ส่งออกเดือน ต.ค. หดตัวต่อที่ -4.54% (ไม่รวมทอง -4.3% YoY) คาดทั้งปี -2.0% จากปี 2018 ที่โต 6.7%

ส่งออกเดือน ต.ค. หดตัวต่อที่ -4.54% (ไม่รวมทอง -4.3% YoY) คาดทั้งปี -2.0% จากปี 2018 ที่โต 6.7%

BF Economic Research การส่งออกไทยเดือน ต.ค. อยู่ที่ 20,757.8 ล้านดอลลาร์ฯ (vs prev 20,481.3 ล้านดอลลาร์ฯ) หดตัว -4.54% YoY (vs prev -1.39% YoY) ถ้าไม่รวมทองหดตัว -4.3% (vs prev -2.3%YoY) ส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 20,251.3 ล้านดอลลาร์ฯ (vs prev 19,206.1 ล้านดอลลาร์ฯ) หดตัว -7.57% YoY (vs prev -4.2%YoY) ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 506.5 ล้านดอลลาร์ฯ (vs prev 1,275.2 ล้านดอลลาร์ฯ) สำหรับในช่วง 10 เดือนของปี 2019 (ม.ค.-ต.ค.) การส่งออกมีมูลค่ารวม […]

จีดีพีไตรมาส 3 ขยายตัว 2.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน ต่ำกว่าตลาดคาด

จีดีพีไตรมาส 3 ขยายตัว 2.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน ต่ำกว่าตลาดคาด

BF Economic Research  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยในไตรมาสที่ 3/2019 ขยายตัว 2.4%YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 2.7%YoY แต่เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 2.3%YoY • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยในไตรมาสที่ 3/2019 ขยายตัว 2.4%YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 2.7%YoY แต่เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 2.3%YoY หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จีดีพีขยายตัว 0.1%QoQ sa ขณะที่ การขยายตัวในไตรมาสที่ 2 ถูกปรับลดลงมาขยายตัวที่ 0.4%QoQ sa จากการประมาณการก่อนหน้า 0.6%QoQ sa • ในรายองค์ประกอบด้านการใช้จ่ายพบว่า การใช้จ่ายภาคร้ฐและการลงทุนขยายตัวได้ดีกว่าไตรมาสก่อน ขณะที่การส่งออกสุทธิให้ผลบวกกับ GDP แต่เนื่องด้วย GDP ปีก่อนขยายตัวในเกณฑ์สูง (3Q2018 ขยายตัว 3.2% YoY) เป็นผลให้ […]

สรุปข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจจีนเดือน ต.ค.

สรุปข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจจีนเดือน ต.ค.

BF Economic Research • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน ต.ค. ชะลอตัวลงเป็น 4.7% YoY จากเดือนก่อนที่ 5.8% YoY โดยผลผลิตไฟฟ้า ซีเมนต์ และผลิตภัณฑ์จากเหล็ก ต่างชะลอตัวลง • ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือน ต.ค. ชะลอตัวลงเป็น 7.2% YoY จากเดือนก่อนที่ 7.8% YoY โดยส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากรายได้หลังหักภาษีลดลงขณะที่ราคาหมูปรับตัวขึ้น   • การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Investment) เดือน ก.ย. ชะลอตัวลงเป็น 5.2% YoY YTD ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1998 จากเดือนก่อนที่ 5.4% YoY YTD […]

GDP อินโดนีเซียโตชะลอลงในไตรมาส 3 แต่คาดขยายตัวได้ดีขึ้นในปี 2020

GDP อินโดนีเซียโตชะลอลงในไตรมาส 3 แต่คาดขยายตัวได้ดีขึ้นในปี 2020

BF Economic Research เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัว 5.02% YoY ในไตรมาส 3/2019 ชะลอตัวลงจาก 5.05% ในไตรมาสก่อนหน้า จากการเติบโตที่ลดลงอย่างมากของการใช้จ่ายภาครัฐจาก 8.2% YoY ในไตรมาส 2 มาเป็น 1.0% ในไตรมาสนี้ ประกอบกับการบริโภคในประเทศ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจอินโดนีเซียก็เติบโตชะลอตัวลงเป็น 5.0% YoY จาก 5.2% อย่างไรก็ดี การส่งออกสุทธิกลับเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจในไตรมาสนี้จากการนำเข้าที่หดตัวมากกว่าการส่งออก ส่งผลให้การส่งออกสุทธิ (การส่งออกลบการนำเข้า) เป็นบวก มองไปข้างหน้า กองทุนบัวหลวง คาดว่า เศรษฐกิจอินโดนีเซียมีแนวโน้มเติบโตแบบทรงตัวในไตรมาส 4 ส่งผลให้ทั้งปี 2019 GDP จะขยายตัวราว 5.0% ก่อนจะขยายตัวสูงขึ้นในปี 2020 ที่ 5.1% จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่น่าจะเริ่มทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องหลังจากนาย Joko Widodo เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ในช่วงปลายเดือนต.ค. […]

