Fund Comment มิถุนายน 2565: ภาพรวมตลาดหุ้น
ภาพรวมตลาดหุ้น ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวผันผวน โดยปรับตัวลงในช่วงแรกของเดือน และปิดลดลง 8.6% ในเดือนมิถุนายน โดยประเด็นที่เป็นปัจจัยกดดันตลาดมาจาก ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯเดือน พ.ค. ที่ 8.6% ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาด ตามมาด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในการประชุมเดือน มิ.ย. ที่สูงถึง 75bps เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1994 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ส่งผลต่อสภาพคล่องในระบบการเงิน และโมเมนตัมทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วให้ชะลอตัวลงจนมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งตลาดได้สะท้อนความกังวลดังกล่าวผ่านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ลดระดับลงในช่วงปลายเดือน และสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการที่เริ่มปรับตัวลดลง ยกเว้นราคาน้ำมันที่ชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะส่งผลช่วยให้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อลดความร้อนแรงลงในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี ตลาดอาจให้ความสำคัญกับตัวเลขเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งภาคการจ้างงาน ภาคการบริโภค ภาคการผลิต เป็นต้น โดยถ้าหากเศรษฐกิจสามารถประคองตัวได้ ในขณะที่นโยบายการเงินมีความเข้มงวดขึ้น และเงินเฟ้อสามารถควบคุมได้ ก็จะทำให้นโยบายการเงินไม่จำเป็นต้องเข้มงวดมากเกินไป ซึ่งจะเป็นบวกต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวมและหนุนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงได้ ในด้านเศรษฐกิจโลกนั้น แม้ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซนในช่วงครึ่งปีแรกจะยังคงฟื้นตัวได้ดี แต่ก็ต้องเผชิญกับระดับอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งอาจส่งผลต่อกำลังซื้อผู้บริโภคและการลงทุนของภาคธุรกิจ โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้น ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง แต่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มส่งสัญญาณลดลงจากความกังวลด้านเงินเฟ้อ ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซน ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อและด้านพลังงาน […]
Fund Comment พฤษภาคม 2565 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน พ.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับลดลงในช่วง -1 ถึง -4 bps ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปีขึ้นไป เปลี่ยนแปลงในช่วง -32 ถึง +44 bps โดยมีการแกว่งตัวผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 3-4 พ.ค. มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 50 bps สู่ระดับ 0.75-1.00% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ ขณะที่นาย Jerome Powell ประธาน Fed ระบุว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งละ 50 bps อาจยังมีความจำเป็นในการประชุม 2 ครั้งถัดไป แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณว่า Fed จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปมากอย่างที่ตลาดกังวลในช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ได้กลับมากดดันตลาดการเงินอีกครั้ง ทำให้นักลงทุนบางส่วนเริ่มมองว่า […]
Fund Comment พฤษภาคม 2565 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนและปิดทรงตัวในเดือนพฤษภาคม โดยปรับตัวลงต่อเนื่องในช่วงครึ่งเดือนแรกแตะระดับ Bear market หรือลดลงจากสูงสุดช่วงต้นปีที่ 20% ก่อนที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังของเดือน ประเด็นที่เป็นปัจจัยกดดันการลงทุนยังคงมาจากแรงกดดันเงินเฟ้อในหลายประเทศที่อยู่ในระดับสูงในรอบหลายปี แนวโน้มนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และโมเมนตัมทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอลง อย่างไรก็ดี ตลาดก็เริ่มรับรู้ปัจจัยด้านนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นไปมากแล้ว รวมถึงสัญญาณจากภาวะเงินเฟ้อที่เริ่มชะลออัตราการปรับขึ้นลง ส่งผลให้ตลาดโดยรวมปิดทรงตัวได้ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับตัวขึ้นสูงในช่วงที่ผ่านมา อาจเป็นปัจจัยกดดันระดับ Valuation ของตลาดหุ้น ให้อยู่ในระดับ Multiple ที่ต่ำลง ในระยะข้างหน้า ผลกระทบของเงินเฟ้อต่อกำไรบริษัทจดทะเบียน ท่าทีของนโยบายการเงินจากธนาคารกลาง และประเด็นการถดถอยของเศรษฐกิจ ยังคงปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง ในด้านเศรษฐกิจนั้น สงครามยูเครน-รัสเซียที่ยืดเยื้อ การคว่ำบาตรทางการค้า และการ Lockdown เศรษฐกิจในจีน เป็นปัจจัยที่ซ้ำเติมปัญหาอุปทาน และเพิ่มแรงกดดันต่อระดับเงินเฟ้อที่มีในหลายประเทศ ขณะที่ราคาน้ำมันที่ยืนระดับสูงและราคาอาหารที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ก็เป็นปัจจัยลดทอนกำลังซื้อและการบริโภค โดยเศรษฐกิจสหรัฐนั้น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ขึ้นมาร้อนแรงจากการจ้างงานที่แข็งแกร่ง หนุนภาคการบริโภคในช่วงที่ผ่านมา มีแนวโน้มถูกชะลอจากการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซน ซึ่งได้รับผลกระทบด้านพลังงานจากรัสเซีย ยังคงมีแนวโน้มได้รับผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจ ด้านเศรษฐกิจจีน การใช้มาตรการ Zero-COVID ในช่วงที่ผ่านมานั้น […]
