เกษียณสุข ทำอย่างไร (ตอนจบ)
By…สุดารัตน์ ทิพยเทอดธนา Portfolio Management เตรียมเงิน การเตรียมเงินนั้น นอกจากจะสำรองเงินสะสมเอาไว้แล้ว ยังต้องเตรียมรูปแบบการใช้จ่ายไว้ด้วย ตัวดิฉันเองก็เป็นหนึ่งคนที่เริ่มเตรียมพร้อมในด้านนี้ไว้เหมือนกัน แม้ว่าระยะเวลาที่เกษียณอาจจะอีกยาว ซึ่งแหล่งที่มาของมนุษย์เงินเดือนอย่างดิฉันคงหนีไม่พ้นเงินเดือนเป็นหลัก โดยเงินที่ได้มาแต่ละเดือนจากอาชีพเป็นผู้จัดการกองทุนให้ท่านผู้อ่านนั้น ดิฉันมีหลักคิดส่วนตัวที่ไม่อิงหลักวิชาการง่ายๆเลยค่ะ คือ “เก็บก่อนใช้” เก็บก่อนใช้ ต้องทำยังไงหรือคะ ง่ายๆ เลย ดิฉันแบ่งเงินเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ ก. เงินออม ข. เงินจ่ายภาระหนี้เช่น บัตรเครดิต ค่าใช้จ่ายในบ้าน ฯลฯ ค. เงินสำรองกรณีฉุกเฉิน และ ง. ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน กิน เที่ยว ช้อปปิ้ง (อันสุดท้ายนี่สำคัญมากค่ะ เพราะการช้อปปิ้งอย่างพอดีๆ ดิฉันผ่อนคลายจากภาระงานจัดการกองทุนที่ท่านลงทุนไปได้มาก แต่ถ้าช้อปจนเกินไป ดิฉันก็จะเครียดยิ่งกว่าเดิม เพราะแทนที่จะจัดการกองทุนให้ท่านได้เต็มที่ ดิฉันก็คงจะต้องจัดการหนี้ที่ตนเองก่อไว้อย่างไร้ประโยชน์ค่ะ) เรื่องการเก็บนี่ เราต้องตั้งเป้าหมายไว้เลยว่าในปีๆ หนึ่งจะเก็บเงินเท่าไหร่ พอเงินเดือนออกปุ๊บ ก็เก็บก่อนเลยค่ะ […]
เกษียณสุข ทำอย่างไร (ตอนที่ 1)
By…สุดารัตน์ ทิพยเทอดธนา Portfolio Management ความคิดในครั้งแรกที่เขียนบทความเกี่ยวกับวัยเกษียณ ดิฉันรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัว หากเทียบกับอายุปัจจุบันของดิฉันและจะเขียนได้ดีและมีประโยชน์ไหม แต่พอได้มีเวลาทบทวนหัวข้อใหม่อีกครั้ง ก็พบว่าหัวข้อนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวมากและสิ่งที่ดิฉันวางแผนและทำในปัจจุบัน แท้จริงแล้วมันก็เป็นการเตรียมพร้อมรับวัยเกษียณแบบกลายๆนี่เอง ประกอบกับได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ของดิฉันเองซึ่งก็อยู่ในวัยเกษียณเช่นเดียวกัน จึงรวบรวมสิ่งต่างๆ เพื่อมาแบ่งปันรูปแบบการเตรียมพร้อมและใช้ชีวิตอย่างมีสุขในยามเกษียณ ซึ่งอาจจะพูดได้ว่าไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับ Lifestyle ของแต่ละบุคคล ซึ่งคงต้องไปปรับใช้ให้เหมาะสม สังคมไทยทุกวันนี้ คนหนุ่มสาวมักจะแต่งงานช้าลง แต่งงานน้อยลง ทำให้มีลูกช้าลงไปด้วย ในขณะที่อีกหลายครอบครัวยุคใหม่ก็ไม่ต้องการมีลูก การที่จะมาหวังพึ่งพาให้ลูกหลานเลี้ยงดูยามแก่เฒ่าจึงเรื่องยากกว่าเมื่ออดีต ชะดีชะร้อยยามเกษียณแล้ว ลูกๆ อาจจะยังต้องพึ่งพาเราอยู่ด้วยซ้ำ สภาพัฒน์ฯ คาดการณ์ว่าปริมาณประชากรไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในปี 2568 จะมีสัดส่วนเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ของประชากรไทยเทียบกับปี 2543 ที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 9.4 ซึ่งก็หมายความว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) โดยสมบูรณ์แบบนั่นเอง มาถึงตรงนี้บางคนอาจจะสงสัยนิยามของ “สังคมผู้สูงอายุ” ว่าเป็นอย่างไร ตามนิยามของสหประชาชาติ เมื่อประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นสัดส่วนเกินร้อยละ10 […]
Market Summary Personal Finance
