บลูมเบิร์กวิเคราะห์ไทยปลดเศรษฐา ‘ประชาธิปไตยไม่อาจหยั่งรากลึก’ – ‘เผด็จการยังแฝงตัวอยู่’
หลังศาลตัดสินให้เศรษฐา ทวีสิน พ้นตำแหน่งนายกฯ บรรดานักวิเคราะห์และนักวิชาการมองว่า “ประชาธิปไตยไม่อาจหยั่งรากลึกได้ในไทย” และ “ระบอบเผด็จการยังคงแฝงตัวอยู่” การโค่นล้มผู้นำประเทศที่ดำรงตำแหน่งยังไม่ถึง 12 เดือนของไทย ทำให้เห็นสิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ ฝ่ายอนุรักษนิยมที่สร้างกฎเกณฑ์การปกครอง โดยได้รับการสนับสนุนจากทหารในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานั้น ยังคงกุมอำนาจทั้งหมดไว้ บลูมเบิร์ก รายงานว่า เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ที่ถูกขับโดยศาลรัฐธรรมนูญในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และกลุ่มคนที่ถูกขับนั้น ส่วนใหญ่เป็นพันธมิตรของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกโค่นอำนาจจากการทำรัฐประหารเมื่อปี 2549 แต่การปลดนายกฯ ครั้งนี้ แตกต่างตรงที่ ทักษิณเป็นพันธมิตรกับพรรคฝ่ายอนุรักษนิยมที่เป็นอดีตศัตรู คำถามคือ พรรคร่วมรัฐบาลจะยังคงเหนียวแน่นต่อไปหรือไม่ คงต้องรอดูต่อไปในวันศุกร์ที่ 16 ส.ค. ซึ่งเป็นวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (สส.) จะต้องโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และแคนดิเดตที่หลายคนคาดว่าอาจได้ขึ้นเป็นนายกฯ อันดับต้นๆ ก็คือ “แพรทองธาร ชินวัตร” และ “ชัยเกษม นิติสิริ” จากพรรคเพื่อไทย – ประชาธิปไตยไม่อาจหยั่งรากลึกในไทย ณพล จาตุศรีพิทักษ์ นักวิชาการแลกเปลี่ยน […]
China News Update Thailand Vietnam World Bank
‘เวิลด์แบงก์’ หั่นคาดการณ์ GDP เอเชียเหลือโต 5% จีน-ไทย-เวียดนาม หนี้ภาคธุรกิจพุ่งเร็ว
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566 สำนักข่าว CNBC รายงานว่า ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตสำหรับประเทศเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยระบุถึง จีนและดีมานด์ทั่วโลกที่ซบเซา ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูงและการค้าที่ซบเซา เวิลด์แบงก์ กล่าวว่า ขณะนี้ คาดว่า ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกจะเติบโต 5% ในปี 2566 ตามรายงานเดือนตุลาคม ซึ่งน้อยกว่าการคาดการณ์ 5.1% ในเดือนเมษายนเล็กน้อย สำหรับปี 2567 คาดว่าภูมิภาคนี้จะเติบโต 4.5% ลดลงจากการคาดการณ์ที่ 4.8% ในเดือนเมษายน ขณะเดียวกัน เวิลด์แบงก์คงการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับจีนในปี 2566 ไว้ไม่เปลี่ยนแปลงที่ 5.1% แต่ได้ปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2567 ลงเหลือ 4.4% จาก 4.8% โดยระบุถึงปัจจัยเชิงโครงสร้างในระยะยาว ระดับหนี้ที่สูงขึ้นในเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และความอ่อนแอในภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นเหตุผลในการปรับลดอันดับ เวิลด์แบงก์ กล่าวว่า “แม้ว่าปัจจัยภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลเหนือการเติบโตในจีน แต่ปัจจัยภายนอกจะมีอิทธิพลที่แข็งแกร่งต่อการเติบโตในพื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาค” แม้ว่าเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกส่วนใหญ่ฟื้นตัวจากเหตุการณ์ต่างๆ ตั้งแต่ปี 2563 […]
Economic Update: กนง.มองเศรษฐกิจไปฟื้นปี 2024 แต่ขอปรับดอกเบี้ยขึ้นก่อนตอนนี้เลย
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM Key Takeaway กนง.มองเศรษฐกิจไปฟื้นปี 2024 แต่ขอปรับดอกเบี้ยขึ้นก่อนตอนนี้เลย กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25 % จาก 2.25% เป็น 2.50% ภาพรวมเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในภาพรวมอยู่ในทิศทางฟื้นตัว แต่ขยายตัวในอัตราชะลอลงในปี 2023 จากอุปสงค์ต่างประเทศ และจะไปขยายตัวในปี 2024 อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2024 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกอปรกับแรงกดดันด้านอุปทานจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทั้งนี้ ต้องติดตามแรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายภาครัฐต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ มตินโยบายการเงิน เห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปที่ 2.5% เพื่อดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย รวมทั้งรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า ประเมินภาพเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว 2.8% และ 4.4% ในปี 2023 และ 2024 ตามลำดับ โดยมีแรงส่งสำคัญจากการบริโภคภาคเอกชน สำหรับปีนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอลงจากภาคการส่งออกสินค้าและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ส่วนหนึ่งจากเศรษฐกิจจีนและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ฟื้นตัวช้า […]
