อินเดีย: พรรค BJP ของนายกฯ Modi ชนะเลือกตั้งในรัฐ Gujarat

อินเดีย: พรรค BJP ของนายกฯ Modi ชนะเลือกตั้งในรัฐ Gujarat

พรรค BJP ยังสามารถครองเสียงข้างมากในสภาท้องถิ่นด้วยจำนวนที่นั่ง 99 ที่นั่งจากทั้งหมด 182 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งของรัฐ Gujarat แต่ลดลงจากก่อนการเลือกตั้งที่ 115 ที่นั่ง โดยนาย Modi เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการรัฐนี้ก่อนที่จะมาเป็นนายกฯ คะแนนเสียงของพรรค BJP ที่ลดลงในรัฐ Gujarat ชี้ถึงความนิยมที่ถูกกระทบของนาย Modi หลังรัฐบาลดำเนินนโยบายปฏิรูป เช่น การยกเลิกการใช้พันธบัตร 500 และ 1,000 รูปี และการเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บภาษีเป็น Good and Services Tax (GST) ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้พรรค BJP ของนาย Modi ได้คะแนนเสียงอย่างท่วมท้น ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2014 และจะครบกำหนดวาระต้องเลือกตั้งใหม่ในปี 2019 เราคาดว่าก่อนที่การเลือกตั้งทั่วไปจะมาถึง รัฐบาลจะหันกลับมาให้ความสำคัญกับการเติบโตของเศรษฐกิจมากขึ้นในปีหน้า ผ่านทางนโยบาย เช่น การเพิ่มทุนในภาคธนาคาร และการเพิ่มการใช้จ่ายในภาคชนบท […]

มุมมองตลาดตราสารหนี้ เดือนพฤศจิกายน

มุมมองตลาดตราสารหนี้ เดือนพฤศจิกายน

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือนพฤศจิกายนปรับเพิ่มขึ้น 0.02%-0.10%   โดยมีปัจจัยหลักมาจาก  1) การประมูลพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 5 ปีด้วยวงเงินที่สูงถึง 40,000 ล้านบาท   สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 10,000 -15,000 ล้านบาท    ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในช่วงอายุดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้นในช่วงการประมูล     2)  เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2560 ขยายตัว 4.3% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และสภาพัฒน์ฯยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ขึ้นเป็น 3.9%    3) ร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯได้ผ่านการเห็นชอบจากสภาฯผู้แทนและผ่านไปสู่การพิจารณาของวุฒิสภา    ทำให้ตลาดกลับมาให้ความคาดหวังต่อนโยบายปฏิรูปภาษีที่อาจผ่านการพิจารณาจากสภาฯภายในปีนี้และจะกลายเป็นปัจจัยช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯในปีหน้า ช่วงกลางเดือนธันวาคมมีการประชุมธนาคารกลางหลักของโลก 3 แห่งคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED)    ธนาคารกลางยุโรป(ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ(BOE)      ซึ่งผลการประชุมเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้    โดย ECB และ BOE มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและคงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินไว้ที่ระดับเดิม     ขณะที่ FED ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 1.25% – 1.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า    ทำให้ตลาดไม่ได้ตอบสนองต่อผลการประชุมดังกล่าวแต่อย่างใด        อย่างไรก็ตาม    FED ได้ปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี […]

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BBASICRMF) เดือนพฤศจิกายน 2560

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BBASICRMF) เดือนพฤศจิกายน 2560

