BF Knowledge Center Sustainability
ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย นำไปสู่ความสำเร็จทางการเงินจริงหรือ
โดย…พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPT™ กองทุนบัวหลวง ตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด-19 หลายคนน่าจะรับรู้ได้ถึงความสำคัญของการวางแผนการเงินแล้ว เนื่องจาก ส่งผลกระทบต่อเราในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การใช้ชีวิต การทำงาน รวมถึงการเงินด้วย หลายคนบอกว่า คนที่อยู่รอดปลอดภัยดี คือ คนที่รู้จักปรับตัว ปรับรูปแบบการใช้ชีวิต ปรับวิธีการทำงาน แต่สิ่งที่ปรับยากมากที่สุดคือ “เรื่องเงิน” เพราะในสถานการณ์แบบนี้ เชื่อว่า หลายคนอาจมีรายรับน้อยลงกว่าเดิม ตั้งแต่นายจ้างอาจปรับลดเงินเดือน งดโอที ไม่มีโบนัส ส่วนคนที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว ลูกค้าก็อาจเข้ามาใช้บริการน้อยลง เนื่องจากต้องคำนึงเรื่องสุขอนามัย Social Distancing หรือคนที่ทำงานฟรีแลนซ์ ก็อาจมีจำนวนงานว่าจ้างน้อยลง เพราะบริษัทที่ว่าจ้างต้องระมัดระวังค่าใช้จ่าย หลายคนมีความกังวลใจ เพราะในขณะที่รายรับลดลง แต่รายจ่ายต่างๆ ของเรากลับไม่ได้ลดลงตามไปด้วย มิหนำซ้ำยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเข้ามาอีก ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ เพราะเราต้องทำงานที่บ้านมากขึ้น หรือ ค่าบริการสั่งอาหารออนไลน์ ทำให้คิดว่า เอ๊ะ! หรือเราต้องทำอะไรสักอย่างหรือเปล่า? […]
ผลสำรวจชี้ Gen Z ห่วงโลกร้อนเป็นภาวะฉุกเฉินต้องเร่งแก้ ชี้รัฐต้องมีนโยบายเข้มข้น
รายงานข่าวจากบลูมเบิร์ก เผยผลสำรวจความคิดเห็นด้านสภาพอากาศครั้งที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา แสดงให้เห็นว่า กลุ่ม Gen Z หรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี มีความกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศในอนาคตของโลกมากกว่าผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นในประเทศที่ก่อมลพิษเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จะมีความเชื่ออย่างยิ่งว่าภาวะโลกร้อนเป็นภาวะฉุกเฉิน การสำรวจความคิดเห็นด้านสภาพอากาศในครั้งนี้ดำเนินการโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด มีผู้ตอบแบบสอบถาม 1.2 ล้านคนใน 50 ประเทศ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำการสำรวจมา อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ไม่ได้มีการสำรวจประชากรจีนซึ่งเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ที่สุดในโลก รายงานยังระบุว่า 69% ของผู้ตอบแบบสอบถามจากทั่วโลกที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเหตุฉุกเฉิน เมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมีเพียง 58% ที่มองเช่นนั้น Stephen Fisher ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้สะท้อนการรับรู้ถึงภาวะฉุกเฉินทางสภาพอากาศที่แพร่หลายมากกว่าที่เคยคิดไว้ นอกจากนี้เรายังพบว่า คนส่วนใหญ่ต้องการการตอบสนองต่อนโยบายที่เข้มข้นและรุนแรงอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยรวมแล้ว 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องฉุกเฉินและในจำนวนนี้ 59% กล่าวว่าจำเป็นต้องมีการตอบสนองอย่างเร่งด่วน การอนุรักษ์ผืนดินและป่าไม้ การเพิ่มพลังงานหมุนเวียนและการใช้เทคนิคการทำฟาร์มที่เป็นมิตรกับสภาพอากาศเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด อีกทั้งการให้บริษัทต่างๆ จ่ายชดเชยค่ามลพิษเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับการสนับสนุนสูงจากผู้ตอบแบบสอบถามในหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้สูง
‘บั๊ดดี้โฮมแคร์’ ตัวอย่างโครงการน้ำดีที่กองทุน BKIND สนับสนุน เพื่อสังคมยั่งยืน คืนความสุขใจแก่ผู้ลงทุน
