5 ข้อสงสัย สำหรับมือใหม่ ลงทุนกองทุนรวม
โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® เอ๊ะๆๆๆ มือใหม่สงสัยอะไรเกี่ยวกับกองทุนรวมกันบ้าง แล้วเราล่ะ ยังสงสัยกันอยู่มั้ย งานนี้ไม่ว่ามือเก่า หรือมือใหม่ที่จะลงทุนในกองทุนรวม ก็ยังติดความสงสัยกับบางเรื่องอยู่ วันนี้มาดูกันค่ะว่ามีความสงสัยเรื่องอะไรกันบ้าง 1.ไม่เคยลงทุนเลย จะลงทุนในกองทุนได้ไหม? ลงทุนในกองทุนได้เลยค่ะ แม้ว่าจะไม่เคยลงทุนในอะไรมาก่อนเลย แค่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ มีเงินลงทุน มีบัตรประชาชน มีบัญชีเงินฝาก ถ้ายังไม่มีบัญชีเงินฝากก็เปิดบัญชีเงินฝากก่อนเลย นอกจากนี้ แนะนำว่า ควรมีความรู้เรื่องกองทุนมาบ้างแล้ว ว่ากองทุนรวมคืออะไร มีความแตกต่างกันยังไง ต้องดูตรงไหน แล้วนโยบายกองทุนที่เราสนใจลงทุนว่าเขาจะเอาเงินเราไปลงทุนในอะไร มีนโยบายจ่ายเงินปันผลไหม เพราะคนส่วนใหญ่ชอบคิดว่าถ้ามีกำไรกองทุนจะจัดการให้เรา ต้องบอกว่าไม่ใช่ค่ะ ถ้ากองทุนมีกำไรมูลค่าของเขาจะแสดงออกมาให้เห็นเอง นั่นก็คือ NAV (มูลค่าหน่วยลงทุนต่อหน่วย) แต่ถ้าเราอยากให้กองทุนจัดการให้เราบ้างในกรณีที่มีกำไร เราก็ต้องเลือกกองทุนที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ เมื่อกองทุนมีกำไรก็จะดูว่ากำไรมากพอตามที่แจ้งไว้มั้ย ถ้าเพียงพอก็จะจ่ายเงินปันผลออกมา พอให้พวกเราใจชื้นขึ้นมานิดๆ หน่อยๆ 2.กองทุนมีเยอะเหลือเกิน แล้วจะรู้ได้ไงว่ากองไหนดี ดีไม่ดี ขึ้นอยู่กับว่าถูกใจเราหรือเปล่า ตรงใจเราแค่ไหน เพราะบางทีตรงใจคนอื่นแต่ไม่ตรงใจเราก็บอกว่าไม่ดีแล้ว หรือที่ว่าดีคือกองทุนที่ลงทุนแล้วได้กำไรเยอะๆ จ่ายปันผลเยอะๆ […]
วัยทำงานกับการวางแผนภาษี
โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM กองทุนบัวหลวง ช่วงไตรมาสสุดท้ายของทุกปี คือ ช่วงเวลาของการวางแผนภาษี โดยวัยทำงานที่มีรายรับรวมกันทั้งปีได้ 319,001 บาท เฉลี่ยต่อเดือน 26,584 บาท ก็ต้องเริ่มใส่ใจเรื่องการวางแผนภาษีกันได้แล้ว โดยสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องรู้ก็คือ ความหมายของคำว่า “เงินได้พึงประเมิน” และ “เงินได้สุทธิ” “เงินได้พึงประเมิน” คือ รายได้ทั้งหมดของเราที่ได้รับมาตลอดในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนคอมมิชชั่น โอที โบนัส โดยเป็นรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ ตามที่สรรพากรกำหนด เช่น ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนส่วนตัว เงินประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฯลฯ ส่วนรายได้ที่เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ จะเรียกว่า “เงินได้สุทธิ” ซึ่งเราจะนำเงินได้สุทธินี้มาคำนวณภาษีตามอัตราขั้นบันได การคิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีรายการหักค่าใช้จ่าย และรายการหักค่าลดหย่อน โดยความแตกต่างของทั้ง 2 รายการนี้คือ รายการหักค่าใช้จ่ายจะเป็นสิทธิตามหมวดของรายได้ เช่น พนักงานประจำมีรายได้ตามมาตรา 40(1) หักค่าใช้จ่ายเหมา 50% ของรายได้ทั้งปีแต่ไม่เกิน 100,000 […]
B-LTF B-TOPTENLTF BBASICDLTF BF Knowledge Center BLTF75
อยากซื้อกองทุน LTF ที่กลับมาขายอีกครั้งต้องทำยังไง
“การลงทุนใน LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้” โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน สรุปประเด็นสำคัญ กองทุน LTF 4 กองทุนของกองทุนบัวหลวง กลับมาเสนอขายอีกครั้งในรูปแบบกองทุนรวมทั่วไปที่นักลงทุนสามารถซื้อขายได้โดยไม่ติดข้อจำกัดและเงื่อนไขเรื่องการถือครอง เนื่องจากผู้ลงทุนไม่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว เหมาะสำหรับผู้ต้องการลงทุนต่อเนื่องในกองทุนเหล่านี้ โดยกองทุนบัวหลวง ได้แยกระบบการลงทุนในกองทุนนี้ออกมาชัดเจนระหว่างเงินลงทุนที่ลงทุนก่อนปี 2563 ที่ได้สิทธิทางภาษีและส่วนที่ลงทุนตั้งแต่ปี 2563 ที่ไม่ได้สิทธิทางภาษี โดยใช้คนละเลขที่บัญชีผู้ถือหน่วย เพื่อป้องกันการสับสน กองทุน LTF 4 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว (B-LTF) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 (BLTF75) กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF) และกองทุนเปิดบัวหลวงทศพลหุ้นระยะยาว (B-TOPTENLTF) LTF ทั้ง 4 กองทุนนี้ ไม่สามารถนำเงินลงทุนมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้แล้วตั้งแต่ปี […]
4 เหตุผลหลักที่หลัก 4 ต้องลงทุนใน RMF
โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® ใครที่เลย 3 ย่านมาระยะหนึ่งแล้วและตอนนี้กำลังเข้าสู่หลัก 4 ต้องคิดถึงการลงทุนในกองทุนรวม RMF กันแล้วแน่ๆ โดยเฉพาะคนที่เลยหลัก 4 มาระยะหนึ่งแล้ว ต้องรู้จักกองทุนประเภทนี้กันเป็นอย่างดี ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นน่ะหรือคะ นั่นก็เป็นเพราะว่า 1. เหลือระยะเวลาในการถือครองไม่นานแล้ว เพราะก่อนที่จะผ่าน 3 ย่าน เราก็มักจะคิดว่าการลงทุนในกองทุนรวม RMF ช่างยาวนานเสียเหลือเกิน ต้องลงทุนนาน 20 – 30 ปีกว่าจะขายคืนได้ แต่ตอนนี้อายุก็ผ่านหลัก 4 มาแล้ว ความกังวลเรื่องระยะเวลาการถือครองก็ไม่นานเหมือนก่อนอีกต่อไป และถ้าไม่เริ่มลงทุนตอนนี้ก็ไม่รู้จะไปเริ่มลงทุนกันตอนไหน ถ้าจะต้องรอไปถึง 5 แยกก่อนแล้วค่อยลงทุนก็อาจจะจวนเจียนจนเกินไป ช่วงนี้จึงถือเป็นช่วงเวลาแห่งการสะสมก่อนจะเตรียมเข้าสู่ช่วงเกษียณกันค่ะ 2. ลงทุนได้เต็มๆ ถึง 30% ของเงินได้ทั้งปี เพราะก่อนหน้านี้ลงทุนได้สูงสุดแค่ 15% ของเงินได้ทั้งปีเท่านั้น แม้จะเริ่มต้นช้าไปสักหน่อยแต่ก็สามารถลงทุนได้เต็มๆ เต็ม แบบเม็ดเต็มหน่วย ลงทุนช้า แต่ลงทุนเต็มๆ มีหลากหลายนโยบายให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นกองทุนประเภทตราสารหนี้ ที่เสี่ยงน้อยสุดๆ แน่นอนว่าโอกาสในการรับผลตอบแทนก็จะน้อยตามไปด้วย […]
BF Knowledge Center BMAPS BMAPS100 BMAPS25 BMAPS55
มา Rebalancing ปรับสมดุลพอร์ตลงทุนกันไหม
โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM กองทุนบัวหลวง ปัจจุบันคนรุ่นใหม่สนใจลงทุนกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรงในสินทรัพย์ต่างๆ และการลงทุนผ่านกองทุนรวม โดยมักได้รับคำแนะนำให้จัดพอร์ตลงทุน (Asset Allocation) ด้วยการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเภทกัน เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ใด สินทรัพย์หนึ่งมากจนเกินไป ตามประโยคยอดฮิตที่ว่า “อย่าใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตระกร้าเดียวกัน (Don’t put all eggs in one basket)” ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้นักลงทุนเริ่มจัดพอร์ตการลงทุนกันมากขึ้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า นักลงทุนส่วนใหญ่มักจัดพอร์ตการลงทุนแค่เพียงครั้งแรกเท่านั้น