ส่งออกมี.ค.พลิกกลับมาบวก 8.47% YoY สูงสุดในรอบ 28 เดือน
BF Economic Research ภาพรวมการส่งออกเดือน มี.ค. การส่งออกเดือน มี.ค. มีมูลค่า 24,222.45 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 8.47% YoY โดยมูลค่าส่งออกสูงสุดในรอบ 28 เดือน นับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2018 โดยมีปัจจัยบวกจากการกระจายวัคซีนในวงกว้าง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการฟื้นตัวของภาคการผลิตโลก ทั้งนี้ เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องน้ำมัน ทองคำ และอาวุธยุทธปัจจัยแล้ว การส่งออกขยายตัว 11.97% YoY สะท้อนการเติบโตของภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 23,511.65 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 14.12% ส่งผลให้เกินดุลการค้า 710.80 ล้านดอลลาร์ฯ สำหรับภาพรวมไตรมาส 1/64 การส่งออกมีมูลค่า 64,148.03 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 2.27% YoY YTD และการนำเข้ามีมูลค่ารวม 63,632.37 ล้านดอลลาร์ฯ […]
IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโต 6% ในปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1980 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการในเดือน ม.ค. ที่ 5.5%
BF Economic Research IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโต 6% ในปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1980 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการในเดือน ม.ค. ที่ 5.5% (ทั้งนี้ COVID-19 เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ GDP โลกปี 2020 หดตัว -3.3% ซึ่งเป็นอัตราหดตัวต่ำสุดตั้งแต่สมัย Great Depression) สหรัฐฯและจีนซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่สามารถเร่งการฟื้นตัวได้อย่างก้าวกระโดด IMF มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐคาดว่าจะขยายตัว 6.4% ในปีนี้ (จากคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 5.1%) จากที่หดตัว -3.5% ในปีที่แล้ว ส่วนเศรษฐกิจของจีนคาดว่าจะขยายตัว 8.4% ในปีนี้เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 8.1% Growth Contribution ของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่มาจากนโยบายสนับสนุนทั้งจากรัฐบาลและ Fed, IMF กล่าวว่า “มาตรการกระตุ้นทางการคลังมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ที่ได้อนุมัติไปเมื่อเดือนมี.ค. จะทำให้มี […]
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมี.ค. หดตัวเล็กน้อย ที่ -0.08% (YoY) เป็นการหดตัวต่อเนื่องในรอบ 13 เดือน
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมี.ค. หดตัวเล็กน้อย ที่ -0.08% (YoY) เป็นการหดตัวต่อเนื่องในรอบ 13 เดือน เมื่อเทียบรายไตรมาส อัตราเงินเฟ้อไทยหดตัวที่ -0.53% YTD YoY ปัจจัยฉุดเงินเฟ้อไทยมาจากมาตรการช่วยเหลือค่าน้ำค่าไฟเป็นหลักซึ่งมีผลทำให้ระดับราคาในหมวดเคหสถานที่มีน้ำหนัก 23.17% ในตะกร้าราคาหดตัว -4.87% YoY ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัว -4.98% YoY ทั้งนี้ เนื่องด้วยมาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วในเดือนมี.ค. จึงคาดว่าระดับราคาในหมวดนี้จะกลับเข้าสู่ระดับปกติและอาจจะทะยานสูงขึ้นจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อน สำหรับหมวดสินค้าอื่นๆนั้น พบว่าราคาสินค้ากลุ่มข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้งหดตัวต่อเนื่อง (-6.59% YoY) แต่เมื่อผนวกกับราคาหมูที่ปรับสูงขึ้น (5.2% YoY) จากต้นทุนยาฉีดสัตว์เพื่อป้องกัน ASF มีผลให้ระดับราคากลุ่มอาหารปรับตัวเล็กน้อยที่ -0.26% YoY มองไปข้างหน้าคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยจะค่อยๆเป็นบวกได้จากค่าน้ำค่าไฟฟ้าที่เข้าสู่ระดับปกติ เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยนทั้งปีนี้จะอยู่ในกรอบ 0.5-1.0% การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 9.16 แสนตำแหน่ง […]
Economic Review Economic Update
BF Monthly Economic Review – มี.ค. 2564
