ตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนของไทยเริ่มดีขึ้น

ตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนของไทยเริ่มดีขึ้น

BF Economic Research • การบริโภคครัวเรือนทรงตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน (-0.1% YoY vs. -4.5% เดือนก่อน) จากการใช้จ่ายที่ดีขึ้นในเกือบทุกหมวด ซึ่งเป็นไปตามการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นและรายได้ภาคเกษตร (+3.4% vs. -2.2% เดือนก่อน) อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนและหมวดบริการยังคงหดตัวในระดับสองหลัก (-15.7% และ -22.8% ตามลำดับ) • การบริโภคครัวเรือนทรงตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน (-0.1% YoY vs. -4.5% เดือนก่อน) จากการใช้จ่ายที่ดีขึ้นในเกือบทุกหมวด ซึ่งเป็นไปตามการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นและรายได้ภาคเกษตร (+3.4% vs. -2.2% เดือนก่อน) อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนและหมวดบริการยังคงหดตัวในระดับสองหลัก (-15.7% และ -22.8% ตามลำดับ) • การลงทุนภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่อง (-12.8% YoY vs. -10.2% เดือนก่อน) จากการใช้จ่ายด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ยังคงหดตัวสูง (เช่น […]

BF Monthly Economic Review – ส.ค. 2563

BF Monthly Economic Review – ส.ค. 2563

BF Economic Research สรุปประเด็นที่น่าสนใจ GDP ไตรมาสที่ 2 ของประเทศต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ประกาศออกมาแล้วเห็นการติดลบค่อนข้างแรง ข่าวร้ายผ่านไปแล้ว ส่วนในไตรมาสที่ 3 และ 4 จะเห็นเศรษฐกิจค่อยๆ กระเตื้องขึ้น นโยบายการเงินที่เปลี่ยนไปของสหรัฐฯ เป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุน ติดตามการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกของจีนขยายตัวต่อเนื่อง หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ประเทศในเอเชียอื่นๆ จะได้รับอานิสงส์ด้วย เพราะห่วงโซ่อุปทานการผลิตเชื่อมโยงกัน การประกาศ GDP ไตรมาสที่ 2 ของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ประกาศออกมาแล้วเห็นการติดลบค่อนข้างแรง ในเชิงมุมมองของการลงทุนมองว่า ข่าวร้ายผ่านไปแล้ว ในไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ตลาดมองว่าเศรษฐกิจจะค่อยๆ กระเตื้องขึ้น หลายประเทศ ได้รับการปรับตัวเลข GDP ดีขึ้น หรือแม้แต่จีนที่ยังไม่เห็น GDP ติดลบแม้แต่ไตรมาสเดียว ต้องติดตามนโยบายการเงิน โดยเมื่อปลายเดือน ส.ค. มีการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐฯ […]

เศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง หดตัว -12.2% YoY ต่อเนื่องจากในไตรมาสแรกที่หดตัว -2.0% (ปรับประมาณการลงจากเดิมที่ -1.8% YoY) ส่งผลให้ครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยหดตัว -6.9%

เศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง หดตัว -12.2% YoY ต่อเนื่องจากในไตรมาสแรกที่หดตัว -2.0% (ปรับประมาณการลงจากเดิมที่ -1.8% YoY) ส่งผลให้ครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยหดตัว -6.9%

BF Economic Research เศรษฐกิจไทยไตรมาสสอง หดตัว -12.2% YoY ต่อเนื่องจากในไตรมาสแรกที่หดตัว -2.0% (ปรับประมาณการลงจากเดิมที่ -1.8% YoY) ส่งผลให้ครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยหดตัว -6.9% ทั้งนี้ หากเทียบรายไตรมาสต่อไตรมาสหลังขจัดปัจจัยฤดูกาล (QoQ, SA) พบว่า เศรษฐกิจไทยหดตัว -9.7% (vs. -2.5% ใน 1Q20) เป็นการหดตัว 3 ไตรมาสติดต่อกัน ในรายองค์ประกอบ ด้านการใช้จ่าย อุปสงค์ต่างประเทศ: หดตัวสูงในระดับสองหลักทั้งการส่งออกสินค้าและบริการ (-15.9% และ -70.4% ตามลำดับ) ซึ่งเป็นผลพวงจากกิจกรรมเศรษฐกิจและห่วงโซ่อุปทานที่หยุดชะงักจากมาตรการ Lockdown  และเศรษฐกิจคู่ค้าที่อ่อนแอลงหลังการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในวงกว้าง อุปสงค์ในประเทศ: หดตัวจากการใช้จ่ายของภาคเอกชน ทั้งการบริโภคและการลงทุน โดยการบริโภคภาคเอกชนหดตัว -6.6% (vs. +2.7% ใน 1Q20) […]

