สรุป อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ แสดงวิสัยทัศน์ในงาน Nation TV Dinner Talk
โดย ทีม Economic Research สรุป อดีตนายกรัฐมนตรี แสดงวิสัยทัศน์ในงาน Nation TV Dinner Talk เริ่มต้นกล่าวว่า คนไทยรู้ปัญหาดีหมด แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ อดีตนายกฯ ได้กล่าวถึงว่าที่นายกฯ ว่า “ ลูกสาวบอกพ่อว่า ปัญหาของประเทศไทยในแต่ละเรื่องต้องมี Ownership ลูกสาวเขาก็จะ Assign Owner ของแต่ละเรื่อง” ประเด็นหลักที่อดีตนายกฯ พูดถึง ประเด็นเรื่องนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน ต้องปรับโครงสร้างหนี้ครัวเรือน รมว. คลังต้องคุยกับ สมาคม และนักซื้อหนี้ (อดีตนายกฯ ใช้คำนี้) แนวทางมีอยู่มาคุยกัน จะซื้อที่ Discount เท่าไหร่ ก็มาเจรจากัน ประสานนโยบายเศรษฐกิจ กับ ธปท. โดยยังเคารพการทำงานของ ธปท. แต่การที่ ธปท. ลด supply เงินเดือนละ […]
เศรษฐกิจจีนน่าจะผ่านพ้นช่วงเลวร้ายที่สุดไปแล้ว และกำลังหาจุด Take-Off
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM เมื่อวานนี้ (17 ม.ค. 2566) เป็นวันประกาศตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจรายเดือน รวมทั้ง GDP ของจีน ซึ่งแม้ว่า GDP ทั้งปีของจีนจะออกมาต่ำสุด นับตั้งแต่ช่วง 1970s (3% ในปี 2022 เทียบกับ 8.4% ในปี 2021) แต่ด้วยตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนไม่ได้ทำ Low ไปมากกว่า Low เดิม ก็น่าจะเป็นการส่งสัญญาณเชิงเทคนิคได้ส่วนหนึ่งว่า เศรษฐกิจจีนกำลังยก Low นักวิเคราะห์หลายสำนัก ต่างออกมาให้ความเห็นเดียวกันว่า เศรษฐกิจจีนผ่านช่วงที่แย่ที่สุดไปแล้ว ฐานที่ต่ำในปี 2022 จะเป็นตัวยก GDP ปีหน้าไปเกิน 5.0% ถ้าจีนยังคงรักษาการเปิดประเทศไว้ที่ระดับนี้ อานิสงส์บวกนี้จะส่งผลบวกไปต่อประเทศอื่นๆ ใน Emerging Asia รวมถึงประเทศไทยด้วย ในเชิงนโยบาย […]
มองหุ้นจีนผ่านนโยบายเศรษฐกิจ
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจจีนดูน่ากังวล ตัวเลขผู้ติดเชื้อกลับมาที่ระดับสูงสุดในรอบสามเดือน และยังเกิดภาวะภัยแล้งในหลายจังหวัดทำให้เกิดภาวะพลังงานขาดแคลน จำเป็นต้องปิดโรงงานในเสฉวน เนื่องจากไฟมีไม่พอให้รันการผลิต หลายๆ House ออกมาปรับประมาณการ GDP Growth ลงจากห้ากลางๆ เหลือสามปลายๆ ขณะที่ทางการจีนก็กล่าวว่า อาจจะปล่อยให้เป้าหมาย GDP ปีนี้ยืดหยุ่นขึ้น แปลว่า GDP Growth Target ปีนี้คงไปไม่ถึง 5.5% อย่างที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ แต่กลายเป็นว่า หุ้นจีนกลับไม่ไถลลงแรง หนำซ้ำดัชนีหุ้นสำคัญๆ ของจีนดูเหมือนพยายามที่จะ Recover กลับมาได้จากที่ทำ Low ไปเมื่อต้นเดือน ส.ค. นั่นอาจเป็นเพราะ ธนาคารกลางจีน หรือ PBoC ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำคัญลง ได้แก่ 1-year MLF Rate หรือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 […]
BF Economic Note Economic Note Economic Update
Economic Note : ปี 2019 เม็ดเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสะพัด รัฐชูความสำคัญขนส่งทางราง และพื้นที่อีอีซี
