กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

Highlight ในรายประเทศ กองทุนมีมุมมองบวกต่อเวียดนาม จึงให้น้ำหนักมากกว่า Benchmark มากที่สุด ไตรมาส 1/2022 กองทุนได้ทยอยเพิ่มน้ำหนักในสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ขณะที่ลดน้ำหนักในฟิลิปปินส์ เนื่องจากจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากราคาน้ำมันโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ขาดทุนดุลบัญชีเดินสะพัด ปี 2022 อาเซียนน่าจะมีการฟื้นตัวจากการเปิดเมือง และสัดส่วนการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับภาคการส่งออกซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของอาเซียน การรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเริ่มเห็นผลชัดเจนในไตรมาส 3 อีกทั้งยังได้รับประโยชน์จากเงินลงทุนไหลเข้า โดยเฉพาะไทย อินโดนีเซีย และเวียดนามด้วย อย่างไรก็ตามประเด็นความขัดแย้งระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครนยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกรวมทั้งอาเซียน  พอร์ตการลงทุน ในช่วงปลายปี 2021 กองทุนมีน้ำหนักในกลุ่มธนาคารมากกว่า Benchmark ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อกองทุนในช่วงปีที่แล้ว เพราะราคาหุ้นกลุ่มนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผู้จัดการกองทุนเริ่มขายทำกำไรกลุ่มธนาคารในช่วงไตรมาส 1/2022 เพื่อลดผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ด้านรายประเทศ กองทุนมีมุมมองบวกต่อเวียดนาม จึงให้น้ำหนักมากกว่า Benchmark มากที่สุด ไตรมาส 1/2022 กองทุนได้ทยอยเพิ่มน้ำหนักในสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ขณะที่ลดน้ำหนักในฟิลิปปินส์ เนื่องจากจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากราคาน้ำมันโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ขาดทุนดุลบัญชีเดินสะพัด มุมมองในอนาคต ผลกระทบต่อการขาดแคลนสินค้า ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นส่งผลลบต่ออาเซียนโดยรวม เพราะอาเซียนมีการนำเข้าน้ำมันสุทธิ  […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

Highlight ภาวะตลาดโดยรวมมีความผันผวนจากความกังวลเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการลดขนาดงบดุล มีแรงขายทากาไรในหุ้นเทคโนโลยีของตลาดหุ้นทั่วโลก รวมการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกสาหรับอาเซียน คือ ประเทศส่วนใหญ่กาลังฟื้นตัวหลังจากกระบาดในปี 2021 มุมมองต่อตลาดหุ้นอาเซียนปี 2022 มีแนวโน้มเชิงบวก ได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศ การส่งออกจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ เงินเฟ้อในแต่ละประเทศอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ภาพรวมตลาด ผลตอบแทนของตลาดหุ้นในกลุ่มอาเซียนปี 2021 ตลาดหุ้นเวียดนามให้ผลตอบแทนดีที่สุด 43.4% ตามด้วย ไทย 14.4% อินโดนีเซีย 10.1% สิงค์โปร์ 9.8% และมีเพียง 2 ตลาดที่ผลตอบแทนติดลบ ได้แก่ มาเลเซีย -3.7% และ ฟิลิปปินส์ -0.2% ในช่วงเดือนแรกของปี 2022 ผลตอบแทนของตลาดในกลุ่มอาเซียนปรับตัวผสมผสานกัน ตั้งแต่ต้นปีถึง 31 ม.ค. 2022 ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4% ตามด้วยฟิลิปปินส์ 3.4% อินโดนีเซีย 0.8% และตลาดที่ปรับตัวลงมากที่สุด […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

Highlight ผลตอบแทนของตลาดในกลุ่มอาเซียนตั้งแต่ต้นปีถึง 21 ก.ย. 2564  ตลาดหุ้นเวียดนามให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด +21.78% ตามด้วยไทย +11.35% สิงคโปร์ +7.71% และ อินโดนีเซีย +2.13% ส่วนประเทศที่ให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงมากที่สุด คือ มาเลเซีย -6.26% และฟิลิปปินส์ -3.13% ผู้จัดการกองทุนมีการลงทุนใน SEA Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Shopee ที่เป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ขนาดใหญ่ บริษัทได้ประโยชน์จากการที่จะถูกรวมในดัชนี MSCI ASEAN และ MSCI Singapore ธีมการลงทุนที่เกี่ยวกับการเปิดเมืองยังคงมีความน่าสนใจในระยะต่อจากนี้จนถึงปีหน้า และคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งในปีหน้าเช่นกัน ภาพรวมตลาด ผลตอบแทนของตลาดในกลุ่มอาเซียนตั้งแต่ต้นปีถึง 21 ก.ย. 2564  ตลาดหุ้นเวียดนามให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด +21.78% ตามด้วยไทย +11.35% สิงคโปร์ +7.71% และ อินโดนีเซีย +2.13% ส่วนประเทศที่ให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงมากที่สุด คือ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