กนง. โหวต 5: 2 มีมติลดดอกลง 1.25% เป็นระดับที่ต่ำสุดแล้วตั้งแต่ใช้ดอกเบี้ย Rp 1 day เป็นดอกเบี้ยนโยบาย

กนง. โหวต 5: 2 มีมติลดดอกลง 1.25% เป็นระดับที่ต่ำสุดแล้วตั้งแต่ใช้ดอกเบี้ย Rp 1 day เป็นดอกเบี้ยนโยบาย

BF Economic Research กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.5% สู่ 1.25% เป็นอัตราต่ำสุด ตั้งแต่มีการใช้ 1-day repo rate เป็นดอกเบี้ยนโยบาย คณะกรรมการ ส่วนใหญ่ เห็นว่า กนง. มองว่าเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจาก Trade Tensions ค่อนข้างมาก ขณะที่การท่องเที่ยวชะลอลงกว่าปีก่อน ด้านการบริโภคในประเทศนั้น ได้รับแรงกดดัน จากการที่ธุรกิจที่ส่งออกเป็นหลักได้รับผลกระทบและส่งผลต่อไปสู่การจ้างงานและอุปสงค์ในประเทศ กนง. ได้ให้ความเห็นว่า แม้ว่าจะมี Fiscal Stimulus แต่ไม่สามารถเร่งการใช้จ่ายได้อย่างมีนัยสำคัญ จะมีส่วนของการลงทุนภาคเอกชนที่ กนง. มองว่า เริ่มเห็นสัญญาณการ Bottom Out ได้จากโครงการ PPP ด้านเงินเฟ้อและอัตราแลกเปลี่ยนนั้น กนง. มองว่า […]

สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ก.ย. 2562

สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ก.ย. 2562

BF Economic Research 1) การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา (+1.3% YoY vs. +1.0% ในเดือนที่แล้ว) เป็นการขยายตัวในทุกหมวด ยกเว้นการบริโภคสินค้าคงทน (-5.7% vs. -4.0% ในเดือนที่แล้ว) ถึงแม้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะเริ่มส่งผลในช่วงปลายเดือน ก.ย. แต่ถูกกดดันจากกำลังซื้อที่อ่อนแอจาก อาทิ รายได้ที่เติบโตต่ำ และความเชื่อมั่นที่อ่อนแอ 2) การลงทุนภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่อง โดยหดตัว -3.9% YoY (vs. -6.3% ในเดือนที่แล้ว) เป็นการอ่อนแอในวงกว้างของดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ทั้งในหมวดการก่อสร้างและการลงทุน (เช่น ยอดขายเครื่องจักร -8.0% พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง -4.1% และยอดขายวัสดุก่อสร้าง -1.6%) 3) นักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวสูง 10.1% YoY มาอยู่ที่ 2.9 ล้านคน ส่วนหนึ่งจากฐานที่ต่ำและมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียม VOA โดยนักท่องเที่ยวชาวจีนยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตัว (+31.6% […]

BF Monthly Economic Review – ต.ค. 2562

BF Monthly Economic Review – ต.ค. 2562

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจโลกไม่ค่อยสู้ดี ได้รับแรงกดดันจากสงครามการค้าเป็นผลให้ IMF ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจลงสู่ 3.0% ในปี 2019 และ 3.4% ในปี 2020 อย่างไรก็ตามตลาดเข้าสู่โหมด Risk On จากสามปัจจัย คือ 1) จีนและสหรัฐฯสามารถบรรลุข้อตกลงได้บางส่วน 2) Fed เพิ่มสภาพคล่องในตลาดและตลาดมีความคาดหวังว่า Fed จะปรับลดดอกเบี้ย 3) ส่วน Brexit มีความคืบหน้า เศรษฐกิจจีน GDP ไตรมาส 3 ชะลอตัวลงเป็น 6.0% YoY ต่าสุดนับตั้งแต่ปี 1992 จาก 6.2% YoY ในเดือนก่อน หลักๆ มาจากการส่งออก ภาคการผลิต และการลงทุนที่ได้รับผลกระทบจาก Trade Tension ขณะที่รัฐบาลยังใช้นโยบายลดความเสี่ยงในภาคการเงินเพื่อควบคุมระดับหนี้ในระบบที่สูง […]

ญี่ปุ่นคงนโยบายการเงินและปรับประมาณการเศรษฐกิจลงตามคาด ขณะเดียวกันยังคงส่งสัญญาณผ่อนคลายเพิ่มหากจำเป็นเช่นเดิม