Economic Update: ตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนของจีน

Economic Update: ตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนของจีน

BF Economic Research ประเทศจีน คะแนนในเดือนก.ค. อยู่ที่ 20% ปรับลงมาเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ 33% เนื่องด้วยการระดมทุนและสินเชื่อใหม่สกุลหยวนปรับตัวลดลง ตลาดค่อนข้างผิดหวังกับตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีก ซึ่งหากพิจารณาในรายธุรกิจก็จะพบว่า มีกลุ่มธุรกิจที่สามารถขยายตัวในเชิงยอดขายได้ดีเช่น Auto, Property เป็นต้น ณ ขณะนี้การฟื้นตัวของจีนจะกระจุกอยู่ที่ภาคการลงทุนเป็นหลัก หากการบริโภคในประเทศสามารถ Catch Up ได้ก็น่าจะทำให้จีนมีความน่าสนใจมากขึ้น ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ของจีนจะออกนโยบายกระตุ้นการบริโภคในประเทศในช่วงเดือนก.ย.-ต.ค. น่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นยอดขายได้ส่วนหนึ่ง  ส่วนการส่งออกในเดือนก.ค. นี้ปิดบวกที่ 7.2%  YoY จากที่ Flat 0.5% ในเดือนก่อน หากภาพการส่งออกของจีนขยายตัวดีต่อเนื่องก็น่าจะส่งผลบวกที่ดีต่อประเทศใน Supply Chain ของจีนด้วย กิจกรรมภายในประเทศ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน ก.ค. ขยายตัว 8% YoY เท่ากับเดือนก่อน นำโดยผลผลิตรถยนต์ (26.8% vs. 20.4% […]

ลงทุนอย่างไรหลังโควิด-19

ลงทุนอย่างไรหลังโควิด-19

ตลอดเกือบครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ทั่วโลกต้องเผชิญกับความท้าทายในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จนมาถึงช่วงครึ่งปีหลังนี้ สถานการณ์ในหลายประเทศเริ่มดีขึ้น นักลงทุนก็เริ่มสอบถามกันเข้ามามากว่า แล้วในช่วงหลังโควิด-19 ควรจะลงทุนอย่างไรดี ติดตามรายละเอียดที่น่าสนใจได้จากคลิปวิดีโอนี้ ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังได้ที่ BF Economic Review – ครึ่งปีหลัง 2563 BF Economic Review – ครึ่งปีหลัง 2563

การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) สหรัฐฯ เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 1.76 ล้านราย

การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) สหรัฐฯ เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 1.76 ล้านราย

BF Economic Research การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 1.76 ล้านราย ดีกว่าที่ตลาดคาดที่ 1.48 ล้านราย ต่อเนื่องจากที่เพิ่มขึ้น 4.79 ล้านรายในเดือนก่อน สะท้อนการฟื้นตัวที่ดีขึ้นของตลาดแรงงาน การจ้างงานเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะภาคบริการ (1.72 ล้านราย vs. 4.28 ล้านรายเดือนก่อน) ยังคงนำโดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก COVID-19 ได้แก่ การโรงแรมและพักผ่อน (5.92 แสนราย) ค้าปลีก (2.58 แสนราย) การให้บริการด้านสุขภาพและความช่วยเหลือทางสังคม (1.91 แสนราย) และการให้บริการทางธุรกิจ (1.70 แสนราย) ส่วนภาคการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (3.9 หมื่นราย vs. 5.15 แสนรายเดือนก่อน) ทั้งในภาคอุตสาหกรรม (2.6 หมื่นราย) และภาคก่อสร้าง […]

แบงก์ชาติอินเดียคงอัตราดอกเบี้ย รับมือเงินเฟ้อ

แบงก์ชาติอินเดียคงอัตราดอกเบี้ย รับมือเงินเฟ้อ

BF Economic Research ธนาคารกลางอินเดีย (Reserve Bank of India: RBI) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมวันที่ 6 ส.ค. ตามที่ตลาดคาด โดยคงอัตราดอกเบี้ย Repo ไว้ที่ 4.0% และอัตราดอกเบี้ย Reverse Repo ไว้ที่ 3.35% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากปรับลดอัตราดอกเบี้ย Repo ลงมา 115 bps ตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 สาเหตุหลักของการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนมิ.ย. 2020 ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายของ RBI (2.0-6.0%) ที่ 6.09% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร ราคาน้ำมัน และราคาทอง ทั้งนี้ RBI ยังมองว่าอัตราเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงขาขึ้นอยู่ในไตรมาส 3/2020 โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร หลังจากการระบาดของ COVID-19 ในระยะข้างหน้า เราคาดว่า RBI […]

รายงานตัวเลขรายเดือนของเศรษฐกิจไทยในเดือน มิ.ย.

