเสี่ยงจากพัฒนาการเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันเงินเฟ้อที่อ่อนแอ ด้านตลาดหุ้นอาเซียน ในเดือน ต.ค. เมื่อพิจารณาจากดัชนี MSCI AC ASEAN Index กลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ +2.35% เมื่อเทียบรายเดือน นำโดยตลาดหุ้นสิงคโปร์ที่ +3.5% ด้วยสถานการณ์เรื่องการค้าโลกที่ดีขึ้น รองลงมาได้แก่ ฟิลิปปินส์ที่ +2.6% หนุนโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงรวมถึงปรับลดอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง (RRR) ของธนาคารพาณิชย์ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นอาเซียนในเดือน […]
ASEAN ASEAN Corner B-ASEAN B-ASEANRMF
เศรษฐกิจเวียดนามยังเติบโตดี แล้วเหตุใดเวียดนามจึงลดดอกเบี้ย ?
BF Asean Corner ธนาคารกลางเวียดนาม เพิ่งประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% นับเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี สร้างความเซอร์ไพร์สให้กับตลาด เนื่องจากไม่มีใครคาดคิดว่าเวียดนามจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพราะเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดีอยู่ หากถามเหตุผลว่า ทำไม เวียดนามจึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก 6.25% เป็น 6% มีอยู่ 2 เหตุผลหลัก ได้แก่ 1.เศรษฐกิจโลกชะลอตัว จึงต้องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อพยุงเศรษฐกิจในประเทศเอาไว้ 2.ขณะนี้อยู่ในวงจรที่ธนาคารกลางทั่วโลกต่างกลับมาปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง ทำให้เวียดนาม ไม่ต้องการ behind the curve หรือปรับดอกเบี้ยช้าเกินไป จึงเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามเช่นกัน ทั้งนี้ มี 2 ปัจจัยสนับสนุนให้เวียดนามสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ โดยปัจจัยแรก ก็คือ อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก คือ ต่ำกว่า 3% อีกปัจจัยคือ ค่าเงินดองค่อนข้างมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา เวียดนามเป็นประเทศที่ใช้นโยบายการเงินต่างจากประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ที่จะใช้การเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยเป็นหลักเพื่อไปกระทบกับอัตราเงินเฟ้อ อย่างเช่น ไทย อินโดนีเซีย […]
B-ASEAN B-ASEANRMF Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)
สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนในช่วง ส.ค. 2019 ตลาดการเงินโลกผันผวนในเดือน ส.ค. โดยตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงในช่วงต้นเดือนจากความผิดหวังที่ธนาคารกลางสหรัฐ ไม่ได้ส่งสัญญาณการลดดอกเบี้ยแบบต่อเนื่อง และความกังวลต่อการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ที่สะท้อนผ่านตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่ออกมาอ่อนแอลง ในด้านสงครามการค้านั้น ยกระดับความรุนแรงขึ้นจากการที่ทรัมป์เดินหน้าขึ้นภาษีบนสินค้านำเข้าจากจีน แม้ว่าจะมีการเลื่อนการขึ้นภาษีบางส่วนจากเดือน ก.ย. ไปเป็นเดือน ธ.ค. และจีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าสหรัฐฯกว่า 5,000 รายการ เช่นเดียวกัน สงครามการค้าที่ดำเนินไปนั้น ในด้านหนึ่งทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มที่จะส่งสัญญาณชะลอลงบ้าง เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต อยู่ที่ 50.3 ต่ำสุดในรอบ 10 ปี เป็นต้น และอาจเริ่มส่งผลต่อคะแนนเสียงมากขึ้นต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีของทรัมป์ในปีหน้า ทำให้ทรัมป์มีท่าทีที่พร้อมเจรจามากขึ้น ในด้านของตลาดหุ้นอาเซียน หลังจากปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นปี 2019 ดัชนี MSCI AC ASEAN Index ในช่วงเดือน ส.ค. ปรับลดลงเฉกเช่นเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยตลาดหุ้นสิงคโปร์ปรับตัวลงมากที่สุดที่ -5.9% ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจจีนกับการผลิตและการส่งออกของของสิงคโปร์อยู่ในระดับค่อนข้างสูงรวมถึงรัฐบาลสิงคโปร์ประกาศปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้ลง รองลงมาได้แก่ตลาดหุ้นไทยที่ปรับลง -3.3% […]
ASEAN Corner B-ASEAN B-ASEANRMF
เจาะลึกแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอินโดนีเซียของ โจโควี ประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ผ่านร่างงบประมาณปี 2020