โดย จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ เมื่อได้ยินคำว่า “การลงทุน” หลายคนอาจคาดหวังผลตอบแทนคืนกลับมาในรูปเม็ดเงินเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้ว มีการลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นได้ เมื่อเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ลงทุนไป สามารถสร้างความยั่งยืนกลับคืนสู่สังคมและประเทศชาติได้ ทั้งยังมอบความสุขใจคืนให้แก่ผู้ลงทุนด้วย “กองทุนรวม คนไทยใจดี (BKIND)” เป็นหนึ่งในรูปแบบการลงทุนลักษณะนี้ โดยตลอดเวลากว่า 6 ปีที่กองทุนนี้จัดตั้งขึ้นมา แบ่งเงินค่าจัดการกองทุน 40% ไปสนับสนุนโครงการดีๆ เพื่อสังคมแล้วถึง 54 โครงการ รวมเป็นเงินเกือบ 42 ล้านบาท โครงการบั๊ดดี้โฮมแคร์ (Buddy Homecare) กลไกดูแลผู้สูงอายุยากไร้ เป็นตัวอย่างหนึ่งของโครงการดีๆ ที่กองทุน BKIND เข้าไปสนับสนุน โดยโครงการนี้มีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ได้พร้อมกันถึง 2 ประการในคราวเดียว ทั้งในแง่การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในทุกช่วงอายุ รวมทั้งการจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ สำหรับบั๊ดดี้โฮมแคร์ เป็นกิจการเพื่อสังคม ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา 2 ด้านได้ในคราวเดียวกัน ทั้งปัญหาผู้สูงอายุยากไร้ที่ขาดคนดูแล และปัญหาเด็กชนเผ่าที่ขาดโอกาสทางการศึกษา […]
Plant-Based Meat: กระแสความนิยมของธุรกิจอาหารในอนาคต
โดย…รุ่งนภา เสถียรนุกูล กองทุนบัวหลวง การบริโภค Plant-Based ได้รับความนิยมอย่างมาก และถือว่าเป็นกระแสความนิยมของธุรกิจอาหารในอนาคต โดย Plant-Based Protein หรือ โปรตีนทดแทนจากพืช คือ อาหารที่ทำมาจากพืช โดยส่วนผสมส่วนใหญ่จะทำมาจากถั่ว และบีทรูท ผู้ผลิตแข่งขันพัฒนาผลิตภัณฑ์และนำเสนอเมนูใหม่ ให้มีรสสัมผัสที่ใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ทั้งรูปลักษณ์และรสชาติ ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการรับประทาน Plant-Based มากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น และเชื่อว่าการรับประทานพืชผัก มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าการรับประทานเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อสัตว์แปรรูป เนื่องจากองค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ หรือ International Agency for Research on Cancer (IARC) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาระบุถึงผลการวิจัยว่า การรับประทานเนื้อแปรรูปและเนื้อแดงมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้และไส้ ทำให้คนที่รักสุขภาพ หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ และหันมารับประทานอาหารจากพืชแทน โดย Plant-Based ยังคงให้รสสัมผัสที่เหมือนและคุณค่าทางสารอาหารที่ใกล้เคียงกับการรับประทานเนื้อสัตว์ ทำไมถึงกล่าวว่า การรับประทานเนื้อจากพืช หรือ Plant-Based Meat ช่วยลดโลกร้อนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรนั้น […]
เศรษฐกิจที่สุขภาพดีช่วยลดความไม่เท่าเทียมได้ แต่อยู่ในขอบเขตที่จำกัด
ซีเอ็นบีซี รายงานว่า ไวรัสโคโรนาที่ระบาดส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัวและเกิดการสูญเสียงานอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ทั้งยังสะท้อนให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันที่เลวร้ายลงทั่วโลกด้วย ทั้งนี้ ธนาคารโลก ระบุว่า ปัญหาความยากจนอย่างรุนแรงของโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบมากกว่า 20 ปี จากการที่โควิด-19 ทำให้คนหลายล้านคนต้องใช้ชีวิตด้วยเงินน้อยกว่า 1.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน David Wilcox เจ้าหน้าที่อาวุโสจากสถาบันเศรษฐกิจนานาชาติปีเตอร์สัน กล่าวว่า เศรษฐกิจขาลงในสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมที่รุนแรงขึ้น และภาวะถดถอยนี้มีลักษณะเฉพาะตัว โดยจากข้อมูล พบว่า อัตราการจ้างงานสำหรับแรงงานที่มีค่าจ้างสูงกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด แต่สำหรับการจ้างแรงงานค่าแรงต่ำยังคงลดลงกว่า 20% “การฟื้นตัวนี้ ไม่มีผลมากต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ แต่สถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมที่มีสุขภาพดีจะช่วยบรรเทาความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีที่เพิ่งผ่านมาได้” Wilcox กล่าว เขา ยังบอกอีกว่า เมื่อได้รับวัคซีนอย่างกว้างขวางแล้ว ประชาชนจะรู้สึกสะดวกใจในการทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นพลังงานสำคัญสำหรับเศรษฐกิจภาคบริการในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด โดยในจำนวนนี้กล่าวรวมถึงการไปยิม รับประทานอาหารที่ร้าน การขึ้นเครื่องบินโดยสาร และการเข้าร่วมประชุมด้วย สิ่งเหล่านี้จะช่วยผู้คนจำนวนมากที่ไม่มีงานทำตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. ปีที่แล้วได้ ขณะที่ Richard Yetsenga หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ธนาคาร ANZ […]