Highlight ตลาดหุ้นอาเซียนได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิดรอบใหม่ และดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวในทิศทางแตกต่างกันไป  ผลตอบแทนของตลาดในกลุ่มอาเซียนตั้งแต่ต้นปีถึง 31 พฤษภาคม 2564  ตลาดหุ้นเวียดนามให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด +19.62% ตามด้วยตลาดหุ้นสิงค์โปร์ +11.27% และไทย +9.15% ส่วนประเทศที่ให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงมากที่สุด คือ ฟิลิปปินส์  -6.96% มาเลเซีย -3.04% และ อินโดนีเซีย -1.95% ผู้จัดการกองทุนยังคงให้น้ำหนัการลงทุนในเวียดนามมากกว่าดัชนีชี้วัด การเปิดประเทศของอาเซียนคาดว่าจะเลื่อนออกไปเป็นปี ค.ศ.2022 และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจน่าจะเป็นปี ค.ศ.2022 เช่นกัน ยกเว้นสิงคโปร์และเวียดนามที่จะฟื้นตัวก่อนประเทศอื่น  อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น และประเทศที่เป็นผู้ส่งออกมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เช่น ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม และ มาเลเซีย ภาพรวมตลาด ตลาดหุ้นอาเซียนได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิดรอบใหม่ และดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวในทิศทางแตกต่างกันไป  ผลตอบแทนของตลาดในกลุ่มอาเซียนตั้งแต่ต้นปีถึง 31 พฤษภาคม 2564 ตลาดหุ้นเวียดนามให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด +19.62% ตามด้วยตลาดหุ้นสิงค์โปร์ +11.27% […]

วิธีลงทุนของ FIF เดี๋ยวนี้แตกต่างจากยุคเริ่มแรกอย่างไร

วิธีลงทุนของ FIF เดี๋ยวนี้แตกต่างจากยุคเริ่มแรกอย่างไร

สรุปความ เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน แต่เดิมกองทุนที่ไปลงทุนยังต่างประเทศ หรือ FIF  นั้นไม่สามารถจัดตั้งได้อย่างอิสระเหมือนปัจจุบัน เนื่องจากในช่วงหนึ่งมีการควบคุมเงินทุนไหลเข้าไหลออกของประเทศ โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เป็นผู้ทำหน้าที่กำหนดว่า ในช่วงเวลานั้นจะเปิดวงเงินให้สามารถนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศได้ในระดับใด ต่อมาเมื่อเสถียรภาพทางการเงินของประเทศดีขึ้น ประกอบกับโอกาสการลงทุนที่เปิดกว้างขึ้น จึงมีการอนุญาตให้นำเงินจากประเทศไทยไปลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น และเป็นอิสระอย่างเช่นที่เห็นกันในปัจจุบัน ทั้งนี้ ย้อนกลับไปในช่วงแรกที่มีการจัดตั้งกองทุน FIF จะมีรูปแบบหลักๆ คือ บริษัทจัดการจะเลือกกองทุนต่างประเทศที่น่าสนใจ จากนั้นก็จัดตั้งกองทุนรวมในไทยเพื่อไปลงทุนในกองทุนนั้น หรือเรียกว่า Feeder fund ตามประเทศหรือภูมิภาคที่ได้เลือกไว้ ต่อมารูปแบบของ Theme การลงทุนเริ่มน่าสนใจมากขึ้น กล่าวคือ กองทุนจะไม่เน้นว่าจะลงทุนในประเทศ หรือภูมิภาคใด แต่เลือกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม หรือแนวคิดอื่นๆ เช่น เกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งกองทุนบัวหลวงก็มีการจัดตั้ง  กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) เป็นกองทุนตาม Theme กองแรกของกองทุนบัวหลวง และปัจจุบันเราจะเห็นกองทุนที่มีลักษณะของ Theme การลงทุนมากขึ้น ทั้งนี้ นอกเหนือจากกองทุน FIF ที่เป็นรูปแบบ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