House view Investment Politics Thailand
BBLAM House View: การลงทุนในหุ้นไทยน่าสนใจมากขึ้น เมื่อการเมืองมีความชัดเจน
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM การจัดตั้งรัฐบาลมีความชัดเจนมากขึ้นในเดือนนี้ บลจ.บัวหลวงคาดการณ์ นโยบายรัฐบาลที่มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับการผลักดันก่อน (สะท้อนจากกระทรวงที่บริหารโดยพรรคแกนนำหลัก) ได้แก่ นโยบายที่สนับสนุนการบริโภค การท่องเที่ยว และคมนาคม สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์ ได้แก่ ค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม Tourism-related, และคมนาคม ตามลำดับ สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่เราจะติดตามในระยะถัดไป จะเป็นอุตสาหกรรมที่อ้างอิงไปกับนโยบายที่ต้องอาศัยความชัดเจนด้านการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม เช่น นโยบายเกี่ยวข้องกับพลังงาน นโยบายสาธารณสุขและนโยบายที่เชื่อมโยงกับการสนับสนุนการลงทุน ทั้งนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องติดตามในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำว่ารัฐบาลจะเริ่มเมื่อไหร่ กลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบด้านบวก ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก ส่วนอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบด้านลบ จะเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและกลาง ด้านกลุ่มธุรกิจที่ใช้แรงงานในสัดส่วนสูง เช่น กลุ่มอาหาร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ รับเหมาก่อสร้าง และการท่องเที่ยว รวมถึงภาคบริการอื่นๆ อาจจะได้รับผลกระทบมากน้อยต่างกัน ขึ้นกับว่า 1) ธุรกิจเหล่านั้นสามารถ Pass-on ต้นทุนได้มากแค่ไหน 2) ธุรกิจเหล่านั้นมีฐานการผลิตในจังหวัดใด […]
นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยทะลุ 19 ล้านคน นับตั้งแต่ต้นปี 66
ปี66 ผ่านไป 8 เดือนเศษ นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยแล้ว 19 ล้านคน สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานข่าว Thailand recorded 19 mln foreign tourists so far this year อ้างการเปิดเผยของ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทย ว่า ยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเยือนไทย ตั้งแต่ 1 ม.ค.-17 ก.ย. 2566 อยู่ที่ 19 ล้านคน สร้างรายได้ 795,000 ล้านบาท (ราว 22,260 ล้านเหรียญสหรัฐ) ชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศไทยเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น และยังเชื่อว่า มาตรการยกเว้นวีซ่าของรัฐบาลสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนจะช่วยส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง ในสัปดาห์นี้ ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) โดยมีช่วงวันหยุดยาวในบางประเทศ เช่น มาเลเซีย ญี่ปุ่น จึงคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยน่าจะเพิ่มขึ้น ขณะที่รัฐบาลชุดใหม่ของไทย […]
Economic Update Inflation Thailand
Economic Update: อัตราเงินเฟ้อของไทยขยายตัว 0.88% YoY เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากเดือนก่อนที่ 0.38%
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM อัตราเงินเฟ้อของไทยขยายตัว 0.88% YoY เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากเดือนก่อนที่ 0.38% และเมื่อเทียบรายเดือนอัตราเงินเฟ้อพลิกกลับมาเป็นบวกได้ที่ 0.55% MoM จากเดือนก่อนที่หดตัว เป็นผลจากปรับเพิ่มขึ้นของหมวดอาหาร (ขยายตัว 0.74% YoY) เป็นหลัก นำโดย ข้าว ไข่และผลิตภัณฑ์นม (ไข่ไก่ นมสด นมถั่วเหลือง) ผักและผลไม้สด (มะนาว ขิง กระเทียม เงาะ แตงโม ส้มเขียวหวาน) เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่วนราคาหมูยังคงปรับตัวลงในเดือน ส.ค. เนื่องด้วยมีเนื้อหมูจากเพื่อนบ้านทะลักเข้ามาในไทย ส่วนกลุ่มราคาสินค้าในหมวดที่ไม่ใช่อาหารปรับตัวขึ้น 0.98% YoY จากกลุ่มเคหสถาน และ ค่าของใช้ส่วนบุคคล ส่วนอัตราเงินเฟ้อ YTD อยู่ที่ 2.0% AoA ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัว […]
