BF Knowledge Center Real Estate REITs
จัดพอร์ตลงทุนต้องมีอสังหาฯ จริงหรือ ?
จัดพอร์ตลงทุนต้องมีอสังหาฯ จริงหรือ ? โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center ปัจจุบันนักลงทุนให้ความสนใจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรงในที่ดิน บ้าน คอนโด อาคารพาณิชย์ หรือการลงทุนผ่านกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) ซึ่งปัจจุบันปรับเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) โดยสาเหตุหลักที่ทำให้นักลงทุนสนใจน่าจะเป็นเพราะผลตอบแทนที่ได้รับอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เปรียบเทียบให้เห็นภาพก็เหมือนอยู่ตรงใจกลางความเจ็บปวด ระหว่างการลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงก็จริงแต่ก็ต้องยอมรับความผันผวนของราคา กับการลงทุนในตราสารหนี้ที่ความผันผวนของราคาน้อยทำให้โอกาสในการรับผลตอบแทนน้อยตามไปด้วย การลงทุนในอสังหาฯ ซึ่งให้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 6 – 8% ต่อปี จึงเป็นคำตอบที่พอจะเยียวยาหัวใจของนักลงทุนได้บ้าง สำหรับนักลงทุนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มาก่อน แต่สนใจอยากลงทุน ขอแนะนำให้ลงทุนผ่านกองทุนรวม ซึ่งปัจจุบันเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) โดยการลงทุนในกองทรัสต์ฯ ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นไม่มาก มีสภาพคล่องสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยตรง อีกทั้งยังมีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลาย อาทิ ออฟฟิศ ห้างสรรพสินค้า โกดัง โรงแรม รวมถึงสนามบิน และสบายใจได้เพราะกองทุนได้รับการบริหารจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ คำถามที่นักลงทุนสงสัยคือ ในเมื่อการลงทุนในอสังหาฯ มีความน่าสนใจขนาดนี้ นักลงทุนควรลงทุนในอสังหาฯ […]
B-ASEANRMF B-ASIARMF B-GLOBALRMF B-INDIAMRMF B-SM-RMF B-TOPTENRMF BBASICRMF BCARERMF BERMF BF Knowledge Center BFRMF BGOLDRMF BSIRIRMF IN-RMF MM-RMF RMF
เรื่องต้องรู้ กับเงินชดเชยเมื่อว่างงาน
เรื่องต้องรู้ กับเงินชดเชยเมื่อว่างงาน โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center Grab Food, Grab bike, Kerry, Food Panda หลากหลายธุรกิจที่เติบโตและพัฒนาตามการเปลี่ยนแปลง หรือแม้แต่กิจกรรมต่างๆ ที่ทำผ่านแอปพลิเคชัน ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ ที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยนี้ รูปแบบของการทำงานเองก็เช่นกัน หน้าที่การทำงานในรูปแบบเดิมๆ บางอย่างก็หายไป มีการใช้เครื่องมือทันสมัยมากขึ้น ลดการใช้คนลง และอาจจะมีอีกหลายอย่าง ที่เครื่องมือสามารถทดแทนคนได้ ดังนั้น ต้องมีการเตรียมพร้อมกับโลกที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา และนี่ก็อาจจะส่งผลทำให้หลายคนประสบกับภาวะได้เงินชดเชยแทนการทำงานก็เป็นได้ หากใครที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ หรืออาจจะต้องพบกับเหตุการณ์แบบนี้ในระยะเวลาอันใกล้ ก็ต้องหันมามองดูรอบๆ ตัวว่าถ้าเป็นเราจะทำอย่างไร มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินไว้เพียงพอไหม สามารถหางานที่ใหม่ได้ทันทีหรือเปล่า หรือหากอยากทำเองอิสระเรามีความสามารถที่จะทำเองได้หรือเปล่า เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศให้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายเรียบร้อย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 […]