ESG มากแค่ไหนถึงเพียงพอ: กรณีศึกษาจาก Facebook
โดย ชัยธัช เบน บุญญาปะมัย กองทุนบัวหลวง ในปัจจุบัน มีเงินทุนภายใต้การบริหารของนักลงทุนสถาบันที่ใช้แนวคิดการลงทุนแบบยั่งยืน หรือที่เรียกว่า ESG (Environmental Social และ Governance) อยู่ราว 30 ล้านล้านดอลลาร์ฯ โดยเพิ่มขึ้นมากถึง 34% นับจากปี 2016 (อ้างอิงจาก Global Sustainable Investment Alliance) ขณะที่ ข้อมูลของ Morningstar พบว่า การลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกผ่านกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนอย่างยั่งยืน (ESG) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนแตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์ฯ และในช่วงนี้การลงทุนลักษณะดังกล่าวนับว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่กองทุนเหล่านี้ สะท้อนถึงผลเชิงบวกของบริษัทที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ดี ขณะเดียวกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่านักลงทุนหันมาสนใจลงทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีกันมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤติ COVID-19 ซึ่งจากข้อมูลของ Morningstar นั้น ชี้ให้เห็นว่า กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ (Large Cap) ที่มีผลตอบแทนสูงสุด 10 […]
ESG Morning Brief Sustainability
สภาเศรษฐกิจโลกเสนอ 7 แนวทางเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดขยะพลาสติก
เว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก เสนอรายงาน 7 แนวทางเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เพื่อลดขยะพลาสติก โดยชี้ว่า บรรจุภัณฑ์เป็นกลุ่มที่สร้างขยะพลาสติกมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งที่ผ่านมาแบรนด์ต่างๆ พยายามลงทุนในแนวทางใหม่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ โดยใช้ทางเลือกทดแทนพลาสติก หรือมีแนวคิดนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อสร้างความยั่งยืนมากขึ้น มูลนิธิ Ellen MacArthur ออกมาสนับสนุนกลยุทธ์ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ การกำจัด การนำกลับมาใช้ใหม่ และการหมุนเวียนวัสดุ พร้อมเสนอ 7 แนวทางเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ 1.การกำจัดโดยตรง เป็นแนวทางง่ายๆ ป้องกันขยะบรรจุภัณฑ์ โดยซูเปอร์มาร์เก็ตในสหรัฐฯ ยกเลิกใช้ฟิล์มพลาสติกที่ไม่จำเป็นกับผลิตภัณฑ์ เช่น กระป๋องหลายชิ้น ถ้วยโยเกิร์ต การ์ดอวยพร ไปจนถึง ผ้าปูเตียง ส่วนในอเมริกาเหนือ ห้างวอลล์มาร์ทก็หยุดใช้พลาสติกใสบรรจุตุ๊กตา และยกเลิกใช้ห่อหุ้มผักบางชนิด 2.การใช้นวัตกรรมใหม่ เพราะบางกรณีบรรจุภัณฑ์ก็ยังจำเป็น ซึ่งการออกแบบนวัตกรรมช่วยให้เกิดผลที่แตกต่างได้ เช่น คาร์ลสเบิร์กที่ทดแทนวงแหวนพลาสติที่ใช้กับเบียร์ที่ขายเป็นแพ็ค ด้วยการใช้กาวจุดทำให้กระป๋องติดกัน หรือ ICA Gruppen ในสวีเดน ใช้เลเซอร์แกะสลักฉลากบนผักและผลไม้สด แทนการใช้ฟิล์ม 3.การเติม กรณีที่จำกัดบรรจุภัณฑ์ไม่ได้ […]
ESG Morning Brief Sustainability
เอกชนปิ๊งไอเดียพัฒนาเทคโนโลยีเปลี่ยนคาร์บอนฯ เป็นวัสดุก่อสร้าง ร่วมลดปล่อยก๊าซเป็นศูนย์
