BF Knowledge Tips: จับตามองทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่อการลงทุน

BF Knowledge Tips: จับตามองทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่อการลงทุน

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM ปัจจุบันโลกของเรา กำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้นักลงทุนหลายๆ คน เริ่มเห็นความสำคัญของการติดตามข่าวสารการลงทุน เพราะอยากที่จะคาดการณ์ทิศทางของเศรษฐกิจโลก เพื่อนำมาปรับใช้กับพอร์ตลงทุนของตัวเอง บ้างก็เพื่อแสวงหาโอกาสในการลงทุน บ้างก็แค่อยากประคับประคองการลงทุนของตัวเองให้มั่นคงอยู่ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง สำหรับทิศทางของเศรษฐกิจโลกในปี  2566 ก็คงหนีไม่พ้นการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างเต็มตัว โดยมีสาเหตุมาจาก  3  ปัจจัยหลัก นั่นคือ นโยบายการเงินของสหรัฐฯ การขับเคลื่อนของเศรษฐกิจจีน และปัญหาพลังงานในยุโรป ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้  ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพราะเป็นสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ และคาดว่าน่าจะต้องเผชิญกันต่อไปในปีหน้า ด้วยอัตราความเข้มข้นที่มากกว่าเดิม สำหรับนโยบายการเงินของสหรัฐฯ  ที่ต้องจับตามองแบบกระพริบตาไม่ได้เลย นั่นคือ การที่เฟดปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบรุนแรง  รวดเร็ว  และต่อเนื่อง โดยคาดหวังที่จะแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมานาน  ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการทำ QE เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจที่มากจนเกินไป ทั้งนี้  เฟดน่าจะพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยไปอีกเรื่อยๆ  จนถึงเดือน ก.พ. 2566 คาดการณ์ว่า ภาพรวมทั้งหมดน่าจะปรับเพิ่มขึ้นไปรวมๆ แล้วเกือบ 5% และปัญหาเงินเฟ้อน่าจะคลี่คลายลงไปราวๆ กลางปี 2566 […]

BF Knowledge Tips: ต้องรู้ไว้! ขั้นตอนลดหย่อนภาษี RMF SSF ปี 2565

BF Knowledge Tips: ต้องรู้ไว้! ขั้นตอนลดหย่อนภาษี RMF SSF ปี 2565

โดย อรพรรณ บัวประชุม  CFP®   ใครที่ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF และกองทุนรวมเพื่อการออม หรือ SSF ซึ่งเป็นกองทุนลดหย่อนภาษี ก็เชื่อว่าอยากลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีกันทั้งนั้น งั้นต้องฟังทางนี้ การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจะไม่เหมือนปีที่ผ่านมา เพราะในปีนี้กรมสรรพากรได้ออกประกาศบังคับใช้ใหม่ โดยกำหนดให้ลูกค้าที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม RMF หรือ SSF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ต้องแจ้งความประสงค์กับ บลจ. โดยตรงผ่านช่องทาง Online หรือที่หน้าเว็บไซต์ หรือสำหรับใครที่ลงทุนผ่านผู้สนับสนุนการขายก็สามารถแจ้งความประสงค์ผ่านผู้สนับสนุนการขายที่เราติดต่อซื้อหน่วยลงทุนได้ค่ะ เช่น ถ้าลงทุนผ่านสาขาธนาคารกรุงเทพ ก็สามารถแจ้งกับธนาคารกรุงเทพได้ ส่วนใครที่ลงทุนหลายกองทุน หลายบลจ. หลายบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ปี 2565 นี้ จะต้องแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิขอยกเว้นภาษีเงินได้ทุกบลจ.ที่ลงทุน ที่เราต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี เพื่อให้ทุกบลจ.ที่เราลงทุนส่งข้อมูลการลงทุนให้กับกรมสรรพากรเพื่อเป็นหลักฐานในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีค่ะ ส่วนใครที่สับสนไม่แน่ใจว่าเราแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้แต่ละบลจ.ไว้อย่างไรกันบ้าง สามารถตรวจสอบผ่าน Link การแจ้งความประสงค์ของแต่ละบลจ. หรือติดต่อที่ Call […]

