เปรียบเทียบ FOMC Statement ระหว่างเดือน พ.ค. และการประชุมก่อนหน้าเดือน มี.ค.

เปรียบเทียบ FOMC Statement ระหว่างเดือน พ.ค. และการประชุมก่อนหน้าเดือน มี.ค.

FED ยังมองภาพตลาดแรงงานแข่งแกร่งต่อเนื่องขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวในระดับปานกลาง ในการประชุมครั้งนี้ FED ค่อนข้าง Upbeat ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนที่ได้เปลี่ยน Key Word จาก “โตปานกลาง” เป็น “ขยายตัวได้แข็งแกร่ง” นอกจากนั้น FED ยังมีมุมมองต่ออัตราเงินเฟ้อที่ Bullish ขึ้น โดย FED กล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อ เริ่มเข้าใกล้ 2% จากเดิมในการประชุมก่อนหน้าที่กล่าวเสมอว่า “อัตราเงินเฟ้อขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2%” สำหรับประเด็นอื่นๆด้านการประเมินความเสี่ยงและมติของนโยบายการเงิน ไม่เปลี่ยนแปลงจากการประชุมก่อนหน้าโดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5-1.75% ทั้งนี้ Dot Plot จากการประชุมในเดือนมี.ค.นั้นมองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยืนอยู่ที่ 2.0-2.25% หมายความว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยโดยให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจขยายตัวที่ 2.7% ในปี 2018 ทั้งนี้ต้องจับตาการประชุมในครั้งถัดไปในเดือนมี.ค.ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อดอกเบี้ยและเศรษฐกิจหรือไม่ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรขยับมาอยู่ที่ 2.97% จากที่เคยเร่งไปยืนเหนือที่ 3.0% ในช่วงสิ้นเดือนเม.ย. ส่วน DXY ขยับขึ้นมาที่ 92.567 รับข่าวว่านักลงทุนเชื่อว่า FED […]

เงินเฟ้อไทยเดือนเม.ย. เร่งตัวขึ้นมาอยู่เหนือ 1%

เงินเฟ้อไทยเดือนเม.ย. เร่งตัวขึ้นมาอยู่เหนือ 1%

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทย (CPI) เดือน เม.ย. 2018 เพิ่มขึ้น 1.07% YoY ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน สาเหตุหลักมาจากการเร่งตัวขึ้นของราคาพลังงาน ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงกลุ่มอาหารสด กระทรวงพาณิชย์ได้ประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี 2018 ไว้ที่ 0.7-1.7% YoY เงินเฟ้อทั่วไปของไทย (Headline Inflation) ในเดือน เม.ย. 2018 ขยายตัวสูงถึง 1.07% YoY โดยเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน และเป็นการปรับขึ้นมาเหนือ 1.0% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.พ. ปีที่แล้ว ทำให้เข้ามาอยู่ในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 1.0%-4.0% สาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าพลังงานที่ +4.7% และราคาน้ำมันขายปลีกเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น +3.9% ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของกลุ่มอาหารสด +0.5% เนื่องจากสภาพอาการที่แปรปรวนส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายโดยเฉพาะผักสด กระทรวงพาณิชย์ประมาณการอัตราเงินเฟ้อปี 2018 ในกรอบ 0.7-1.7%YoY   […]

