ส่งออกเดือนม.ค.61ขยายตัวสูงสุดในรอบ 62 เดือน

ส่งออกเดือนม.ค.61ขยายตัวสูงสุดในรอบ 62 เดือน

การส่งออกเดือนม.ค.อยู่ที่ 20,101 ดอลลาร์ฯ ขยายตัว +17.6% YoY (prev +8.6% YoY ) เป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 62 เดือน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 20,220 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว +24.3% YoY (prev +16.6% YoY) การนำเข้าเร่งตัวสูงกว่าส่งออกส่งผลให้การค้าเดือนม.ค.ขาดดุล -119 ล้านดอลลาร์ฯ (เดือนก่อนหน้าขาดดุลที่ -278.1 ล้านดอลลาร์ฯ) การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ที่ +16.2% YoY สินค้าส่งออกที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ขยายตัว +37.2% YoY ขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูงโดยเฉพาะตลาดบังคลาเทศ เบนิน แอฟริกาใต้ ฮ่องกง สหรัฐฯ แคเมอรูน และจีน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว +42.3% YoY […]

หุ้นไทยปิดบวกเล็กน้อย อยู่ที่ 1,801.16 จุด

หุ้นไทยปิดบวกเล็กน้อย อยู่ที่ 1,801.16 จุด

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ปิดวันนี้ (21 ก.พ. 61) ที่ระดับ 1,801.16 จุด เพิ่มขึ้น 0.14 จุด หรือ 0.01%โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,814.83 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,797.79 จุด ขณะที่มูลค่าการซื้อขาย ณ เวลา 17.07 น. อยู่ที่ 84,181.85 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.PTT ปิดที่ 522.00 บาท เพิ่มขึ้น 32.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 17,092.95 ลบ. 2.IVL ปิดที่ 52.25 บาท ลดลง -2.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,106.86 […]

เจพีมอร์แกน มองเงินเฟ้อขาขึ้น หนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งตาม

เจพีมอร์แกน มองเงินเฟ้อขาขึ้น หนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งตาม

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า เจพีมอร์แกนเชสแอนด์โค (JPMorgan Chase & Co) คาดว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นผลดีต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาแร่โลหะ และโลหะมีค่า ซึ่งรวมถึงทองคำ ‘อัตราเงินเฟ้อได้เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และนั่นจะเป็นผลดีต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์’ เจพีมอร์แกนระบุ โดยรายงานล่าสุดของเจพีมอร์แกนระบุว่าปัจจัยที่เป็นผลดีต่อต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เพิ่มขึ้น โดยราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปีเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ซึ่งเจพีมอร์แกนคาดว่า ราคาวัตถุดิบอุตสาหกรรมจะได้รับผลดีที่สุดในช่วงที่วงจรเศรษฐกิจเข้าสู่ช่วงปลายของการขยายตัว ‘อัตราเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มขึ้นเป็นผลดีต่อสินค้าโภคภัณฑ์ อันที่จริง ราคาโลหะ ทั้งที่เป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรม และโลหะมีค่า ปรับเพิ่มขึ้นมานับตั้งแต่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 2% ตามเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง’ เจพีมอร์แกนกล่าว แนะนำลงทุนในโลหะมีค่า เช่นทองคำ เงิน ทองคำขาว และลงทุนในทองแดง สังกะสี และนิกเกิ้ล โดยคาดว่า จะให้ผลตอบแทนในระดับสูงสุดในช่วง 1 ปีข้างหน้าบนสมมุติฐานที่ว่า วงจรขาขึ้นจะยืนออกไปยาวกว่าปี 2018 และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านั้นในขณะนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่แข็งแกร่งเท่านั้น

จีนพ้น “อดอยาก” ในปี 2020

จีนพ้น “อดอยาก” ในปี 2020

สำนักข่าวซินหวารายงาน จีนกำลังมุ่งมั่นช่วยประชาชนอีก 30 ล้านคน ให้พ้นจากสภาพอดอยากก่อนสิ้นปี 2020 ขณะที่ใน 5 ปีที่ผ่านมา จีนภายใต้การนำของผู้นำสี จิ้นผิง ได้บรรลุโครงการรณรงค์แก้จน โดยสามารถช่วยประชาชนมากกว่า 68 ล้านคน หลุดพ้นจากสภาพยากจน นาย หลิว หย่งฝู หัวหน้ากลุ่มการนำของสภามุขมนตรี เพื่อแก้ไขความยากจนและการพัฒนา แถลงในวันอาทิตย์ ( 18 ก.พ.) ว่า นับจากการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 18 เมื่อปลายปี 2012 ซึ่งเป็นปีที่สี จิ้นผิง ได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการใหญ่พรรคฯสมัยแรก นับจากนั้นมา พรรคฯและรัฐบาลได้จับมือลุยมาตรการแก้ไขความยากจน ตลอด 5 ปี ที่ผ่านมา ประชาชนทั้งสิ้น 68.53 ล้านคน ได้บอกลาชีวิตที่แร้นแค้นแล้ว โดยคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของกลุ่มคนยากจนในประเทศจีน “ไม่มีความสำเร็จใดยิ่งใหญ่ไปกว่าการบรรเทาความยากจนของประชาชน” หลิวกล่าว […]