Fund Comment เมษายน 2565 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลดลงในเดือนเมษายน จากแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อที่ยืนระดับสูง และท่าทีรวมถึงคาดกาณ์การดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ที่เข้มงวดมากขึ้น ขณะที่สงครามยูเครน-รัสเซียที่ยังคงยืดเยื้อ ล้วนเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกในระยะข้างหน้า โดยในเดือนนี้ MSCI World Index ปรับตัวลดลงมากถึง 8% โดยเร่งตัวในครึ่งเดือนหลัง โดยแม้ว่า Fed จะได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปในเดือนมีนาคม และส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในปี 2565-66 แล้ว ตลาดเริ่มคาดการณ์มากขึ้นว่า Fed อาจต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 0.25% ในหลายครั้งติดต่อกันข้างหน้า แม้ว่าล่าสุดประธาน Fed จะกล่าวว่าจะดูแลไม่ให้การขึ้นดอกเบี้ยส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจก็ตาม แต่นักลงทุนบางส่วนยังคงมีความกังวลต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจ สะท้อนผ่านความชันของ Yield curve ที่อายุมากกว่า 3 ปีที่ลดลง และภาวะ Inversion ในหลายๆคู่ของ Bond yield สหรัฐฯ ซึ่งบ่งชี้ถึงความเสี่ยงให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะ Recession ได้ในอนาคต ส่งผลให้นักลงทุนมีการลดการทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลงในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงปัจจัยจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Yield) ที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจนใกล้กลับมาเป็นบวกแล้ว ก็เป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้เม็ดเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง […]
Fund Comment เมษายน 2565 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน เม.ย. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นในช่วง 1 ถึง 4 bps ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป ปรับเพิ่มขึ้นในช่วง 10 ถึง 72 bps สำหรับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ณ สิ้นเดือน เม.ย. อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 2.85% เพิ่มขึ้น 50 bps จากสิ้นเดือนก่อน เทียบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี อยู่ที่ 2.89% เพิ่มขึ้น 57 bps ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อตลาดตราสารหนี้ในเดือนนี้คือการส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินเข้มงวดเร็วขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวสูงขึ้นมาก (อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. ขยายตัว 8.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี) […]
Fund Comment มีนาคม 2565 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน มี.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นไม่เกิน 3 bps ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีขึ้นไป ปรับเพิ่มขึ้น 15 ถึง 48 bps สำหรับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ณ สิ้นเดือน มี.ค. อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 2.35% เพิ่มขึ้น 15 bps จากสิ้นเดือนก่อน เทียบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่เพิ่มขึ้นถึง 49 bps มาอยู่ที่ 2.32% ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกในเดือนนี้ เป็นประเด็นเกี่ยวกับท่าทีในการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) รวมทั้งผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนซึ่งทำให้แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลของสงครามก็ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้นจนซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อ และอาจเป็นปัจจัยเร่งให้ Fed จำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้นเร็วกว่าคาดการณ์เดิม โดยจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นอย่างมากของ Fed ได้ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก […]