รัฐมนตรีต่างประเทศจีนเยือนกรุงเปียงยาง เกาหลีเหนือ

รัฐมนตรีต่างประเทศจีนเยือนกรุงเปียงยาง เกาหลีเหนือ

สำนักข่าวเกียวโด รายงานว่า เมื่อวันที่ 2 พ.ค. ที่ผ่านมา นายหวาง อี้ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีน ได้เดินทางไปถึงกรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ คาดว่าการเดินทางครั้งนี้ นายหวาง จะได้รับฟังข้อสรุปประเด็นต่างๆ ที่ผู้นำเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ หารือกันเมื่อวันศุกร์ที่ 27 เม.ย. ที่ผ่านมา และจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเจ้าหน้าที่ของเกาหลีเหนือเกี่ยวกับการประชุมสุดยอดระหว่างนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ และนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา ซึ่งคาดว่า จะเกิดขึ้นเร็วที่สุดปลายเดือน พ.ค. นี้ ขณะเดียวกัน คาดว่า นายหวาง อาจหารือกับนายรี ยอง โฮ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของประเทศเกาหลีเหนือ กรณีที่นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จะเดินทางเยือนเกาหลีเหนือ หลังตอบรับคำเชิญจากนายคิม จอง อึน เมื่อครั้งนายคิม ไปร่วมประชุมสุดยอดที่กรุงปักกิ่งปลายเดือน มี.ค. ที่ผ่านมาด้วย ทั้งนี้ […]

หุ้นไทยบวกกว่า 11 จุด ปิดตลาดที่ 1,791.13 จุด

หุ้นไทยบวกกว่า 11 จุด ปิดตลาดที่ 1,791.13 จุด

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ปิดวันนี้ (2 พ.ค. 61) ที่ 1,791.13 จุด เพิ่มขึ้น 11.02 จุด หรือ 0.62%  มีมูลค่าการซื้อขาย 56,453.10 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.PTT ปิดที่ 57.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 6,192.49 ลบ. 2.BANPU ปิดที่ 20.60 บาท เพิ่มขึ้น 1.20 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,340.88 ลบ. 3.AOT ปิดที่ 71.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,263.36 […]

IMF เชื่อศก.ซาอุดีอาระเบียจะกลับมาขยายตัวได้ในปีนี้

IMF เชื่อศก.ซาอุดีอาระเบียจะกลับมาขยายตัวได้ในปีนี้

นายจิฮัด อาซูร์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการตะวันออกกลางและเอเชียกลางของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า ซาอุดีอาระเบียต้องการราคาน้ำมันที่ระดับเฉลี่ย 85-87 ดอลลาร์/บาร์เรลในปีนี้ เพื่อช่วยให้งบประมาณของรัฐบาลอยู่ในภาวะสมดุล เศรษฐกิจซาอุดีอาระเบียมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นในปีนี้ ซึ่งจะช่วยรักษาสมดุลด้านการคลังของรัฐบาล โดย IMF มองว่าแม้ว่าในปีที่ผ่านมาซาอุดีอาระเบียเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี แต่ IMF ก็ยังเชื่อว่าเศรษฐกิจซาอุดีอาระเบียมีแนวโน้มขยายตัว 1.8% ในปีนี้ หลังผลกระทบที่เกิดจากการปรับลดกำลังการผลิตตามข้อตกลงของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) นั้น เริ่มบรรเทาลง ขณะเดียวกันคาดว่า ราคาน้ำมันที่ดีดตัวขึ้น จะช่วยหนุนเศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียเช่นกัน ก่อนหน้านี้ รัฐบาลซาอุดีอาระเบียคาดการณ์ รัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณราว 1.95 แสนล้านริยาล (ประมาณ 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2561 หรือคิดเป็น 7.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งลดลงจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.30 แสนล้านริยาล

ใครกำหนดค่าเงินบาท (ตอนที่ 1)

ใครกำหนดค่าเงินบาท (ตอนที่ 1)