BF Knowledge Tips: ต้องเลือกกองทุน RMF-SSF ยังไง ถึงจะใช่ในยุคเงินเฟ้อ

BF Knowledge Tips: ต้องเลือกกองทุน RMF-SSF ยังไง ถึงจะใช่ในยุคเงินเฟ้อ

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® ยุคนี้ ไม่ว่าอะไรก็แพ๊งแพง รายได้ไม่ขึ้น ค่าตัวไม่ขึ้น แต่ค่าครองชีพขึ้นเอ๊าขึ้นเอา เงินเก็บก็แทบจะไม่เหลือ แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาลงทุนกัน ต้องบอกว่า ไม่ว่าจะยังไง ข้าวของจะแพงขนาดไหน แต่เมื่อมีรายได้เข้ามา ยังไงก็ต้องแบ่งเก็บแบ่งออมกันไว้บ้าง วันนี้ว่าของแพงแล้ว วันข้างหน้า ยิ่งไม่รู้ว่าของจะแพงขนาดไหน จะใช้เงินหมดวันนี้แล้ววันหน้าลำบาก คงไม่ใช่เราแน่ๆ ดังนั้น เมื่อตัดสินใจอดออมวันนี้ ก็ต้องมาดูกันต่อว่ าเราจะนำเงินที่ยอมอดไปลงทุนในอะไร เพื่อให้เงินสามารถสู้กับเงินเฟ้อได้ โดยเฉพาะการลงทุนในกองทุนรวม RMF และ SSF ที่ต้องใช้เวลาลงทุนระยะยาว ดังนั้น การเลือกลงทุนในกองทุนที่เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ ต้องการเพิ่มโอกาสในการลงทุน แต่ส่วนหนึ่งก็ต้องการความมั่นคงในการลงทุนด้วย การเลือกลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มคมนาคม เช่น รถไฟฟ้า สนามบิน  หรือกลุ่มสื่อสาร เช่น บริการเครือข่ายสัญญาณไร้สาย หรือกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานที่มีการกำหนดค่าเช่าชัดเจน มีสัญญาเช่าระยะยาว ซึ่งในช่วงเศรษฐกิจดีจะมีการเติบโตรายได้ดี สามารถปรับขึ้นราคาได้ โดยไม่กระทบความต้องการซื้อ เพราะสามารถปรับไปลงทุนในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ที่ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นขาขึ้นหรือลง […]

BF Knowledge Tips: มุมมองต่อการเมืองจีน หลังสีจิ้นผิงกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ

BF Knowledge Tips: มุมมองต่อการเมืองจีน หลังสีจิ้นผิงกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ

โดย เสกสรรโตวิวัฒน์ CFP® การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ผ่านมา นายสี จิ้นผิง ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีนและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สมัยที่ 3 อย่างเป็นทางการ และได้มีทีมผู้บริหารชุดใหม่ 6 คน ในคณะกรรมการถาวรประจำกรมการเมือง (โปลิตบูโร) ซึ่งเป็นคนใหม่ 4 คน คนเดิมได้รับเลือกเข้ามา 2 คน ล้วนแต่เป็นผู้สนับสนุนของประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ทำให้การเมืองจีนมั่นคงอย่างมากภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีสี และคนสนิท ไม่ว่าจะเป็น นายหลี่เฉียง รุ่นน้องผู้ภักดีต่อสี จิ้งผิง ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำนครเซี่ยงไฮ้ เชื่อกันว่า นายหลี่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี หรือมีอำนาจสูงสุดลำดับ 2 รองจากสี จิ้นผิง นายจ้าวเล่อจี เลขาธิการคณะกรรมการตรวจสอบวินัยส่วนกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์ (CCDI) คนปัจจุบัน นายจ้าว ถือว่าเป็นดาวรุ่งในกลุ่มผู้นำการเมืองจีน  นอกจากตำแหน่งเลขาธิการ CCDI แล้วนายจ้าวยังรับผิดชอบเรื่องการธำรงวินัยภายในพรรค และเปิดโปงการรับสินบนของเจ้าหน้าที่ระดับสูงมาแล้วหลายรายตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา นายหวังฮู่หนิง (ชุดเดิม) อายุ 67 ปี ปัจจุบันเป็นเลขาธิการสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคฯ นายหวังได้รับการยกย่องว่า เป็นขงเบ้งของนายสี จิ้นผิง […]

