BF Knowledge Tips: Sustainable Investing สำคัญอย่างไร?

BF Knowledge Tips: Sustainable Investing สำคัญอย่างไร?

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM , BBLAM ปัจจุบันนักลงทุนทั่วโลก กำลังให้ความสนใจและให้ความสำคัญ ในแนวคิดเรื่องการลงทุนอย่างยั่งยืน (Sustainable Investing) สาเหตุหลักก็เป็นเพราะโลกของเรา  กำลังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่าง ภาวะโลกร้อน  ปัญหาน้ำท่วม  หรือฝุ่น PM2.5  ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการใช้ชีวิตในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ชีวิตประจำวัน  การทำงาน  การทำธุรกิจ  และได้ขยายวงกว้างออกไปยังระบบเศรษฐกิจและการลงทุนด้วย  จึงทำให้หลายๆ ประเทศทั่วโลกหันหน้ามาร่วมมือกัน  ทั้งการสร้างข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) หรือการนำแนวคิดนี้มาเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจและการลงทุน สำหรับประเทศไทย   รัฐบาลได้สนับสนุนแนวคิดเรื่องการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างแผนบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2561 – 2564  ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  จำนวน 86  โครงการ  ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อม  ด้วยงบประมาณกว่าหมื่นล้านบาท โดยเน้นเรื่องการบริหารจัดการขยะ  น้ำเสีย  และสภาพอากาศ […]

BF Knowledge Tips: 5 จุดต่าง ระหว่างกองทุน RMF กับ กองทุนเปิด

BF Knowledge Tips: 5 จุดต่าง ระหว่างกองทุน RMF กับ กองทุนเปิด

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP®, BBLAM ใครที่เคยลงทุนในกองทุนรวม RMF น่าจะพอคุ้นเคยว่า ลักษณะ หรือนโยบายการลงทุนในกองทุนรวม RMF ก็คล้ายกับกองทุนเปิดทั่วๆ ไปนั่นแหละ แต่มีความต่างกันตรงไหน และพิเศษกว่ายังไง ทำไมถึงต้องลงทุนในกองทุนรวม RMF กันด้วยนะ วันนี้ จะได้รู้กัน ถึง 5 จุดต่าง ระหว่างกองทุนรวม RMF กับ กองทุนเปิด นั่นก็คือ ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล สับเปลี่ยนกองทุนไปบลจ.อื่นได้ เงินลงทุนลดหย่อนภาษีได้ มีระยะเวลาถือครอง 55  5  5 จำกัดเงินลงทุน 30% ไม่เกิน 500,000 บาท จุดต่างที่ 1 คือ กองทุนรวม RMF ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล ได้ยินประโยคนี้แล้ว ตกใจกันมั้ยคะ ต้องบอกว่า    ไม่ต้องตกใจกันไปค่ะ […]

BF Knowledge Tips: อินโดนีเซียกับการเติบโตของธุรกิจสินแร่

BF Knowledge Tips: อินโดนีเซียกับการเติบโตของธุรกิจสินแร่

โดย เสกสรร โตวิวัฒน์  CFP®   BBLAM ปัจจุบันการเติบโตทางธุรกิจของประเทศฝั่งตะวันออกมีมากขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มประเทศอาเซียนก็เป็นหนึ่งในนั้น ด้วยศักยภาพของจำนวนประชากรรวมกันที่มีจำนวนมาก กว่า 660 ล้านคน (ปี 2564) เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากจีนและอินเดีย ประชากรหลายประเทศมีอายุเฉลี่ยอยู่ในวัยทำงานสร้างรายได้ โดยเฉพาะ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ขณะที่ ไทยและสิงคโปร์ แม้จะมีประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่ก็เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ทำให้ในภาพรวมมีศักยภาพในการเติบโตสูง นอกจากนี้ ความที่ประเทศต่างๆ ยังต้องการการพัฒนาด้านโครงสร้างอีกมาก ทำให้เต็มไปด้วยการสร้างงานสร้างรายได้ในภูมิภาคนี้ยังมีอีกมากประเทศในอาเซียนที่มีความโดดเด่นในแง่โอกาสการเติบโต คือ อินโดนีเซีย ในแง่ของศักยภาพจากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ นั่นคือ สินแร่ต่างๆ ครับ ข้อมูลจากฝ่ายจัดการลงทุนของ บลจ.บัวหลวง ระบุว่า อินโดนีเซียเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุ และส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกจำนวนมาก  แต่ว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจของธุรกิจเหมืองแร่ยังคงเป็นส่วนน้อย เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจโดยรวม โดยมูลค่าของธุรกิจเหมืองแร่และถ่านหิน คิดเป็นเพียง 5% ของ […]