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center ในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าฃึ้นหรืออ่อนค่าลงมาก มักมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กล่าวโทษว่านักลงทุนต่างชาติเข้ามาเก็งกำไรค่าเงิน และเรียกร้องให้ธนาคารเห่งประเทศไทยเข้าแทรกแซง ในความเป็นจริงผู้ที่มีอิทธิพลต่อทิศทางค่าเงินไม่ได้มีเพียงนักลงทุนต่างชาติเท่านั้น ยังมีผู้คนหลายกลุ่มที่มีบทบาทต่อค่าเงิน ดังนี้ 1. ผู้ส่งออก/ผู้นำเข้า เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อค่าเงินค่อนข้างสูง เพราะเงินตราต่างประเทศที่หมุนเวียนผ่านมือมีปริมาณสูง ผู้ส่งออกทำให้มีเงินต่างประเทศเข้ามา ในขณะที่ผู้นำเข้าจ่ายเงินตราต่างประเทศออกไป หากยอดส่งออกสูงกว่ายอดนำเข้า เรียกว่าภาวะเกินดุลการค้า จะส่งผลให้เงินบาทแข็งค่า ในทางกลับกัน หากการนำเข้าสูงกว่าหรือขาดดุลการค้า เงินบาทก็จะอ่อนค่า การส่งออกจะดีหรือแย่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า คุณภาพ และราคาของสินค้าส่งออก ส่วนการนำเข้ามีปัจยยที่สำคัญคือ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจะขึ้นอยู่กับรายได้และรสนิยมของประชาขน ส่วนสินค้าทุน (วัตถุดิบ อุปกรณ์ ชิ้นส่วน เครื่องมือ เครื่องจักร) ขึ้นอยู่กับภาวะการลงทุน ประเทศไทยซึ่งอยู่ในห่วงโซ่อุปทานและการผลิตของโลก สินค้าส่งออกจึงมีส่วนประกอบของชิ้นส่วนและวัตถุดิบที่นำเข้าในสัดส่วนสูง การส่งออกที่เพิ่มขึ้นจะมีผลต่อเนื่องถึงการนำเข้าสินค้าทุนมากขึ้น 2. นักท่องเที่ยวประเทศไทยเป็นจุดหมายท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ นักท่องเที่ยวต่างฃาติที่หลั่งไหลเข้ามาเที่ยว ทำให้มีรายได้เงินตราต่างประเทศ ในทางกลับกัน หากคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศจึงสูญเสียเงินตราต่างประเทศ แต่จำนวนคนไทยและปริมาณเงินที่ใช้ท่องเที่ยวต่างประเทศยังต่ำกว่ารายได้  จึงมีรายได้สุทธิจากการท่องเที่ยวเป็นบวกหรือเกินดุลติดต่อกันหลายปี ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่า  ความนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ มีปัจจัยสนับสนุนคือ […]

จับตา AI ขึ้นแท่นแรงงานคุณภาพทดแทนมนุษย์

จับตา AI ขึ้นแท่นแรงงานคุณภาพทดแทนมนุษย์

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เตรียมขึ้นแท่นแรงงานคุณภาพเทียบชั้นมนุษย์ โดย AI ได้ถูกออกแบบและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถสื่อสารและแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ใกล้เคียงมนุษย์มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการทดแทนการใช้แรงงานมนุษย์ในกลุ่มงานที่เสี่ยงอันตราย รวมถึงอำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ในมิติต่างๆ อาทิ หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด หุ่นยนต์นักบิน บาริสต้าในร้านกาแฟ และแม่ครัวทอดไข่เจียว ศาสตราจารย์ ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง นายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และอาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มธ. กล่าวว่า AI เริ่มเข้ามามีบทบาทในการอำนวยความสะดวกให้กับแรงงานมนุษย์ อีกทั้งยังสามารถควบคุมจำนวนและคุณภาพในการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการได้ ซึ่งสามารถแบ่งบทบาทการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ได้ 3 ระดับ ได้แก่ 1. ทำงานแทนสมองของมนุษย์ รูปแบบการทำงานเพื่อการตัดสินใจแทนมนุษย์ เช่น การใส่ข้อมูลอาการป่วยของผู้ป่วยเพื่อวินิจฉัยโรค แต่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากและเพียงพอ จึงจะสามารถวินิจฉัยหรือตัดสินได้อย่างแม่นยำ 2. ทำงานแทนคำพูดของมนุษย์ รูปแบบการทำงานเพื่อโต้ตอบกับมนุษย์ เช่น ระบบตอบรับอัตโนมัติหรือแชทบอท (Chatbot) ที่สามารถตอบโต้เพื่อให้ข้อมูลกับมนุษย์คู่สนทนา แต่สามารถให้ข้อมูลที่ได้รับการบันทึกไว้เท่านั้น ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ไม่เคยถูกบันทึกหรือซับซ้อนได้ 3. ทำงานแทนการกระทำของมนุษย์ […]