BF Knowledge Tips: แนวคิดเพื่อการลงทุนในภาวะเศรษฐกิจถดถอย

BF Knowledge Tips: แนวคิดเพื่อการลงทุนในภาวะเศรษฐกิจถดถอย

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้  โดยมักจะพบในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัว  ซึ่งในการขยายตัวก็มักจะมีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ สะสมกันไป    และเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยชั่วคราว  คล้ายกับเป็นการ RESET  เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไปได้   เรียกว่าเป็น Expansion-Recession  ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกๆ 4 – 5 ปี   ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนต่างคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว  และกลับมองว่าเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนด้วยซ้ำไป   แต่สำหรับครั้งนี้อาจไม่เหมือนกับที่ผ่านมา โดยภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ในตอนนี้  ขยายตัวเป็นวงกว้างระดับโลก เรียกได้ว่าเป็น Global Recession  ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจาก  Global Health Crisis  นั่นคือ การแพร่ระบาดของโควิด-19  ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ  แถมยังมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างยูเครน-รัสเซีย  ที่ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมาก  ประกอบกับการกำหนดนโยบายการเงินของสหรัฐฯ  ที่เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไป  จนทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อที่ยาวนาน  และส่งผลกระทบไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก   รวมถึงไทยเราเองก็ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจไปด้วยเช่นกัน สำหรับนักลงทุน โดยเฉพาะผู้ที่ลงทุนในหุ้น  ไม่ว่าจะเป็น หุ้นไทยหรือหุ้นต่างประเทศ  คาดว่าน่าจะมีความกังวลใจอยู่พอสมควร  เนื่องจากผลตอบแทนหดหายไปจากเดิมค่อนข้างมาก  และบางคนอาจจะหดหายไปเยอะมากๆ  จนกลายเป็นขาดทุนไปเลยก็ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้นักลงทุนกลับมาทบทวนพอร์ตลงทุนของตัวเอง  […]

BF Knowledge Tips: ซื้อ RMF ตั้งแต่เริ่มทำงาน เร็วไปมั้ย?

BF Knowledge Tips: ซื้อ RMF ตั้งแต่เริ่มทำงาน เร็วไปมั้ย?

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® จะรีบไปไหน จะรีบไปไหน คำถามของคนหนุ่มสาวที่เพิ่งก้าวเข้าสู่การทำงาน จะเร็วไปมั้ยกับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ยังมีเวลาลงทุนอีกตั้งหลายปี ต้องเริ่มตอนนี้เลยเหรอ รอก่อนดีกว่าหรือเปล่า? หลากหลายคำถาม หลากหลายข้อสงสัย ที่ถามกันเข้ามา โดยเฉพาะการลงทุนในกองทุนรวม RMF ตั้งแต่ช่วงที่เริ่มทำงานใหม่ๆ ว่า จำเป็นมั้ยที่จะต้องลงทุน บอกได้เลยค่ะ ถ้าทำงานแล้วมีเงินได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ไม่เร็วไปหรอกค่ะ สำหรับการเริ่มต้นลงทุนในกองทุนรวม RMF นั่นเป็นเพราะ หากยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี คงไม่มีใครแนะนำการลงทุนในกองทุนรวม RMF ให้อย่างแน่นอน เต็มที่ก็จะแนะนำในกองทุนเปิดทั่วไป เพราะจะได้ไม่ติดข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาการลงทุน ระยะเวลาการถือครอง ซึ่งต้องลงทุนตามเงื่อนไขจึงจะสามารถได้สิทธิทางภาษี ดังนั้น หากทำงาน มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ถ้าใครไม่รู้ว่าต้องเสียภาษีหรือยัง ง่ายๆ เลย สำหรับใครที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีมากกว่า 317,200 บาทในปีภาษี 2565 หรือเฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 26,433 บาท โดยไม่มีการลงทุนหรือตัวช่วยลดหย่อนภาษีใดๆ ก็จะเริ่มเสียภาษีกันแล้ว […]

BF Knowledge Tips: เงินบาทอ่อน…ลงทุนไปแล้วรับมือยังไงดี?

BF Knowledge Tips: เงินบาทอ่อน…ลงทุนไปแล้วรับมือยังไงดี?