ญี่ปุ่นคงนโยบายการเงินและปรับประมาณการเศรษฐกิจลงตามคาด ขณะเดียวกันยังคงส่งสัญญาณผ่อนคลายเพิ่มหากจำเป็นเช่นเดิม

BF Economic Research คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือบีโอเจ มีมติ คงนโยบายการเงินไว้ตามเดิมด้วยจำนวนเสียงที่ 7 ต่อ 2 ได้แก่ การตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นไว้ที่ระดับ -0.1% การควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีไว้ในกรอบ +/-0.2% และคงวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ไว้ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี โดยบีโอเจกล่าวว่า มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่อัตราเงินเฟ้อจะสูญเสียโมเมนตัมในการขยายตัวเข้าสู่เป้าหมาย 2% และจะติดตามพัฒนาการของอัตราเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด ซึ่งบีโอเจจะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง หากประเมินว่ามีการสูญเสียโมเมนตัมดังกล่าว ทั้งนี้ เรามองว่าท่าทีของบีโอเจนั้นเป็นเพียงการแสดงความต่อเนื่องในการส่งสัญญาณไปยังตลาดว่าบีโอเจมีความพร้อมในการดำเนินนโยบายหากเห็นว่าจำเป็น มากกว่าเป็นการส่งสัญญาณว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงเร็วๆนี้ สำหรับรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจของบีโอเจนั้น ได้มีการปรับลดประมาณการลงตามที่ตลาดคาด หลังจากที่การประชุมในเดือนก.ย. บีโอเจระบุว่าจะมีทบทวนประมาณการเศรษฐกิจหลังการประชุมในเดือนนี้ โดยเป็นการปรับคาดการณ์การเติบโตของ GDP ลงทั้งในปีงบประมาณ 2019 2020 และ 2021 จาก 0.7% 0.9% และ 1.1% เป็น 0.6% 0.7% และ 1.0% […]

การส่งออกไทยเดือนก.ย.หดตัวต่อเนื่อง และค่าเงินบาทก็ยังแข็งค่าต่อเนื่อง

การส่งออกไทยเดือนก.ย.หดตัวต่อเนื่อง และค่าเงินบาทก็ยังแข็งค่าต่อเนื่อง

BF Economic Research การส่งออกเดือนก.ย.อยู่ที่ 20,481 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -1.39% YoY (vs prev -4.0% YoY) ทั้งนี้หากไม่รวมทองคำ การส่งออกหดตัว -2.5%  YoY (จากเดือนก่อนที่หดตัว-9.6%YoY) ด้านการนำเข้าอยู่ที่ 19,862 ล้านดอลลาร์ฯหรือ หดตัวมากกว่าการส่งออกที่ -4.24% (vs prev -14.6% YoY)  ทำให้ดุลการค้าเกินดุลต่อเนื่องที่ 1,275 ล้านดอลลาร์ฯ (vs prev 2,052.6 ล้านดอลลาร์ฯ) ในรายอุตสาหกรรม การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรหดตัว -3.1% YoY  ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม Flat ที่ 0.2% YoY  โดยบางรายสินค้าได้รับอานิสงส์จากฐานต่ำปีก่อนผนวกกับการส่งออกทองคำ เป็นผลให้ตัวเลขการส่งออกเดือนก.ย. ไม่แย่เท่าเดือนก่อน สำหรับในช่วง 9 เดือนของปี 62 […]

อัพเดทสถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน

อัพเดทสถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน

BF Economic Research หลังการเจรจาการค้ากับจีนในวันที่ 10-11 ต.ค. รัฐบาลสหรัฐฯและจีนได้บรรลุข้อตกลงทางการค้าบางส่วน โดย รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประกาศระงับการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่า  250bn usd จาก 25% เป็น 30% ซึ่งเดิมมีกำหนดวันที่ 15 ต.ค.นี้ มีความคืบหน้ามากขึ้น โดยปธน. Donald Trump ให้นิยามข้อตกลงการค้าในรอบนี้ว่า “Phase 1” ส่วนรัฐบาลจีนได้ตกลงที่จะ เพิ่มการนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ อีก 40-50 bn usd ออก Guidelines การบริหารจัดการค่าเงิน และ เปิดตลาดการเงินให้กับสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ปธน. Trump ระบุว่า แนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) และการถ่ายโอนความรู้ของบริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาทำธุรกิจในจีน (Technology transfer) มีความคืบหน้ามากขึ้นในการเจรจารอบนี้ แต่ยังไม่บรรลุข้อตกลงร่วมกัน ทั้งนี้ สหรัฐฯ […]