การส่งออกไทยเดือนก.ค. ยังคงหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า มีมูลค่า 22,143.2 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลง -6.2 YoY%
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM การส่งออกไทยเดือนก.ค. ยังคงหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า มีมูลค่า 22,143.2 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลง -6.2 YoY% (vs prev -6.4%) จากตลาดคาด -2.8% ถึง -3.1% การนำเข้า มีมูลค่า 24,121 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลง -11.1% YoY (vs prev -10.3%) ส่งผลให้ในเดือนก.ค.66 ไทยขาดดุลการค้า -1,977.8 ล้านดอลลาร์ฯ (vs prev +58 ล้านดอลลาร์ฯ) สำหรับช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.) การส่งออก มีมูลค่า 163,313.5 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.5% ส่วนการนำเข้า […]
ผลสำรวจรอยเตอร์มอง “เศรษฐกิจไทย” Q2 มีแนวโน้มโต 3.1% แรงหนุนภาคท่องเที่ยว
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ 21 คน โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ มองว่า เศรษฐกิจไทย มีแนวโน้มเติบโต 3.1% ในไตรมาส 2 (เม.ย.-มิ.ย.) เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นจาก 2.7% ในไตรมาส 1 โดยได้รับแรงหนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) คาดว่าจะเติบโต 1.2% ชะลอตัวลงจากการขยายตัว 1.9% ในไตรมาสก่อนหน้า ตามตัวอย่างการคาดการณ์ในวันที่ 14-17 ส.ค. ในแบบสำรวจความคิดเห็น แม้ว่า เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการท่องเที่ยวของประเทศคาดว่าจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่จำนวนนักท่องเที่ยวยังคงต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 ประเทศไทยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว 29 ล้านคนในปีนี้ ลดลงจาก 40 ล้านคนในปี 2562 ขณะที่ การส่งออก ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโต ได้หดตัวลงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 บ่งชี้ถึงความต้องการทั่วโลกที่อ่อนแอ โดยเฉพาะจากจีน […]
Economic Update Interest Rate Thailand
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี
Economic Research กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี เป็นการคงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องตั้งแต่การประชุมเดือน มิ.ย. 2020 3 ปัจจัยที่ กนง. จะติดตามใกล้ชิด ได้แก่ ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ การส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น แนวโน้มและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลาง กนง. มองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจะขยายตัวในปี 2022 และ 2023 ที่ 3.2% และ 4.4% ตามลำดับ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยจะมีผลมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและภาคการท่องเที่ยว โดยผลของการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่มากเท่าระลอกก่อนหน้า โดยที่มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียส่งผลให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น แต่จะไม่กระทบแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม Downside Risk ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย การขาดแคลนวัตถุดิบในบางอุตสาหกรรมที่อาจยืดเยื้อ และผลกระทบจากค่าครองชีพและต้นทุนที่สูงขึ้นต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในกลุ่มเปราะบาง กนง. จะติดตามพัฒนาการของสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2022 และ 2023 คาดว่าจะอยู่ที่ […]
GDP ไตรมาส 3 หดตัว -0.3% YoY (-1.1% QoQ, sa)
BF Economic Research GDP ไตรมาส 3 หดตัว -0.3% YoY (-1.1% QoQ, sa) จากผลกระทบของ COVID-19 ที่ระบาดรุนแรง แต่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดที่ -0.8% สศช. รายงานเศรษฐกิจไทยหดตัว -0.3% YoY ในไตรมาส 3 ดีกว่าที่ตลาดคาด และปรับตัวแย่ลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 7.6% ทั้งนี้ เมื่อเทียบไตรมาสก่อนหน้า GDP หดตัว -1.1% QoQ sa (vs. 0.1% ไตรมาสก่อน) ในรายองค์ประกอบ: ด้านการใช้จ่าย (Demand Side) อุปสงค์ในต่างประเทศ: การส่งออกสินค้าและบริการโดยรวมชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า (12.3% vs. 27.7% ไตรมาสก่อน) โดยการส่งออกสินค้าชะลอลงเป็น 12.3% (vs. 30.7% […]