เศรษฐกิจอินเดียโตแซงจีนปีนี้ นักวิเคราะห์มองเอเชียเด่นน่าลงทุนสุด

เศรษฐกิจอินเดียโตแซงจีนปีนี้ นักวิเคราะห์มองเอเชียเด่นน่าลงทุนสุด

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD คาดการณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียจะก้าวข้ามสาธารณรัฐประชาชนจีนในปีนี้ และปีถัดไป รายงานแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจล่าสุดของ OECD ระบุว่า อินเดีย จีน และอินโดนีเซีย จะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี สูงเป็นอันดับต้นๆ ในปี 2566 และ 2567 โดยทั่วโลกคาดว่าจะเห็นการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 2.7% ปีนี้ ซึ่งจะเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยของโลกที่ช้าที่สุดเป็นอันดับสอง นับตั้งแต่วิกฤตการณ์การเงินในช่วง พ.ศ. 2550–2551 หากไม่รวมปี 2563 ที่เกิดสถานการณ์โควิดระบาด Clare Lombardelli หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของ OECD ระบุว่า ราคาพลังงาน อัตราเงินเฟ้อ ปัญหาคอขวดที่ผ่อนคลาย รวมถึงการเปิดประเทศของจีน ตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง และการเงินของครัวเรือนที่คงตัว ล้วนแล้วแต่ส่งผลบวกต่อคาดการณ์การฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจะยังอ่อนแอหากเทียบกับการเติบโตเฉลี่ยของโลกในปีอื่นๆ พร้อมกันนั้นยังกล่าวเพิ่มด้วยว่า ผู้กำหนดนโยบายการเงินจะต้องเผชิญกับหนทางที่ยากลำบาก OECD คาดการณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียในปีนี้จะอยู่ที่ 6% ส่วนจีนจะเห็นการเติบโต 5.4% และ […]

แบงก์ใหญ่จีนลดดอกเบี้ยเงินฝาก รัฐบาลปักกิ่งเร่งกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน

แบงก์ใหญ่จีนลดดอกเบี้ยเงินฝาก รัฐบาลปักกิ่งเร่งกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน

ธนาคารขนาดใหญ่ของจีนหลายแห่งได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในสกุลเงินหยวน เมื่อวันพฤหัสบดี (8 มิ.ย.) เพื่อเป็นการลดแรงกดดันต่ออัตราการทำกำไร และเป็นการลดต้นทุนการกู้ยืม ซึ่งช่วยให้ภาคธุรกิจการเงินและเศรษฐกิจจีนในวงกว้างมีความผ่อนคลายมากขึ้น ธนาคารอินดัสเตรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ ออฟ ไชนา ลิมิเต็ด (ICBC) ธนาคารเพื่อการเกษตรแห่งประเทศจีนแบงก์ ออฟ ไชน่า และธนาคารการก่อสร้างจีน โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ของแต่ละธนาคารทั้งหมดนี้ ระบุว่า ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมีผลตั้งแต่วันพฤหัสบดี (8 มิ.ย.) เป็นต้นไป ธนาคารของรัฐเหล่านี้ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกระแสรายวันลง 0.05% และดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 ปี และ 5 ปี ลง 0.15% ซึ่งเป็นการปรับลดดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ภายในรอบ 1 ปี ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ยครั้งก่อนเกิดขึ้นในเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว นาย Gary Ng นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสเอเชียแปซิฟิกของบริษัท Natixis กล่าวว่า “การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะผลักดันการออมไปสู่การบริโภคและการลงทุนและผ่อนคลายแรงกดดันต่อส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) […]

นักลงทุนต่างชาติเทขาย “หุ้นจีน” กว่า 1.71 พันล้านดอลลาร์ในเดือน พ.ค.

นักลงทุนต่างชาติเทขาย “หุ้นจีน” กว่า 1.71 พันล้านดอลลาร์ในเดือน พ.ค.