สิงคโปร์จ้องขึ้นภาษีสินค้าและบริการ (GST) ตามตลาดคาด

สิงคโปร์จ้องขึ้นภาษีสินค้าและบริการ (GST) ตามตลาดคาด

เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2018 รัฐบาลสิงคโปร์เผยงบประมาณ FY2018 จัดไว้ให้ขาดดุล 6 ร้อยล้านดอลลาร์สิงคโปร์ พลิกจากการเกินดุล 9.61 พันล้านดอลลาร์ใน FY2017 สืบเนื่องจากการขาดดุลการคลังที่ไม่รวมรายจ่ายที่เกี่ยวกับภาระหนี้ (Primary Deficit) จากรายได้ดำเนินงาน (Operating Revenue) ที่ลดลงเหลือ 7.27 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่รายจ่าย (Expenditure) เพิ่มขึ้นเป็น 8.00 หมื่นล้านดอลลาร์ รายได้: เม็ดเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินได้บุคคลยังคงไต่ขึ้น แต่รายได้ที่หดตัวลง มาจากส่วนสมทบของหน่วยงานราชการภายนอก (Statutory Boards’ Contribution) ที่ลดลงจาก 4.87 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เหลือเพียง 460 ล้านดอลลาร์ รายจ่าย: รายจ่ายดำเนินงานเพิ่มขึ้นเป็น 5.77 หมื่นล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (+2.8%) ระหว่างที่รายจ่ายพัฒนาประเทศอยู่ที่ 2.24 หมื่นล้านดอลลาร์ (+25.4%) โดยหากจำแนกตามกระทรวง […]

หุ้นไทยปิดลบ 8.65 จุด อยู่ที่ 1,801.02 จุด

หุ้นไทยปิดลบ 8.65 จุด อยู่ที่ 1,801.02 จุด

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ปิดวันนี้ (20 ก.พ. 61) ที่ระดับ 1,801.02 จุด ลดลง -8.65 จุด หรือ -0.48% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,815.33 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,801.02 จุด ขณะที่มูลค่าการซื้อขาย ณ เวลา 17.11น. อยู่ที่ 44,081.81 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.CPALL ปิดที่ 82.75 บาท ลดลง -1.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,245.07 ลบ. 2.PTT ปิดที่ 490.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,979.66 […]

ภาพรวมตลาดหุ้น มกราคม 2561

ภาพรวมตลาดหุ้น มกราคม 2561

ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นในเดือนแรกของปี 2561 ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว นำโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานซึ่งหนุนด้วยราคาน้ำมันในตลาดโลก และหุ้นกลุ่มพาณิชย์บางตัวด้วยความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ ขณะที่มีการขายทำกำไรหุ้นบางตัวที่ราคาปรับขึ้นมาในช่วงก่อนหน้า เช่น กลุ่มท่องเที่ยว หรือกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกลุ่มธนาคารพาณิชย์นั้นผลประกอบการในไตรมาส 4/60 ที่ประกาศออกมาค่อนข้างต่ำกว่าที่ตลาดคาด ในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ตลาดเริ่มมีการปรับฐานลงหลังจากที่การเลือกตั้งในประเทศมีแนวโน้มจะถูกเลื่อนออกไปจากเดิมที่คาดกันว่าจะถูกจัดขึ้นภายในปีนี้ และยังมีประเด็นความกังวลว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯเร็วกว่าที่คาด ทำให้เกิดแรงขายหนักในตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯและจีน ซึ่งเชื่อว่า แรงขายทำกำไรนี้น่าจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศหลักๆ ทั้งประเทศทางฝั่งตะวันตกและฝั่งเอเชีย ยังแสดงถึงการขยายตัวที่ดี แม้จะมีการปรับฐานบ้างแล้ว ระดับ P/E ตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับประมาณการกำไรปี 2561 ยังอยู่ที่ระดับมากกว่า 16.5 เท่า นับว่าตึงตัวพอสมควร แต่ว่าระดับ Valuation ของหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นมีความแตกต่างกัน จึงมีหุ้นไทยบางส่วนที่ยังมีความน่าสนใจลงทุนอยู่ ขณะที่บางกลุ่มก็มีราคาแพงเกินพื้นฐาน การเลือกลงทุนหุ้นเป็นรายตัวจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นน่าจะมีโมเมนตัมต่อเนื่อง และหนุนให้การคาดการณ์ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในระยะหลังจากนี้ยังมีแนวโน้มที่ดี และควรต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มที่มีมูลค่าสูงเกินไปให้มากขึ้น