โดย…พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM ตอนนี้ค่าเงินบาทไทย  เรียกได้ว่า อ่อนค่าที่สุดในรอบ  16  ปี  โดยเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 37 บาทจนทะลุ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว สาเหตุหลักก็มาจากมาตรการด้านการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อ อย่างเข้มข้น ตามที่ เจอโรม พาวเวลล์  ประธานเฟด ได้ประกาศไว้ว่า  “คณะกรรมการเฟดกำลังทำงานกันอย่างเต็มที่  เพื่อลดเงินเฟ้อลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2%  และจะทำจนกว่าสำเร็จให้ได้” นับว่าเป็นการส่งสัญญาณเอาจริงและยอมรับผลที่อาจจะตามมา ไม่ว่าจะเป็น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปัญหาหนี้สินธุรกิจ ปัญหาหนี้สินครัวเรือน จากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินที่อ้างอิงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงปัญหาว่างงานที่อาจมีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฟดเชื่อว่า  เป็นการคุ้มค่าที่จะแลก เพราะถ้าหากปล่อยให้เงินเฟ้อยาวนานกว่านี้  อาจจะแก้ไขไม่ได้จนส่งผลร้ายแรงมากกว่า สถานการณ์ในตอนนี้  สำหรับนักลงทุน คาดว่าน่าจะกังวลใจอยู่ไม่น้อย เพราะไม่รู้และไม่แน่ใจว่าควรต้องปรับพอร์ตลงทุนยังไงดี? เนื่องจากสินทรัพย์ในการลงทุนหลายๆ อย่างในช่วงนี้  โดยเฉพาะหุ้น ไม่ว่าจะเป็น หุ้นไทย  หรือหุ้นต่างประเทศ ต่างให้ผลตอบแทนที่ติดลบ ในส่วนของการลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้เอง แม้ว่าจะให้ผลตอบแทนที่เป็นบวก  แต่เมื่อเทียบกับผลตอบแทนในช่วง […]

BF Knowledge Tips: เงินบาทอ่อน…ลงทุนไปแล้วรับมือยังไงดี?

BF Knowledge Tips: เงินบาทอ่อน…ลงทุนไปแล้วรับมือยังไงดี?

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM ตอนนี้ ค่าเงินบาทไทย  เรียกได้ว่าอ่อนค่าที่สุดในรอบ  16  ปี    โดยเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 37 บาทจนทะลุ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว    สาเหตุหลักก็มาจากมาตรการด้านการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง    โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับมือกับปัญหาเงินเฟ้ออย่างเข้มข้น   ตามที่ เจอโรม พาวเวลล์  ประธานเฟด ได้ประกาศไว้ว่า  “คณะกรรมการเฟดกำลังทำงานกันอย่างเต็มที่   เพื่อลดเงินเฟ้อลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2%  และจะทำจนกว่าสำเร็จให้ได้”    นับว่าเป็นการส่งสัญญาณเอาจริง   และยอมรับผลที่อาจจะตามมา   ไม่ว่าจะเป็น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย  ปัญหาหนี้สินธุรกิจ ปัญหาหนี้สินครัวเรือน จากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินที่อ้างอิงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย   รวมถึงปัญหาว่างงานที่อาจมีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฟดเชื่อว่า  เป็นการคุ้มค่าที่จะแลก เพราะถ้าหากปล่อยให้เงินเฟ้อยาวนานกว่านี้  อาจจะแก้ไขไม่ได้จนส่งผลร้ายแรงมากกว่า สถานการณ์ในตอนนี้  สำหรับนักลงทุน  คาดว่าน่าจะกังวลใจอยู่ไม่น้อย  เพราะไม่รู้และไม่แน่ใจว่าควรต้องปรับพอร์ตลงทุนยังไงดี?   เนื่องจากสินทรัพย์ในการลงทุนหลายๆ อย่างในช่วงนี้  โดยเฉพาะหุ้น ไม่ว่าจะเป็น หุ้นไทย  หรือหุ้นต่างประเทศ   ต่างให้ผลตอบแทนที่ติดลบ  ในส่วนของการลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้เอง  แม้ว่าจะให้ผลตอบแทนที่เป็นบวก  แต่เมื่อเทียบกับผลตอบแทนในช่วง 10 […]