นักลงทุนต่างชาติเทขาย “หุ้นจีน” ในเดือนพฤษภาคม 2566 กว่า 1.71 พันล้านดอลลาร์ โดยได้รับแรงส่งในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากดีมานด์ในประเทศและความคาดหวังต่อผลประกอบการของบริษัทที่อ่อนแอ ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงร่วงลงอย่างมาก เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ข้อมูลของ Refinitiv แสดงให้เห็นว่า ชาวต่างชาติขายหุ้นจีนมูลค่า 1.71 พันล้านดอลลาร์ในเดือนพฤษภาคม ผ่านทาง Stock Connect ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงข้ามพรมแดนที่สำคัญระหว่างการแลกเปลี่ยนของจีนและฮ่องกง หลังจากขายไป 659 ล้านดอลลาร์ในเดือนเมษายน ซึ่งการขายดังกล่าวถือเป็นการพลิกกลับอย่างช้าๆ ของการลงทุนจำนวนมากที่มีมูลค่ารวม 2.092 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมกราคม 2566 เมื่อจีนกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังจากมีข้อจำกัดเรื่องโควิดนาน 3 ปี ซึ่งกระตุ้นให้เกิดกระแสความคาดหวังในเชิงบวกสำหรับการเติบโต ความหวังดังกล่าวพังทลายลง เมื่อดีมานด์ในประเทศและต่างประเทศร่วงโรย และการฟื้นตัวก็ไม่สม่ำเสมอ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน กำไรของบริษัทอุตสาหกรรมของจีนตกลงในช่วง 4 เดือนแรกของปี แม้จะมีการไหลออกในเดือนกุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม แต่การซื้อหุ้นสุทธิของชาวต่างชาติในจีนยังคงอยู่ที่ […]

‘อีลอน มัสก์’ เยือนจีน สานต่อโครงการลงทุนอภิมหาโปรเจ็คท์

‘อีลอน มัสก์’ เยือนจีน สานต่อโครงการลงทุนอภิมหาโปรเจ็คท์

อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีโลก ซีอีโอ บริษัทเทสลา เดินทางเยือนจีนอีกครั้ง พร้อมประกาศเจตจำนง เพิ่มการลงทุนด้านตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในจีน เดินหน้าโรงงานขนาดใหญ่ผลิตแบตเตอรี่ที่เซี่ยงไฮ้ สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน วันนี้ (31 พ.ค.) ระบุ นายฉิน กัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ได้ให้การต้อนรับ นายอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีนักธุรกิจ และประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ( ซีอีโอ ) ของ บริษัทเทสลา ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของโลก ซึ่งกำลังเดินทางเยือนจีน เริ่มตั้งแต่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (30 พ.ค.) โดยครั้งนี้ นับเป็นการเยือนจีนครั้งแรกของนายมัสก์ในรอบกว่า 3 ปี หรือเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ผ่านพ้นการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 นั่นเอง กระทรวงการต่างประเทศจีน ออกแถลงการณ์ เกี่ยวกับการพบหารือครั้งนี้ว่า ซีอีโอของเทสลามีความมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจในจีน และยังเน้นย้ำว่า เทสลาไม่เห็นด้วยกับการใช้นโยบายแบ่งแยกทางธุรกิจ ขณะที่ นายฉินกล่าวกับนายมัสก์ว่า รัฐบาลปักกิ่งยินดีสร้างเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ให้มีความเป็นมิตร และมุ่งเน้นแนวคิดกลไกตลาดตามหลักนิติธรรมสำหรับบริษัทต่างชาติทุกราย ปัจจุบัน จีนเป็นตลาดยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นตลาดต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของเทสลาด้วย โดยบริษัทประกาศเมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมาว่า มีโครงการลงทุนเตรียมสร้างโรงงานแห่งที่สองในจีน […]

‘ยอดค้าปลีกจีน’ พุ่ง 18.4% สะท้อนภาคบริการสดใส สวนทางภาคการผลิต

‘ยอดค้าปลีกจีน’ พุ่ง 18.4% สะท้อนภาคบริการสดใส สวนทางภาคการผลิต

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 สำนักข่าว CNBC รายงานว่า ข้อมูลเศรษฐกิจของจีนในเดือนเมษายนยังคงแสดงให้เห็นถึงเส้นทางการฟื้นตัวที่ไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวจากผลกระทบของมาตรการจำกัดโควิดที่เข้มงวด โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 5.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี เทียบกับ 10.9% ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ในแบบสำรวจของรอยเตอร์ ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น 3.9% ในเดือนมีนาคม ขณะที่ ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 18.4% ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 21% ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น 4.7% ในเดือนเมษายน เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 5.5% ด้านหุ้นจีนปรับตัวดีขึ้นเกือบทั้งปีในปีนี้ Shenzhen Component ลดลง 4.67% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาสและเพิ่มขึ้นเพียง 1.48% เมื่อเทียบเป็นรายปี และลดลง 9.5% จากจุดสูงสุดในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ข้อมูลล่าสุดของจีนติดตามภาพที่หลากหลายในวิถีการเติบโตของจีน โดยภาคบริการยังคงเป็นจุดสดใสในระบบเศรษฐกิจ แม้ว่าข้อมูลโรงงานจะเข้าสู่ภาวะหดตัวในเดือน เม.ย. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตทั่วไปของ Caixin China ลดลงสู่ระดับ 49.5 ในเดือนเมษายน […]

“หยวน” แซงหน้า “ดอลลาร์” เป็นครั้งแรก สกุลเงินที่ใช้มากสุดในธุรกรรมข้ามพรมแดนของจีน