BF Economic Research ฐนิตา ตุมราศวิน รมณ ไชยวรรณ Macro Analyst Fund Management Group ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานออกมาต่อเนื่องหลายฉบับ ทำให้การลงทุนภาครัฐของไทยขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ก่อนที่จะมาสะดุดในช่วงปี 2017 จากการเบิกจ่ายงบได้ล่าช้าของรัฐบาล สำหรับปี 2019 นี้ เรามองว่า รัฐบาลจะสามารถเดินหน้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานได้เต็มที่มากขึ้น โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ และการพัฒนาอีอีซี อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากความชัดเจนในโครงการลงทุนภาครัฐในระยะข้างหน้า ได้แก่ กลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มเครื่องจักรกลที่ใช้ในก่อสร้าง ปฏิเสธไม่ได้ว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนาดใหญ่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด จึงทำให้รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของการยกระดับโครงข่าย (Network) การคมนาคมขนส่งของไทยให้ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ที่รัฐบาลได้ประกาศแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานออกมาต่อเนื่องหลายฉบับ อาทิ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2017-2021) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 […]
Artificial Intelligence Economic Note
Economic Note : เทคโนโลยี AI … กุญแจของการเติบโตในโลกอนาคต
BF Economic Research ฐนิตา ตุมราศวิน และ รมณ ไชยวรรณ Macro Analyst Fund Management Group การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในเวทีโลก ทำให้เกิดการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อแก้ปัญหาผลิตภาพ (Productivity) ที่อยู่ในระดับต่ำ และปัญหาสังคมผู้สูงอายุ โดย AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ นอกจากการดำเนินธุรกิจแล้ว การใช้ AI จะนำมาซึ่งไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ทั้งด้านการทำงาน ความบันเทิง และการเรียนรู้ (Work Play Learn) ที่พลิกโฉมไปจากเดิม โดยความสามารถในการจดจำและประมวลผลข้อมูลต่างๆ ของ AI จะช่วยตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างกำหนดให้นวัตกรรมเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยจากการศึกษาของ PWC ในปีที่ผ่านมา ระบุว่า AI จะทำให้จีดีพีของโลกเติบโตมากขึ้นถึง 14% ในปี […]
Economic Note Economic Update Uncategorized
ยานยนต์ไทยจะถูกกระทบแค่ไหน หากทรัมป์เตรียมขึ้นภาษีนำเข้า ?
รมณ ไชยวรรณ Macro Analyst Fund Management Group BF Economic Research การกีดกันทางการค้าโลกกำลังเป็นประเด็นร้อนแรง ล่าสุด สหรัฐฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาขึ้นภาษีนำเข้าสินค้ายานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์จากประเทศคู่ค้า โดยมีกำหนดแถลงในวันที่ 19-20 ก.ค. นี้ สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์อันดับ 8 ของไทย ด้วยสัดส่วน 3.8% ของการส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไทยทั้งหมด หากสหรัฐฯ ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์จากประเทศคู่ค้ารวมถึงไทยในอัตรา 20-25% จะมีผลให้ภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างน้อยคิดเป็นมูลค่าในกรอบประมาณ 196.9-247.6 ล้านดอลลาร์ฯ ตามลำดับ หรือคิดเป็น 0.7-0.9% ของการส่งออกไทยไปยังสหรัฐฯ ทั้งหมด การกีดกันการนำเข้าของสหรัฐฯ อาจทำให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์โลกเป็นวงกว้าง เนื่องจากสายการผลิตรถยนต์เชื่อมโยงกันเป็นห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) สถานการณ์การกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน นับเป็นประเด็นร้อนแรงที่มีผลต่อสถานการณ์การค้าโลกในขณะนี้ หลังจากที่สหรัฐฯ ได้ ประกาศเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศคู่ค้า (Safeguard) เพิ่มขึ้นในสินค้ากลุ่มเครื่องซักผ้า (สูงสุด […]