Highlight ผู้จัดการกองทุนเพิ่มน้ำหนักหุ้นวัฏจักร (Cyclical) ได้แก่ กลุ่มธนาคาร และกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ รวมทั้งกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศ เช่น กลุ่มโรงแรมและสนามบิน ด้านรายประเทศ ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกกับเวียดนามและเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในเวียดนาม ปีที่แล้วเป็นปีที่หุ้นเทคโนโลยีมีผลการดำเนินงานโดดเด่น ในขณะที่หุ้นวัฏจักรไม่ได้รับการสนใจ ซึ่งในปีนี้จะเห็นภาพย้อนกลับเมื่อนักลงทุนหันมาสนใจหุ้นมูลค่าและวัฏจักร  (Value and Cyclical) จากการกระตุ้นทางการคลังอย่างมากจากรัฐบาลทั่วโลก ความคาดหวังของเงินเฟ้อจึงเพิ่มสูงขึ้น สินค้าโภคภัณฑ์ได้รับประโยชน์จากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และธนาคารจะได้รับประโยชน์จากผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้น เงินลงทุนต่างประเทศออกจากหุ้นอาเซียนอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา  หากตลาดอาเซียนมีเสถียรภาพมากขึ้นอาจเป็นปัจจัยบวกให้เงินทุนไหลกลับเข้ามาได้

ปีทองของอุตสาหกรรมถุงมือยาง

ปีทองของอุตสาหกรรมถุงมือยาง

โดย…เจฟ  สุธีโสภณ กองทุนบัวหลวง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผลประกอบการของธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนัก แต่ในทางตรงกันข้าม กลับเป็นปีทองของอุตสาหกรรมผู้ผลิตถุงมือยาง เพราะนับเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ใช้สำหรับการรับมือต่อสู้กับโรคระบาดชนิดนี้ ทั้งนี้ การระบาดที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ความต้องการใช้ถุงมือยางอยู่ในวัฎจักรขาขึ้น และส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลระหว่าง Demand และ Supply อย่างรุนแรง สนับสนุนให้ยอดขายและกำไรของธุรกิจปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ยอดคำสั่งซื้อปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวไปจนถึงสิ้นปี 2564 ซึ่งหมายความว่า ต้องใช้ระยะเวลา (Lead Time) หลังจากสั่งซื้อถึง 16-22 เดือนจนกว่าจะได้รับของ เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการเกิดโรคระบาดที่ใช้เวลาเพียงแค่ 2 เดือนเท่านั้น ทั้งนี้ 70% ของกำลังการผลิตถุงมือยางทั่วโลกหรือกว่า 220,000 ล้านชิ้นต่อปี มาจากผู้ผลิตถุงมือยางอันดับใหญ่สุด 5 อันดับแรกของโลก ซึ่งทั้ง 5 รายนี้ล้วนอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ประกอบด้วย Top Glove, Hartalega, Supramax และ Kossan จากประเทศมาเลเซียและ Sri Trang จากประเทศไทย […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

Key Takeaways ตลาดหุ้นอาเซียนปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยได้แรงหนุนจากปัจจัยบวกหลายประการ ได้แก่ ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างไม่เป็นทางการ คือ นายโจ ไบเดน ทำให้ลดความเสี่ยงการค้าระหว่างประเทศลง ความคืบหน้าของวัคซีนโควิด-19 ที่คาดว่าจะใช้ได้ในกลางปีหน้า (อินโดนีเซียจะเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ใช้วัคซีนในปีนี้) และ นโยบายการเงินการคลังที่ผ่อนคลายของประเทศในอาเซียนยังคงมีต่อเนื่อง นอกจากนี้การอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐเป็นปัจจัยทำให้ตลาดหุ้นอาเซียนน่าสนใจมากขึ้นด้วย ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน มีเงินทุนไหลเข้าตลาดอาเซียน เนื่องจากที่ผ่านมาหุ้นอาเซียนถูกเทขายไปมาก ประกอบกับการที่นักลงทุนทั่วโลกย้ายเงินลงทุนจากหุ้นเติบโตมายังหุ้นคุณค่า (Sector Rotation) ยิ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินไหลเข้ามากขึ้น เพราะส่วนใหญ่หุ้นในอาเซียนเป็นหุ้นคุณค่า เช่น สถาบันการเงิน และ พลังงาน  โดยเงินทุนไหลเข้าในตลาดไทยและอินโดนีเซียมากที่สุด แนวโน้มตลาดหุ้นอาเซียน อาจมีความผันผวนได้ในระยะสั้น แต่มองภาพรวมแล้วยังมีแนวโน้มเชิงบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีผลจากการนำวัคซีนมาใช้ในปีหน้า โดยประเทศที่พึ่งพิงการท่องเที่ยวจะได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศให้สามารถเดินทางได้มากขึ้น ได้แก่ ไทยและสิงคโปร์ ในขณะที่ประเทศที่พึ่งพาการบริโภคในประเทศจะมีบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยในประเทศมากขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซียและมาเลเซีย เวียดนามเป็นตลาดที่โดดเด่นมากในปีนี้  ทั้งในด้านเศรษฐกิจพื้นฐานและตลาดหุ้น กล่าวคือเศรษฐกิจเวียดนามได้รับผลกระทบจากน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เพราะมีการควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี และเศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกชิ้นส่วนโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ในสัดส่วนที่สูง และมีตลาดส่งออกกระจายตัวทั่วโลก จึงได้รับผลบวกจากการ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