BF Economic Research สรุปความ นักลงทุนอาจมองข้ามเครื่องชี้เศรษฐกิจไปได้เล็กน้อยในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา เนื่องจากเครื่องชี้เศรษฐกิจวิ่งไปตามการฉีดวัคซีนทั่วโลก เครื่องชี้ปรับตัวดีขึ้น เริ่มเห็นการเปิดเมือง ซึ่งมีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่นเริ่มเปิดโอลิมปิก มีการวิ่งคบเพลิงภายในประเทศ ขณะที่สหรัฐน มีการปรับเป้าหมายการฉีดวัคซีนจาก 100 ล้านราย เป็น 200 ล้านราย ถือเป็นข่าวดีต่อเศรษฐกิจ ทั้งนี้ นักลงทุนอาจรู้สึกมีความกังวลใจ เพราะในช่วงเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ Unfortunate events ภาษาไทยเรียกว่า เหตุการณ์ที่ดูเหมือนไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเรือขวางคลองสุเอซ มีสถานการณ์ขาดแคลนชิป ตู้คอนเทนเนอร์ก็ยังขาดแคลนอยู่ ยังไม่รวมถึงภาวะความคุกรุ่นทางการเมือง ที่ประเทศจีนไปลงนามในสัญญาความร่วมมือกับอิหร่าน เป็นสัญญาถึง 25 ปี ภาวะเช่นนี้ เป็นภาวะที่ค่อนข้างทำให้เกิดการกระทบต่อตลาด ซึ่งนักลงทุนอาจตั้งคำถามว่าเรื่องนี้จะกระทบนานหรือไม่ ส่งผลกระทบต่อจังหวะต่อตลาดในระยะยาวหรือไม่ เราได้ไปติดตามเหตุการณ์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางการค้า ซึ่งเป็นเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดก่อนหน้าเหตุการณ์ที่พบเจอในเร็วๆ นี้ คือก่อนโควิด-19 ในปี 2018 […]
สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน ก.พ.
BF Economic Research เศรษฐกิจไทยในเดือนก.พ. ทยอยปรับดีขึ้น หลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลง โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนทยอยฟื้นตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น และได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ ด้านเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวสูงขึ้นตามการนำเข้าสินค้าทุนที่ปรับดีขึ้น ขณะที่การส่งออกสินค้าไม่รวมทองคำยังขยายตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้า ในรายองค์ประกอบ การบริโภคภาคเอกชนหดตัวลดลง -2.1% YoY (vs. -4.5% เดือนก่อน): โดยเป็นการหดตัวลดลงในทุกหมวด อาทิ สินค้ากึ่งคงทน (+3.3% vs. -2.7% เดือนก่อน), สินค้าไม่คงทน (-3.4% vs. -8.4% เดือนก่อน), สินค้าคงทน (-7.7% vs. -12.3% เดือนก่อน) และภาคบริการ (-18.3% vs. -29.1% เดือนก่อน) ทั้งนี้ รายได้ภาคเกษตร (+7.1% vs. +7.2% เดือนก่อน) ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดแรงงานยังคงเปราะบาง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวสูงที่ […]
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25%
BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% และระบุเช่นเดิมว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง (For some time) สำหรับแนวโน้มของดอกเบี้ยหรือ Dot Plot ยังคงชี้ว่า เฟด จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวจนถึงสิ้นปี 2023 เป็นอย่างน้อย แต่ความเห็นของคณะกรรมการมีท่าทีที่ Hawkish มากขึ้น โดยคณะกรรมการ 7 ท่านจากทั้งหมด 18 ท่านที่มองว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยภายในปี 2023 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ครั้งก่อนในเดือน ธ.ค. ที่มีคณะกรรมการ 5 จากทั้งหมด 17 ท่าน (นาย […]
อัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ. ลดลง -1.17% YoY (vs prev -0.34%YoY) ผลจากมาตรการลดค่าน้ำค่าไฟฟ้า
BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. ลดลง -1.17% YoY (vs prev -0.34%YoY) เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ซึ่งการหดตัวในเดือนนี้ มีปัจจัยหลักจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ โดยเฉพาะการลดค่าไฟฟ้าและ น้้าประปา เป็นระยะเวลา 2 เดือน (ก.พ.–มี.ค. 2564) ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะผักสด ข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว ลดลงตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและฐานราคา ที่ต่ำปีก่อน ขณะที่ราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่นๆ ส่วนใหญ่ยังทรงตัวและ เคลื่อนไหวสอดคล้องกับปริมาณผลผลิตและความต้องการบริโภคของประชาชน ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐาน flat 0.04% YoY และเฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค.- ก.พ.) เงินเฟ้อทั่วไปลดลง -0.75% (AoA) ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.12% (AoA) สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมี.ค. น่าจะยังหดตัวต่อไป […]
สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ม.ค.