“หยวน” แซงหน้า “ดอลลาร์” เป็นครั้งแรก สกุลเงินที่ใช้มากสุดในธุรกรรมข้ามพรมแดนของจีน

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า หยวนกลายเป็นสกุลเงินที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดสำหรับธุรกรรมข้ามพรมแดนในจีนในเดือนมีนาคม 2566 แซงหน้าดอลลาร์เป็นครั้งแรก สะท้อนความพยายามของจีนในการทำให้การใช้เงินหยวนเป็นสากล โดยการชำระเงินข้ามพรมแดนและใบเสร็จรับเงินในสกุลเงินหยวนเพิ่มขึ้นเป็น 549,900 ล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม จาก 434,500 ล้านดอลลาร์ในเดือนก่อนหน้า ตามการคำนวณของรอยเตอร์จากข้อมูลจาก State Administration of Foreign Exchange โดยหยวนถูกใช้ใน 48.4% ของธุรกรรมข้ามพรมแดนทั้งหมด ขณะที่ สัดส่วนของดอลลาร์ลดลงเหลือ 46.7% จาก 48.6% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งปริมาณธุรกรรมข้ามพรมแดนครอบคลุม ทั้งบัญชีกระแสรายวันและบัญชีทุน ทั้งนี้ จีนได้ส่งเสริมการใช้เงินหยวน เพื่อชำระการค้าข้ามพรมแดนมาเป็นเวลานาน โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะทำให้การใช้สกุลเงินของตนเป็นสากล แต่การใช้เงินหยวนในการค้าโลกยังคงอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม ข้อมูลจาก SWIFT แสดงให้เห็นว่า สัดส่วนของเงินหยวนในธุรกรรมสกุลเงินทั่วโลกสำหรับการเงินการค้าเพิ่มขึ้นเป็น 4.5% ในเดือนมีนาคม ในขณะที่เงินดอลลาร์คิดเป็น 83.71% ที่มา: รอยเตอร์

BF Knowledge Tips: หลายเหตุผลที่ทำให้จีนกลับมาน่าลงทุน

BF Knowledge Tips: หลายเหตุผลที่ทำให้จีนกลับมาน่าลงทุน

โดย เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® , BBLAM ปีนี้ ตลาดการลงทุนย้ายมาโฟกัสในฝั่งเอเชียครับ โดยเฉพาะจีนที่ซบเซามา 2 ปี ซึ่งก็มาจากหลายๆ สาเหตุ แต่สาเหตุใหญ่ๆ ก็มาจากโควิด ที่ประเทศจีนยังคงใช้นโยบายเข้มงวดอย่าง Zero-Covid ก่อนจะมายอมผ่อนคลายเมื่อปลายปีที่แล้ว แต่การผ่อนคลายนโยบายหลังประเทศใหญ่อื่นๆ ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่หลายประเทศใหญ่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและเงินเฟ้อ ก็ยิ่งทำให้ประเทศจีนมีความน่าสนใจมากขึ้นโดยเปรียบเทียบ สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียที่ปัจจุบันมีการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ให้มีสัดส่วนการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น มีการค้าขายและเดินทางระหว่างกันมากขึ้น การที่จีนเปิดประเทศจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจหลายประเทศมีความน่าสนใจมากกว่าฝั่งตะวันตก เพราะปริมาณคนจีนที่มีมาก มีกำลังซื้อและการเดินทางของคนจีนในภูมิภาคเอเชียจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ทดแทนกำลังซื้อจากฝั่งตะวันตกที่ลดลง กลับมาที่จีน นอกจากการผ่อนคลายนโยบายเรื่องโควิดแล้ว ข่าวการปรากฎตัว ของ Jack Ma ที่ Hang Zhou ที่เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ Alibaba หรือการประกาศที่จะแยกหน่วยธุรกิจ ที่ประกอบไปด้วยพวก Ecommerce ธุรกิจ Cloud ธุรกิจ Logistic ก็เป็นเหมือนสัญญาณ ที่บ่งชี้ว่า การควบคุมบริษัทด้านเทคโนโลยีของจีนน่าจะผ่อนคลายลง หลังจากถูกทางการจีนควบคุมจัดระเบียบมาตลอด […]

เครื่องชี้เศรษฐกิจของจีนสะท้อนการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

เครื่องชี้เศรษฐกิจของจีนสะท้อนการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM โดยที่แต่ละเครื่องชี้ มีรายละเอียด ดังนี้  GDP ไตรมาส 1/2023 ขยายตัว 4.5% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 4.0% เร่งตัวขึ้นจาก 2.9% ในไตรมาสก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน GDP ขยายตัว 2.2% QoQ เร่งตัวขึ้นจาก 0.04% ไตรมาสก่อน ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เร่งตัวขึ้นเป็น 10.6% YoY สูงกว่าตลาดคาดที่ 7.5% จาก 3.5% ในเดือน ม.ค.-ก.พ. การฟื้นตัว นำโดยหมวดร้านอาหาร (26.3% vs. 9.2% เดือน ม.ค.-ก.พ.), เครื่องสำอางค์ (9.6% vs. […]