BF Knowledge Tips: ขาดทุนอยู่ แต่ถูกชวนให้ลงทุนเพิ่ม

BF Knowledge Tips: ขาดทุนอยู่ แต่ถูกชวนให้ลงทุนเพิ่ม

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM , BBLAM ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจโลกได้ตกอยู่ในภาวะผันผวน  ส่งผลให้พอร์ตการลงทุนของเราติดลบ   จนทำให้ต้องกลับมาคิดทบทวนกันว่า  “จะไปต่อหรือพอแค่นี้” แต่จนถึงปัจจุบันก็เชื่อว่า หลายคนน่าจะยังไม่ได้ข้อสรุป และอาจจะยังไม่ได้ตัดสินใจว่า จะจัดการกับพอร์ตการลงทุนของตัวเองยังไงดี? เพราะท่ามกลางสถานการณ์การลงทุนที่มีความผันผวนอย่างในตอนนี้   เราก็มักจะได้รับข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ว่า  “ยังมีโอกาสในการลงทุนที่ผ่านเข้ามาอยู่เสมอ”  จนทำให้เรารู้สึกลังเลใจว่า ควรที่จะลงทุนเพิ่มเพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุนราคาให้ต่ำลงดีไหม? หรือควรจะขายคืน เพื่อหยุดการขาดทุน  (Cut Loss) หรือว่าควรจะอยู่เฉยๆ ปล่อยให้เวลาคลี่คลายสถานการณ์ไปเอง        ความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้  ได้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของเราและนักลงทุนหลายๆ คน จนทำให้เกิดสภาวะทางจิตวิทยาที่รู้สึกถึง “ความไม่ปลอดภัย (Insecure)”  และได้สะท้อนออกมาเป็นทัศนคติและพฤติกรรมในการลงทุนในลักษณะต่างๆ โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ก็น่าจะเป็น  “การระแวงสงสัย” การให้คำแนะนำการลงทุนของผู้เชี่ยวชาญ  ไม่ว่าจะเป็น นักวิเคราะห์ หรือผู้ให้คำแนะนำการลงทุน  โดยเฉพาะกับคำแนะนำที่สื่อความว่า ในสภาวะผันผวนยังมีโอกาสในการลงทุนอยู่ หรือควรลงทุนเพิ่มในช่วงนี้เพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุน ฯลฯ  […]

BF Knowledge Tips: ถ้าออกจากงานแล้วที่ทำงานใหม่ไม่มี PVD ต้องทำยังไง

BF Knowledge Tips: ถ้าออกจากงานแล้วที่ทำงานใหม่ไม่มี PVD ต้องทำยังไง

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® , BBLAM หลายคนที่ทำงานออฟฟิศ แล้วได้รับสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทำให้เราได้มีโอกาสสะสมเงินส่วนนึ้เข้ากองทุน และบริษัทก็สมทบเงินอีกส่วนนึงเข้ากองทุนให้ทุกๆ เดือน แต่แล้วจู่ๆ ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คิดฝัน ทำงานอดิเรกอยู่ดีๆ ก็รุ่งซะงั้น พลิกผันตัวเองเป็นเจ้าของกิจการไป หรือบางคนอยู่ๆ เพื่อนก็ชวนให้สมัครงานที่น่าสนใจ แล้วเขาก็รับเราเข้าร่วมงานด้วยทันที ไม่ว่าจะกรณีไหนก็ตาม หากที่ทำงานใหม่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แล้วทีนี้จะทำยังไงกันล่ะ แนะนำแบบนี้ค่ะ วิธีแรก คือ เราสามารถคงเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมได้ โดยจ่ายค่าธรรมเนียมคงเงินปีละ 500 บาท วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีปริมาณเงินสะสมค่อนข้างมาก และการเติบโตของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เราได้เลือกลงทุนแล้วที่ผ่านมา ผลตอบแทนค่อนข้างน่าพอใจ และมองว่า ในอนาคตสามารถเติบโตได้ตามที่เราคาดไว้ ก็สามารถคงเงินไว้ได้เลยค่ะ แต่สำหรับบางคนที่เพิ่งจะเริ่มสะสมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ไม่เท่าไหร่ แต่ชีวิตผกผัน อาจจะเห็นว่า ค่าธรรมเนียมคงเงิน เป็นเงินจำนวนที่สูง ถ้าแบบนั้นก็เลือกวิธีที่ 2 ได้ค่ะ วิธีที่ 2 คือ โอนย้ายหน่วยลงทุนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไปยัง กองทุน RMF […]