เจาะลึกแผนพัฒนา EEC ผลงานชิ้นโบว์แดงรัฐบาล
By…ณัฐพัช กิตติปวณิชย์ Macro Analyst, กองทุนบัวหลวง ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศไทย หรือ Eastern Economic Corridor: EEC ถูกพาดขึ้นเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้งตั้งแต่ปีที่ผ่านมา หลังมีความคืบหน้าออกมาให้เห็นไม่ขาดสาย ได้แก่ 1) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติอนุมัติพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ร.บ. EEC) วาระสุดท้าย เพื่อวางกรอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมสมัยใหม่ใน EEC 2) การเตรียมตัวตอกเสาเข็มโครงการก่อสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เชื่อมโยงจุดยุทธศาสตร์ประเทศ 3) กระแสตอบรับจากภาคเอกชนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ส่งผลให้คำขอรับการส่งเสริมที่เพิ่มขึ้นถึง +49% เป็น 2.97 แสนล้านบาทในปี 2017 ปัจจัยเหล่านี้ค่อยๆเข้ามาเป็นสิ่งยืนยันความสำเร็จ โครงการ EEC ซึ่งรัฐบาลกำลังพยายามผลักดันอย่างสุดตัว เราเชื่อว่าอุตสาหกรรมหลายประเภทของไทยมีศักยภาพพัฒนาสูง ภายใต้กฎหมายการลงทุนที่เอื้ออำนวย ผนวกกับพื้นฐาน Supply Chain ของผู้ผลิตไทยที่แข็งแกร่งรองรับการลงทุนต่อยอดได้ เป็นเหตุให้เราเริ่มเห็นแผนขยายการลงทุนเพิ่มของผู้ประกอบการหลายรายอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น นโยบายรัฐบาลประตูเปิดทางการลงทุนเอกชน มองย้อนไปเมื่อช่วงกลางปี 2017 คณะกรรมการนโยบายพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เตรียมบังคับใช้ […]
ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2018 โตต่อเนื่อง 4.1%
ในปีที่ผ่านมา นับเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดีกว่าที่ตลาดคาด เห็นได้จากการปรับประมาณการเศรษฐกิจขึ้นหลายครั้ง โดยท้ายที่สุด ทั้งปี 2017 เศรษฐกิจไทยก็สามารถเติบโตถึง 3.9% เพิ่มขึ้นจาก 3.2% ในปี 2016 โดยมีการส่งออกเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สำหรับในปี 2018 กองทุนบัวหลวง ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ 4.1% เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าเล็กน้อย โดยได้รับแรงหนุนจากหลายปัจจัย อาทิ การกลับมาของการลงทุนในประเทศ การท่องเที่ยวที่เติบโตได้ดีต่อเนื่อง และการส่งออกที่ยังคงเป็นพระเอกในปีนี้ ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์โลก ในขณะที่ การบริโภคของภาคเอกชนยังคงมีปัจจัยฉุดรั้งการเติบโตอยู่บ้าง เมื่อเครื่องยนต์ “การลงทุนภาคเอกชน” สตาร์ทติด ในช่วงก่อนหน้านี้ การลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวต่อเนื่อง นับเป็นเรื่องที่น่ากังวลของเศรษฐกิจไทย แม้ที่ผ่านมาภาครัฐพยายามนำร่องเร่งลงทุนโครงการต่างๆ เพื่อให้ ภาคเอกชนลงทุนตาม แต่ผลที่ออกมากลับพบว่าเอกชนยังไม่กล้าลงทุนเพิ่มเติม ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะอุปสงค์ในตลาดโลกยังซบเซา และไปกระทบกับยอดสั่งซื้อ แต่เมื่อเศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในปีที่ผ่านมา และเป็นการเติบโตแบบกระจายทั่วทุกภูมิภาค บวกกับความเสี่ยงต่างๆ ที่เคยคาดว่าจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจนั้นได้เบาบางลงเร็วกว่าที่คาด ทำให้การส่งออกของไทยกลับมาเติบโตได้ดี และกระตุ้นให้การลงทุนภาคเอกชนเร่งตัวขึ้นมานับตั้งแต่ไตรมาส 2/2017 ทั้งปี 2017 การลงทุนภาคเอกชนจึงขยายตัวได้ […]