BF Knowledge Tips: ต้องลงทุนยังไง ถ้าอยากมีเงินใช้หลังเกษียณเดือนละ 30,000 บาท

BF Knowledge Tips: ต้องลงทุนยังไง ถ้าอยากมีเงินใช้หลังเกษียณเดือนละ 30,000 บาท

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® สำหรับใครที่อยากจะเก็บเงิน อยากจะลงทุนเก็บไว้สำหรับใช้หลังเกษียณ แต่ไม่รู้ว่าจะต้องลงทุนเท่าไหร่ ใช้เวลานานแค่ไหน และต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ เพราะนับวันเงินเฟ้อยิ่งสูงทะลุทะลวงขึ้นไปทุกที ก็อย่าได้ตกอกตกใจกันไปค่ะ หากปัจจุบัน อายุเราอยู่ที่ 30 ปี คาดว่า หลังเกษียณใช้เงินเดือนละ 30,000 บาท น่าจะพอใช้ (ถ้าใครอยากเพิ่มมากกว่านี้ ก็คำนวณตัวเลขเพิ่มได้ค่ะ) ก็มาลองคำนวณกันว่า ต้องมีเงินก้อนเท่าไหร่  ซึ่งมูลค่าเงินปัจจุบัน 30,000 บาทในวันนี้ อีก 30 ปี จะต้องใช้เงินเท่ากับ 73,705.27 บาท ถ้าคำนวณเป็นเงินก้อนใหญ่ที่ต้องมีตอนอายุ 60 ปี เท่ากับว่า ณ วันนั้น เราจะต้องมีเงินก้อนจำนวน 26,553,897.20 บาท จึงจะเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายหลังเกษียณไปอีก 30 ปี เรียกง่ายๆ ว่ามีเงินใช้เดือนละ 30,000 บาท ด้วยมูลค่าปัจจุบัน ไปจนถึงอายุ 90 […]

BF Knowledge Tips: ลงทุนกิจการโครงสร้างพื้นฐานแบบไหนในช่วงเงินเฟ้อ

BF Knowledge Tips: ลงทุนกิจการโครงสร้างพื้นฐานแบบไหนในช่วงเงินเฟ้อ

โดย  เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ปัญหาเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นที่กระทบต่อการลงทุนมาตั้งแต่ต้นปี 2565 เป็นสัญญาณเตือนให้นักลงทุนทราบว่า จากนี้ไปการลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ อาจมีความยากขึ้น ผลตอบแทนของการลงทุนก็ไม่น่าจะให้ตอบแทนที่ดีได้ง่ายๆ เหมือนช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพราะช่วงอัตราดอกเบี้ยต่ำ และสภาพคล่องสูงทำให้มีเม็ดเงินจำนวนมากไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงและมีส่วนช่วยผลักดันราคาหุ้นในอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยเริ่มสูงขึ้น และสภาพคล่องจะค่อยๆ ลดลง และผลตอบแทนของตลาดตราสารหนี้ก็มีแรงจูงใจให้มีการลงทุนมากขึ้นกว่าในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา การลงทุนจากนี้ไป การปรับและบาลานซ์พอร์ตให้เหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น จะช่วยลดความเสี่ยงลง การปรับพอร์ตที่ดีไม่ใช่การขายหรือลดหุ้น เพราะอย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้นยังเป็นช่องทางสำคัญสำหรับที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสู้กับเงินเฟ้อได้ในระยะยาว เพียงแต่หุ้นในพอร์ตจากเดิมที่เต็มไปด้วยหุ้นเติบโตที่ให้ผลตอบแทนสูง ก็อาจจะต้องบาลานซ์โดยการเติมหุ้น defensive หรือมีความผันผวนต่ำ แต่สามารถให้ตอบแทนโดยรวมสู้กับเงินเฟ้อ อย่างกิจการที่มีรายได้จากโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ได้ กองทุนบัวหลวงหุ้นโกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ หรือ B-GLOB-INFRA เป็นกองทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะเน้นการลงทุนในกิจการที่มีรายได้สม่ำเสมอจากโครงสร้างพื้นฐาน เป็นสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา สนามบิน โทรคมนาคม ขนส่ง สาธารณูปโภคต่างๆ รวมไปถึงพลังงานสะอาด ถนนทางด่วน ทางรถไฟ ปัจจุบันกิจการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั่วโลกอยู่ในช่วงเติบโตและกำลังมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ประเทศใหญ่จำนวนมากมีการลงทุนเพื่อปรับปรุงซ่อมแซม ขยายขนาดของโครงสร้างพื้นฐาน […]