โดยเริ่มต้นจากกำหนดเป้าหมายในการลงทุน ประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของตัวเอง จากนั้นก็จัดพอร์ตการลงทุน ด้วยการกำหนดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทให้สอดคล้องกัน ยกตัวอย่างนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางและมีเป้าหมายลงทุนระยะยาว สัดส่วนการลงทุนที่แนะนำสำหรับนักลงทุนกลุ่มนี้คือ สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงอย่างหุ้นหรือกองทุนหุ้นได้ประมาณ 50% ประเด็นสำคัญก็คือ เมื่อจัดพอร์ตลงทุนไปแล้ว นักลงทุนส่วนใหญ่กลับมาดูความคืบหน้าของผลตอบแทน แต่ไม่ทันได้สังเกตถึงมูลค่าของเงินที่ เติบโต หรือ ลดลง จนทำให้สัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทของพอร์ตลงทุนที่จัดไว้ก่อนหน้าเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับเป้าหมายการลงทุนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ยกตัวอย่างนักลงทุนรับความเสี่ยงได้ปานกลาง เริ่มต้นจัดพอร์ตลงทุนด้วยเงิน 100,000 บาท จึงกำหนดสัดส่วนการลงทุนในกองทุนรวมหุ้น 50% เป็นเงิน […]
ปีหน้า 55 แล้ว ขาย RMF เลยดีมั้ย
โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® สำหรับใครที่ใช้สิทธิลงทุนประหยัดภาษีด้วยการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) มาเป็นเวลานานมากกว่า 5 ปี และอายุใกล้ 55 ปีแล้ว มักมีคำถามเข้ามาว่า ถ้าครบอายุ 55 ปีแล้ว จะขายกองทุนรวม RMF ที่เคยลงทุนไว้ทั้งหมดเลยดีมั้ย ขายได้มั้ย แล้วถ้ายังอยากลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีต่ออีก เพราะยังมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีจะทำยังไง…ขอแนะนำแบบนี้ค่ะ หากอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์แล้ว ลงทุนมาแล้วมากกว่า 5 ปี เรียกว่าถูกต้องตามเงื่อนไขทุกอย่าง ก็สามารถทยอยขายคืนกองทุนรวม RMF ได้ หรือจะขายทั้งหมดก็ทำได้ แต่ถ้ายังอยากลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีต่อเนื่องด้วย แนะนำว่า ให้ลงทุนต่อเนื่องไปก่อน โดยที่ยังไม่ต้องขายหน่วยลงทุนกองทุนรวม RMF เพื่อให้การนับอายุการลงทุน นับต่อเนื่องไป เพราะบางทีเราคิดว่าจะทำงานต่ออีกหลายปี แต่ทำไปแค่ 1-2 ปี แล้วหยุดทำงาน หรือไม่อยากลงทุนต่อ ก็จะได้ไม่ทำให้ผิดเงื่อนไขการลงทุน เพราะเป็นการลงทุนต่อเนื่องจากการลงทุนเดิมที่ครบกำหนด ถูกต้องตามเงื่อนไข แต่ถ้าคิดว่าอยากจะขายเพื่อนำเงินที่สะสมมาใช้ทำอะไรสักอย่าง ก็สามารถขายคืนทั้งหมดได้ แนะนำให้ขายคืนทั้งหมด […]
BF Knowledge Center BMAPS BMAPS100 BMAPS25 BMAPS55
จัด Asset Allocation ง่ายๆ ได้ด้วย BMAPS
โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน การจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) โดยกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนได้ เนื่องจากลดการกระจุกตัว ที่จะทำให้พอร์ตของเราขึ้นลงไปในทางเดียวกันทั้งหมด ขาขึ้นก็ไม่เป็นไร เราห่วงขาลง จากความเสี่ยง เรียกว่าความเสี่ยงนึงมีผลต่อพอร์ตเราทั้งหมด แบบนั้นอันตราย ทั้งนี้ การทำ Asset Allocation จัดสัดส่วนพอร์ตการลงทุน ควรคำนึงถึงความเสี่ยงและความจำเป็นว่า เราควรบริหารพอร์ตให้ได้ผลตอบแทนอยู่ระดับไหน ซึ่งการที่เราไม่ระบุตัวเลขเป็นค่าออกมา เพราะความจริงในชีวิตไม่มีใครระบุได้ว่าตัวเลขผลตอบแทนแบบไหนถึงเหมาะกับเรา