ยูเอ็นเผยประชากรอินเดียแซงจีนกลางปีนี้

ยูเอ็นเผยประชากรอินเดียแซงจีนกลางปีนี้

ข้อมูลจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ชี้อินเดียกำลังจะกลายเป็นประเทศประชากรมากที่สุดในโลกแซงหน้าจีน ด้วยจำนวนที่มากกว่าเกือบ 3 ล้านคนในกลางปีนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงาน เมื่อวันพุธ (19 เม.ย.) กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอฟพีเอ) เผยแพร่รายงาน “สภาวะประชากรโลก 2566” ประเมินจำนวนประชากรอินเดียที่ 1.4286 พันล้านคน เทียบกับจีนที่มีประชากร 1.4257 พันล้านคน ส่วนสหรัฐฯ เป็นอันดับสาม จำนวนน้อยกว่ามาก ประมาณ 340 ล้านคน รายงานดังกล่าวใช้ข้อมูลที่มีในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญด้านประชากรใช้ข้อมูลก่อนหน้านี้ จากยูเอ็นคาดการณ์ว่า อินเดียจะมีประชากรแซงหน้าจีนในเดือนนี้ แต่รายงานล่าสุดจากยูเอ็นไม่ได้ระบุวันว่าจะแซงได้เมื่อใด เจ้าหน้าที่ด้านประชากรของยูเอ็น กล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะระบุวันให้ชัดเจน เนื่องจากความไม่แน่นอนของข้อมูลจากอินเดียและจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออินเดียทำสำมะโนประชากรครั้งล่าสุดในปี 2554 และมีกำหนดทำครั้งต่อไปในปี 2564 แต่ต้องล่าช้าไปเพราะโควิด-19 ระบาด นักวิจารณ์ กล่าวว่า รัฐบาลจงใจเลื่อนการสำมะโนประชากรเพื่อปกปิดข้อมูลสำคัญ เช่น การว่างงาน ก่อนการเลือกตั้งระดับชาติจะมีขึ้นในปีหน้า  […]

ศก.จีนว้าว! จีดีพีไตรมาสแรกโตเกินคาด

ศก.จีนว้าว! จีดีพีไตรมาสแรกโตเกินคาด

เศรษฐกิจแดนมังกรโตเร็วเกินคาดจากแรงหนุนของผู้บริโภค ที่กลับมาจับจ่ายใช้สอยอย่างคักคัก หลังจากรัฐบาลจีนยกเลิกนโยบายโควิดเป็นศูนย์ สำนักสถิติแห่งชาติจีน รายงานเมื่อวันอังคาร ( 18 เม.ย.) ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของจีนในไตรมาสแรกของปีนี้โตร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี2565 และโตแซงหน้าจีดีพีของไตรมาสที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.9 โดยจีดีพีในไตรมาสแรก ที่ทางการประกาศนี้ยังขยายตัวมากกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ร้อยละ 4 อีกด้วย จึงนับเป็นการเติบโตแข็งแกร่งสุดในรอบหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม ทางการจีนเตือนว่า เศรษฐกิจจีนอาจเผชิญแรงกดดันในด้านการนำเข้าและส่งออกสินค้าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ท่ามกลางบรรยากาศเศรษฐกิจในโลกที่ผันผวน นอกจากนั้น ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศยังนับว่าไม่เพียงพอ ที่จะหนุนให้เศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลกอย่างจีนแข็งแกร่งได้อย่างแท้จริง โดยทางการจะนำนโยบายต่างๆ มาบังคับใช้ต่อไป เพื่อรักษาเสถียรภาพการเติบโตของเศรษฐกิจและกระตุ้นความต้องการบริโภคภายในประเทศ ตลอดจนช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมเกิดใหม่ (emerging industries) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่นำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ อีกด้วย ข้อมูลในไตรมาสแรกของจีน นับว่ามีความสำคัญและนักลงทุนต่างจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ หลังจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ยุติลงในเดือนธ.ค. 2565 และรัฐบาลจีนได้ผ่อนคลายการคุมเข้มบริษัทกลุ่มเทคโนโลยีและอสังหาริมทรัพย์ที่ดำเนินมานาน 3 ปีไปแล้ว โดยนโยบายโควิดเป็นศูนย์เคยทำให้จีดีพีของจีนในปี 2565 มีการขยายตัวต่ำมากที่สุดครั้งหนึ่งในรอบเกือบครึ่งศตวรรษ […]