BF Knowledge Center Uncategorized
เคล็ดลับเลือกกองทุนหุ้นให้ตรงใจ
โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center การเลือกกองทุนหุ้น ควรให้ความสำคัญกับนโยบายการลงทุนและแนวทางที่ผู้จัดการกองทุนใช้คัดสรรและเลือกหุ้นลงทุน เพราะการลงทุนเป็นเรื่องความคาดหวังในอนาคต โดยกองทุนบัวหลวงจะมองไปข้างหน้า เพื่อแสวงหาโอกาสของผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ดูว่าปัจจุบันและอนาคตข้างหน้าจะมีเมกะเทรนด์อะไรเกิดขึ้น มี theme อะไร และคัดสรรหาธุรกิจกิจการที่ได้ประโยชน์หรือรู้จักใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนที่เกิดขึ้นเหล่านั้น แล้วเข้าไปลงทุนเพื่อหวังการเติบโตอย่างเป็นกอบเป็นกำในอนาคต ปัจจุบันมีกองทุนหุ้นเยอะแยะมากมาย เราจะเลือกยังไงดี กองทุนหุ้นมีมากมายหลายแบบ เราเลือกได้หลายวิธี บางคนชอบแบบมีปันผล บางคนไม่อยากได้ปันผล อยากเก็บไว้ลงทุนให้งอกเงยมากกว่าเอาเงินออกมาระหว่างทาง อันนี้เลือกตามเป้าหมายของแต่ละคน แต่ถ้าจะเลือกตามนโยบายการลงทุน เรื่องนี้สำคัญและมีสิ่งที่ต้องพิจารณาเยอะ ต้องพิจารณาอะไรบ้าง อย่างแรก เราอยากเลือกแบบกองทุนดัชนี ให้ราคา NAV ขึ้นลงตามดัชนีไหม เช่น เชื่อดัชนีตลาดหุ้นไทยว่าจะไปได้ไกลๆ ไม่แน่ใจฝีมือผู้จัดการกองทุนเลือกหุ้นให้ แต่เชื่อดัชนีว่าจะไปได้แน่ๆ แบบนี้เหมาะกับกองทุนดัชนีต่างๆ ที่เรียกกว่า passive fund แต่ถ้าเชื่อว่า การมีผู้จัดการกองทุนช่วยดู ช่วยเลือกหุ้นน่าจะดีกว่าปล่อยให้ราคา NAV ไปอิงกับดัชนี ก็เลือก active fund ต่อมาดูที่นโยบายที่กองทุนเขียนไว้ […]
พื้นฐานการลงทุน เริ่มต้นที่ครอบครัว
โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center ครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ ความรู้ การเรียนรู้ต่างๆ เราอาจจะคิดว่า ความรู้หาได้ที่โรงเรียน ที่สถานศึกษา แต่ความรู้อยู่ใกล้ๆ ตัวเรา อยู่ที่บ้าน อยู่ที่ครอบครัว เพราะฉะนั้น เรื่องการลงทุนก็เช่นกัน สามารถเริ่มได้ง่ายๆ ที่ครอบครัว ยกตัวอย่าง คุณพ่อคุณแม่ให้เงินลูกอาจจะเป็นรายวัน สำหรับลูกเล็ก รายสัปดาห์สำหรับลูกที่เริ่มโตขึ้น หรือรายเดือนสำหรับลูกที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น การให้เงินลูกในลักษณะแบบนี้ จะเป็นการฝึกความรับผิดชอบในการบริหารจัดการเงินที่มีอยู่ให้เพียงพอ นอกจากการบริหารเงินให้กับลูกแล้ว การสอนให้ลูกออมเงินก็เป็นสิ่งสำคัญ แนะนำให้เขารู้จักการออมเงินก่อนนำเงินไปใช้จ่าย อย่างลูกเล็ก ให้เงินวันละ 20 บาท อย่าให้เป็นแบงก์ 20 แนะนำให้เป็นเหรียญ 10 บาท 1 เหรียญ เหรียญ 5 บาท 1 เหรียญ และเหรียญ 2 บาทหรือ […]
เรื่องน่ารู้กองทุนอสังหาฯ (ตอนจบ)
โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จึงถูกจัดเป็นสินทรัพย์การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงถึงสูงมาก (สำนักงาน ก.ล.ต.พิจารณาตามหลักเกณฑ์) ผู้ลงทุนจึง จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในสินทรัพย์ที่ลงทุน เนื่องจากสินทรัพย์นั้นมีลักษณะเฉพาะ โดยนักลงทุนมีข้อควรรู้ดังนี้ 1) กรรมสิทธิ์การลงทุน และ 2) สินทรัพย์ที่ลงทุน 1) กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า กองทุนรวมลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิขาดของกองทุนหรือไม่? กรณีที่เป็นสิทธิขาดเรียกว่า Freehold หรือสิทธิในความเป็นเจ้าของอสังหาฯ นั้น ผลตอบแทนที่ได้รับจะมาจากค่าเช่า และส่วนต่างราคากรณีขายคืนหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่หากกองทุนรวมลงทุนในสิทธิการเช่า Leasehold หรือสิทธิในการจัดหาผลประโยชน์ในอสังหาฯ นั้นตามระยะเวลาที่กำหนด (เปรียบเปรยง่ายๆ เหมือนเซ้งมาลงทุน) ผลตอบแทนที่ได้รับมาจากค่าเช่า โดยกองทุนรวมจะจ่ายผลตอบแทนพร้อมทยอยคืนเงินลงทุนให้ ซึ่งก็จะหมดลงกลายเป็นศูนย์เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้น หากผู้ลงทุนไม่ทราบมาก่อนว่า Leasehold มีลักษณะอย่างไร? ก็อาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนว่า “ขาดทุนกลายเป็นศูนย์” อย่างไรก็ตาม หากให้เปรียบเทียบเรื่องความเสี่ยงระหว่าง Freehold กับ Leasehold […]
เรื่องน่ารู้กองทุนอสังหาฯ (ตอนแรก)
เรื่องน่ารู้กองทุนอสังหาฯ (ตอนแรก) โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center ปัจจุบันนักลงทุนให้ความสนใจกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น โดยนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดพอร์ตลงทุน (Asset Allocation) เนื่องจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สามารถสร้างกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอจากค่าเช่า และ/หรือ ส่วนเพิ่มของราคาที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในระยะยาว ภาพรวมของผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ชนะเงินเฟ้อ และทนทานกับภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน โดยกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ได้รับการจัดอันดับความเสี่ยงสูงถึงสูงมาก (ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงระดับ 8) เพราะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นทางเลือกใหม่ การลงทุนมีโครงสร้างที่ซับซ้อน แต่ก็ไม่ยากเกินความเข้าใจ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ คือ การระดมเงินลงทุนจากนักลงทุนในรูปแบบของการขายหน่วยลงทุน ซึ่งนำไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หลายประเภท เช่น ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน โรงแรม ฯลฯ โดยเปิดให้จองซื้อเพียงครั้งเดียวเมื่อจัดตั้งโครงการ (IPO) และนำไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อให้เกิดสภาพคล่อง นักลงทุนจึงสามารถซื้อ-ขายคืนหน่วยลงทุนได้ ผ่านบัญชีหลักทรัพย์ เปรียบเสมือนเป็นหุ้นตัวหนึ่ง ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไม่อนุญาตให้จัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) เพิ่มแล้ว แต่ให้จัดตั้งเป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) แทน ซึ่งปรับกฎเกณฑ์และข้อกำหนดต่างๆ […]