Key Takeaways ผลการดำเนินงานของตลาดอาเซียนเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นแล้วทำได้ไม่ดีนัก เนื่องจากอาเซียนมีหุ้นในกลุ่ม Old Economy เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ธนาคาร พลังงาน และสื่อสาร ในขณะที่นักลงทุนให้ความสนใจกับ New Economy ที่เป็น Technology ของตลาดที่พัฒนาแล้วมากกว่า ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองบวกต่ออินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เพราะเป็นประเทศที่มีศักยภาพการเติบโตที่ดีในระยะยาว  ปัจจัยบวกตลาดอาเซียน ได้แก่ ความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนที่คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ในปลายปีนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เข้าสู่สภาวะปกติมากขึ้นจากการผ่อนคลายการ Lockdown ในหลายประเทศ และนโยบายการเงินการคลังที่ผ่อนคลาย ปัจจัยเสี่ยงของตลาดอาเซียน ยังคงเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดว่าหากยืดเยื้ออาจมีผลกระทบต่อการปรับลดคาดการณ์ GDP ในปี 2021 และ ข้อจำกัดด้านการใช้งบประมาณขาดดุลอย่างต่อเนื่องของแต่ละประเทศ 

ธุรกิจร้านอาหารในอาเซียนกับจุดเปลี่ยนหลัง Covid-19

ธุรกิจร้านอาหารในอาเซียนกับจุดเปลี่ยนหลัง Covid-19

    การเข้ามาของการจัดส่งอาหารออนไลน์ผ่าน Application บนมือถือในตลาดผู้บริโภคอาเซียนนั้น มีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวงการอาหารในช่วงที่ผ่านมา เป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าจะเร่งตัวมากขึ้นในช่วงระยะหลังๆ แต่เหตุการณ์ล็อกดาวน์ในประเทศต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ได้ทำให้ผู้บริโภคแทบทุกคน จำเป็นที่จะต้องรู้จักกับการใช้บริการจัดส่งอาหารออน์ไลน์นี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่ร้านอาหารเองก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัวในทันที โดยร้านที่ยังไม่เคยขายผ่านออนไลน์ก็ต้องเรียนรู้วิธีการใช้เช่นกัน สถานการณ์ดังกล่าวเปรียบเสมือนการเร่งเวลาไปข้างหน้า ราว 1-2 ปี มาในวันที่ Platform ต่างๆ มีร้านอาหารให้เลือกมากมาย ซึ่งทำให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบาย มีตัวเลือกมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาด้วยก็คือ การแข่งขันที่สูงขึ้นในธุรกิจร้านอาหาร การแข่งขันจากทางด้านผู้ให้บริการ Food Apps ก็ยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง ที่ผ่านมาจะเห็นผู้เล่นรายใหม่พยายามเข้ามาในตลาด แต่ผู้เล่นที่ยังเป็นผู้นำอยู่ในหลายตลาดอยู่คงหนีไม่พ้น Gojek และ Grab เนื่องจากมีจุดแข็งจากฐานผู้ใช้ในการบริการรถรับส่ง (Ride-sharing) โดย GoJek Startup จากอินโดนีเซียนั้น มีผู้ถือหุ้น ได้แก่ Tencent และ Google ในขณะที่ Grab จากสิงคโปร์นั้น […]