Fund Comment มีนาคม 2565 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกค่อนข้างผันผวนในเดือนมีนาคม โดย MSCI World Index ปรับตัวลงก่อนในครึ่งแรกของเดือน จากสงครามระหว่างยูเครน-รัสเซียที่มีทีท่ายืดเยื้อกว่าที่คาด และการทยอยประกาศมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจากชาติตะวันตก ก่อนที่กลับขึ้นมาในครึ่งเดือนหลัง และปิดเดือนบวกได้ที่ 1.9% จากการที่สงครามนั้นไม่ได้ขยายวงกว้างออกไปและความพยายามเจรจาระหว่างสองประเทศที่มีมากขึ้น รวมทั้งการใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียของยุโรปนั้นก็ไม่ได้รุนแรงมาก เนื่องจากแต่ละประเทศล้วนแต่ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศตัวเองจึงยังต้องพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียต่อไป และการประชุม FOMC ล่าสุด ซึ่งผลออกมาตามที่ตลาดคาด โดย Fed ได้เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2018 และส่งสัญญาณผ่าน Dot Plot ว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในปี 2022-2023 ไปที่ 2.75% อย่างไรก็ตาม คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ใน Eurodollar Futures ที่คาดว่าจะขึ้นไปสูงสุดที่ราว 3% ในปี 2023 นั้น ก็ได้สะท้อนว่า ตลาดได้คาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ไปมากแล้ว ขณะที่ภาวะ Inverted Yield Curve […]
Fund Comment กุมภาพันธ์ 2565 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.พ. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี เคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ในระดับใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีขึ้นไป เปลี่ยนแปลงในช่วง -4 ถึง +7 bps สำหรับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ณ สิ้นเดือน ก.พ. อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 2.19% (+6 bps จากสิ้นเดือนก่อน) ซึ่งยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี โดยในช่วงต้นเดือน ก.พ. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ภายหลังการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน ม.ค. ที่เพิ่มขึ้น 4.67 แสนตำแหน่ง สูงกว่าตลาดคาดที่ 1.25 แสนตำแหน่ง และอัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัว 7.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสูงสุดในรอบ […]
Fund Comment กุมภาพันธ์ 2565 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวผันผวนต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี โดยในเดือนกุมภาพันธ์ MSCI World Index ปรับตัวลดลงอีก 2.7% โดยหลักเป็นการปรับตัวลงในตลาดหุ้นยุโรป Euro Stoxx 50 ที่ -6.0% และสหรัฐฯ S&P500 ที่ -3.1% ขณะที่ตลาดหุ้นจีน SSEC ปรับเพิ่มขึ้นได้ +3.0% และตลาดในกลุ่มอาเซียนทรงตัว ปัจจัยที่กระทบกับบรรยากาศการลงทุนในเดือนนี้นั้น มาจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน ส่งผลให้ตลาดการเงินมีความผันผวนสูง โดยเฉพาะ สินทรัพย์ดิจิทัล ทองคำ และน้ำมัน ขณะที่ตลาดหุ้นนั้น ถือเป็นการเพิ่มปัจจัยกดดันการลงทุน เพิ่มเติมจากความกังวลที่มีก่อนหน้าในเรื่องนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของ Fed ทั้งนี้ Fed ถูกคาดการณ์ว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากถึง 6 ครั้งในปีนี้ จากแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่สูง ดังนั้น ปัจจัยจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเร็วในช่วงหลัง และสินค้า Commodity หลายรายที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกของรัสเซีย จึงอาจสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อคาดการณ์เงินเฟ้อและท่าทีของ Fed ในระยะข้างหน้า โดยสถานการณ์ความตึงเครียดดังกล่าวและ FOMC […]
Fund Comment
Fund Comment มิถุนายน 2565: มุมมองตลาดตราสารหนี้
มุมมองตลาดตราสารหนี้ ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน มิ.ย. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น โดยเฉพาะพันธบัตรอายุ 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างแรง 42 bps จากสิ้นเดือนก่อน มาอยู่ที่ 1.09% หลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 8 มิ.ย. มีมติ 4 ต่อ 3 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% โดย 3 เสียงเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนที่คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีกทั้งรายงานการประชุมยังระบุว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบันจะมีความจำเป็นลดลงในระยะข้างหน้า ทำให้ตลาดคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกของ กนง. เร็วขึ้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไม่เกิน 17 bps ยกเว้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ที่ปรับลดลง 6 bps มาอยู่ที่ 2.90% ณ สิ้นเดือน […]