หุ้นไทยปิดตลาดบวก 3.78 จุด อยู่ที่ 1,809.67 จุด

หุ้นไทยปิดตลาดบวก 3.78 จุด อยู่ที่ 1,809.67 จุด

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ปิดวันนี้ (19 ก.พ. 61) ที่ระดับ 1,809.67 จุด เพิ่มขึ้น 3.78 จุด หรือ 0.21% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,819.36 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,809.14 จุด ขณะที่มูลค่าการซื้อขาย ณ เวลา 17.17 น. อยู่ที่ 50,625.94 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.CPALL ปิดที่ 83.75 บาท เพิ่มขึ้น 2.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,776.09 ลบ. 2.PTT ปิดที่ 488.00 บาท เพิ่มขึ้น 2.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย […]

โกลด์แมนแซคส์เตือน หนี้สาธารณะสหรัฐฯพุ่งสูงกว่า 100% ของจีดีพีในปี 2027

โกลด์แมนแซคส์เตือน หนี้สาธารณะสหรัฐฯพุ่งสูงกว่า 100% ของจีดีพีในปี 2027

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า โกลด์แมนแซคส์กรุ๊ป (Goldman Sachs Group) คาดว่าหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงกว่า 100% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ในปี 2027 จากปัจจุบัน ซึ่งอยู่ที่ 77% ของจีดีพี และจะทำให้ฐานะการคลังของสหรัฐฯย่ำแย่ที่สุดเท่าที่เคยประสบมา หรือ นับแต่ทศวรรษที่ 1940 และ 1990 โดยโกลด์แมนแซคส์คาดว่า นโยบายการคลังที่มุ่งกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลกลางต้องก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจะทำให้ภาระหนี้สินของรัฐบาลกลางสหรัฐฯเพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับปัจจัยเสริมจากทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น และผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นแล้ว จะทำให้สหรัฐฯมีภาระดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่สูงกว่าในต้นทศวรรษที่ 1980 และ 1990 “นโยบายการคลังของสหรัฐฯกำลังเข้าสู่เขตแดนที่ไม่เคยเห็นมาก่อน กล่าวคือ ในอดีต เมื่อเศรษฐกิจขยายตัวแข็งแกร่ง แต่ภาระหนี้รัฐบาลเพิ่มขึ้น สภาคองเกรสจะตอบสนองด้วยการขึ้นภาษี และลดงบประมาณรายจ่าย แต่ในขณะนี้ ทุกอย่างกลับกัน” นายอเล็ก ฟิลิปส์ นักวิเคราะห์ที่โกลด์แมนแซคส์กล่าว  

สภาพัฒน์ คาดศก.ไทยปีนี้ โต 3.6-4.6%

สภาพัฒน์ คาดศก.ไทยปีนี้ โต 3.6-4.6%

รายงานสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2560 ขยายตัว  4.0% YoY ต่อเนื่องจากการขยายตัว 4.3% YoY  ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยขยายตัวจากไตรมาสที่ 3/2560 0.5% QoQ SA ส่งผลให้ทั้งปี 2560 เติบโต 3.9%  ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นจากการเติบโต 3.3% ในปี 2559 ในขณะที่ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในปี 2560 อยู่ที่ 0.7% สำหรับในปี 2561 สภาพัฒน์ฯ มองว่า เศรษฐกิจไทยปี 2561 จะขยายตัว 3.6 – 4.6% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลให้การส่งออก และภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดี รวมทั้งแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนการลงทุนภาครัฐก็มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นจากปี 2560 นอกจากนี้ การปรับตัวดีขึ้นของการจ้างงานและฐานรายได้ของประชาชนในระบบเศรษฐกิจโดยรวมก็มีส่วนทำให้การบริโภคภาคเอกชนเติบโตได้ดีต่อเนื่อง ทั้งนี้ สภาพัฒน์ฯ […]