BF Economic Research รายงานเครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนจัดทำโดยธปท. ชี้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบชัดเจนขึ้นจากการกลับมา Lockdown ในช่วงเดือนม.ค. คาดว่าเศรษฐกิจน่าจะค่อยๆ Bottom Out ในระยะข้างหน้า รายละเอียดสำคัญมีดังนี้ เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน หดตัว -4.6% YoY (vs. +2.9% เดือนก่อน): โดยหดตัวในทุกหมวดการใช้จ่าย โดยเฉพาะหมวดบริการ (-29.0% vs. -27.6% เดือนก่อน) และหมวดสินค้าคงทน (-12.3% vs. +6.9% เดือนก่อน) ที่หดตัวในระดับเลขสองหลัก ขณะที่รายได้เกษตรกร (+8.0% vs. +10.6% เดือนก่อน) ยังหนุนกำลังซื้อต่อเนื่อง ทั้งจากด้านราคาและผลผลิต ซึ่งเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูง เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน ชะลอตัวเป็น 1.6% YoY (vs. + 6.1% เดือนก่อน): สอดคล้องกับการลดลงของความเชื่อมั่นทางธุรกิจ โดยการชะลอตัวเกิดจากการลดลงของพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้าง (-11.7% […]
การส่งออกไทย flat ในเดือน ม.ค. MOC คาดทั้งปีโต 4%
BF Economic Research การส่งออกไทยมีมูลค่า 19,706.57 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 0.35% จากตลาดคาด 0.6-2.7% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 19,908.96 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว 5.24% ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 202.38 ล้านดอลลาร์ฯ ทั้งนี้เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับ น้ำมัน ทองคำ และอาวุธ ยุทธปัจจัย ขยายตัว 7.57% YoY สะท้อนการเติบโตจากภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) การส่งออกของไทยเดือนม.ค.ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนธ.ค. ปีก่อน ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ซึ่งมูลค่าส่งออกยังสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง (18,319 ล้านดอลลาร์ฯ) โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายประเทศและประสิทธิภาพของวัคซีน Covid-19 เริ่มเห็นผลชัดเจนและ กระจายในวงกว้าง สำหรับปัจจัยสนับสนุนต่อการส่งออกไทยในเดือนนี้ ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายประเทศที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, ประสิทธิภาพของวัคซีนต้านไวรัส Covid-19 เริ่มเห็นผลชัดเจน […]
Economic Update Thailand Uncategorized
GDP ไทยไตรมาส 4 หดตัว -4.2% YoY ดีกว่าการคาดการณ์ของตลาด ทั้งปีหดตัว -6.1% คาดปีนี้ขยายตัว 3.3%
BF Economic Research GDP ไทยไตรมาส 4 หดตัว -4.2% YoY ดีกว่าการคาดการณ์ของตลาด (vs. ตลาดคาด -5.4%) และปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่หดตัว -6.4% ส่งผลให้ GDP ในปี 2020 หดตัว -6.1% (vs. -6.4% ตลาดคาด และ +2.3% ในปี 2019) สำหรับในรายไตรมาส, GDP ในไตรมาส 4 ขยายตัว 1.3% QoQ (vs. +6.2% ไตรมาสก่อน) ในรายองค์ประกอบ ด้านอุปสงค์: พบว่าแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐมีบทบาทสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการบริโภคของครัวเรือน อุปสงค์ภายในประเทศ: การขยายตัวของการใช้จ่ายภาครัฐยังคงมีอย่างต่อเนื่อง (การบริโภค +1.9% vs. +2.5% ไตรมาสก่อน และการลงทุน +0.6% […]