โจโค วิโดโด หรือโจโควี ประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ของอินโดนีเซีย จะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือน ต.ค. นี้ ซึ่งเขาเสนอร่างแผนงบประมาณประจำปี 2020 มูลค่า 2,500 ล้านล้านรูเปียห์ ไปเมื่อวันที่ 16 ส.ค. ที่ผ่านมา งบนี้จะอนุมัติในเดือน ต.ค. มีเป้าหมายหลักเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจอินโดนีเซีย สำหรับการดำเนินงานของโจโควีในสมัยที่ 2 นี้ ยังเน้นเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเช่นเดียวกับช่วงที่เป็นประธานาธิบดีสมัยแรก แต่เพิ่มเรื่องการพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพมากขึ้นเข้าไป เพื่อสนับสนุนการผลิตอุตสาหกรรมในประเทศให้เติบโต ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศให้เข้ามามากขึ้น นอกจากนี้โจโควีมีนโยบายปฏิรูปภาษี โดยภาษีสำคัญอย่างหนึ่งคือ ภาษีรายได้นิติบุคคล ที่จะลดลงจาก 25% เหลือ 20% เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาค ประเด็นเหล่านี้ให้ประโยชน์กับภาคธุรกิจใดบ้าง ติดตามได้จากคลิปวิดีโอนี้
สิ้นสุดดอกเบี้ยขาขึ้น เฟดส่งซิกผ่อนคลายนโยบายการเงิน คาดอาเซียนดำเนินรอยตาม
BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้มีท่าทีผ่อนคลายในการดำเนินนโยบายทางการเงินมากขึ้น ทำให้ตลาดคาดการณ์กันว่าอาจสิ้นสุดรอบอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นแล้ว ขณะที่แนวโน้มของธนาคารกลางแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียนน่าจะดำเนินรอยตาม ด้วยการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเช่นเดียวกับเฟด ส่วนรายละเอียดของแต่ละประเทศอาเซียนจะเป็นอย่างไร สามารถรับฟังความคิดเห็นของ Macro Analyst ของกองทุนบัวหลวงได้ในคลิปวิดีโอนี้
ASEAN ASEAN Corner B-ASEAN B-ASEANRMF
เศรษฐกิจอาเซียนในระยะข้างหน้าน่าจะเร่งขึ้นจากแรงส่งของอุปสงค์ภายในประเทศ
BF Asean Corner ผ่านมาเกือบครึ่งปีแล้วสำหรับปี 2019 สำหรับเศรษฐกิจของอาเซียนในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ยังคงมีโมเมนตัมที่สามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง ซึ่งเศรษฐกิจของอินโดนีเซียและมาเลเซียขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมาเล็กน้อย แต่นับว่าดูดีเลยทีเดียวท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวนในขณะนี้ ขณะที่เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์และสิงคโปร์จะขยายตัวได้น่าผิดหวังเล็กน้อย แต่ก็มีปัจจัยเฉพาะที่สามารถอธิบายได้คือ ฟิลิปปินส์เป็นผลจากความล่าช้าในการผ่านร่างนโยบายงบประมาณ สำหรับสิงคโปร์เนื่องจากเป็นประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก ก็ย่อมได้รับผลกระทบจากประเด็นกีดกันทางการค้า รวมถึงเป็นผลของฐานที่สูงของช่วงเดียวกับของปีที่ผ่านมาอีกด้วย แต่อย่างหนึ่งที่เหมือนกัน คือปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เศรษฐกิจอาเซียนในไตรมาสแรกของปี สามารถทำให้เติบโตได้ดี คืออุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง ขณะที่ การบริโภคภาครัฐบาลในบางประเทศ และการลงทุนในทุกประเทศอาเซียนยังไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าที่ควร สำหรับในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจของประเทศอาเซียนน่าจะขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสแรก โดยมีปัจจัยสนับสนุน อย่างแรกคือการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ หลังการเลือกตั้งของอินโดนีเซียท่ามกลางชัยชนะของโจโควีที่ได้ก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ที่เพิ่งผ่านพ้นการเลือกตั้งกลางเทอมเมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งพรรคของรัฐบาลภายใต้การนำของดูเตอร์เต้ได้กวาดชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ ความต่อเนื่องนโยบายของรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศที่เน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานน่าจะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณมีประสิทธิภาพ ขณะที่รัฐบาลมาเลเซียภายใต้การนำของมหาเธร์ ก็น่าจะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการทบทวนนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ อันที่ 2 คือ การลงทุนภาคเอกชน ซึ่งความเชื่อมั่นของนักลงทุนหลังการเลือกตั้งของประเทศอาเซียนซึ่งมีเสถียรภาพ จะส่งผลให้การลงทุนเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ การลงทุนภาคการก่อสร้างของสิงคโปร์ที่มีทิศทางที่ฟื้นตัวขึ้นตัวอย่างต่อเนื่องจากการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อดึงดูดการลงทุน อีกอันที่สำคัญคือการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลง โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งประเทศที่ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วคือมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนอินโดนีเซียก็มีแนวโน้มที่จะปรับลดเช่นกัน ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นอีกหนึ่งแรงส่งสำคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านต้นทุนทางการเงินที่ลดลง […]