จุดเด่นของกองทุน ลงทุนในหุ้นของกิจการที่จำเป็น “ต้องกิน ต้องใช้” ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ได้โอกาสรับผลตอบแทนที่ดีและสม่ำเสมอในระยะยาว พลังบริโภคที่เติบโตจากสังคมเมืองได้กระจายไปสู่ภูมิภาค ขณะที่ประชาชนมีรายได้สูงขึ้นจนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตตัวเองได้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ช่วยหนุนให้ธุรกิจหรือการค้าขยายไปสู่ประเทศในอาเซียน ซึ่งมีพลมืองไม่ต่ำกว่า 600 ล้านคน ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เมื่อลงทุนเข้าเงื่อนไขของกรมสรรพากร   มุมมองต่อตลาดหุ้นไทย ตลาดหุ้นไทยสามารถปรับตัวขึ้นอีกในเดือนตุลาคม แต่ด้วยความผันผวนที่มากขึ้น ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มขายทำกำไรหุ้นไทย โดยเป็นผู้ขายสุทธิด้วยมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาทในช่วงระหว่างเดือน แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจไทยจะยังแสดงถึงสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้นก็ตาม บริษัทที่ประกาศผลประกอบการไตรมาส 3/60 พบว่า หลายบริษัทมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่หุ้นหลายตัวกลับถูกขายทำกำไรแม้ว่าผลประกอบการจะออกมาดีก็ตาม โดยเฉพาะหุ้นขนาดกลางถึงเล็กที่ปรับตัวขึ้นมามาก ซึ่งอาจจะเป็นด้วย Valuation ที่ตึงตัวในบางกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้ตลาดหุ้นอยู่ในช่วงของการปรับฐาน ซึ่งเรามองว่า ถือเป็นโอกาสดีที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่มีแนวโน้มธุรกิจดีแต่ราคาย่อตัวลงมา และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นน่าจะมีโมเมนตัมต่อเนื่องได้ในปีหน้า ซึ่งจะช่วยหนุนผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในระยะหลังจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมา หุ้นหลายตัวปรับตัวขึ้นด้วยความคาดหวังว่าจะได้รับผลดีจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวในปีหน้า แม้ว่าอาจจะยังไม่เห็นผลประกอบการที่ฟื้นตัวนักในปี 2560 ทำให้ราคาหุ้นถือว่าค่อนข้างตึงตัวเมื่อเทียบกับผลประกอบการที่ออกมา จึงเชื่อว่าหลังจากนี้ นักลงทุนจะกลับมาให้ความสำคัญกับตัวเลขผลกำไรมากขึ้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเพียงลำพังอาจไม่เพียงพอที่จะผลักดันหุ้นให้ขึ้นต่อได้อีกอย่างมีนัยสำคัญ และหุ้นบางตัวที่ราคาพุ่งสะท้อนไปถึงผลประกอบการปีหน้าเร็วเกินไป อาจจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนดีเท่ากับช่วงที่ผ่านมา ด้านความเสี่ยงในช่วงนี้ […]

กองทุนเปิดกองทุนบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF) เดือนพฤศจิกายน 2560

กองทุนเปิดกองทุนบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF) เดือนพฤศจิกายน 2560

จุดเด่นของกองทุน เน้นลงทุนในหุ้นของกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี (Value Stock) และมีแนวโน้มเติบโตทางธุรกิจสูง (Growth Potential) ทั้งในและต่างประเทศ ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เมื่อลงทุนเข้าเงื่อนไขของกรมสรรพากร มีโอกาสรับผลตอบแทนระหว่างลงทุนในรูปแบบเงินปันผล ตั้งแต่กองทุนดำเนินมาแล้วเพียง 1 ปี (เริ่ม 28 ต.ค. 2559) BBASICDLTF จ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ ครั้งที่ 1:16 ต.ค. 2560 หน่วยละ 0.22 บาท ครั้งที่ 2: 14 พ.ย. 2560 หน่วยละ 0.08 บาท รวมทั้งหมด 2 ครั้ง รวมเป็นเงินปันผลสะสมหน่วยละ 0.30 บาท   […]

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 (BBASIC) เดือนพฤศจิกายน 2560

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 (BBASIC) เดือนพฤศจิกายน 2560

จุดเด่นของกองทุน 1) ลงทุนในหุ้นของกิจการที่จำเป็น “ต้องกิน ต้องใช้” เพื่อให้ได้โอกาสรับผลตอบแทนที่ดีและสม่ำเสมอในระยะยาว โดยได้แรงหนุนจาก: พลังบริโภคที่เติบโตในสังคมเมืองแพร่ขยายไปสู่ภูมิภาค ขณะที่ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น ทำให้ยกระดับคุณภาพชีวิตตัวเองได้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ช่วยหนุนให้ธุรกิจหรือการค้าขยายไปสู่ประเทศในอาเซียน ซึ่งมีพลมืองไม่ต่ำกว่า 600 ล้านคน 2) ตั้งแต่เปลี่ยนนโยบายกองทุนฯให้จ่ายเงินปันผล ซึ่งดำเนินมาแล้วเกือบ 4 ปี (เริ่ม 14 ธ.ค. 2556) BBASIC จ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ ครั้งที่ 1: 17 ต.ค. 2557 หน่วยละ 1.00 บาท ครั้งที่ 2: 30 ก.ย. 2558 หน่วยละ 0.25 บาท ครั้งที่ 3: 30 มี.ค. 2559 หน่วยละ […]