และคนเรามีเป้าหมายหลายอย่าง ไม่ได้มีความต้องการเดียว ตรงนี้จะช่วยบอกได้ว่าเราควรมีสัดส่วนหุ้นหรือสินทรัพย์เสี่ยงมากแค่ไหน เพราะเป็นตัวที่จะทำผลตอบแทนของพอร์ตโดยรวม และบอกถึงระดับความเสี่ยง พอร์ตที่มีหุ้นมีทองคำมาก ก็มีโอกาสและความเสี่ยงมากกว่าพอร์ตที่มีน้อย สำหรับนักลงทุนที่ไม่มีเวลา แล้วต้องการทำ Asset Allocation ล่าสุดกองทุนบัวหลวงเปิดตัวกองทุน BMAPS ทั้งหมด 3 กองทุนในลักษณะกองทุนหน่วยลงทุน (Fund of Funds) ที่มีการทำ Asset Allocation ให้นักลงทุนตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และตามความคาดหวังของผลตอบแทนการลงทุนเพื่อความมั่นคงทางการเงิน ประกอบด้วย กองทุนเปิดบัวหลวงบีแมพส์ […]
Asset Allocation BF Knowledge Center Uncategorized
Asset Allocation ยิ่งผันผวน ยิ่งสำคัญ
โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน การกระจายการลงทุน หรือที่เรียกว่าการทำ Asset Allocation ซึ่งเป็นการกระจายอย่างมีหลักการ จะสามารถลดความผันผวนและความเสี่ยงของการลงทุนได้ แนวคิดมีอยู่ 2 อย่างคือ 1.กระจายประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน และ 2.การทำ Asset Allocation ในสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน 1.การกระจายประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน สำหรับคนที่ต้องการได้ผลตอบแทน แต่ไม่แน่ใจ หรือมีระยะเวลาการลงทุนไม่มากนัก ความสามารถในการรับความเสี่ยงไม่มากนัก ถ้าไปลงทุนในหุ้นอย่างเดียว ไม่กระจายลงทุน เมื่อหุ้นตก พอร์ตก็ติดลบทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ถ้าในพอร์ตลงทุนมีตราสารหนี้บ้าง ในช่วงที่หุ้นตก ตราสารหนี้ก็จะช่วยเป็นตัวพยุงพอร์ตโดยรวมไว้ หรืออาจจะมีทองคำบ้าง ในบางจังหวะที่ราคาดี เพียงแต่จะลงทุนมากหรือน้อยแค่ไหน ก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา 2.การทำ Asset Allocation ในสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน เช่น หุ้น ถ้าสมมติเราเชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวมาก แล้วไปลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งหมด พอร์ตลงทุนโดยรวมก็จะปรับลดไปในทิศทางเดียวกันเลย หมายความว่า ในส่วนที่มีหุ้นอยู่ หุ้นก็ไปหมดเลย แต่ถ้ารู้จักกระจาย ซึ่งไม่ได้หมายความว่าไปซื้ออะไรก็ได้ แต่ต้องมั่นใจและเห็นโอกาสของการที่จะไปลงทุนก่อน […]
BF Knowledge Center News Update Press Release
กองทุนบัวหลวง ยกระดับโปรแกรม BF Wealth Plan ผู้ช่วยวางแผนการเงิน ใน BF Mobile App. เดินหน้าตามพันธกิจ “ทำให้ครอบครัวไทย มีความมั่นคงทางการเงิน”
กองทุนบัวหลวงเดินหน้าพันธกิจ “ทำให้ครอบครัวไทย มีความมั่นคงทางการเงิน” อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเพิ่มความสามารถโปรแกรม BF Wealth Plan ซึ่งอยู่ใน BF Mobile Application เพื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้ลงทุนใช้วางแผนการเงินและการลงทุนได้ง่ายและครอบคลุมมากขึ้น ส่วนการจัดกิจกรรมให้คำแนะนำด้านการลงทุน ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยปรับรูปแบบดำเนินการผ่านออนไลน์เป็นหลัก เพื่อให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ กองทุนบัวหลวง เปิดเผยว่า กองทุนบัวหลวงยังคงมุ่งมั่นดำเนินงานตามพันธกิจ “ทำให้ครอบครัวไทย