หุ้นไทยร่วงกว่า 5 จุด ปิดตลาดที่ 1,704.82 จุด
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ปิดวันนี้ (15 มิ.ย. 2018) อยู่ที่ระดับ 1,704.82 จุด ลดลง -5.04 จุด หรือ -0.29% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,711.40 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,695.39 จุด มูลค่าการซื้อขาย 68,841.20 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.PTT ปิดที่ 50.00 บาท ลดลง -1.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 6,316.18 ลบ. 2.ADVANC ปิดที่ 190.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,017.02 ลบ. 3.AOT ปิดที่ 67.25 […]
เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนใจ ก่อนเปลี่ยนไป
By…อรพรรณ บัวประชุม CFP® BF Knowledge Center ชีวิตของเรามีการ “เปลี่ยนแปลง” อยู่เสมอๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ การที่เรารู้ว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น แล้วเราได้คิดหรือเตรียมการตั้งรับกับสิ่งนั้น จะช่วยทำให้เราสบายใจ ไม่กังวลกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น และพร้อมที่จะปรับแต่งชีวิตของเราให้เป็นไปในทิศทางที่เราพอใจ “แก่” ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราไม่อาจหนีความจริงไปได้ นอกจากเราแล้ว ประเทศไทยก็ยังมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น หรือที่พูดง่ายๆ ก็คือ มีคนแก่มากขึ้นนั่นเอง ส่งผลให้คนทำงานต้องรับภาระเลี้ยงดูเด็กและผู้สูงอายุมากขึ้น และมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้นในระหว่างปี 2553-2583 จากการคาดคะเนของสำนักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะเห็นได้ว่าอีกเพียง 10 ปีข้างหน้า วัยทำงาน 100 คน ต้องรับภาระเลี้ยงดูเด็กและผู้สูงอายุเพิ่ม จาก 51 คน เป็น 64 คน เท่ากับเพิ่มขึ้น 13 คน หรือคิดเป็น 25% ที่วัยแรงงานต้องดูแลเพิ่มขึ้น แล้วเราก็คงจะหนีการเปลี่ยนแปลงไปไม่ได้ นอกจากการทำงานหารายได้ในปัจจุบันแล้ว ยังอาจต้องหาทางทำให้รายได้ที่ได้รับมาทำงานมากขึ้น และได้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ทันต่อการใช้จ่ายในอนาคต แล้วจะทำอย่างไรล่ะ […]
วิธีเก็บเงินส่งลูกเรียน
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center การเก็บเงินให้ลูกด้วยการฝากธนาคารทุกเดือน เป็นที่นิยมมากสำหรับคุณพ่อคุณแม่ยุค 80s-90s เพราะการฝากธนาคารในยุคนั้น เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ได้ดอกเบี้ยดี และไม่มีความเสี่ยงเพราะรัฐยังรับประเงินฝากให้ โดยเฉพาะเงินฝากที่ให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษและได้รับการยกเว้นการเรียกเก็บภาษีจากดอกเบี้ยรับ อย่างเงินฝากสินมัธยะหรือเงินฝากทวีทรัพย์ แล้วแต่ชื่อที่ธนาคารจะตั้งขึ้น ปัจจุบันเงินฝากลักษณะนี้ก็ยังคงมีอยู่ แต่ความนิยมก็ลดลงเพราะให้ผลตอบแทนลดลงตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน อีกทั้งไม่สามารถฝากเป็นเงินก้อนทีเดียวได้ เนื่องจากมีเงื่อนไขให้ฝากแบบฝากเป็นประจำทุกเดือนไม่ต่ำกว่า 24 เดือน และยังกำหนดเงินฝากสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท ต่อการฝาก 1 ครั้ง ทำให้ผู้มีเงินออมที่ต้องการเก็บเงินยาวๆ จึงหันมาให้ความสนใจวิธีฝากแบบอื่นโดยเฉพาะกองทุนรวมกันมากขึ้น กองทุนรวมน่าสนใจ โดยเฉพาะกองทุนหุ้นเพราะแม้จะไม่มีการคุ้มครองแบบเงินฝากธนาคาร แต่ให้ผลตอบแทนจูงใจกว่า โดยเฉพาะการเก็บออมในระยะยาว ซึ่งพิสูจน์ด้วยข้อมูลในอดีตมากมายแล้วว่าการลงทุนระยะยาวในกองทุนหุ้น เวลาลงทุนที่นานพอจะช่วยลดความผันผวนลงได้ แม้จะไม่ได้รับประกันว่าไม่ขาดทุน แต่ข้อมูลในอดีตมากมายก็ช่วยยืนยัน ตัวอย่างนี้คือการเก็บเงินเดือนละ 1,000 บาท ทุกต้นเดือนนาน 10ปี (2551 – 2560)รวมเป็นเงินลงทุน 120,000 บาท ในกองทุนบัวแก้ว ซึ่งบริหารโดยกองทุนบัวหลวง ซึ่งเป็นกองทุนหุ้น […]
BF Knowledge Center Personal Finance
7 สาเหตุที่ทำให้กองทุนที่หวังไม่ได้ดังใจ (ตอนจบ)
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center ตอนที่ผ่านมา ได้นำเสนอผ่านไปแล้ว 3 ข้อสำหรับสาเหตุที่ทำให้คนส่วนใหญ่ผิดหวังจากกองทุนรวม ได้แก่ การตั้งเป้าหมายไว้สูงเกินไป การหวังผลที่เร็วเกินไป และการเลือกกองทุนไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ ในครั้งนี้ จะขอกล่าวถึงอีก 4 ข้อที่เหลือ 4) ไม่เข้าใจกลไกของกองทุนรวม กองทุนรวมเป็นรูปแบบการลงทุนที่มีหลักการง่ายๆ ไม่ซับซ้อน นั่นคือการรวบรวมเงินจากผู้ลงทุนหลายๆ ราย รวมเป็นเงินก้อนใหญ่ แล้วให้ผู้จัดการกองทุนมืออาชีพที่ทำงานเต็มเวลาคอยบริหารจัดการให้ ตามนโยบายที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน โดยมีระดับความเสี่ยงและโอกาสรับผลตอบแทนอ้างอิงตามนโยบายการลงทุน แต่ก็มีบ่อยครั้งที่ผู้ลงทุนผิดหวังกับกองทุนรวม เนื่องจากความไม่เข้าใจกลไกหรือเรื่องราวทางเทคนิค เช่น การที่นักลงทุนผิดหวังกับมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายจ่ายปันผล เพราะลงทุนมานานแต่มูลค่าหน่วยลงทุนกลับไม่ไปไหน แถมถึงยังขาดทุน (มูลค่าหน่วยลงทุนปัจจุบันต่ำกว่าตอนที่ซื้อ) ทั้งที่จริงๆ แล้วธรรมชาติของกองทุนรวมที่จ่ายปันผล โดยเฉพาะกองทุนหุ้น ราคาหน่วยลงทุนจะไม่ค่อยไปไหน เนื่องจากเมื่อกองทุนมีผลประกอบการดี พอถึงรอบการจ่ายปันผลก็จะมีการนำเงินออกจากกองทุนไปจ่ายคืนผู้ถือหน่วยลงทุน ทำให้หน่วยลงทุนของกองทุนหุ้นที่จ่ายปันผลไม่เติบโตเหมือนกับกองทุนที่ไม่มีนโยบายจ่ายปันผล ซึ่งถือเป็นเรื่องปรกติ 5) เลือกกองทุนไม่ตรงกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้จริงๆ ประเด็นนี้เป็นปัญหาพื้นฐานและเกิดขึ้นบ่อยๆ โดยเฉพาะช่วงที่ตลาดหุ้นขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ผลตอบแทนย้อนหลังค่อนข้างดี ล่อตาล่อใจนักลงทุน ยิ่งพอเทียบกับผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำเตี้ยแล้ว ทำให้นักลงทุนจำนวนมากที่อึดอัดกับอัตราดอกเบี้ย […]
BF Knowledge Center Personal Finance
7 สาเหตุที่ทำให้กองทุนที่หวังไม่ได้ดังใจ (ตอนที่1)