Eurostat ยืนยันยูโรโซนโต 0.6% QoQ sa ในไตรมาส 3/2017

Eurostat ยืนยันยูโรโซนโต 0.6% QoQ sa ในไตรมาส 3/2017

ประกาศรอบสุดท้ายจาก Eurostat ระบุว่า เศรษฐกิจยูโรโซน 19 ประเทศ เติบโต 0.6% QoQ sa ในไตรมาสที่ 3/2017 ช้าลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่โตได้ถึง 0.7% QoQ sa เล็กน้อย แต่คงที่จากประมาณการครั้งก่อนหน้า และยังนับว่าเป็นการขยายตัวในระดับสูง โดยในรายงานรอบนี้มีการชี้แจงรายละเอียดของส่วนประกอบ GDP ออกมาด้วย มีใจความสำคัญดังนี้ การบริโภคภาคเอกชน โต 3% QoQ sa และนับว่ายังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ แม้ว่าจะชะลอลงจากการเติบโตในหลายไตรมาสที่ผ่านมาก็ตาม โดยล่าสุดเดือน พ.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขึ้นมาอยู่ที่ 0.1 ซึ่งนับว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2000 ขณะที่การว่างงานย่อลงอย่างต่อเนื่องเหลือ 8.8% แต่อัตราค่าจ้างที่ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก อาจเป็นปัจจัยที่รั้งการบริโภคครัวเรือนไว้อยู่ การลงทุน โตค่อนข้างดีที่1% QoQ sa ภายใต้การดำเนินนโยบายการเงินที่ยังผ่อนคลายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่อยู่ในระดับสูง หลังจากความไม่แน่นอนทางการเมืองหลายเหตุการณ์ผ่านพ้นไป นอกจากนั้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ […]

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED) เดือนพฤศจิกายน 2560

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้ (BFIXED) เดือนพฤศจิกายน 2560

ภาพรวมตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น  0.02% – 0.09%  โดยมีปัจจัยหลักมาจาก 1) การขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติประมาณ 17,650 ล้านบาท ถือเป็นการขายสุทธิเป็นเดือนแรกในรอบปี โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลกลับเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้เกาหลีใต้อีกครั้งหลังสถานการณ์ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีคลี่คลายลง 2) ตลาดกังวลต่อการที่นาย John Taylor มีโอกาสได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐฯคนใหม่ ซึ่งจะทำให้การดำเนินนโยบายการเงินของ FED เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เข้มงวดมากขึ้น      อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุด ประธานาธิบดี Trump ได้เสนอชื่อนาย Jerome Powell ให้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแทน โดยนาย Jerome Powell มีแนวคิดในการดำเนินนโยบายการเงินตามแนวทางเดิมด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างช้าๆ ตามภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้ตลาดตอบสนองในเชิงบวกต่อปัจจัยดังกล่าว ขณะที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯในวันที่ 31 ต.ค. – 1 พ.ย. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.00%-1.25% ตามเดิมและไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยคณะกรรมการฯหลายท่านยังเชื่อมั่นว่า จะสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งในการประชุมครั้งสุดท้ายของปีในวันที่ 12-13 ธันวาคม 2017 […]

ธนาคารกลางจีนรับอัดฉีดเงินเข้าตลาด 7.19 หมื่นล้านดอลลาร์

ธนาคารกลางจีนรับอัดฉีดเงินเข้าตลาด 7.19 หมื่นล้านดอลลาร์

ธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยว่าในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาได้อัดฉีดเงินเม็ดเงินมูลค่า 4.7498 แสนล้านหยวน หรือ 7.19 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่ตลาดผ่านเครื่องมือทางการเงินต่างๆ เพื่อรักษาสภาพคล่องในระบบให้เพียงพอ ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงิน 4.04 แสนล้านหยวนเข้าสู่ตลาดผ่านโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF) เพื่อรักษาสภาพคล่องระหว่างธนาคารให้มีเสถียรภาพ โดยโครงการเงินกู้ประเภทดังกล่าว มีระยะเวลาในการไถ่ถอน 1 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ย 3.2% ขณะเดียวกันธนาคารกลางจีนยังอนุมัติเงินมูลค่า 2.418 หมื่นล้านหยวนให้กับสถาบันการเงิน ผ่านโครงการเงินกู้ระยะสั้น (SLF) ในเดือนที่ผ่านมาด้วยเพื่อรองรับความต้องการสภาพคล่อง นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนยังได้อัดฉีดเงิน 4.68 หมื่นล้านหยวนให้กับธนาคารเพื่อการพัฒนาจีน, ธนาคารเพื่อพัฒนาการเกษตรของจีน และธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของจีน ผ่านโครงการจัดสรรเงินกู้เพิ่มเติม (PSL) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่าการดำเนินการผ่านตลาดการเงิน (open market operations) ทำให้ธนาคารกลางจีน ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด หลังธนาคารกลางจีนได้กำหนดนโยบายการเงินปี 2017 ภายใต้กรอบที่ “รอบคอบและเป็นกลาง” เพื่อรักษาระดับสภาพคล่องให้เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการอัดฉีดมากจนเกินไป

ศักยภาพไทยกับการเป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ขับเคลื่อนการลงทุนยุคใหม่

ศักยภาพไทยกับการเป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ขับเคลื่อนการลงทุนยุคใหม่

ในปัจจุบัน รถยนต์ที่ใช้กันทั่วไปบนท้องถนนนั้นต่างขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ชนิดสันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE) ซึ่งต้องใช้เชื้อเพลิงในรูปแบบน้ำมันเป็นหลัก แต่ในอนาคต การนำรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกในการขับเคลื่อนจะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV (Electric Vehicle) ที่กำลังเป็นที่สนใจของตลาดในปัจจุบัน โดยรถยนต์ไฟฟ้านั้นจะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ให้กลายเป็นพลังงานกลขับเคลื่อนล้อแทนการสันดาปภายในเครื่องยนต์   ทั้งนี้ ในหลายประเทศทั่วโลกได้สนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น และตั้งเป้ายกเลิกการจำหน่ายรถยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยพลังงานเชื้อเพลิงแบบเดิมภายในปี 2035-2040 ทำให้บริษัทรถหลายค่ายต้องเร่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยในอีก 30 ปีข้างหน้าองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดว่ายอดขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน จะค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ที่หันมาพึ่งพาแหล่งพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ อาทิ รถยนต์ไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle: PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV: Battery Electric Vehicle) เป็นต้น ความท้าทายในการเป็นฐานผลิต EV […]

อดีตผู้บริหาร Goldman Sachs บอก “หนี้จีนไม่น่าห่วง”

อดีตผู้บริหาร Goldman Sachs บอก “หนี้จีนไม่น่าห่วง”

Jim O’Neill นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง บอกว่านักลงทุนควรจะหยุดห่วงเรื่องหนี้จีนได้เสียที O’Neill ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานของ Goldman Sachs Asset Management กล่าวว่าหนี้ของจีนไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะว่าจีนเป็นประเทศที่มีการออมสูง รายงานจากจีนระบุว่า วันช็อปแห่งชาติ หรือวันศุกร์ที่ผ่านมา คนจีนซื้อสินค้าที่ลดแลกแจกแถมทางออนไลน์ด้วยจำนวนเงินรวมกันสูงถึง 25,000ล้านดอลลาร์ ตัวเลขนี้ทำให้นายโอนีลไม่กังวลใจมากนักกับการชะลอตัวของการบริโภคของจีน ที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ต่างชาติออกมาพูดเกือบจะเป็นเสียงเดียวกันว่าเศรษฐกิจของจีนที่พึ่งพาการก่อหนี้อาจจะกลายเป็นความเสี่ยงของโลก เพราะว่าจีนมีขนาดเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก ทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศเขียนรายงานในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่า ประสบการณ์ระหว่างประเทศที่ผ่านมาทำให้เห็นว่าการเติบโตทางเครดิตของจีนอยู่ในภาวะอันตราย ซึ่งอาจจะเพิ่มความเสี่ยงของการปรับตัว และการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่รุนแรง กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการว่าหนี้ในส่วนที่ไม่ใช่ภาคการเงิน รวมทั้งหนี้ครัวเรือน หนี้บริษัทและหนี้รัฐบาลจะไปถึงระดับ 300% ต่อจีดีพีภายในปี 2022 จีนต้องการเพิ่มขนาดจีดีพี 1 เท่าตัวระหว่างปี 2010 ถึง 2020 แม้ว่าจะต้องเพิ่มหนี้ในภาคที่เกี่ยวข้องกับการเงิน