รายงานตัวเลขรายเดือนของเศรษฐกิจไทยในเดือน มิ.ย.

BF Economic Research การบริโภคครัวเรือนหดตัว -4.7% YoY (vs. -11.5% เดือนก่อน) โดยการใช้จ่ายครัวเรือนหดตัวน้อยลงในทุกหมวด กล่าวคือ หมวดสินค้าไม่คงทน (-3.2% vs. prev. -6.4%) หมวดสินค้ากึ่งคงทน (-4.4% vs. prev.  -7.8%) หมวดสินค้าคงทน (-18.9%  vs. prev. -32.0%) และหมวดบริการ (-24.3% vs. prev. -28.6%) ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการใช้จ่ายในสินค้าหมวดคงทนและหมวดบริการยังคงหดตัวสูงในระดับสองหลัก สอดคล้องกับเครื่องชี้กำลังซื้อที่ยังอ่อนแอ สะท้อนจากรายได้เกษตรกร (-1.9% vs. prev. -3.2% เดือนก่อน) การลงทุนภาคเอกชนหดตัว -12.1% YoY ปรับดีขึ้นจาก -18.2% เดือนก่อน โดยแม้เครื่องชี้การลงทุนจะหดตัวในวงกว้าง แต่เราเห็นการหดตัวในอัตราชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเฉพาะยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่เพื่อการลงทุน (-12.6% […]

GDP ยูโรโซน ไตรมาส 2/2020 (ประมาณการครั้งที่ 1) ลดลง -12.1% QoQ

GDP ยูโรโซน ไตรมาส 2/2020 (ประมาณการครั้งที่ 1) ลดลง -12.1% QoQ

BF Economic Research GDP ยูโรโซน ไตรมาส 2/2020 (ประมาณการครั้งที่ 1) ลดลง -12.1% QoQ ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดไว้ แต่เป็นการหดตัวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการรวมตัวกันของยูโรโซนในปี 1995 จากผลของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้รัฐบาลแต่ละประเทศสมาชิกต้องประกาศล็อกดาวน์ในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งการบริโภคและการลงทุนจึงชะงักงันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเป็นการหดตัวเพิ่มขึ้นจาก -3.6%QoQ ในไตรมาส 1 ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเป็นทางการ ในรายประเทศ GDP เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปนหดตัว -10.1% QoQ, 13.8%QoQ, -12.4%QoQ และ -18.5% QoQ ตามลำดับ โดยสเปนเป็นประเทศที่พึ่งพาภาคบริการอย่างการท่องเที่ยวในสัดส่วนที่สูง ทำให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบรุนแรงจาก COVID-19 ทั้งนี้ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดรายองค์ประกอบของ GDP (การบริโภค การลงทุน การใช้จ่ายภาครัฐ และการส่งออก) ในการประกาศครั้งนี้ โดยจะเปิดเผยพร้อมตัวเลขประมาณการ GDP […]

BF Monthly Economic Review – ก.ค. 2563

BF Monthly Economic Review – ก.ค. 2563

BF Economic Research สรุปประเด็นสำคัญๆ ที่น่าจะมีผลต่อการลงทุน มีด้วยกัน 3 ประเด็น ได้แก่  ตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 2 ที่ทยอยประกาศออกมาในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.  การอัพเดทนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน  การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 1.ตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 2 ที่ทยอยประกาศออกมาในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.  ช่วงเดือน มี.ค. เราเจอวิกฤติ COVID-19 มีการล็อกดาวน์ทั่วโลก ดังนั้นภาพเศรษฐกิจอาจไม่ได้เห็นจากการประกาศ GDP ไตรมาสแรก แต่จะมาสะท้อนใน GDP ไตรมาสที่ 2 ที่จะมีการหดตัวค่อนข้างแรงเกิดขึ้น โดยจะต้องมาติดตามว่าแต่ละประเทศ GDP หดตัวมากน้อยเพียงใด ล่าสุดมี 4-5 ประเทศประกาศ GDP ไตรมาสที่ 2 ออกมาแล้ว ได้แก่ สิงคโปร์ จีน สหรัฐอเมริกา […]