BF Knowledge Tips: หลายเหตุผลที่ทำให้จีนกลับมาน่าลงทุน

BF Knowledge Tips: หลายเหตุผลที่ทำให้จีนกลับมาน่าลงทุน

โดย เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® , BBLAM ปีนี้ ตลาดการลงทุนย้ายมาโฟกัสในฝั่งเอเชียครับ โดยเฉพาะจีนที่ซบเซามา 2 ปี ซึ่งก็มาจากหลายๆ สาเหตุ แต่สาเหตุใหญ่ๆ ก็มาจากโควิด ที่ประเทศจีนยังคงใช้นโยบายเข้มงวดอย่าง Zero-Covid ก่อนจะมายอมผ่อนคลายเมื่อปลายปีที่แล้ว แต่การผ่อนคลายนโยบายหลังประเทศใหญ่อื่นๆ ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่หลายประเทศใหญ่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและเงินเฟ้อ ก็ยิ่งทำให้ประเทศจีนมีความน่าสนใจมากขึ้นโดยเปรียบเทียบ สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียที่ปัจจุบันมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ให้มีสัดส่วนการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น มีการค้าขายและเดินทางระหว่างกันมากขึ้น การที่จีนเปิดประเทศจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจหลายประเทศมีความน่าสนใจมากกว่าฝั่งตะวันตก เพราะปริมาณคนจีนที่มีมาก มีกำลังซื้อและการเดินทางของคนจีนในภูมิภาคเอเชียจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ทดแทนกำลังซื้อจากฝั่งตะวันตกที่ลดลง กลับมาที่จีน นอกจากการผ่อนคลายนโยบายเรื่องโควิดแล้ว ข่าวการปรากฎตัว ของ Jack Ma ที่ Hang Zhou ที่เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ Alibaba หรือการประกาศที่จะแยกหน่วยธุรกิจ ที่ประกอบไปด้วยพวก Ecommerce ธุรกิจ Cloud ธุรกิจ Logistic ก็เป็นเหมือนสัญญาณ ที่บ่งชี้ว่า การควบคุมบริษัทด้านเทคโนโลยีของจีนน่าจะผ่อนคลายลง หลังจากถูกทางการจีนควบคุมจัดระเบียบมาตลอด […]

BF Knowledge Tips: ปรับพอร์ตฝ่าวิกฤตการลงทุน

BF Knowledge Tips: ปรับพอร์ตฝ่าวิกฤตการลงทุน

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM BBLAM เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในภาวะผันผวน   และส่งผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุนของเรา ทำให้เราต้องปรับพอร์ตการลงทุนไปตามสภาวะตลาดกันอยู่บ่อยๆ โดยในช่วง 2–3 ปีที่ผ่านมา เราได้ผ่านทั้ง “วิกฤตโรคระบาด (Covid-19)” จนทำให้ทุกประเทศต้องปิดเมือง (Lock Down) และส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลก ต้องหยุดชะงักไปตามๆ กัน ซึ่งก็ได้สะท้อนออกมาผ่านตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับตัวลดลงไปเฉลี่ยกว่า 22% (ที่มา : MSCI All Country World Index) แต่หลังจากที่เราเริ่มปรับตัว ปรับใจ และปรับพอร์ตการลงทุนไปบ้างแล้ว  วิกฤตต่อไปก็ตามมา นั่นก็คือ  “วิกฤตเงินเฟ้อ”  ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการรับมือกับวิกฤตโรคระบาด (Covid-19) ของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ประกอบกับการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มีความพยายามที่จะหยุดปัญหาเงินเฟ้อ ด้วยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็ว ทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ  กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย และส่งผลกระทบไปยังทุกประเทศทั่วโลก ทำให้นักลงทุนอย่างเราต้องปรับตัว ปรับใจ และปรับพอร์ตการลงทุนอีกครั้ง คำถามคือ  “เราควรจะต้องปรับพอร์ตยังไง? เพื่อให้ฝ่าฟันไปได้ในทุกวิกฤต”  […]