มีความมั่นคงทางการเงิน” อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดกองทุนบัวหลวงปรับเพิ่มขีดความสามารถโปรแกรม BF Wealth Plan ซึ่งเป็นเครื่องมือที่อยู่ภายใน BF Mobile Application ที่จะให้ข้อมูลข่าวสารและมุมมองการลงทุนของกองทุนบัวหลวง โดยโปรแกรมโฉมใหม่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเช็คสุขภาพทางการเงินในเบื้องต้น เพื่อวางแผนทางการเงินได้อย่างเหมาะสม ซึ่งผู้ใช้งานสามารถสร้างและบันทึกเป้าหมายการลงทุน จากการกำหนดระยะเวลา เงินตั้งต้น เงินลงทุนต่อเดือน และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ จากนั้นโปรแกรมจะแสดงกองทุนแนะนำตามเป้าหมายและความเสี่ยงเฉพาะบุคคล ทั้งแนะนำการปรับเปลี่ยนระยะเวลาลงทุน เงินลงทุนตั้งต้น หรือเงินลงทุนต่อเดือน […]
คนรุ่นใหม่ปรับพอร์ต กองทุนหุ้นไทยไปหุ้นต่างประเทศ
โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM กองทุนบัวหลวง ปัจจุบันคนรุ่นใหม่สนใจลงทุนในหุ้นกันมากขึ้น สังเกตได้จากพฤติกรรมการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดพอร์ตหุ้น การเลือกนโยบายหุ้นในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การลงทุนในกองทุนรวมหุ้น ทั้งแบบลงทุนทั่วไปและลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี สาเหตุที่ทำให้คนรุ่นใหม่สนใจลงทุนในหุ้น เนื่องจากเชื่อว่าการลงทุนในหุ้นเป็นช่องทางในการต่อยอดเงิน สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีเอาชนะเงินเฟ้อได้ อีกทั้งการเข้าถึงข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น การทดลองลงทุนในโปรแกรมจำลอง ก็สามารถหาได้ไม่ยากบนโลกออนไลน์ น้ำหนักการลงทุนในหุ้นของคนรุ่นใหม่ ยังคงกระจุกตัวอยู่ในหุ้นไทยค่อนข้างมาก เพราะหุ้นไทยสามารถติดตามข่าวสารได้ง่าย มีช่องทางในการลงทุนให้เลือกมากมาย รวมถึงปัจจุบันการลงทุนในหุ้นไทยใช้เงินเริ่มต้นไม่มาก โดยหลายครั้งพบว่า การลงทุนในหุ้นไทยของคนรุ่นใหม่ไม่ได้เกิดจากการวางแผนแบบองค์รวม แต่เกิดจากความเคยชินในการลงทุนที่เลือกพิจารณาเป็นรายครั้งไป เช่น ต้องการเก็บเงินทุกเดือน เป้าหมายยังไม่ชัดเจน ก็เลือกลงทุนในหุ้นไทยเอาไว้ก่อน บริษัทให้เลือกนโยบายลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็เลือกลงทุนในหุ้นไทยเอาไว้ก่อน หรือจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวมลดหย่อนภาษี ก็เลือกลงทุนในหุ้นไทยเอาไว้ก่อน ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นเพราะทัศนคติการลงทุนของคนรุ่นใหม่ที่เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง สามารถเห็นผลตอบแทนที่โดดเด่นระหว่างทาง แม้ว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินตอนนี้ แต่ก็ขอให้เห็นผลตอบแทนสูงๆ เอาไว้ก่อน จึงทำให้สัดส่วนการลงทุนของคนรุ่นใหม่เทไปที่หุ้น โดยหุ้นไทยก็เป็นสินทรัพย์ลงทุนที่คนรุ่นใหม่เลือก เพราะมีความคุ้นเคยมาตั้งแต่แรกเริ่มเรียนรู้เรื่องการลงทุน อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่หุ้นไทยมีความผันผวน ผลตอบแทนไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวัง จนส่งผลกระทบต่อความมั่งคั่งโดยรวม ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ เพราะหันไปทางไหนก็ขาดทุนไปหมด ไม่ว่าจะเป็นพอร์ตหุ้น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมทั่วไป […]