B-BHARATA B-INDIAMRMF BF Knowledge Center
ร่วมค้นหาโอกาสลงทุนกับหุ้นอินเดีย
ร่วมค้นหาโอกาสลงทุนกับหุ้นอินเดีย โดย…ศรศักดิ์ สร้อยแสงจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center จุดเด่นของหุ้นอินเดีย มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงในระดับต้นของโลก ประมาณ 7% ต่อปี โครงสร้างประชากรที่อายุเฉลี่ยเพียง 27 ปี ประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนมากเป็นทั้งแรงงานในภาคการผลิต และเป็นอำนาจซื้อจากความต้องการบริโภคสินค้า/บริการ ตามระดับรายได้ที่สูงขึ้น การปฏิรูปโครงสร้างที่ส่งผลบวกต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว ได้แก่ การปฏิรูปภาคธนาคาร (Banking Sector Reform) การปฏิรูปภาษี (GST Tax Reform) การปฏิรูปอสังหาฯ (Real Estate Reform) การปฏิรูปด้านการทำธุรกิจ (Easing of Doing Business) การเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน (Liberalization of FDA norms) บริษัทในตลาดหุ้นอินเดียมีอัตราการเติบโตของกำไรสูง ความเสี่ยง ตลาดหุ้นอินเดียเป็นตลาดที่มีความผันผวนสูงเช่นเดียวกับตลาดหุ้นที่กำลังพัฒนาอื่นๆ จึงเหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาว 3-5 ปี ขึ้นไป และควรเป็นนักลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนในหุ้นไทยหรือกองทุนหุ้นไทย […]
รวมเหตุผลที่ทุกคนควรลงทุนอย่างต่อเนื่อง (Stay Invested)
รวมเหตุผลที่ทุกคนควรลงทุนอย่างต่อเนื่อง (Stay Invested) โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center การลงทุนอย่างต่อเนื่อง (Stay invested) ในสินทรัพย์ต่างๆ ในน้ำหนักที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เป็นแนวทางที่กองทุนบัวหลวงแนะนำ เนื่องจากเป็นการกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสม และตอบโจทย์การลงทุนได้ดีที่สุด เราไม่ควรละทิ้งการลงทุนในหุ้น แม้ในระยะสั้นราคาหุ้นถูกซื้อขายบนอารมณ์และความคาดหวังของนักลงทุน เพราะยิ่งลงทุนยาว ความผันผวนหรือโอกาสผิดพลาดจะลดลง ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าเราซื้อกิจการด้วยความคาดหวังถึงผลกำไรหรือผลประกอบการของกิจการจากการลงทุนในระยะยาว เราไม่ได้ซื้อราคาหุ้น โดยราคาหุ้นในระยะสั้นสะท้อนอารมณ์ผู้ซื้อผู้ขาย แต่ราคาหุ้นจะสะท้อนผลประกอบการจริงๆ ของกิจการได้ในระยะยาว ทำไมกองทุนบัวหลวงถึงแนะนำให้ลงทุนต่อเนื่อง เรายังคงแนะนำให้ Staying invested through all market cycles ในสินทรัพย์หลายชนิดด้วยน้ำหนักที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เนื่องจากการกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสมนั้นจะตอบโจทย์การลงทุนได้ดีที่สุด เราไม่ควรละทิ้งการลงทุนในหุ้น แม้ในระยะสั้นราคาหุ้นถูกซื้อขายบนอารมณ์และความคาดหวังของนักลงทุน อะไรที่ให้คนที่จะลงทุนต่อเนื่อง ทำไม่สำเร็จบ้าง ความกังวล กับความผันผวนะหว่างทาง การไม่อดทนให้นานพอ การยังไม่เข้าใจหลักการลงทุนระยะยาว และไม่เข้าใจคำว่าความเสี่ยง ความผันผวน สำหรับ ตลาดหุ้นเป็นอะไรที่ไม่แน่นอนในระยะสั้น ผันผวนเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วจากปัจจัยต่างๆ มากมาย […]