เว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก weforum.org เผยแพร่บทความ โดยมีใจความส่วนหนึ่งระบุว่า นับตั้งแต่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ก็ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศมากขึ้น ซึ่งเรามีเป้าหมายต้องการลดการปล่อยก๊าซจนเข้าสู่ระดับสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 และเพื่อให้ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้ Mineral Carbonation International (MCi) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยี ได้มีการคิดค้นวิธีการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์มาเป็นวัสดุก่อสร้าง และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าอื่นๆ Sophia Hamblin Wang ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MCi กล่าวว่า บริษัทได้ออกแบบและสร้างเครื่องปฏิกรณ์คาร์บอน 3 ระบบ เพื่อเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้และก๊าซด้วยกระบวนการทางอุตสาหกรรม โดยหวังว่า จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีได้ 1 ล้านตัน ภายในปี 2040 มีข้อมูลที่น่าสนใจว่า ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ล้วนตกลงที่จะร่วมกันทำให้การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 ซึ่งก็หมายความว่า ประเทศที่มีขนาด 50% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของโลก มีความตั้งใจร่วมกันที่จะทำให้สุทธิเป็นศูนย์ ดังนั้นจึงเป็นเวลาของเทคโนโลยี การพัฒนา และการเร่งความเร็วเพื่อทำให้ได้ ตลาดสำหรับการดักจับและใช้คาร์บอน คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ […]
China Electric Vehicle Innovation Sustainability Technology
หวั่นรถยนต์ไฟฟ้าจีน ทะลักเข้าไทย
กระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหาแนวทางแก้ปัญหาและลดผลกระทบต่อค่ายรถยนต์ในประเทศ ตามที่ประชุม ครม. ได้มอบหมายเพื่อกำหนดอัตราภาษีนำเข้าที่เหมาะสมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (บีอีวี) ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน จากที่ไทยจะลดภาษีนำเข้าเป็น 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2018 นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ความตกลงดังกล่าวได้เกิดขึ้นมานานแล้ว ซึ่งขณะนั้นการนำเข้ามักจะเป็นเฉพาะรถกอล์ฟไฟฟ้า แต่เมื่อสถานการณ์การค้า และเทคโนโลยีการผลิตเปลี่ยนไป จึงต้องหารือทุกภาคส่วนอีกครั้งถึงความเหมาะสม ด้าน นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ได้หารือร่วมกับผู้ผลิตรถยนต์ในไทยถึงผลกระทบจากการลดภาษีนำเข้ารถยนต์บีอีวีจากจีนเป็น 0% ซึ่งมีความคิดเห็นที่หลากหลาย มีทั้งกลุ่มที่เห็นว่า รถยนต์บีอีวีราคาถูกที่จากจีนเป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดไทย มองว่ารัฐบาลควรมีมาตรการส่งเสริม และคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศด้วยวิธีที่เหมาะสม กลุ่มค่ายยุโรปเห็นต่าง โดยมองว่าตนมีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงมองว่าจีนไม่ใช่คู่แข่ง เพราะคนละตลาดกัน และเห็นว่าการมีบีอีวีจากจีน จะช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อรถบีอีวีในไทย และทำให้ค่ายรถยนต์กล้าผลิตเพื่อจำหน่ายในไทยมากขึ้น
อนาคตพลังงานทางเลือกใน ASEAN
พลังงาน หนึ่งในความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่มีความต้องการใช้เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะในภูมิภาค ASEAN ที่มีขนาดประชากรจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 700 ล้านคนในปี 2025 ภายใต้คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจปีละกว่า 5% ส่งผลให้คาดว่าความต้องการใช้พลังงานจะเติบโตสูงปีละกว่า 4% หรือมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันกว่าเท่าตัวภายในปี 2025 ปัญหาก็คือ ASEAN ยังมีน้ำมันดิบไม่พอใช้ หลายประเทศต้องนำเข้าน้ำมันดิบมาใช้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และทำให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นตามมา จึงเป็นที่มาของการรณรงค์ให้เกิดการใช้พลังงานทางเลือก หรือพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ทั้งนี้ The Association of Southeast Asian Nations คาดการณ์ว่าสัดส่วนการใช้ Renewable energy ใน ASEAN จะเพิ่มขึ้นจาก 9% ในปี 2014 เป็น 17% ของความต้องใช้พลังงานทั้งหมดในปี 2025 โดยความต้องการใช้ Renewable energy หลักๆมาจากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้า และกลุ่ม End-user ซึ่งได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ครัวเรือน […]