BF Knowledge Tips: เคล็ดลับบอกรักเงินในกระเป๋า ด้วยกองทุนรวม

BF Knowledge Tips: เคล็ดลับบอกรักเงินในกระเป๋า ด้วยกองทุนรวม

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® BBLAM ใกล้สิ้นเดือน เหมือนจะสิ้นใจ ทำไมถึงเป็นแบบนี้ แล้วทำยังไงถึงจะหลุดพ้นจากวังวนแบบนี้เสียที บอกได้เลยว่า ต้องปฏิวัติตัวเองอย่างจริงจัง เพราะไม่ใช่จะทำตัวเหมือนเดิมๆ แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ ดังนั้น ใจเราต้องเข้มแข็ง ยอมลำบากในช่วงแรกๆ เพื่อจะได้สุขสบายในภายหลัง เคล็ดลับบอกรักเงินในกระเป๋าด้วยกองทุนรวม นั่นเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเราได้ ซึ่งตอนนี้เป็นช่วงสิ้นเดือนพอดี ดังนั้น ต้องตั้งสติกันให้ดีๆ แนะนำให้หยิบกระดาษ กับปากกา หรือจะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ โดยการเขียนจำนวนเงินที่เข้าบัญชีในวันที่เงินเดือนออก ว่า เรามีเงินเท่าไหร่ (เพราะตัวเราเองยังไม่รู้เลยว่าเรา มีเงินเข้าบัญชีทุกเดือนๆ เท่าไหร่) สำหรับใครที่ไม่เคยลงทุนโดยการหักเงินในบัญชี ก็แสดงว่า เงินที่เข้ามาทุกเดือนนั้น ยังไม่มีการออม การลงทุนใดๆ ดังนั้น แนะนำให้แบ่งเงินเป็น 4 ส่วนแบบนี้ ส่วนแรก สำหรับจ่ายหนี้ประจำเดือน ไม่ว่าจะเป็น หนี้ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หนี้ที่เผลอไปกู้ยืมใครมา ลองเขียนดูว่า มีเท่าไหร่ ส่วนที่ 2 […]

BF Knowledge Tips: ทำไม? B-GLOBAL ต้องเปลี่ยนกองทุนหลัก

BF Knowledge Tips: ทำไม? B-GLOBAL ต้องเปลี่ยนกองทุนหลัก

โดย เสกสรร โตวิวัฒน์  CFP®  BBLAM ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2566 นี้ บลจ.บัวหลวง ได้เปลี่ยนแปลงกองทุนหลักของกอง B-GLOBAL และ B-GLOBALRMF ใหม่ครับ โดยสาเหตุเกิดจากกองทุนหลักเดิม มีปัญหาข้อจำกัดในการลงทุนต่อในอนาคต โดยไม่ได้มีปัญหาด้านการดำเนินงานของกองทุนหรือปัญหาอะไร เดิม กองทุนบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) และบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF) ซึ่งเป็นกองทุนตราสารทุนต่างประเทศประเภท feeder fund ได้นำเงินไปลงทุนผ่านกองทุนหลักเพียงกองทุนเดียว คือ Wellington Global Opportunities Equity Fund ซึ่งบริหารจัดการโดย Wellington Management Company ซึ่งก็เป็นบริษัทที่เราไว้ใจและมีการนำเงินไปลงทุนด้วยหลายกองทุน อย่าง BCARE, B-GTO กองทุนหลักก็บริหารโดย Wellington เช่นกัน เมื่อปลายปีที่แล้ว มีนักลงทุนต่างประเทศรายใหญ่ที่ลงทุนในกองทุนหลักได้ไถ่ถอนเนื่องจากเหตุผลส่วนตัว ที่ไม่ได้เกิดจากปัญหาของกองทุนหลัก ทำให้สัดส่วนการลงทุนของ B-GLOBAL […]

BF Knowledge Tips: จะรู้ได้ไง จังหวะไหนควรปรับพอร์ต

BF Knowledge Tips: จะรู้ได้ไง จังหวะไหนควรปรับพอร์ต

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® , BBLAM เอ๊ะ … จะปรับพอร์ตตอนนี้ดีมั้ยนะ ติดลบกระจายเลย หรือ โห… พอร์ตบวกขนาดนี้ ต้องปรับพอร์ตมั้ยนะ ขึ้นแรงเกินไป!!! ไม่ว่าพอร์ตของเราจะขึ้น หรือจะลง ต่างก็มีข้อสงสัยกันว่า แล้วจังหวะไหนล่ะ ควรปรับพอร์ต ลองสังเกต 3 สัญญาณที่บอกให้รู้ว่า ถึงเวลาต้องปรับพอร์ตกันแล้วนะ สัญญาณแรกสถานการณ์ไม่ปกติ ไม่ว่าจะเป็น ช่วงโรคระบาด สงคราม เงินเฟ้อสูง จากเดิม หากเราจัดพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง 50% สินทรัพย์เสี่ยงต่ำ 50% หรือ 50:50 แล้วพอร์ตการลงทุนของเรากลับกลายเป็น 40:60 เพราะเกิดการขาดทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงที่ลงทุนไป ทำให้มูลค่าเงินลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงปรับตัวลดลง  ก็อย่าเพิ่งตกใจกันไป เราสามารถเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง เพื่อปรับพอร์ตของเราให้กลับมาเป็น 50:50 ตามที่เราต้องการได้ แม้ว่าเราจะรู้สึกว่า ไม่อยากลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงสูงเพิ่มขึ้นเลย เพราะที่ผ่านมา ขาดทุนเยอะ  แต่ช่วงจังหวะนี้แหละที่น่าลงทุน เพราะจะได้ต้นทุนที่ถูก […]