BF Knowledge Center Provident Fund
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กับเรื่องที่มักเข้าใจผิด
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กับเรื่องที่มักเข้าใจผิด โดย…อรพรรณ บัวประชุม CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center หลายครั้งที่มนุษย์เงินเดือน ที่มีสวัสดิการดีๆ ที่บริษัทให้ นั่นก็คือ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” และก็นั่นแหละ แม้ว่าบริษัทจะมีสวัสดิการดีๆ ให้ แต่ก็ไม่วาย ทำให้มนุษย์เงินเดือนตัวเล็กๆ อย่างเราต้องตกใจ เพราะยังไม่ทันได้ตั้งตัว บริษัทที่ทำงานอยู่ก็มีอันต้องล้มพับ ปิดกิจการไปเสียก่อน แล้วกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เราสะสมไว้ทุกเดือนนั้น เราจะได้รับเงินคืนหรือเปล่า หรือว่าจะปิดไปเหมือนกับบริษัทที่เราทำงานอยู่ด้วยเหมือนกัน ก่อนที่จะคิดไปไกล เรากลับมามองดูที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เรามีก่อนว่าเป็นกองทุนลักษณะไหน เป็นกองทุนเดี่ยว (กองทุนที่จัดตั้งเฉพาะสำหรับบริษัทเราบริษัทเดียวเท่านั้น) หรือกองทุนหลายนายจ้าง (กองทุนที่จัดตั้งขึ้นมาแล้วมีสมาชิกหลายบริษัท หรือ Pooled Fund) หากเป็นกองทุนเดี่ยว แน่นอนว่า ถ้าบริษัทเราปิดกิจการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เรามีอยู่ก็มีอันต้องปิดตัวตามไปด้วย เพราะสมาชิกในกองทุน มีแต่เพื่อนพ้องในบริษัทเราเท่านั้นที่เป็นสมาชิก เมื่อบริษัทปิดก็ไม่มีใครส่งเงินสะสมและเงินสมทบอีกต่อไป ดังนั้น กองทุนประเภทนี้จึงต้องปิดกองทุนด้วยเช่นกัน แต่ถ้าหากเป็นกองทุนหลายนายจ้าง (Pooled Fund) ชื่อก็บอกแล้วว่ามีนายจ้างหลายรายที่สนใจเลือกส่งเงินสมทบให้กับกองทุนนี้ นั่นก็แสดงว่าเราเองก็ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนนี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากบริษัทปิดตัวลง […]
ลงทุนตามเทรนด์คนรุ่นใหม่ไปกับ B-FUTURE
ลงทุนตามเทรนด์คนรุ่นใหม่ไปกับ B-FUTURE โดย…ศรศักดิ์ สร้อยแสงจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเพื่อคนรุ่นใหม่ (B-FUTURE) เป็นกองทุนที่ต้องการตอบสนองการลงทุนสำหรับคนรุ่นใหม่ โดยลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสเติบโตไปกับแนวโน้มที่โดดเด่น ในอนาคต 2 ประการ การบริโภคของกลุ่ม Millennial คนรุ่น Millennial หรือ Generation Y คือคนที่เกิดในช่วงปี คศ 1980-2000 เป็นคนรุ่นหนุ่มสาวในวัยทำงานที่เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันต่อเนื่องไปอีก 20-30 ปีข้างหน้า โดยมีสัดส่วน 25% ของประชากรโลก ซึ่งมีทั้งอำนาจซื้อและความต้องการบริโภคสินค้าบริการที่สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ Gen Y จะมีพฤติกรรมและมุมมองการใช้ชีวิต ทั้งด้านการทำงาน การกินอยู่ บริโภค ท่องเที่ยว การดูแลสุขภาพ ที่แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อนค่อนข้างมาก ซึ่งก่อให้เกิดกระแสความต้องการสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนอง Life style ของพวกเขา เช่น การใช้ชีวิตผ่านระบบ digital/On-line ในเกือบทุกด้าน ที่ต้องสะดวก รวดเร็ว หรือ […]