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center ผู้ลงทุนในกองทุนรวมต่างต้องการผลตอบแทนดีๆ กันทั้งนั้น จะคาดหวังมากหรือน้อยก็แล้วแต่มุมมองและเป้าหมายของแต่ละคน แต่อย่างน้อยๆ ก็ควรจะมากกว่าอัตราดอกเบี้ยธนาคารที่เป็นการออมขั้นพื้นฐานของทุกคน อย่างไรก็ตามการลงทุนในกองทุนรวมมีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ไม่แน่นอน จึงทำให้ผลของการลงทุนมีความแตกต่าง มีทั้งผู้ผิดหวังและสมหวังจากสิ่งที่ได้รับ ผู้สมหวังได้ผลตอบแทนที่พอใจคงไม่มีปัญหา แต่สำหรับผู้ผิดหวัง เป็นเรื่องน่าคิดว่าเพราะอะไรจึงเกิดความผิดหวังเหล่านั้น และด้วยสภาวการณ์ลงทุนในปัจจุบันและจากนี้ไปที่ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนมากขึ้น ราคาทองคำยังไม่มีทิศทางที่แน่นอน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำร่ำๆ ว่าจะขึ้น กระทบกับราคาตราสารหนี้ทั่วโลก กลุ่มผู้ผิดหวังก็น่าจะมีสัดส่วนสูงกว่ากลุ่มแรกๆ มากขึ้น ลองมาดูกันครับ ว่าความผิดหวังของผู้ลงทุนเกิดจากอะไรได้บ้าง 1) ตั้งเป้าหมายไว้สูงเกินไป ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนโดยรวมของตลาดหุ้นไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดัชนี SETTRI (ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่รวมเงินปันผล) ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 10ปี ( ปี 2551 – 2560) เฉลี่ยสูงถึงปีละ 11.61% ทำให้เกิดความคาดหวังกับผู้ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นไทย ว่าเมื่อลงทุนแล้วจะได้ผลตอบแทนสวยๆ อย่างนั้นบ้าง โดยอาจลืมไปว่าการลงทุนในหุ้นมีความผันผวนสูง และมีปัจจัยไม่แน่นอนมากมาย โดยเฉพาะในปีนี้ที่ปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจโลกหลายเรื่องมีผลต่อการลงทุน และกระทบกับตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทย […]
กองทุนจ่ายปันผลแบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ (ตอนจบ)
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center ในตอนที่แล้วได้เล่าถึงรูปแบบและธรรมชาติของกองทุนที่มีนโยบายจ่ายปันผลไปแล้ว 2 ประเภท เรามาต่อกันในเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกองทุนประเภทนี้กันในข้อต่อไปครับ ช่วงเวลาการพิจารณาจ่าย มีทั้งแบบแน่นอนและไม่แน่นอน กรณีนี้หมายถึงงวดการพิจารณาว่าจะจ่ายปันผลหรือไม่ ถ้าเป็นกองทุนที่จัดตั้งมานานแล้ว มักจะมีรอบการพิจารณาแน่นอนและเขียนไว้ในหนังสือชี้ชวนชัดเจน เช่น พิจารณาปีละ 2 งวด ได้แก่ ม.ค. – มิ.ย. และ ก.ค. – ธ.ค. หรือ 4 งวด ตามไตรมาส เป็นต้น แต่ปัจจุบันมีกองทุนรวมที่จัดตั้งในช่วงหลัง เลือกที่จะไม่ระบุชัดเจน ในรอบการพิจารณาจ่ายปันผล แต่เขียนไว้กว้างๆ เช่น งวด 1 ปี แล้วในระหว่างปีหากมีกำไรก็ใช้การพิจารณาของผู้จัดการกองทุน ประกาศจ่ายเงินปันผลออกมาในช่วงเวลาที่เห็นว่าเหมาะสม เช่น ช่วงตลาดหุ้นดีๆ มีการทำกำไรจากการขายหุ้นได้ต่อเนื่อง ก็อาจจะจ่ายถึง 5-6 ครั้งต่อปี แต่การจ่ายแบบนี้ ในแต่ละงวดผู้ลงทุนก็จะไม่ได้เงินปันผลเป็นก้อนใหญ่ เพราะถูกแบ่งจ่ายบ่อยเป็นก้อนเล็กๆ […]
กองทุนจ่ายปันผลแบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ (ตอนที่1)
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center กองทุนรวมที่จ่ายปันผล ยังคงเป็นที่นิยมจากผู้ลงทุนจำนวนมาก เพราะได้เงินกลับคืนระหว่างการลงทุนไปใช้ หรือสร้างความพอใจว่าลงทุนไปแล้วยังได้จับต้องดอกผลบ้าง แม้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา จะต้องแลกกับการเสียภาษีเงินปันผลทำให้ผลตอบแทนที่ตกถึงมือลดลงก็ตาม แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะประทับใจกับกองทุนที่จ่ายปันผล หากกองทุนนั้นไม่ได้ตอบโจทย์ได้ ‘ตรง’ กับความต้องการ ในแง่การบริหารเงินส่วนบุคคล กองทุนรวมที่จ่ายปันผล มีทั้งข้อดีและข้อด้อย ขึ้นกับว่าวัตถุประสงค์การลงทุนมีเป้าหมายอะไรกันแน่ ต้องการได้เงินคืนระหว่างการลงทุน ต้องการเงินปันผลไปใช้จ่าย ต้องการลงทุนยาวๆ เพื่ออนาคต อื่นๆ การจะลงทุนกองทุนที่จ่ายปันผลให้มีประสิทธิภาพที่สุด ไม่ใช่เรื่องยากหากนักลงทุนเข้าใจรูปแบบ และวิธีออกแบบกองทุนประเภทนี้เสียก่อน กองทุนปันผลที่นิยมในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนหุ้นหรือกองทุนผสม นโยบายการจ่ายเงินปันผลสามารถกำหนดได้กับกองทุนรวมทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหุ้น กองทุนผสม กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนกองทุนตราสารหนี้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมาก ทำให้ผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้ที่จะนำมาจ่ายปันผลต่ำตามไปด้วย จึงไม่คุ้มค่าและจูงใจให้เกิดการลงทุน โดยเฉพาะกับบุคคลธรรมดา กองทุนตราสารหนี้จึงไม่นิยมมีนโยบายจ่ายปันผล มีบ้างสำหรับกองทุนตราสารหนี้ที่เน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ลงทุนที่เป็นนิติบุคคล เพราะสามารถลงทุนยาวและได้สิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินปันผลได้ ดังนั้นการลงทุนในกองทุนที่จ่ายปันผล ที่หลายคนมองว่าช่วยลดความเสี่ยงเพราะได้เงินคืนระหว่างการลงทุนมาแล้ว จึงไม่ใช่ เพราะส่วนใหญ่จะมีความเสี่ยงและความผันผวนสูง เนื่องจากเป็นกองทุนหุ้นและกองทุนผสมมากกว่า การที่กองทุนจะจ่ายปันผลหรือไม่ จะขึ้นกับผลการดำเนินงานในงวดนั้นๆ […]
BF Knowledge Center Personal Finance
RMF ลงทุนง่าย เงื่อนไขไม่ยากอย่างที่คิด (ตอนจบ)
By…พริ้มพัชร จิรบวรพงศา BF Knowledge Center เมื่อตอนที่แล้วเราได้พูดถึงการลงทุนเพื่อวัยเกษียณที่สามารถรับสิทธิลดหย่อนภาษีได้มีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันชีวิตแบบบำนาญ และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ แต่ก็มักจะพบว่ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF มักถูกมองข้ามจากผู้ลงทุน เพราะส่วนใหญ่หวั่นใจกับเงื่อนไขการลงทุนระยะยาว ผู้ลงทุนมักคิดว่าอีกตั้งนานกว่าจะเกษียณ (ลงทุนล่วงหน้า 10-20 ปี กว่าจะขายคืนได้ก็นานเกิน) แต่อยากให้ฉุกคิดว่า “เป้าหมายหลักที่ทุกคนต้องการ” คืออะไร ลืมไปรึเปล่าว่า ที่ต้องการคือมีคุณภาพชีวิตที่ดี และแน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากไม่มีเงินใช้ในวัยเกษียณ ซึ่งรู้หรือไม่ว่า การเริ่มต้นลงมือทำตั้งแต่เนิ่นๆ ทุกคนสามารถมีเงินลงทุนสะสมหลักล้านได้ง่ายกว่าเพียงเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ และย่อมดีกว่าไปเริ่มต้นลงมือทำตอนที่อายุมากแล้ว โดยกองทุนรวม RMF เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้ทุกคนสามารถบรรลุเป้าหมายการลงทุนเพื่อวัยเกษียณได้ไม่ยาก แม้จะมีเงื่อนไขหลายประการ แต่ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร จึงจะยกตัวอย่างให้เห็นเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้ง่ายและเข้าใจตรงกัน 1.) การลงทุนในกองทุนรวม RMF นอกจากจะต้องคำนวณสิทธิในการซื้อต่อปี คือ ขั้นต่ำ 3% ของเงินได้พึงประเมินหรือ 5,000 บาท และ […]